จังหวัดของประเทศไทย

เขตปกครองระดับแรกของประเทศไทย

จังหวัด เป็นเขตบริหารราชการส่วนภูมิภาคของประเทศไทย ปัจจุบันมีทั้งสิ้น 76 จังหวัด[ก] (ทั้งนี้ กรุงเทพมหานครไม่เป็นจังหวัด[ข]) จังหวัดถือเป็นระดับการปกครองของรัฐบาลลำดับแรก โดยเป็นหน่วยการปกครองส่วนภูมิภาคที่รวมท้องที่หลาย ๆ อำเภอเข้าด้วยกันและมีฐานะเป็นนิติบุคคล ในแต่ละจังหวัดปกครองด้วยผู้ว่าราชการจังหวัด

จังหวัดของประเทศไทย
หมวดหมู่รัฐเดี่ยว
ที่ตั้งราชอาณาจักรไทย
จำนวน76 จังหวัด
1 เขตปกครองพิเศษ
ประชากรจังหวัดสมุทรสงคราม 192,052 คน – กรุงเทพมหานคร 5,588,222 คน (2563)[1]
พื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม 414 ตารางกิโลเมตร (160 ตารางไมล์) – จังหวัดเชียงใหม่ 22,311 ตารางกิโลเมตร (8,614 ตารางไมล์)
ความหนาแน่นจังหวัดแม่ฮ่องสอน 22.43 คน/ตารางกิโลเมตร (58.11 คน/ตารางไมล์) – กรุงเทพมหานคร 3,562.24 คน/ตารางกิโลเมตร (1,141.32 คน/ตารางไมล์) (2563)
การปกครองหน่วยราชการจังหวัด (ส่วนภูมิภาค)
องค์การบริหารส่วนจังหวัด (ส่วนท้องถิ่น)
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ (กรุงเทพมหานคร)
หน่วยการปกครองอำเภอ
เขต

การจัดแบ่งกลุ่มจังหวัดออกเป็นภาคต่าง ๆ มีการใช้เกณฑ์ที่แตกต่างกัน โดยมีทั้งการแบ่งอย่างเป็นทางการโดยราชบัณฑิตยสถานสำหรับใช้ในแบบเรียน และการแบ่งขององค์กรต่าง ๆ ตามแต่การใช้ประโยชน์ ชื่อของจังหวัดนั้นจะเป็นชื่อเดียวกับชื่ออำเภอที่เป็นที่ตั้งของศูนย์กลางจังหวัด เช่น ศูนย์กลางการปกครองของจังหวัดเพชรบุรีอยู่ที่อำเภอเมืองเพชรบุรี เป็นต้น แต่ชื่ออำเภอเหล่านี้มักเรียกย่อแต่เพียงว่า "อำเภอเมือง" ยกเว้นจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ใช้ชื่อจังหวัดเป็นชื่ออำเภอที่ตั้งศูนย์กลางการปกครองโดยตรง (อำเภอพระนครศรีอยุธยา)

หน่วยการปกครองย่อยรองไปจากจังหวัดคือ "อำเภอ" ซึ่งมีทั้งสิ้น 878 อำเภอ ซึ่งจำนวนอำเภอนั้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละจังหวัด ส่วนเขตการปกครองย่อยของกรุงเทพมหานครมีทั้งหมด 50 เขต

ประวัติ

สมัยก่อนการปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน

การปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2435

แผนที่มณฑลเทศาภิบาล พ.ศ. 2458

พ.ศ. 2435 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้มีการปฏิรูประบบการบริหารราชการแผ่นดินครั้งใหญ่ ให้เป็นไปตามอย่างอารยประเทศในโลกตะวันตก โดยทรงตั้งกระทรวงขึ้นใหม่ 12 กระทรวง และโอนการปกครองหัวเมืองทั้งหมดให้มาขึ้นกับกระทรวงมหาดไทย โดยมีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (ขณะนั้นดำรงพระยศเป็นกรมหมื่นดำรงราชานุภาพ) เป็นองค์ปฐมเสนาบดี

เมื่องานการปกครองส่วนภูมิภาคขึ้นกับกระทรวงมหาดไทยแล้ว การจัดการปกครองด้วยระบบมณฑลเทศาภิบาลจึงได้เริ่มมีขึ้นในปี พ.ศ. 2437 โดยแบ่งระดับการปกครองจากสูงสุดไปหาต่ำสุดเป็นมณฑล, เมือง (เทียบเท่าจังหวัด), อำเภอ, ตำบล และหมู่บ้าน มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้กำกับดูแลมณฑล การก่อตั้งมณฑลนั้นจะเป็นไปตามลำดับโดยขึ้นอยู่กับความเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญในเชิงยุทธศาสตร์ด้วย วัตถุประสงค์สำคัญในการจัดการปกครองเช่นนี้ ก็เพื่อให้ส่วนกลางสามารถควบคุมดูแลหัวเมืองและจัดการผลประโยชน์แผ่นดินได้อย่างใกล้ชิด และลิดรอนอำนาจและอิทธิพลของเจ้าเมืองในระบบเดิมลงอย่างสิ้นเชิง

การเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองดังกล่าว ทำให้ขุนนางท้องถิ่นที่ต้องการรักษาฐานอำนาจและอิทธิพลของตนไว้ ก่อการกบฏต่อต้านอำนาจรัฐในบางภูมิภาค เหตุการณ์กบฏครั้งสำคัญคือกบฏผู้มีบุญอีสาน (หรือ "กบฏผีบาปผีบุญ") ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2445 โดยอาศัยความเชื่อเรื่องยุคพระศรีอาริยเมตไตรย เป็นเครื่องมือในการปลุกระดมประชาชนให้ต่อต้านอำนาจรัฐ ขบวนการผู้มีบุญได้เคลื่อนไหวตามทั่วภาคอีสาน แต่ที่เป็นเหตุใหญ่ที่สุดอยู่ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งกลุ่มกบฏได้ก่อการถึงขั้นเผาเมืองเขมราฐและบังคับให้เจ้าเมืองเขมราฐร่วมขบวนการ แต่ที่สุดแล้วกบฏครั้งนี้ก็ถูกปราบปรามลงในเวลาไม่กี่เดือนต่อมา

หลังปี พ.ศ. 2459 คำว่า "จังหวัด" ได้กลายเป็นคำที่เรียกหน่วยการปกครองระดับต่ำกว่ามณฑลแทนคำว่า "เมือง" เพื่อแยกความกำกวมจากคำว่าเมืองที่ใช้เรียกที่ตั้งศูนย์กลางการปกครองของจังหวัด (อำเภอเมือง)

เมื่อสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงลาออกจาตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยในปี พ.ศ. 2458 นั้น ประเทศสยามได้แบ่งการปกครองออกเป็น 19 มณฑล 72 จังหวัด ทั้งนี้ ได้รวมถึงจังหวัดพระนคร ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงนครบาลจนถึง พ.ศ. 2465

เดือนธันวาคม พ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งหน่วยการปกครองระดับ "ภาค" ขึ้นเพื่อกำกับมณฑล โดยมีผู้ปกครองภาคเรียกว่า "อุปราช" ในระยะนี้ได้มีการตั้งมณฑลต่าง ๆ เพิ่มขึ้นจนถึงปี พ.ศ. 2465 อีก 4 มณฑล แต่มณฑลดังกล่าวก็ถูกยุบลงในปี พ.ศ. 2468 และมีอีกหลายมณฑลที่ถูกยุบรวมในช่วงเวลาเดียวกัน เพื่อลดรายจ่ายของรัฐบาล อันเนื่องมาจากปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1

สมัยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง

หลังการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ระบบมณฑลเทศาภิบาลถูกยกเลิกในปี พ.ศ. 2476 ทำให้จังหวัดกลายเป็นหน่วยการปกครองส่วนภูมิภาคระดับสูงสุด และตั้งแต่หลัง พ.ศ. 2500 เป็นต้นมา ก็ได้มีการจัดตั้งจังหวัดเพิ่มเติมอีกหลายแห่ง โดยการตัดแบ่งอาณาเขตบางส่วนจากจังหวัดที่มีขนาดใหญ่กว่า เช่น ในปี พ.ศ. 2515 ได้มีการแบ่งพื้นที่บางส่วนของจังหวัดอุบลราชธานีมาจัดตั้งเป็นจังหวัดยโสธร ในปี พ.ศ. 2520 มีการแบ่งพื้นที่บางส่วนของจังหวัดเชียงรายมาจัดตั้งเป็นจังหวัดพะเยา ในปี พ.ศ. 2525 ได้มีการแบ่งพื้นที่บางส่วนของจังหวัดนครพนมมาตั้งเป็นจังหวัดจังหวัดมุกดาหาร ในปี พ.ศ. 2536 ได้มีการตั้งจังหวัดขึ้นมาพร้อมกัน 3 จังหวัดคือจังหวัดหนองบัวลำภู (แยกจากจังหวัดอุดรธานี) จังหวัดสระแก้ว (แยกจากจังหวัดปราจีนบุรี) และจังหวัดอำนาจเจริญ (แยกจากจังหวัดอุบลราชธานี) และจังหวัดล่าสุดของประเทศไทยคือจังหวัดบึงกาฬ (แยกจากจังหวัดหนองคาย) ในปี พ.ศ. 2554

ในปี พ.ศ. 2514 ได้มีการรวมจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรีขึ้นเป็นเขตปกครองรูปแบบพิเศษชื่อ "นครหลวงกรุงเทพธนบุรี" และได้เปลี่ยนชื่อเป็น "กรุงเทพมหานคร" เมื่อ พ.ศ. 2515 ซึ่งเป็นการรวมภารกิจในการปกครองของทั้งสองจังหวัดในรูปแบบเทศบาลเข้าไว้ด้วยกัน ที่มาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นผู้ปกครองสูงสุดของกรุงเทพมหานครนั้นมาจากการเลือกตั้ง ไม่ใช่การแต่งตั้งจากกระทรวงมหาดไทยอย่างผู้ว่าราชการจังหวัด

ลำดับเหตุการณ์

การแบ่งภาคตามเกณฑ์ราชบัณฑิตยสถาน

ราชบัณฑิตยสถานแบ่งประเทศไทยออกเป็น 6 ภาค โดยใช้เกณฑ์ด้านภูมิศาสตร์[14] ซึ่งเป็นการแบ่งที่ใช้อย่างเป็นทางการและมีใช้ทั่วไปในแบบเรียน

จังหวัดเชียงรายจังหวัดพะเยาจังหวัดน่านจังหวัดแพร่จังหวัดอุตรดิตถ์จังหวัดลำปางจังหวัดลำพูนจังหวัดเชียงใหม่จังหวัดแม่ฮ่องสอนจังหวัดเลยจังหวัดหนองคายจังหวัดบึงกาฬจังหวัดหนองบัวลำภูจังหวัดอุดรธานีจังหวัดสกลนครจังหวัดนครพนมจังหวัดชัยภูมิจังหวัดขอนแก่นจังหวัดกาฬสินธุ์จังหวัดมุกดาหารจังหวัดมหาสารคามจังหวัดร้อยเอ็ดจังหวัดยโสธรจังหวัดอำนาจเจริญจังหวัดนครราชสีมาจังหวัดบุรีรัมย์จังหวัดสุรินทร์จังหวัดศรีสะเกษจังหวัดอุบลราชธานีจังหวัดสุโขทัยจังหวัดพิษณุโลกจังหวัดกำแพงเพชรจังหวัดพิจิตรจังหวัดเพชรบูรณ์จังหวัดนครสวรรค์จังหวัดอุทัยธานีจังหวัดชัยนาทจังหวัดสิงห์บุรีจังหวัดลพบุรีจังหวัดสุพรรณบุรีจังหวัดอ่างทองจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจังหวัดสระบุรีจังหวัดนครปฐมจังหวัดนนทบุรีจังหวัดปทุมธานีจังหวัดนครนายกจังหวัดสมุทรสงครามจังหวัดสมุทรสาครกรุงเทพมหานครจังหวัดสมุทรปราการจังหวัดฉะเชิงเทราจังหวัดปราจีนบุรีจังหวัดสระแก้วจังหวัดชลบุรีจังหวัดระยองจังหวัดจันทบุรีจังหวัดตราดจังหวัดตากจังหวัดกาญจนบุรีจังหวัดราชบุรีจังหวัดเพชรบุรีจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จังหวัดระนองจังหวัดชุมพรจังหวัดสุราษฎร์ธานีจังหวัดพังงาจังหวัดภูเก็ตจังหวัดกระบี่จังหวัดนครศรีธรรมราชจังหวัดตรังจังหวัดพัทลุงจังหวัดสตูลจังหวัดสงขลาจังหวัดปัตตานีจังหวัดยะลาจังหวัดนราธิวาส
แผนที่ประเทศไทยแสดงเขตรัฐกิจของจังหวัดต่าง ๆ
(คลิกที่จังหวัดเพื่อไปยังบทความจังหวัดนั้นได้)
███ ภาคเหนือ
███ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
███ ภาคกลาง
███ ภาคตะวันออก
███ ภาคตะวันตก
███ ภาคใต้


ภาคเหนือ

ตราประจำจังหวัดธงประจำจังหวัดชื่อจังหวัด
อักษรไทย
ชื่อจังหวัด
อักษรโรมัน
จำนวนประชากร
(คน)
พื้นที่
(ตร.กม.)
ความหนาแน่น
ประชากร

(คน/ตร.กม.)
ดพม.[15]ตัวย่อ
อักษรไทย
ตัวย่อ
อักษรโรมัน
รหัส
ไอเอสโอ
รหัสฟิปส์
เชียงรายChiang Rai1,287,61511,678.4110.30.716ชรCRITH-57TH03
เชียงใหม่Chiang Mai1,640,47920,107.081.60.904ชมCMITH-50TH02
น่านNan476,36311,472.141.50.705นนNANTH-55TH04
พะเยาPhayao486,3046,335.176.80.722พยPYOTH-56TH41
แพร่Phrae447,5646,538.670.50.702พรPRETH-54TH07
แม่ฮ่องสอนMae Hong Son242,74212,681.319.10.704มสMSNTH-58TH01
ลำปางLampang761,94912,534.060.80.748ลปLPGTH-52TH06
ลำพูนLamphun404,5604,505.990.00.729ลพLPNTH-51TH05
อุตรดิตถ์Uttaradit462,6187,838.659.00.711อตUTDTH-53TH10

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ตราประจำจังหวัดธงประจำจังหวัดชื่อจังหวัด
อักษรไทย
ชื่อจังหวัด
อักษรโรมัน
จำนวนประชากร
(คน)
พื้นที่
(ตร.กม.)
ความหนาแน่น
ประชากร

(คน/ตร.กม.)
ดพม.[15]ตัวย่อ
อักษรไทย
ตัวย่อ
อักษรโรมัน
รหัส
ไอเอสโอ
รหัสฟิปส์
กาฬสินธุ์Kalasin982,5786,946.7141.40.718กสKSNTH-46TH23
ขอนแก่นKhon Kaen1,767,60110,886.0162.40.850ขกKKNTH-40TH22
ชัยภูมิChaiyaphum1,127,42312,778.388.20.748ชยCPMTH-36TH26
นครพนมNakhon Phanom703,3925,512.7127.60.778นพNPMTH-48TH73
นครราชสีมาNakhon Ratchasima2,628,81820,494.0128.270.815นมNMATH-30TH27
บึงกาฬBueng Kan385,0534,30589.4---บกBKNTH-38TH81
บุรีรัมย์Buri Ram1,553,76510,322.9150.50.729บรBRMTH-31TH28
มหาสารคามMaha Sarakham940,9115,291.7177.80.729มคMKMTH-44TH24
มุกดาหารMukdahan339,5754,339.878.20.728มหMDHTH-49TH78
ยโสธรYasothon539,5424,161.7129.60.782ยสYSTTH-35TH72
ร้อยเอ็ดRoi Et1,309,7088,299.4157.80.732รอRETTH-45TH25
เลยLoei624,06611,424.654.60.731ลยLEITH-42TH18
ศรีสะเกษSi Sa Ket1,452,4718,840.0164.30.734ศกSSKTH-33TH30
สกลนครSakon Nakhon1,122,9059,605.8116.90.705สนSNKTH-47TH20
สุรินทร์Surin1,381,7618,124.1170.10.751สรSRNTH-32TH29
หนองคายNong Khai509,3953,027.0168.30.755นคNKITH-43TH17
หนองบัวลำภูNong Bua Lam Phu502,8683,859.0130.30.714นภNBPTH-39TH79
อุดรธานีUdon Thani1,544,78611,730.3131.70.907อดUDNTH-41TH76
อุบลราชธานีUbon Ratchathani1,813,08815,744.8115.20.800อบUBNTH-34TH75
อำนาจเจริญAmnat Charoen372,1373,161.2117.70.712อจACRTH-37TH77

ภาคกลาง

ตราประจำจังหวัดธงประจำจังหวัดชื่อจังหวัด
อักษรไทย
ชื่อจังหวัด
อักษรโรมัน
จำนวนประชากร
(คน)
พื้นที่
(ตร.กม.)
ความหนาแน่น
ประชากร

(คน/ตร.กม.)
ดพม.[15]ตัวย่อ
อักษรไทย
ตัวย่อ
อักษรโรมัน
รหัส
ไอเอสโอ
รหัสฟิปส์
กรุงเทพมหานครBangkok5,682,4151,568.71,4000.933กทBKKTH-10TH40
  กำแพงเพชรKamphaeng Phet729,1338,607.584.50.725กพKPTTH-62TH11
  ชัยนาทChai Nat329,7222,469.7135.60.756ชนCNTTH-18TH32
  นครนายกNakhon Nayok259,3422,122.0119.10.758นยNYKTH-26TH43
  นครปฐมNakhon Pathom911,4922,168.3396.70.682นฐNPTTH-73TH53
  นครสวรรค์Nakhon Sawan1,065,3349,597.7111.80.752นวNSNTH-60TH16
  นนทบุรีNonthaburi1,229,735622.31,770.40.743นบNBITH-12TH38
  ปทุมธานีPathum Thani1,129,1151,525.9739.90.805ปทPTETH-13TH39
  พระนครศรีอยุธยาPhra Nakhon Si Ayutthaya808,3602,556.6305.90.729อยAYATH-14TH36
  พิจิตรPhichit541,8684,531.0122.00.693พจPCTTH-66TH13
  พิษณุโลกPhitsanulok813,85210,815.878.60.724พลPLKTH-65TH12
  เพชรบูรณ์Phetchabun996,03112,668.478.60.745พชPNBTH-67TH14
  ลพบุรีLop Buri755,8546,199.8121.90.742ลบLRITH-16TH34
  สมุทรปราการSamut Prakan1,310,7661,004.11,180.30.825สปSPKTH-11TH42
  สมุทรสงครามSamut Songkhram194,057416.7465.70.762สสSKMTH-75TH54
  สมุทรสาครSamut Sakhon491,887872.3563.90.758สคSKNTH-74TH55
  สระบุรีSaraburi617,3843,576.5172.60.798สบSRITH-19TH37
  สิงห์บุรีSing Buri214,661822.5261.00.739สหSBRTH-17TH33
  สุโขทัยSukhothai601,7786,596.191.20.738สทSTITH-64TH09
  สุพรรณบุรีSuphan Buri845,9505,358.0157.90.744สพSPBTH-72TH51
  อ่างทองAng Thong284,970968.4294.30.720อทATGTH-15TH35
  อุทัยธานีUthai Thani327,9596,730.348.70.704อนUTITH-61TH15

ภาคตะวันออก

ตราประจำจังหวัดธงประจำจังหวัดชื่อจังหวัด
อักษรไทย
ชื่อจังหวัด
อักษรโรมัน
จำนวนประชากร
(คน)
พื้นที่
(ตร.กม.)
ความหนาแน่น
ประชากร

(คน/ตร.กม.)
ดพม.[15]ตัวย่อ
อักษรไทย
ตัวย่อ
อักษรโรมัน
รหัส
ไอเอสโอ
รหัสฟิปส์
จันทบุรีChanthaburi514,6166,338.081.20.754จบCTITH-22TH48
ฉะเชิงเทราChachoengsao673,9335,351.0125.90.708ฉชCCOTH-24TH44
ชลบุรีChon Buri1,509,1254,363.0345.80.889ชบCBITH-20TH46
ตราดTrat220,9212,819.078.40.675ตรTRTTH-23TH49
ปราจีนบุรีPrachin Buri466,5724,762.498.00.755ปจPRITH-25TH74
  ระยองRayong626,4023,552.0176.40.802รยRYGTH-21TH47
  สระแก้วSa Kaeo485,6327,195.175.60.688สกSKWTH-27TH80

ภาคตะวันตก

ตราประจำจังหวัดธงประจำจังหวัดชื่อจังหวัด
อักษรไทย
ชื่อจังหวัด
อักษรโรมัน
จำนวนประชากร
(คน)
พื้นที่
(ตร.กม.)
ความหนาแน่น
ประชากร

(คน/ตร.กม.)
ดพม.[15]ตัวย่อ
อักษรไทย
ตัวย่อ
อักษรโรมัน
รหัส
ไอเอสโอ
รหัสฟิปส์
  กาญจนบุรีKanchanaburi839,77619,483.243.10.733กจKRITH-71TH50
  ตากTak525,68416,406.632.00.735ตกTAKTH-63TH08
  ประจวบคีรีขันธ์Prachuap Khiri Khan509,1346,367.680.00.868ปขPKNTH-77TH57
  เพชรบุรีPhetchaburi464,0336,225.174.50.798พบPBITH-76TH56
  ราชบุรีRatchaburi839,0755,196.5161.50.726รบRBRTH-70TH52

ภาคใต้

ตราประจำจังหวัดธงประจำจังหวัดชื่อจังหวัด
อักษรไทย
ชื่อจังหวัด
อักษรโรมัน
จำนวนประชากร
(คน)
พื้นที่
(ตร.กม.)
ความหนาแน่น
ประชากร

(คน/ตร.กม.)
ดพม.[15]ตัวย่อ
อักษรไทย
ตัวย่อ
อักษรโรมัน
รหัส
ไอเอสโอ
รหัสฟิปส์
  กระบี่Krabi469,7694,708.599.80.805กบKBITH-81TH63
  ชุมพรChumphon509,6506,010.884.80.710ชพCPNTH-86TH58
  ตรังTrang643,0724,917.5130.80.692ตงTRGTH-92TH65
  นครศรีธรรมราชNakhon Si Thammarat1,557,4829,942.5156.60.769นศNRTTH-80TH64
  นราธิวาสNarathiwat796,2394,475.4177.90.636นธNWTTH-96TH31
  ปัตตานีPattani709,7961,940.4365.80.698ปนPTNTH-94TH69
  พังงาPhangnga267,4914,170.964.10.758พงPNATH-82TH61
  พัทลุงPhatthalung524,8573,424.5153.30.713พทPLGTH-93TH66
  ภูเก็ตPhuket402,017543.0740.30.921ภกPKTTH-83TH62
  ยะลาYala527,2954,521.1116.60.687ยลYLATH-95TH70
  ระนองRanong190,3993,298.057.70.678รนRNGTH-85TH59
  สตูลSatun319,7002,479.0129.00.655สตSTNTH-91TH67
  สงขลาSongkhla1,424,2307,393.9192.60.681สขSKATH-90TH68
  สุราษฎร์ธานีSurat Thani1,057,58112,891.582.00.849สฎSNITH-84TH60

การบริหารราชการ

จังหวัดเป็นราชการส่วนภูมิภาค โดยมีส่วนราชการระดับจังหวัดซึ่งรับคำสั่งจากราชการส่วนกลาง มีผู้ว่าราชการเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายบริหารส่วนภูมิภาค

ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นตำแหน่งราชการฝ่ายพลเรือน มีสถานะเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ประเภทบริหาร ระดับสูง สายงานบริหารงานปกครอง สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงมหาดไทย โดยผู้มีสิทธิ์เข้ารับการคัดเลือกเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด จะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้[16]

  1. เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัดกระทรวงมหาดไทย
  2. ดำรงตำแหน่งในตำแหน่งหนึ่งมาแล้ว ดังนี้
    • ประเภทบริหาร ระดับต้น ไม่น้อยกว่า 1 ปี
    • ประเภทบริหาร ระดับต้น และประเภทอำนวยการ รวมกันไม่น้อยกว่า 3 ปี

ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นผู้รับนโยบายและคำสั่งจากนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม มาปฏิบัติการให้เหมาะสมกับท้องที่และประชาชน และเป็นหัวหน้าบังคับบัญชาบรรดาข้าราชการฝ่ายบริหาร ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในราชการส่วนภูมิภาคในเขตจังหวัด และรับผิดชอบในราชการจังหวัดและอำเภอ[17]

การตั้งจังหวัดใหม่

คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์การตั้งจังหวัดใหม่ ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2524 โดยให้พิจารณาเรื่อง ดังต่อไปนี้[18]

  1. เนื้อที่และสภาพภูมิศาสตร์ จังหวัดที่จะแบ่งแยกควรมีเนื้อที่ประมาณ 10,000 ตร.ก.ม.ขึ้นไป และเมื่อแยกไปตั้งเป็นจังหวัดใหม่แล้วจังหวัดเดิมควรมีเนื้อที่ไม่น้อยกว่า 5,000 ตร.ก.ม. จังหวัดตั้งใหม่ควรมีเนื้อที่ 5,000 ตร.ก.ม.ขึ้นไป
  2. จำนวนอำเภอและกิ่งอำเภอในเขตการปกครอง จังหวัดที่จะแบ่งแยกควรมีอำเภอในเขตการปกครองจำนวนไม่น้อยกว่า 12 อำเภอ และกิ่งอำเภอ และเมื่อแยกไปตั้งเป็นจังหวัดใหม่แล้ว จังหวัดเดิมควรมีอำเภอและกิ่งอำเภอในเขตการปกครองไม่น้อยกว่า 6 อำเภอและกิ่งอำเภอ ส่วนจังหวัดที่ตั้งใหม่ควรมีอำเภอและกิ่งอำเภอไม่น้อยกว่า 6 อำเภอและกิ่งอำเภอ
  3. จำนวนประชากร จังหวัดที่จะแบ่งแยกควรมีจำนวนประชากรไม่น้อยกว่า 600,000 คน และเมื่อแยกไปแล้ว จังหวัดเดิมควรมีจำนวนประชากรไม่น้อยกว่า 300,000 คน จังหวัดตั้งใหม่ควรมีประชากรไม่น้อยกว่า 300,000 คน
  4. ลักษณะพิเศษของจังหวัด
  5. ผลดีในการให้บริการประชาชน
  6. ปัจจัยเกี่ยวกับสถานที่ราชการที่มีอยู่แล้วและความพร้อมในด้านอื่น
  7. ปัจจัยเกี่ยวกับอัตรากำลังเจ้าหน้าที่
  8. ความคิดเห็นของประชาชนและจังหวัด
  9. รายได้ของจังหวัดเดิม เช่น ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีสรรพากร เป็นต้น มีจำนวนไม่น้อยกว่า 5,000,000 บาท และเมื่อแยกไปจัดตั้งจังหวัดใหม่แล้วจังหวัดเดิมควรมีรายได้คงเหลือไม่น้อยกว่า 2,500,000 บาท ส่วนรายได้ของจังหวัดใหม่ก็ควรมีจำนวนไม่น้อยกว่า 2,500,000 บาทเช่นกัน
  10. หลักเกณฑ์อื่น ๆ เช่น เหตุผลทางประวัติศาสตร์ การเมือง และวัฒนธรรมของท้องถิ่นและนโยบายของรัฐบาล เป็นต้น

การเสนอตั้งจังหวัดใหม่ที่อยู่ระหว่างการพิจารณา

จังหวัดที่เสนอขอปีที่เสนอขอแยกออกจากจังหวัดองค์ประกอบพื้นที่ (ตร.กม.)จำนวนประชากร (คน)อ้างอิง
ทุ่งสง2563นครศรีธรรมราชอำเภอทุ่งสง บางขัน นาบอน ทุ่งใหญ่ ฉวาง ช้างกลาง ถ้ำพรรณรา และอำเภอพิปูน[19]
แม่สะเรียง2564แม่ฮ่องสอนอำเภอแม่สะเรียง2,587.455,290[20]

รายชื่อจังหวัดเรียงตามจำนวนและความหนาแน่นของประชากร

รายชื่อจังหวัดเรียงตามจำนวนประชากร

      หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน
* ปี พ.ศ. 2553 ประชากรจังหวัดหนองคายลดลงเนื่องจากการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ
* ปี พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก

รายชื่อจังหวัดเรียงตามความหนาแน่นของประชากร

หน่วย: คนต่อตารางกิโลเมตร

วิธีคิด นำจำนวนประชากรทั้งหมดในแต่ละจังหวัดมาหารกับพื้นที่

เชิงอรรถ

อ้างอิง

ดูเพิ่ม

สัญลักษณ์

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง