ปมประสาทรากหลัง

ในกายวิภาคศาสตร์และประสาทวิทยาศาสตร์ ปมประสาทรากหลัง หรือ ปมประสาทไขสันหลัง (อังกฤษ: dorsal root ganglion หรือ spinal ganglion, ganglion sensorium nervi spinalis, ตัวย่อ DRG) เป็นปุ่มเล็กๆ บนรากหลัง (dorsal root) ของไขสันหลัง ที่มีเซลล์ประสาทซึ่งส่งสัญญาณจากอวัยวะรับความรู้สึก ไปยังศูนย์รวบรวมสัญญาณที่เหมาะสมในระบบประสาทกลาง ใยประสาทที่นำสัญญาณไปยังระบบประสาทกลาง (คือสมองหรือไขสันหลัง) เรียกว่า ใยประสาทนำเข้า (afferent nerve fiber)

ปมประสาทรากหลัง (Dorsal root ganglion)
ปมประสาทรากหลังของตัวอ่อนของไก่มีอายุได้ประมาณ 7 วันหลังจากการฟักตัวคืนหนึ่งในสารมี nerve growth factor, ย้อมสีด้วย anti-neurofilament antibody สามารถมองเห็นแอกซอนที่งอกออกมาจากปมประสาทได้
ใยประสาทไขสันหลังพร้อมกับรากด้านหน้าและด้านหลัง ปมประสาทรากหลังมีป้ายว่า "spinal ganglion" ถัดจากรากหน้าและรากหลัง
รายละเอียด
คัพภกรรมneural crest
ตัวระบุ
ภาษาละตินganglion sensorium nervi spinalis
MeSHD005727
TA98A14.2.00.006
TA26167
FMA5888
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์

โครงสร้างมีขั้วเดียวที่ไม่เหมือนใคร

แอกซอนของเซลล์ประสาทในปมประสาทรากหลังเรียกว่า ใยประสาทนำเข้า (afferent nerve fiber) ในระบบประสาทส่วนปลาย (peripheral nervous system) ใยประสาทนำเข้าหมายถึงแอกซอนที่ส่งข้อมูลความรู้สึกไปยังระบบประสาทกลาง (คือสมองหรือไขสันหลัง) เซลล์ประสาทเหล่านี้เป็นประเภท "มีขั้วเดียวเทียม (pseudo-unipolar)" ซึ่งหมายความว่ามีแอกซอนเดียวที่แบ่งออกเป็นสองสาขาที่เรียกว่า "ส่วนยืดปลาย (distal process)" และ "ส่วนยืดประชิด (proximal process)"

เซลล์ประสาทอาจมีส่วนประกอบ 3 คือ

  1. เดนไดรต์ที่รับแล้วส่งข้อมูลไปยังตัวเซลล์ (soma)
  2. ตัวเซลล์ (soma) - ตัวของเซลล์ประสาท
  3. แอกซอน ซึ่งส่งข้อมูลไปจากตัวเซลล์

ในเซลล์ประสาทหนึ่งๆ เดนไดรต์รับข้อมูลมากจากแอกซอนของอีกเซลล์ประสาทหนึ่งผ่านไซแนปส์ แล้วก็ส่งข้อมูลไปยังเดนไดรต์ของอีกเซลล์ประสาทหนึ่ง

แต่โดยที่ไม่เหมือนเซลล์ประสาทส่วนมากในระบบประสาทกลาง ศักยะงานในปมประสาทรากหลังอาจจะเริ่มที่ส่วนยืดปลาย (distal process) ไม่เดินทางผ่านตัวเซลล์ แต่เดินทางต่อไปตามส่วนยืดประชิด (proximal process) จนกระทั่งถึง synaptic terminal (ปลายไซแนปส์) ในปีกหลังของไขสันหลัง (posterior horn of spinal cord[1])

ส่วนยืดปลาย

ส่วนยืดปลาย (distal process) ของแอกซอนอาจจะมีลักษณะเป็นปลายประสาทอิสระ หรือถูกหุ้มอยู่ในแคปซูล ที่ช่วยส่งข้อมูลเฉพาะบางอย่างไปทางใยประสาท ยกตัวอย่างเช่น Meissner's corpuscle หรือ Pacinian corpuscle อาจจะเป็นตัวหุ้มปลายประสาท ทำให้ส่วนยืดปลายมีความไวต่อตัวกระตุ้นเชิงกล คือการสัมผัสเบาๆ หรือแรงสั่นสะเทือนตามลำดับ[2]

ตำแหน่ง

ปมประสาทรากหลังอยู่ตามลำกระดูกสันหลัง (vertebral column)

การพัฒนาในเอ็มบริโอ

ปมประสาทรากหลังมีการพัฒนาในตัวอ่อนจากเซลล์ neural crest ไม่ใช่ neural tube ดังนั้น ปมประสาทไขสันหลังสามารถพิจารณาได้ว่าเป็นเนื้อเทาของไขสันหลัง เป็นเนื้อเทาที่ย้ายมาอยู่ในส่วนรอบนอกของระบบประสาทกลาง

โนซิเซ็ปชั่น

Proton-sensing G protein-coupled receptors (ตัวรับโปรตอนคู่กับโปรตีนจี) ปรากฏด้วยการแสดงออกของยีน (gene expression[3]) บนเซลล์ประสาทรับความรู้สึก (sensory neuron) ของปมประสาทรากหลัง และอาจมีบทบาทในโนซิเซ็ปชั่นที่ตอบสนองต่อสารกรด[4]

ประตูไวแรงกล

ปลายประสาทของเซลล์ประสาทในปมประสาทรากหลัง (DRG) มีตัวรับรู้ความรู้สึกหลายประเภทที่ตอบสนองต่อตัวกระตุ้นเชิงกล เชิงอุณหภูมิ เชิงเคมี และตัวกระตุ้นอันตราย (noxious stimuli)[5]

ในเซลล์ประสาทรับความรู้สึกเหล่านี้ มีประตูไออนกลุ่มหนึ่ง ที่สันนิษฐานกับว่า มีหน้าที่ถ่ายโอน[6]การกระทบสัมผัส. แรงกดดันที่ DRG ของตัวกระตุ้นเชิงกลย่อมลดระดับศักย์ขีดเริ่มเปลี่ยนของเยื่อหุ้มเซลล์ ที่จำเป็นในการเหนี่ยวนำการตอบสนองและการยิงศักยะงานของ DRG[7] และการยิงศักยะงานนี้อาจจะดำเนินต่อไปหลังจากที่นำตัวกระตุ้นออกไปแล้ว[7]

มีการค้นพบประตูไอออนไวแรงกล (mechanosensitive ion channel) 2 ประเภทในเซลล์ประสาทของ DRG ประตูทั้งสองนั้นจำแนกอย่างคร่าวๆ ว่าเป็นแบบขีดเริ่มเปลี่ยนสูง (high-threshold ตัวย่อ HT) หรือแบบขีดเริ่มเปลี่ยนต่ำ (low threshold ตัวย่อ LT)[5] โดยไปเป็นตามชื่อนั่นแหละ ประตูทั้งสองมีขีดเริ่มเปลี่ยนและความไวต่อแรงกดดันในระดับแตกต่างกัน ประตูแคตไอออนเหล่านี้ ปรากฏว่ามีการทำงานที่ถูกควบคุมโดยการทำงานอย่างถูกต้องของระบบเส้นใยของเซลล์ (cytoskeleton) และโปรตีนที่สัมพันธ์กับระบบเส้นใยของเซลล์[5] ความมีอยู่ของประตูเหล่านี้ใน DRG เป็นเหตุผลให้เชื่อได้ว่า เซลล์ประสาทรับความรู้สึกประเภทอื่นๆ อาจจะมีประตูเหล่านี้เช่นกัน

ประตูไวแรงกลมีขีดเริ่มเปลี่ยนสูง

ประตูที่มีขีดเริ่มเปลี่ยนสูง (HT) อาจมีบทบาทในโนซิเซ็ปชั่น ประตูเหล่านี้พบได้โดยมากในเซลล์ประสาทรับความรู้สึกเล็กๆ ใน DRG และเริ่มทำงานโดยแรงดันระดับสูง ซึ่งเป็นคุณสมบัติสองอย่างของโนซิเซ็ปเตอร์[5]

ยิ่งกว่านั้นแล้ว ขีดเริ่มเปลี่ยนของประตู HT ลดระดับลงเมื่อประสบกับ Prostaglandin E2 ซึ่งเป็นสารประกอบที่เพิ่มความไวให้กับเซลล์ประสาท ต่อตัวกระตุ้นเชิงกลและการรู้สึกเจ็บมากกว่าปกติ (hyperalgesia) ที่เกิดจากตัวกระตุ้นเชิงกล เป็นหลักฐานอีกอย่างหนึ่งที่สนับสนุนบทบาทของประตู HT ในการถ่ายโอน[6]ตัวกระตุ้นเชิงกลไปเป็นสัญญาณประสาทในกระบวนการโนซิเซ็ปชั่น[5][7][8]

ดู

  • รากหลัง (dorsal root)

หมายเหตุและอ้างอิง

ภาพต่างๆ

แหล่งข้อมูลอื่นๆ

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง