การรุกฤดูใบไม้ผลิ

การรุกฤดูใบไม้ผลิ หรือ ยุทธการของไกเซอร์ (เยอรมัน: Kaiserschlacht) เป็นชุดการโจมตีของจักรวรรดิเยอรมันในแนวรบด้านตะวันตกของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เยอรมันดำเนินการรุกนี้เพื่อหวังเอาชนะฝ่ายสัมพันธมิตรให้ได้ก่อนสหรัฐจะเข้าช่วยเหลือฝ่ายสัมพันธมิตรอย่างเต็มตัว การรุกครั้งนี้เริ่มขึ้นในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1918 เมื่อเยอรมันเริ่มปฏิบัติการไมเคิล อันเป็นหนึ่งในสี่ปฏิบัติการเพื่อผลักดันฝ่ายสัมพันธมิตรออกจากทางเหนือของฝรั่งเศส ก่อนจะจบลงที่ความพ่ายแพ้ของเยอรมันในยุทธการที่มาร์นครั้งที่สองในเดือนกรกฎาคม ปีเดียวกัน

การรุกฤดูใบไม้ผลิ
ส่วนหนึ่งของ แนวรบด้านตะวันตก ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
วันที่21 มีนาคม – 18 กรกฎาคม ค.ศ. 1918
สถานที่50°00′10″N 02°39′10″E / 50.00278°N 2.65278°E / 50.00278; 2.65278
ผลปฏิบัติการของเยอรมันล้มเหลว
คู่สงคราม
 เยอรมนี ฝรั่งเศส
 สหรัฐ
โปรตุเกส
 อิตาลี
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
จักรวรรดิเยอรมัน เอริช ลูเดินดอร์ฟสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 แฟร์ดีน็อง ฟ็อช
สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ ดักลาส เฮก
สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 ฟีลิป เปแต็ง
สหรัฐ จอห์น เจ. เพอร์ชิง
ความสูญเสีย
688,341 นาย[1]สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3: 433,000[2]
: 418,374[3]
: 7,000[4]
ราชอาณาจักรอิตาลี: 5,000[5]

รวม:
863,374 นาย

หลังสู้รบมานาน 4 ปี ทั้งฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายมหาอำนาจกลางต่างตกอยู่ในสภาพชะงักงันและเหลือปัจจัยในการทำสงครามน้อยลงทุกที ถึงแม้ว่าฝ่ายมหาอำนาจกลางจะบีบให้รัสเซียออกจากสงครามได้หลังลงนามในสนธิสัญญาเบรสท์-ลีตอฟสก์ แต่การเข้าร่วมสงครามของสหรัฐในเดือนเมษายน ค.ศ. 1917 ทำให้เยอรมันเหลือหนทางในการชนะสงครามไม่มาก[6] ในวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1917 เอริช ลูเดินดอร์ฟ แม่ทัพพลาธิการของจักรวรรดิเยอรมันสั่งเริ่มการรุก[7] โดยทัพเยอรมันได้ทหารเกือบ 50 กองพลที่ถอนกำลังจากรัสเซียมาช่วยในการรุกนี้ วันที่ 21 มีนาคม ค.ศ. 1918 ลูเดินดอร์ฟเริ่มปฏิบัติการไมเคิลเพื่อเจาะแนวรบของฝ่ายสัมพันธมิตรและยึดท่าเรือช่องแคบ (Channel Ports) ที่บริเตนใช้ขนส่งสรรพาวุธ ถึงแม้ว่าเยอรมันจะสามารถรุกไปได้ไกลจากเดิมกว่า 65 กิโลเมตร แต่พื้นที่ที่ยึดได้กลับให้ประโยชน์ทางยุทธศาสตร์แก่เยอรมันน้อยมาก[8] ปฏิบัติการครั้งหลัง ๆ อีกสามปฏิบัติการคือปฏิบัติการจอร์เจต ปฏิบัติการบลือเชอร์–ยอร์ค และไกเซเนาล้วนแล้วแต่ไม่บรรลุจุดประสงค์และเสียกำลังพลจำนวนมาก[9] วันที่ 15 กรกฎาคม เยอรมันโจมตีที่แม่น้ำมาร์นเป็นครั้งที่สองเพื่อหวังตบตาฝ่ายสัมพันธมิตรก่อนจะบุกทางฟลานเดอร์แต่ล้มเหลว เยอรมันจึงสั่งถอนทัพในวันที่ 20 กรกฎาคม[10]

ชัยชนะในยุทธการที่มาร์นครั้งที่สองช่วยเสริมสร้างขวัญกำลังใจให้ทัพฝ่ายสัมพันธมิตร และนำไปสู่การรุกร้อยวัน อันเป็นการรุกกลับของฝ่ายสัมพันธมิตรที่ท้ายที่สุดแล้วบีบให้เยอรมันยอมสงบศึกในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1918[11]

อ้างอิง

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง