จักรพรรดิคัมมุ

จักรพรรดิคัมมุ (ญี่ปุ่น: 桓武天皇โรมาจิKammu-tennō; ค.ศ. 735 – 9 เมษายน ค.ศ. 806) จักรพรรดิองค์ที่ 50 แห่งราชวงศ์ญี่ปุ่น[1] ตามที่ได้จัดเรียงไว้ในรายพระนามจักรพรรดิญี่ปุ่น[2] และเป็นช่วงที่พระราชอำนาจของจักรพรรดิเรืองอำนาจถึงจุดสูงสุด[3] โดยพระองค์มีอีกพระนามหนึ่งว่า จักรพรรดิคาชิวาบาระ ซึ่งมีที่มาจากพระนามสุสานของพระองค์

จักรพรรดิคัมมุ
桓武天皇
พระสาทิสลักษณ์ของจักรพรรดิคัมมุ, คริสต์ศตวรรษที่ 16
จักรพรรดิญี่ปุ่น
30 เมษายน ค.ศ. 781 – 9 เมษายน ค.ศ. 806
ราชาภิเษก10 พฤษภาคม ค.ศ. 781
ไดโจไซ4 ธันวาคม 781
พระนามหลังสวรรคตชิโงแบบจีน:
จักรพรรดิคัมมุ (桓武天皇)

ชิโงแบบญี่ปุ่น:
ยามาโตเนโกอามัตสึฮิตสึงิอิยาเตริ โนะ ซูเมรามิโกโตะ (日本根子皇統弥照天皇)
ยุคยุคนาระยุคเฮอัง
รัชกาลก่อนหน้าโคนิง
รัชกาลถัดไปเฮเซ

พระราชสมภพ4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 736
พระบรมนามาภิไธยยามาเบะ (山部)
สวรรคต9 เมษายน ค.ศ. 806(806-04-09) (70 ปี)
ฝังพระบรมศพ28 เมษายน 806
สุสานหลวงคาชิวาบาระ โนะ มิซาซางิ (柏原陵) (เกียวโต)
พระราชบิดาจักรพรรดิโคนิง
พระราชมารดาทากาโนะ โนะ นีงาซะ
จักรพรรดินี (โคโง)ฟูจิวาระ โนะ โอโตมูโระ
พระราชโอรส-ธิดา

จักรพรรดิคัมมุครองราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศระหว่าง ค.ศ. 781 - 806

ในเวลาต่อมาพระนาม คาชิวาบาระ ของจักรพรรดิคัมมุได้ถูกนำไปใช้เป็นพระนามของจักรพรรดิโกะ-คาชิวาบาระ จักรพรรดิในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16

พระราชประวัติ

จักรพรรดิคัมมุ

พระนามส่วนพระองค์ของคัมมุ (อิมินะ) คือ ยามาเบะ (ญี่ปุ่น: 山部โรมาจิYamabe)[4] เป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ในเจ้าชายชิรากาเบะ (ภายหลังรู้จักกันในพระนามจักรพรรดิโคนิง) และประสูติก่อนที่ชิรากาเบะจะขึ้นครองราชย์[5] โชกุนิฮงงิ (ญี่ปุ่น: 続日本紀โรมาจิShoku Nihongi) รายงานว่า ยามาโตะ โนะ นีงาซะ (ภายหลังเรียกว่าทากาโนะ โนะ นีงาซะ) พระราชมารดาของยามาเบะ เป็นทายาทรุ่นที่ 10 ของพระเจ้ามูรยองแห่งแพ็กเจ (ค.ศ. 462-523)[6]

และนอกจากนี้ยังเป็นพระราชบิดาของจักรพรรดิอีก 3 พระองค์คือจักรพรรดิเฮเซ จักรพรรดิองค์ที่ 51, จักรพรรดิซางะ จักรพรรดิองค์ที่ 52 และ จักรพรรดิจุนนะ จักรพรรดิองค์ที่ 53

เหตุการณ์ในพระชนมชีพของจักรพรรดิคัมมุ

เจ้าชายยะมะเบะมิได้รับการสถาปนาเป็นรัชทายาทเนื่องจากพระอนุชาต่างพระราชมารดาของพระองค์คือ เจ้าชายโอะซะเบะ ที่ประสูติแต่จักรพรรดินีคือ เจ้าหญิงอิโนะเอะ พระราชธิดาในจักรพรรดิโชมุได้รับสถาปนาเป็นรัชทายาทจนกระทั่งเกิดเหตุการณ์สาปแช่งจักรพรรดิโคนิงทำให้จักรพรรดินีและเจ้าชายโอะซะเบะถูกปลดและถูกเนรเทศเจ้าชายยะมะเบะจึงได้รับสถาปนาเป็นรัชทายาทแทน

  • 773:[7] ได้รับตำแหน่งมกุฏราชกุมาร
  • 30 เมษายน ค.ศ. 781[8](ปีเท็นโอที่ 1, วันที่ 3 เดือน 4[9]): จักรพรรดิโคนิงสละราชสมับติในปีที่ 11 ในรัชสมัยของพระองค์[10] หลังจากนั้นไม่นาน คัมมุจึงขึ้นครองราชย์[11] ในรัชสมัยของพระองค์ ได้มีการย้ายเมืองหลวงญี่ปุ่นจากนาระ (เฮโจเกียว) ไปยังนางาโอกะเกียวใน ค.ศ. 784[12] จากนั้นจึงย้ายเมืองหลวงอีกครั้งใน ค.ศ. 794[13]
  • 28 กรกฎาคม ค.ศ. 782 (ปีเอ็นเรียกุที่ 1, วันที่ 14 เดือน 6[14]): ซาไดจิง ฟูจิวาระ โนะ อูโอนะมีส่วนในเหตุการณ์ที่ทำให้เขาถูกถอดออกจากตำแหน่งและเนรเทศไปยังคีวชิ[12] อูโอนะได้รับอนุญาตให้กลับไปยังเมืองหลวงโดยอ้างว่าป่วย หลังเสียชีวิตที่นั่น จึงมีการเผาคำสั่งเนรเทศและฟื้นฟูตำแหน่งของเขา[12] โดยเป็นช่วงเดียวกันที่ฟูจิวาระ โนะ ทามาโระได้รับการแต่งตั้งเป็นอูไดจิง ในช่วงนั้นทั้งตำแหน่งซาไดจิงและอูไดจิงว่าง ที่ปรึกษาหลัก (ไดนางง) และจักรพรรดิรับหน้าที่และอำนาจที่จะได้รับการมอบหมายเป็นอย่างอื่น[15]
  • 783 (ปีเอ็นเรียกุที่ 2, เดือน 3[16]): อูไดจิง ทามาโระเสียชีวิตตอนอายุ 62 ปี[15]
  • 783 (ปีเอ็นเรียกุที่ 2, เดือน 7[17]): ฟูจิวาระ โนะ โคเรกิมิกลายเป็น อูไดจิง คนใหม่ต่อจากฟูจิวาระ โนะ ทามาโระ[15]
  • 793 (ปีเอ็นเรียกุที่ 12[18]): เริ่มต้นก่อสร้างวัดเอ็นเรียกุ ภายใต้การนำของเด็งเงียว[13]
  • 794:[13] ย้ายเมืองหลวงไปยังเฮอังเกียว โดยมีพระราชวังชื่อว่า เฮอังโนะมิยะ (平安宮?, "palace of peace/tranquility")[4]
  • 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 794 (ปีเอ็นเรียกุที่ 13, วันที่ 21 เดือน 10[19]): จักรพรรดิเสด็จด้วยแคร่จากนาระไปยังเฮอังเเกียว เมืองหลวงใหม่ พร้อมขบวนแห่ที่ยิ่งใหญ่[13] ถือเป็นจุดเริ่มต้นยุคนาระ
  • 794 แต่งตั้งโอโตโมะ โนะ โอโตมาโระเป็นโชกุนคนแรก ร่วมกับซากาโนอูเอะ โนะ ทามูรามาโระที่อยู่ภายใต้เอมิชิที่ฮนชูเหนือ[20]
  • 806:[4] คัมมุสวรรคตตอตพระชนมพรรษา 70 พรรษา[21] รัชสมัยของพระองค์มีระยะเวลา 25 ปี

แผนผัง

[22]

พระราชวงศ์

จักรพรรดิคัมมุมีพระราชโอรส-ธิดาทั้งสิ้น 36 พระองค์[23]

อ้างอิง

ข้อมูล

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง