ธันเดอร์โดม

สนามกีฬาในร่มและสถานที่จัดคอนเสิร์ต

ธันเดอร์โดม เมืองทองธานี (อังกฤษ: Thunder Dome, Muang Thong Thani) หรือที่รู้จักกันในชื่อ ธันเดอร์โดม (อังกฤษ: Thunder Dome) เป็นสนามกีฬาในร่ม และเป็น 1 ใน 2 สนามกีฬาในพื้นที่ศูนย์กีฬาเมืองทองธานี (สนามกีฬาอีกแห่งในพื้นที่คือธันเดอร์โดมสเตเดียม) สร้างขึ้นเพื่อรองรับการแข่งขันเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ต่อมาถูกใช้เป็นเป็นสถานที่จัดคอนเสิร์ต และกิจกรรมอื่น ๆ เช่นเดียวกับอิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี ที่อยู่ใกล้เคียง

ธันเดอร์โดม
แผนที่
ชื่อเต็มธันเดอร์โดม เมืองทองธานี
ชื่อเดิมอาคารกีฬายกน้ำหนัก
ที่อยู่เมืองทองธานี ตำบลบ้านใหม่ อำเภอปากเกร็ด
จังหวัดนนทบุรี
 ไทย
พิกัด13°55′05″N 100°32′54″E / 13.91817024922166°N 100.54841881250705°E / 13.91817024922166; 100.54841881250705
เจ้าของบางกอกแลนด์ (พื้นที่)
การกีฬาแห่งประเทศไทย (ตัวอาคาร)[1]
ผู้ดำเนินการบริษัท คอร์โน แอนด์แนช จำกัด[2]
ชนิดสนามกีฬาในร่ม, สถานที่แสดงดนตรี
ประเภทยกน้ำหนัก, ว่ายน้ำ, รักบี้
ความจุ3,500 คน (ปกติ)[3]
4,000 คน (สูงสุด)[4]
พื้นที่5,341 ตารางเมตร[2]
การใช้งานในปัจจุบันกีฬาในร่ม, คอนเสิร์ต
การก่อสร้าง
ก่อสร้างพ.ศ. 2539 - พ.ศ. 2540
เปิดใช้สนามพ.ศ. 2541
ปีที่ใช้งานพ.ศ. 2541 - ปัจจุบัน
ผู้จัดการโครงการบางกอกแลนด์
เว็บไซต์
https://www.thunderdome.biz/th/

ประวัติ

ในปี พ.ศ. 2539 บริษัท บางกอกแลนด์ จำกัด (มหาชน) ได้สร้างศูนย์กีฬาเมืองทองธานีขึ้นเพื่อสนับสนุนการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในปี พ.ศ. 2541 โดยอาคารธันเดอร์โดมใช้จัดการแข่งขันกีฬายกน้ำหนัก จึงมีชื่อเดิมว่า "อาคารกีฬายกน้ำหนัก"[2] ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540[5] ได้ทำสัญญาให้การกีฬาแห่งประเทศไทยเช่าพื้นที่เป็นเวลา 30 ปี (จนถึง พ.ศ. 2570) เพื่อพัฒนาการกีฬาให้กับเยาวชน โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย[1] แต่ต่อมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 การกีฬาแห่งประเทศไทยก็ได้ให้บริษัท คอร์โน แอนด์แนช จำกัด (เดิมอยู่ในเครือสยามสปอร์ตซินดิเคท ก่อนจำหน่ายเงินลงทุนเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2565[6]) เป็นผู้เช่าอาคารต่อตามสัญญาที่เหลือ[2][5]

ปัจจุบัน ธันเดอร์โดมเป็นสถานที่จัดคอนเสิร์ตที่ได้รับความนิยมอีกแห่งหนึ่งของประเทศไทย เช่นเดียวกับอิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี ในศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมในพื้นที่ใกล้เคียง ปัจจุบันมักใช้จัดคอนเสิร์ตหรืองานพบปะแฟนคลับของศิลปินเคป็อปที่ได้รับความนิยมที่มาจัดคอนเสิร์ตทัวร์ในประเทศไทย[7]

เหตุการณ์สำคัญ

กีฬา

คอนเสิร์ต

พ.ศ. 2539

มิถุนายน 2539 :อิทธิ พลางกูร, หรั่ง ร็อกเคสตร้า, ต่อ-ต๋อง วงทู, พิสุทธิ์ ทรัพย์วิจิตร, ไอ-สครีม:Live Action Jump Concert:

พ.ศ. 2548

14 พฤษภาคม 2548 : Bodyslam Believe Concert25 มิถุนายน 2548 :ไอ..น้ำ,โฟร์ ศกลรัตน์(แขกรับเชิญ):คอนเสิร์ตรักคนมีเจ้าของ ร้องเพลง ไอ..น้ำ

พ.ศ. 2550

2 มีนาคม 2550:ฟิล์ม รัฐภูมิ, แดน-บีม, ดัง พันกร, ลิเดีย, ซินเดอเรลล่า, โฟร์ มด, น็อตโตะ, โจ-ป๊อป, เนโกะ จัมพ์, อิ๊ป ยุพาพักตร์, แอมมารี่, ไอ..น้ำ, เล้าโลม, หวิว , แอมไฟน์, เกียร์ไนท์:คอนเสิร์ต เราจะเป็นคนดี

พ.ศ. 2566

รายการโทรทัศน์

การประกวด

อื่น ๆ

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

13°55′05″N 100°32′54″E / 13.91817024922166°N 100.54841881250705°E / 13.91817024922166; 100.54841881250705

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง