จังหวัดชัยนาท

จังหวัดในภาคกลางในประเทศไทย

ชัยนาท เดิมสะกดว่า ไชยนาท[3] เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย[4] มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดต่าง ๆ ตามเข็มนาฬิกาจากทิศเหนือ ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดอุทัยธานี

จังหวัดชัยนาท
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันChangwat Chainat
จากซ้ายไปขวา บนลงล่าง:
คำขวัญ: 
หลวงปู่ศุขลือชา เขื่อนเจ้าพระยาลือชื่อ
นามระบือสวนนก ส้มโอดกขาวแตงกวา
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดชัยนาทเน้นสีแดงประเทศมาเลเซียประเทศพม่าประเทศลาวประเทศเวียดนามประเทศกัมพูชาจังหวัดนราธิวาสจังหวัดยะลาจังหวัดปัตตานีจังหวัดสงขลาจังหวัดสตูลจังหวัดตรังจังหวัดพัทลุงจังหวัดกระบี่จังหวัดภูเก็ตจังหวัดพังงาจังหวัดนครศรีธรรมราชจังหวัดสุราษฎร์ธานีจังหวัดระนองจังหวัดชุมพรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จังหวัดเพชรบุรีจังหวัดราชบุรีจังหวัดสมุทรสงครามจังหวัดสมุทรสาครกรุงเทพมหานครจังหวัดสมุทรปราการจังหวัดฉะเชิงเทราจังหวัดชลบุรีจังหวัดระยองจังหวัดจันทบุรีจังหวัดตราดจังหวัดสระแก้วจังหวัดปราจีนบุรีจังหวัดนครนายกจังหวัดปทุมธานีจังหวัดนนทบุรีจังหวัดนครปฐมจังหวัดกาญจนบุรีจังหวัดสุพรรณบุรีจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจังหวัดอ่างทองจังหวัดสิงห์บุรีจังหวัดสระบุรีจังหวัดลพบุรีจังหวัดนครราชสีมาจังหวัดบุรีรัมย์จังหวัดสุรินทร์จังหวัดศรีสะเกษจังหวัดอุบลราชธานีจังหวัดอุทัยธานีจังหวัดชัยนาทจังหวัดอำนาจเจริญจังหวัดยโสธรจังหวัดร้อยเอ็ดจังหวัดมหาสารคามจังหวัดขอนแก่นจังหวัดชัยภูมิจังหวัดเพชรบูรณ์จังหวัดนครสวรรค์จังหวัดพิจิตรจังหวัดกำแพงเพชรจังหวัดตากจังหวัดมุกดาหารจังหวัดกาฬสินธุ์จังหวัดเลยจังหวัดหนองบัวลำภูจังหวัดหนองคายจังหวัดอุดรธานีจังหวัดบึงกาฬจังหวัดสกลนครจังหวัดนครพนมจังหวัดพิษณุโลกจังหวัดอุตรดิตถ์จังหวัดสุโขทัยจังหวัดน่านจังหวัดพะเยาจังหวัดแพร่จังหวัดเชียงรายจังหวัดลำปางจังหวัดลำพูนจังหวัดเชียงใหม่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดชัยนาทเน้นสีแดง
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดชัยนาทเน้นสีแดง
ประเทศ ไทย
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการ นที มนตริวัต
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2565)
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด2,469.746 ตร.กม. (953.574 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 65
ประชากร
 (พ.ศ. 2566)[2]
 • ทั้งหมด316,220 คน
 • อันดับอันดับที่ 68
 • ความหนาแน่น128.04 คน/ตร.กม. (331.6 คน/ตร.ไมล์)
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 30
รหัส ISO 3166TH-18
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
 • ต้นไม้มะตูม
 • ดอกไม้ชัยพฤกษ์
 • สัตว์น้ำปลาแดง
ศาลากลางจังหวัด
 • ที่ตั้งถนนพรหมประเสริฐ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท 17000
 • โทรศัพท์0 5641 1234
 • โทรสาร0 5641 2104
เว็บไซต์http://www.chainat.go.th/
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ประวัติ

ชัยนาทแปลตามศัพท์มีความหมายว่า "เสียงบันลือแห่งชัยชนะ" เป็นเมืองโบราณเมืองหนึ่ง ตัวเมืองเดิมอยู่บริเวณฝั่งขวาแม่น้ำเจ้าพระยาที่ปากคลองแพรกศรีราชา ใต้ปากน้ำเก่า สันนิษฐานว่าคงจะสร้างขึ้นในสมัยพญาเลอไทครองกรุงสุโขทัยระหว่าง พ.ศ. 1860–1879 เมืองแห่งนี้จึงได้ชื่อว่า เมืองแพรกหรือเมืองสรรค์ มีฐานะเป็นเมืองหน้าด่านทางใต้ เมื่อกรุงสุโขทัยเสื่อมอำนาจลง เมืองแพรกได้กลายเป็นเมืองหน้าด่านทางตอนเหนือของกรุงศรีอยุธยา ต่อมาได้เกิดชุมชนใหม่ไม่ไกลจากเมืองสรรค์ เมืองที่เกิดขึ้นใหม่นี้เป็นเมืองใหญ่ มีชื่อว่า ชัยนาท ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ย้ายตัวเมืองจากบริเวณแหลมยาง มาตั้งตรงฝั่งซ้ายแม่น้ำเจ้าพระยา ส่วนเมืองสรรค์นั้นเสื่อมลงเรื่อย ๆ เพราะผู้คนอพยพมาอยู่ที่ชัยนาทเป็นส่วนใหญ่ ในที่สุดก็กลายเป็นเพียงอำเภอหนึ่งของชัยนาทเท่านั้น ชัยนาทเป็นเมืองยุทธศาสตร์ที่สำคัญ เคยใช้เป็นที่ตั้งทัพรับศึกพม่าหลายครั้งและมีชัยทุกครั้งไป จึงเป็นที่มาของชื่อเมืองชัยนาทแห่งนี้

ภูมิศาสตร์

ลักษณะภูมิประเทศ

จังหวัดชัยนาทมีลักษณะภูมิประเทศ โดยทั่วไปเป็นพื้นที่ราบลุ่มมีพื้นที่ประมาณ 99.06 ของพื้นที่ทั้งหมด ได้แก่ พื้นที่ตอนกลางตอนใต้และตะวันออกของจังหวัดมีลักษณะเป็นที่ราบจนถึงพื้นที่ลูกคลื่นลอนลาดมีแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำน้อย ไหลผ่านพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วทุกอำเภอ เช่น

  • แม่น้ำเจ้าพระยา ไหลผ่านอำเภอมโนรมย์ วัดสิงห์ เมืองชัยนาท และสรรพยา
  • แม่น้ำท่าจีน หรือแม่น้ำมะขามเฒ่า ไหลผ่านอำเภอวัดสิงห์ และหันคา
  • แม่น้ำน้อย ไหลผ่านอำเภอสรรคบุรี
  • คลองชลประทาน ซึ่งมีหลายสายไหลผ่านพื้นที่ต่าง ๆ ได้แก่ คลองอนุศาสนนันท์ คลองมหาราช คลองพลเทพ เป็นต้น ล้วนเป็นแหล่งน้ำสำคัญสำหรับการเกษตรกรรมตามพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วไป

นอกจากลักษณะภูมิประเทศเป็นพื้นที่ราบแล้ว ยังมีเนินเขาเล็ก ๆ ขนาดประมาณ 1 – 3 กิโลเมตร กระจ่ายอยู่ทั่วไปที่สำคัญได้แก่ เขาธรรมามูล ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์สำคัญของจังหวัดชัยนาท เขาพลอง เขาขยาย เขากระดี่ เขาใหญ่เขารัก เขาดิน เขาหลัก เขาไก่ห้อย เขาสารพัดดี เขาราวเทียน เขาสรรพยา และเขาแก้ว เป็นต้น

อาณาเขต

จังหวัดชัยนาทเป็นจังหวัดหนึ่งของภาคกลางตอนบน ซึ่งประกอบด้วยจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ลพบุรี สระบุรี และชัยนาท ตั้งอยู่บริเวณริมฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยาและเป็นตอนเหนือสุดของภาคกลาง บนเส้นรุ้งที่ 15 องศาเหนือ และเส้นแวงที่ 100 องศาตะวันออก สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 16.854 เมตร มีพื้นที่ประมาณ 2,469.746 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 1,543,591 ไร่หรือเท่ากับร้อยละ 15.5 ของพื้นที่ในภาคกลางตอนบนเป็นพื้นที่เกษตรกรรม 1,219,669 ไร่ หรือประมาณร้อยละ 79.02 ของพื้นที่ทั้งหมด ห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ 195 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียงคือ

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

  • คำขวัญประจำจังหวัด: หลวงปู่ศุขลือชา เขื่อนเจ้าพระยาลือชื่อ นามระบือสวนนก ส้มโอดกขาวแตงกวา
  • ตราประจำจังหวัด: รูปพระธรรมจักร รองรับด้วยพญาครุฑ เบื้องหลังเป็นแม่น้ำและภูเขา ซึ่งหมายถึงสัญลักษณ์รูปพระธรรมจักรที่ประดิษฐานอยู่ ณ วิหารวัดธรรมามูลวรวิหาร ตั้งอยู่บนไหล่เขาธรรมามูล
  • ธงประจำจังหวัด: เป็นรูปตราประจำจังหวัดบนพื้นสีบานเย็น (magenta) ซึ่งเป็นสีประจำจังหวัด
  • ต้นไม้ประจำจังหวัด: มะตูม (Aegle marmelos)
  • ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกชัยพฤกษ์ (Cassia javanica)
  • สัตว์น้ำประจำจังหวัด: ปลาแดง (Phalacronotus bleekeri)

การเมืองการปกครอง

หน่วยการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

แผนที่อำเภอในจังหวัดชัยนาท

จังหวัดชัยนาทแบ่งการปกครองส่วนภูมิภาคแบ่งออกเป็น 8 อำเภอ 53 ตำบล 503 หมู่บ้าน โดยอำเภอทั้ง 8 มีดังนี้

  1. อำเภอเมืองชัยนาท
  2. อำเภอมโนรมย์
  3. อำเภอวัดสิงห์
  4. อำเภอสรรพยา
  5. อำเภอสรรคบุรี
  6. อำเภอหันคา
  7. อำเภอหนองมะโมง
  8. อำเภอเนินขาม

การปกครองส่วนท้องถิ่น

จังหวัดชัยนาทมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรวม 60 แห่ง ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยนาท, เทศบาลเมือง 1 แห่ง คือ เทศบาลเมืองชัยนาท, เทศบาลตำบล 38 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 20 แห่ง[5] โดยรายชื่อเทศบาลทั้งหมดจำแนกตามอำเภอต่าง ๆ ในจังหวัดชัยนาทมีดังนี้

อำเภอเมืองชัยนาท

  • เทศบาลเมืองชัยนาท
  • เทศบาลตำบลชัยนาท
  • เทศบาลตำบลหาดท่าเสา
  • เทศบาลตำบลเสือโฮก
  • เทศบาลตำบลบ้านกล้วย
  • เทศบาลตำบลนางลือ
  • เทศบาลตำบลธรรมามูล

อำเภอมโนรมย์

  • เทศบาลตำบลคุ้งสำเภา
  • เทศบาลตำบลหางน้ำสาคร
  • เทศบาลตำบลศิลาดาน
  • เทศบาลตำบลมโนรมย์

อำเภอวัดสิงห์

  • เทศบาลตำบลวัดสิงห์
  • เทศบาลตำบลหนองน้อย
  • เทศบาลตำบลหนองขุ่น

อำเภอสรรพยา

  • เทศบาลตำบลโพธิ์พิทักษ์
  • เทศบาลตำบลสรรพยา
  • เทศบาลตำบลบางหลวง
  • เทศบาลตำบลหาดอาษา
  • เทศบาลตำบลตลุก
  • เทศบาลตำบลโพนางดำออก
  • เทศบาลตำบลโพนางดำตก
  • เทศบาลตำบลเจ้าพระยา

อำเภอสรรคบุรี

  • เทศบาลตำบลแพรกศรีราชา
  • เทศบาลตำบลสรรคบุรี
  • เทศบาลตำบลดงคอน
  • เทศบาลตำบลห้วยกรด
  • เทศบาลตำบลบางขุด
  • เทศบาลตำบลโพงาม
  • เทศบาลตำบลดอนกำ
  • เทศบาลตำบลห้วยกรดพัฒนา

อำเภอหันคา

  • เทศบาลตำบลหันคา
  • เทศบาลตำบลสามง่ามท่าโบสถ์
  • เทศบาลตำบลหนองแซง
  • เทศบาลตำบลบ้านเชี่ยน
  • เทศบาลตำบลสามง่ามพัฒนา
  • เทศบาลตำบลห้วยงู

อำเภอหนองมะโมง

  • เทศบาลตำบลวังตะเคียน
  • เทศบาลตำบลหนองมะโมง

อำเภอเนินขาม

  • เทศบาลตำบลเนินขาม

รายชื่อผู้ว่าราชการจังหวัด

ลำดับชื่อช่วงเวลาดำรงตำแหน่ง
1พระยาสุรบดินทรสุรินทรฤๅชัย (ทองอิน)ไม่ทราบข้อมูล
2พระยาสุรบดินทรสุรินทรฤๅชัย (อ้น)ไม่ทราบข้อมูล
3พระยาสุรบดินทรสุรินทรฤๅชัย (ขุนเณร)ไม่ทราบข้อมูล
4พระยามหาอาณุภาพไม่ทราบข้อมูล
5พระยาสุรบดินทรสุรินทรฤๅชัย (ติ่ง)ไม่ทราบข้อมูล
6หลวงวิชิตพิทักษ์ (หม่อมหลวงอั้น เสนีวงศ์)ไม่ทราบข้อมูล
7พระเฑียรฆราษ (แม้น)ไม่ทราบข้อมูล
8พระกำแพงพลล้าน (ชื้น คชภูมิ)ไม่ทราบข้อมูล
9พระยาไชยนฤนาท (ฉาย อัมพะเศวต)พ.ศ. 2454–2463
10หม่อมเจ้าถูกถวิล ศุขสวัสดิพ.ศ. 2463–2465
11พระยาสุรินทรฦาชัย (จันทร์ ตุงคสวัสดิ์)พ.ศ. 2465–2469
12พระยาวิชิตสรไกร (เอี่ยม ขัมพานนท์)พ.ศ. 2469–2476
13พระยาประเสริฐสุนทราศัย (พงษ์ บุรุษชาติ)พ.ศ. 2476–2477
14หลวงศรีนรานุบาล (สมุท สาขากร)พ.ศ. 2477–2479
15หลวงอุบลศักดิ์ประชาบาล (พันธ์ พรหมนารท)พ.ศ. 2479–2480
16หลวงบริบาลนิคมเขตต์ (ชวน ทรัพย์สาร)พ.ศ. 2480–2483
17พระอนุมานสารกรรม (โต้ง สรัคคานนท์)พ.ศ. 2483–2486
18หลวงสกลผดุงเขตต์ (สรชัย สกลผดุงเขตต์)พ.ศ. 2486–2487
19หลวงสฤษฏิ์สาราลักษณ์ (เปรม สฤษฏิ์สาราลักษณ์)พ.ศ. 2487–2490
20หลวงอรรถวิภัชน์พจนกร (กรุง เลิศวนิช)พ.ศ. 2490–2490
21นายสมบูรณ์ จันทร์ประทับพ.ศ. 2490–2493
22ขุนรัฐวุฒิวิจารณ์พ.ศ. 2493–2495
23นายสมบัติ สมบัติทวีพ.ศ. 2495–2500
24นายยุทธ หนุนภักดีพ.ศ. 2500–2502
25นายสันต์ เอกมหาชัยพ.ศ. 2502–2503
26นายประกอบ ทรัพย์มณีพ.ศ. 2503–2506
27นายสง่า ศุขรัตน์พ.ศ. 2506–2512
28นายเฉลิม วรรธโนทัยพ.ศ. 2512–2515
29นายกัมพล กลิ่นสุคนธ์พ.ศ. 2515–2516
ลำดับชื่อระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
30นายกริช เกตุแก้วพ.ศ. 2516–2519
31นายประกิต อุตตะโมตพ.ศ. 2519–2520
32นายพัฒนะ สุวรรณพาณิชย์พ.ศ. 2520–2521
33นายจินดา จิตตรองพ.ศ. 2521–2522
34นายมนตรี ตระหง่านพ.ศ. 2522–2525
35นายกุศล ศานติธรรมพ.ศ. 2525–2527
36ดร.ไพรัตน์ เดชะรินทร์พ.ศ. 2527–2530
37นายสายสิทธิ พรแก้วพ.ศ. 2530–2532
38ร้อยตรีสมนึก เกิดเกษพ.ศ. 2532–2533
39นายประพัฒน์พงษ์ บำเพ็ญสิทธิ์พ.ศ. 2533–2535
40ร้อยตรีวิรุฬห์ พรหมายนพ.ศ. 2535–2539
41นายสุนทร ริ้วเหลืองพ.ศ. 2539–2540
42นายอนุกูล คุณาวงศ์พ.ศ. 2540–2541
43นายกฤษณ์ ธีระชัยชยุติพ.ศ. 2541–2542
44นายอารยะ วิวัฒน์วานิชพ.ศ. 2542–2544
45นายวิชัย ศรีขวัญพ.ศ. 2544–2547
46นายนันทชัย สุนทรพิพิธพ.ศ. 2547–2548
47นายเจด็จ มุสิกวงศ์พ.ศ. 2548–2550
48นายประภากร สมิติพ.ศ. 2550–2551
48นายวินัย บัวประดิษฐ์พ.ศ. 2551–2552
50นายจำลอง โพธิ์สุขพ.ศ. 2552–2556
51นายกำธร ถาวรสถิตย์พ.ศ. 2556–2557
52นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญพ.ศ. 2557–2558
53นายคณิต เอี่ยมระหงษ์พ.ศ. 2558–2559
54นายนิมิต วันไชยธนวงศ์พ.ศ. 2559–2560
55นายรณภพ เหลืองไพโรจน์พ.ศ. 2560–2563
56นายสมบูรณ์ ศิริเวชพ.ศ. 2563–2564
57นายรังสรรค์​ ตันเจริญพ.ศ. 2564–2565
58นายนที มนตริวัตพ.ศ. 2565–ปัจจุบัน

วัฒนธรรมและประเพณี

งานมหกรรมหุ่นฟางนก

เป็นการนำฟางข้าวที่ไม่ได้ใช้ทำประโยชน์ มาประดิษฐ์เป็นรูปนกขนาดใหญ่หลายชนิด โดยนก แต่ละชนิด นำมาติดตั้งบนรถแต่ละคัน ซึ่งตกแต่งไว้อย่างสวยงามเป็นรูปขบวน หลังจากการ ประกวดหุ่นฟางนกทั้งหมดจะนำมาตั้งแสดงที่บริเวณสนามหน้าศาลากลางจังหวัด กำหนดจัดงานประมาณต้นเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี นอกจากนี้ ในบริเวณงานจะมีการออกร้านจำหน่ายสินค้าพื้นเมือง และผลิตผลทางการเกษตร

งานส้มโอชัยนาท

ชัยนาทเป็นจังหวัดที่สามารถปลูกส้มโอทุกพันธุ์ได้ผลดี ส้มโอสายพันธุ์ที่มีชื่อเสียงของจังหวัดชัยนาทคือ ส้มโอพันธุ์ขาวแตงกวา ซึ่งมีลักษณะพิเศษดังนี้คือ ผลกลม ผิวเรียบ เปลือกบาง รสหวานกรอบอมเปรี้ยว ไม่มีรสขม ปัจจุบันจังหวัดเร่งส่งเสริมให้เกษตรกรชาวสวนปลูกกันเป็นอาชีพและจัดงานส้มโอชัยนาทเป็นประจำทุกปี ช่วงระหว่างปลายเดือนสิงหาคมหรือต้นเดือนกันยายนที่บริเวณหน้าศาลากลาง จังหวัดชัยนาท มีกิจกรรมที่น่าสนใจคือการประกวดส้มโอ การจัดนิทรรศการให้ความรู้ จากหน่วยงานทางราชการ การออกร้านจำหน่ายกิ่งพันธุ์และผลส้มโอของเกษตรกรชาวชัยนาท

สถานที่สำคัญ

บุคคลที่มีชื่อเสียง

อ้างอิง

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

15°11′N 100°08′E / 15.18°N 100.13°E / 15.18; 100.13

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง