ประวัติศาสตร์เดนมาร์ก

ประวัติศาสตร์เดนมาร์ก (History of Denmark) ประวัติศาสตร์ราชอาณาจักรเดนมาร์กมีจุดเริ่มต้นเมื่อย้อนกลับไป 12,000 ปีก่อน ในช่วงการสิ้นสุดยุคน้ำแข็งช่วงสุดท้าย ด้วยจากหลักฐานการตั้งถิ่นฐานที่เก่าแก่ที่สุดของมนุษย์ เรื่องราวของชาวเดนส์ได้มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรในเอกสารครั้งแรกในช่วงปีค.ศ. 500 (พ.ศ. 1043) ซึ่งเอกสารเหล่านี้รวมทั้งงานเขียนของจอร์ดาเนสกับโปรโคไพอัส ด้วยการนับถือศาสนาคริสต์ของชาวเดนส์ราวค.ศ. 960 (พ.ศ. 1503) เป็นที่ชัดเจนว่ามีการสถาปนาระบอบกษัตริย์ในสแกนดิเนเวียที่ซึ่งปกครองในดินแดนที่เป็นประเทศเดนมาร์กในปัจจุบัน สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก พระประมุของค์ปัจจุบันของเดนมาร์กทรงสืบราชสันตติวงศ์จากกษัตริย์ชาวไวกิงซึ่งก็คือ พระเจ้ากอร์ม เดอะ โอลด์และพระเจ้าฮารัลด์ บลูทูท พระมหากษัตริย์พระองค์แรกๆของเดนมาร์ก ถือว่าราชาธิปไตยแห่งเดนมาร์กนั้นมีอายุเก่าแก่และยาวนานที่สุดในยุโรป

ตราแผ่นดินเดนมาร์ก

ประวัติศาสตร์เดนมาร์กได้รับอิทธิพลโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากสภาพทางภูมิศาสตร์ที่ตั้งอยู่ระหว่างทะเลเหนือกับทะเลบอลติก ซึ่งหมายความว่าประเทศได้ตั้งอยู่ระหว่างสวีเดนกับเยอรมนี และเพราะฉะนั้นประเทศจึงอยู่ศูนย์กลางอิทธิพลเหนือทะเลบอลติกหรือที่เรียกว่า "Dominium maris baltici" (จักรวรรดิทะเลบอลติก) เดนมาร์กมีข้อพิพาทกับสวีเดนมาเป็นระยะเวลานานในเรื่องการเข้าควบคุมเหนือสเคนลันด์ (ดินแดนทางตอนใต้ของสวีเดน)ในสงครามสเคนเนียน (Scanian War) และกรณีพิพาทในการครอบครองนอร์เวย์ และมีข้อพิพาทกับสันนิบาตฮันเซียติกในการครอบครองดัชชีชเลสวิชและฮ็อลชไตน์

ในที่สุดเดนมาร์กได้สูญเสียดินแดนพิพาทเหล่านี้ทั้งหมดและยุติบทบาทการอ้างสิทธิหลังจากสวีเดนผนวกสเคนลันด์และรัฐชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์ไปเข้าร่วมกับจักรวรรดิเยอรมัน หลังจากการให้เอกราชในท้ายสุดแก่นอร์เวย์ในปีพ.ศ. 2357 (ค.ศ. 1814) เดนมาร์กได้เข้าครอบครองอาณานิคมของนอร์เวย์ตั้งแต่โบราณซึ่งได้แก่ หมู่เกาะแฟโร, กรีนแลนด์ และไอซ์แลนด์ ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ไอซ์แลนด์ได้รับเอกราช กรีนแลนด์และแฟโรกลายเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรเดนมาร์ก และรัฐชเลสวิชเหนือได้รวมเข้ากับเดนมาร์กอีกครั้งจากผลการลงประชามติค.ศ. 1920 (พ.ศ. 2463) ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เดนมาร์กถูกยึดครองโดยนาซีเยอรมนีและได้รับการปลดปล่อยในปีค.ศ. 1945 (พ.ศ. 2488) หลังจากนั้นเดนมาร์กได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ

เดนมาร์กยุคก่อนประวัติศาสตร์

ยุคหินและยุคสำริด

การเปลี่ยนสภาพของธารน้ำแข็งวิชเซลในยุคน้ำแข็งช่วงสุดท้าย (Weichsel glaciation) ได้ปกคลุมทั่วทั้งเดนมาร์ก ยกเว้นชายฝั่งทางตะวันตกของคาบสมุทรจัตแลนด์ ซึ่งได้สิ้นสุดเมื่อ 13,000 ปีก่อนส่งผลให้มนุษย์ได้อพยพกลับมายังดินแดนที่เคยถูกน้ำแข็งปกคลุมและตั้งถิ่นฐานอย่างถาวร ในช่วงระหว่างระยะเวลาหนึ่งพันปีแรกหลังยุคน้ำแข็งสภาพภูมิประเทศได้เปลี่ยนจากทุนดราเป็นป่า และสัตว์หลากหลายรวมถึงสัตว์ขนาดใหญ่ที่สูญพันธุ์ไปแล้วในปัจจุบันได้ปรากฏในช่วงนี้ วัฒนธรรมยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่มีการค้นพบในช่วงยุคสมัยใหม่ของเดนมาร์กรวมทั้ง วัฒนธรรมมาเกิลโมเซียน (Maglemosian culture; 9,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช - 6,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช), วัฒนธรรมคองก์โมส (Kongemose culture; 6,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช - 5,200 ปีก่อนคริสต์ศักราช), วัฒนธรรมเออร์เทโบล (Ertebølle culture; 5,300 ปีก่อนคริสต์ศักราช - 3,950 ปีก่อนคริสต์ศักราช) และ วัฒนธรรมฟุนเนลเบรเกอร์ (Funnelbeaker culture; 4,100 ปีก่อนคริสต์ศักราช - 2,800 ปีก่อนคริสต์ศักราช)

รถศึกพระอาทิตย์ทรุนด์โฮล์ม (Trundholm sun chariot) (เรียก ซอลว็อกเนน (Solvognen) ในภาษาเดนมาร์ก) รูปปั้นแกะสลักดวงอาทิตย์ถูกลากโดยม้า นักวิชาการคาดว่าน่าจะสร้างในช่วงศตวรรษที่ 15 ก่อนคริสตกาลและเชื่อว่าแสดงให้เห็นถึงแนวคิดที่สำคัญในความเชื่อยุคสำริดนอร์ดิก

การตั้งถิ่นฐานในระยะเริ่มต้นของช่วงหลังยุคน้ำแข็งได้เรียกว่า ยุคบอเรียล (Boreal) ซึ่เป็นยุคที่จำนวนประชากรมีเพียงเล็กน้อยและตั้งถิ่นฐานกระจัดกระจายกันไปดำรงชีพด้วยการล่ากวางเรนเดียร์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นๆ และทำการเก็บผลไม้ในป่าตามฤดูกาล ในรอบ 8,300 ปีก่อนคริสต์ศักราช อุณหภูมิได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งตอนนี้ฤดูร้อนมีอุณหภูมิประมาณ 15 องศา และภูมิประเทศได้เปลี่ยนไปเป็นป่าทึบ เป็นป่าอัสเพน, เบิร์ชและไพน์ และกวางเรนเดียร์ได้อพยพไปทางเหนือ ในขณะที่ควายอูรูสและกวางมูสได้อพยพมาถึงทางใต้ของเดนมาร์ก ด้วยอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้ต้นโอ๊ค, เอลม์และเฮเซิลกำเนิดขึ้นในเดนมาร์กในช่วงรอบ 7,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ในตอนนี้สัตว์พวกหมูป่า, กวางแดง และโรอีได้เริ่มมีมากมายในเดนมาร์ก[1]

จากการฝังศพจากบ้อคบัคเคนในวีทเบ็คในช่วง 6,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช และมีศพของมนุษย์ 22 ร่าง รวมทั้งศพทารก 4 ร่างและเด็กเล็ก 1 ร่าง แปดในยี่สิบตายก่อนที่จะมีอายุครบ 20 ปี แสดงให้เห็นถึงการดำรงชีวิตที่แข็งแกร่งของพวกนักล่าในเขตหนาวเย็นทางเหนือ[2] จากการประเมินของนักวิชาการด้านการแก่งแย่งแข่งขันของสัตว์ได้ประเมินว่ามีมนุษย์ในดินแดนเดนมาร์กประมาณ 3,300 - 8,000 คนในช่วงเวลารอบ 7,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช[3] มีการเชื่อว่าก่อนที่พวกนักล่าจะดำรงชีวิตแบบเร่ร่อน การกระทำที่กล้าหาญในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างในเวลาที่แตกต่างกันในรอบปี ได้เปลี่ยนสภาพวิถีชีวิตเป็นแบบกึ่งตั้งถิ่นฐาน[4]

ด้วยการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิน้ำทะเล ได้เรียกว่า ยุคแอตแลนติกในเดนมาร์ก ที่ซึ่งทวีปยังคงเชื่อมติดกันในช่วง 11,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช โดย 4,500 ปีก่อนคริสต์ศักราชได้เปลี่ยนสภาพเป็นเกาะแก่ง มนุษย์ได้เปลี่ยนมากินอาหารทะเล ซึ่งส่งผลให้การเพิ่มขึ้นของประชากรเพิ่มขึ้น

เกษตรกรรมได้มีการบุกเบิกใน 3,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ยุคสำริดนอร์ดิกในเดนมาร์กได้มีวัฒนธรรมการฝังศพด้วยความดีภายใต้เนินสุสานเก่าแก่ เนินหินและหินสุสานมากมายได้มีขึ้นในช่วงนี้ สามารถค้นพบเครื่องสำริดจากยุคนี้มากมายรวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ทางศาสนาที่สวยงามและเครื่องดนตรี และมีการค้นพบหลักฐานของชนชั้นทางสังคมและการแบ่งชนชั้นทางสังคม

ในช่วงยุคก่อนยุคเหล็กโรมัน สภาพภูมิอากาศในเดนมาร์กและสแกนดิเนเวียตอนใต้ได้เย็นและชื้นขึ้น ทำให้การเกษตรกรรมถูกจำกัดและลดอัตราการอพยพของชาวพื้นเมืองทางตอนใต้ของยุโรปเข้ามาสู่เยอร์มานิค ในยุคนี้มนุษย์สามารถแยกเหล็กออกจากแร่ในพรุ หลักฐานที่แน่ชัดเกี่ยวกับวัฒนธรรมเซลติกได้เข้ามามีอิทธิพลในช่วงยุคนี้ของเดนมาร์กและยุโรปตะวันตกเฉียงเหนือ และวัฒนธรรมเหล่านี้ยังคงอยู่จากชื่อสถานที่เก่าแก่

มนุษย์โทลลุนด์ มีชีวิตอยู่ราวศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล ที่พบใน ค.ศ. 1950 (พ.ศ. 2494) ฝังอยู่ในพรุพีตบนคาบสมุทรจัตแลนด์ใน เดนมาร์ก

จักรวรรดิโรมันได้หยุดการขยายอาณาเขตที่พรมแดนเดนมาร์ก อย่างไรก็ตามยังคงรักษาเส้นทางการค้าและความสัมพันธ์กับชาวเดนมาร์กหรือชาวเดนมาร์กดั้งเดิม ซึ่งเห็นได้ชัดจากหลักฐานการค้นพบเหรียญกษาปณ์ของโรมัน ได้เป็นที่รู้จักแรกๆจากการจารึกอักษรรูนที่ย้อนกลับไปราวพ.ศ. 743 (ค.ศ. 200) อักษรรูนถือเป็นอักษรศักดิ์สิทธิ์ของกลุ่มชนชาติที่ใช้ภาษากลุ่มเยอรมัน มีการนำชื่อเทพเจ้าต่างๆ มารวมเข้ากับชื่ออักษร ต่อมาได้แพร่หลายเข้าไปในสแกนดิเนเวีย มีการสลักอักษรรูนไว้ในเหรียญกษาปต์ โลงศพ หรือใช้ประดับตกแต่งสถานที่ การเรียนรู้ภาษาได้มาจากทางตอนใต้ การสูญสิ้นของที่ดินเพาะปลูกในช่วงศตวรรษสุดท้ายก่อนคริสต์ศักราชได้เพิ่มอัตราการอพยพสู่ยุโรปเหนือและเพิ่มความขัดแย้งระหว่างชนเผ่าทิวทอนิคและชาวโรมันที่ตั้งถิ่นฐานในกอล ซึ่งก็คือดินแดนทางยุโรปตะวันตก ซึ่งปัจจุบันเทียบได้ประมาณบริเวณประเทศฝรั่งเศสและเบลเยี่ยม และอาจรวมไปถึงหุบเขาโพ ในสวิตเซอร์แลนด์ตะวันตก บางส่วนของเนเธอร์แลนด์และเยอรมนีทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำไรน์ สิ่งประดิษฐ์ของโรมันในช่วงคริสตวรรษที่ 1 สามารถค้นพบได้มากมาย ได้แสดงให้เห็นถึงว่าบางส่วนของนักรบชนชั้นสูงได้สวามิภักดิ์ต่อกองทัพโรมัน[5]

สตรีฮัลเดรอโมสที่พบบนคาบสมุทรจัตแลนด์ในเดนมาร์กพบในปี ค.ศ. 1879 (พ.ศ. 2422)

บางครั้งในช่วงเวลานี้ได้มีการฆ่ากันและโยนศพลงไปในพรุ และมักจะมีการค้นพบมนุษย์พรุพีตที่มีสภาพร่างกายที่สมบูรณ์ ซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญที่ชี้ให้เห็นถึงสภาพสังคมเดนมาร์กในสมัยนั้น มนุษย์พรุพีต (Bog body หรือ bog people) คือร่างของมนุษย์ที่ได้รับการรักษาไว้ให้อยู่ในสภาพที่ดีโดยธรรมชาติที่พบในพรุพีตทางตอนเหนือของยุโรปและเกาะบริติช ร่างของมนุษย์ที่ตายในพรุพีตไม่เหมือนกับร่างของมนุษย์โบราณอื่นๆ ตรงที่ร่างที่ตายในพรุพีตจะยังคงมีหนังและอวัยวะภายในอยู่ เพราะได้รับการรักษาไว้โดยสภาพแวดล้อมที่มีคุณสมบัติพิเศษ สภาพแวดล้อมดังกล่าวก็รวมทั้งน้ำที่เป็นค่อนข้างเป็นกรด, อุณหภูมิที่ต่ำ และบรรยากาศที่ขาดออกซิเจน ปัจจัยดังกล่าวนี้ทำให้ผิวของผู้เสียชีวิตออกเป็นสีน้ำตาลแดงจัด แม้ว่าหนังจะอยู่ในสภาพดีแต่กระดูกจะไม่มีเหลืออยู่ เพราะกรดจากพีตทำการละลายแคลเซียมฟอสเฟตในกระดูก

ยุคเหล็กเยอร์มานิค

นักประวัติศาสตร์ได้บรรยายถึงวัสดุวัฒนธรรมในยุโรปเหนือระหว่างช่วงเพิ่มมวลการอพยพในคริสต์ศตวรรษที่ 5 และคริสต์ศตวรรษที่ 7 ว่า ยุคเหล็กเยอร์มานิค ในยุคนี้ยังมีสิ่งที่มีชื่อเสียงจากยุคก่อนคือ "มนุษย์พรุพีต" และได้มีการค้นพบสองร่างในเดนมาร์กที่มีสภาพสมบูรณ์มากคือ มนุษย์โทลลุนด์และสตรีฮัลเดรอโมส

ยุคกลาง

แหล่งกำเนิดงานเขียนช่วงแรกๆ

ภาพของแซ็กโซ แกรมมาติคัส (Saxo Grammaticus) นักประวัติศาสตร์ซึ่งเป็นผู้เขียนประวัติศาสตร์เดนมาร์กฉบับสมบูรณ์คนแรก ภาพวาดโดยหลุยส์ มอ(ค.ศ. 1857 - ค.ศ. 1945)

ในคำอธิบายของนักเขียนเกี่ยวกับสคันด์ซา (จากงานเขียนในคริสต์ศตวรรษที่ 6 เรื่องเกติกา) ของนักเขียนสมัยก่อนชื่อ จอร์ดาเนส ได้กล่าวว่า ชาวเดนมาร์กหรือเดนิ (Dani) เหมือนกับ ซูติดิ (Suetidi) (ชาวสวีดส์ (ชนเผ่าเยอร์มานิค) Swedes) และทำการขับไล่ชาวเฮรูลิและยึดครองดินแดนของพวกเขา[6]

เรือแลดบี (The Ladby ship) ซากเรือขนาดใหญ่ที่สุดซึ่งพบในเดนมาร์ก

บทกวีในภาษาอังกฤษเก่าเรื่องวิทซิธและเบวูล์ฟ วิทซิธเป็นบทกลอนที่ชาวแองโกลแซ็กซอนมักขับร้องและเบวูล์ฟ เป็นบทกวีมหากาพย์เกี่ยวกับวีรบุรุษยุคอังกฤษโบราณแต่งโดยผู้ประพันธ์หลายคนที่ไม่ทราบชื่อ งานวรรณกรรมภาษาแองโกลแซกซอนชิ้นนี้คาดว่าแต่งขึ้นในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 8[7] ถึง 11 โดยมีต้นฉบับที่หลงเหลือมาถึงปัจจุบัน คาดว่าเขียนขึ้นในราวปี ค.ศ. 1010 (พ.ศ. 1553)[8] มีความยาวทั้งสิ้น 3183 บรรทัด ซึ่งถือเป็นบทกวีที่มีความยาวมาก ได้รับยกย่องเป็นวรรณกรรมมหากาพย์แห่งประเทศอังกฤษ[9] ตลอดจนงานเขียนจากนักประพันธ์ชาวสแกนดิเนเวียนหลังๆ ที่มีชื่อเสียงคือ แซ็กโซ แกรมมาติคัส (ราวค.ศ. 1200; พ.ศ. 1743) นักประวัติศาสตร์ในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าวัลเดมาร์ที่ 1 มหาราชแห่งเดนมาร์กดังที่จะกล่าวในบทต่อไป ได้นำความรู้ในการอ้างอิงมาสู่ชาวเดนมาร์ก

ยุคสมัยแห่งไวกิง

ด้วยการเริ่มต้นของยุคไวกิ้งในคริสต์ศวรรษที่ 9 จบยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์ของเดนมาร์ก ชาวเดนมาร์กเกือบทั้งหมดกลายเป็นที่รู้จักในนาม "ไวกิง" (Viking) ในช่วงระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 8 ถึง 11 นักสำรวจชาวไวกิงได้ค้นพบและตั้งถิ่นฐานครั้งแรกในไอซ์แลนด์ในคริสต์ศตวรรษที่ 9 โดยเดินทางจากหมู่เกาะแฟโร จากที่นั่น กรีนแลนด์และไวน์แลนด์(ปัจจุบันเป็นบริเวณของเกาะนิวฟันด์แลนด์)ก็ได้มีการตั้งถิ่นฐานด้วย พวกเขามีทักษะสูงในการสร้างเรือและการสำรวจทางทะเล พวกเขาได้ทำการเข้าปล้นและยึดครองบางส่วนของฝรั่งเศสและหมู่เกาะอังกฤษ

ภาพไวกิงชาวเดนมาร์ก วาดในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 12

พวกเขายังมีความสามารถในการค้าขายตามแนวชายฝั่งและแม่น้ำในยุโรป เปิดเส้นทางการค้าจากกรีนแลนด์ทางตอนเหนือถึงคอนสแตนติโนเปิลทางใต้โดยผ่านทางแม่น้ำในรัสเซียและยูเครน โดยเฉพาะตามแม่น้ำนีเปอร์และเคียฟ ที่ซึ่งตอไปจะเป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิเคียฟรุส ไวกิงเดนมาร์กมักจะเข้าไปมีอิทธิพลในบริเตน, ไอร์แลนด์, ฝรั่งเศส, สเปน, โปรตุเกสและอิตาลี ที่ซึ่งพวกเขาได้เข้าปล้น,ยึดครอง และตั้งถิ่นฐาน (การตั้งถิ่นฐานครั้งแรกรวมถึงดินแดนในบริเวณเดนลอว์,ไอร์แลนด์และนอร์ม็องดี) บริเวณเดนลอว์ได้กลายเป็นของไวกิงเมื่อพระเจ้าอัลเฟรดมหาราชแห่งราชอาณาจักรเวสเซกซ์ทรงถูกบีบบังคับให้มอบครึ่งหนึ่งของราชอาณาจักรแก่ไวกิง ที่ซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณนั้นในขณะนั้นและร่วมการค้าขายแบบสันติแต่การโจมตีก็ยังคงดำเนินต่อและกษัตริย์อังกฤษจะต้องทรงมอบราชบรรณาการ (เดนเกลด์)

ในช่วงต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 9 ชาร์เลอมาญแห่งจักรวรรดิคริสต์ได้ขยายอาณาเขตมายังชายแดนตอนใต้ของชาวเดนส์และจากแหล่งข้อมูลของชาวแฟรงก์(อย่างเช่น รายงานของนักบวชน็อทเกอร์ ผู้ติดอ่าง)ได้รวบรวมหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของชาวเดนส์ มีการบันทึกเกี่ยวกับพระเจ้ากุดเฟรดแห่งเดนมาร์ก ผุ้ซึ่งปัจจุบันปรากฏในฮ็อลชไตน์กับกองทัพเรือในปีค.ศ. 804 (พ.ศ. 1347) สถานที่ซึ่งทรงเปิดความสัมพันธ์ทางการทูตกับชาวแฟรงก์ ในปีค.ศ. 808 (พ.ศ. 1351) พระเจ้ากุดเฟรดทรงโจมตีชาวโอโบไทรต์และเข้ายึดครองเมืองรีริค ที่ซึ่งประชากรถูกขับไล่ออกไปและพาไปที่เฮเดบี ในปีค.ศ. 809 (พ.ศ. 1352) พระเจ้ากุดเฟรดกับนักการทูตของชาร์เลอมาญได้ล้มเหลวในการเจรจาสงบศึก ถึงอย่างไรก็ตามพระขนิษฐาของพระเจ้ากุดเฟรดได้ทรงกลายเป็นพระสนมในจักรพรรดิชาร์เลอมาญ และในปีต่อมาพระเจ้ากุดเฟรดทรงเข้าโจมตีชาวฟรีเซียนด้วยเรือ 200 ลำ

แผนที่แนวป้องกันเดนเวอร์เกและฮาเออวีเจนที่สร้างในสมัยไวกิง

พวกไวกิงได้เข้าโจมตีแนวยาวตลอดชายฝั่งฝรั่งเศสและเนเธอร์แลนด์ได้ขยายขอบเขตขึ้นมาก เมืองปารีสถูกล้อมรอบและลอยรีวัลเลย์ถูกทำลายในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 10 กลุ่มหนึ่งของชาวเดนส์ได้รับสิทธิในการปกครองและตั้งถิ่นฐานทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของฝรั่งเศส โดยรอลโลได้รับพระบรมราชานุญาตจากพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 ผู้เป็นตัวอย่างที่ดีแห่งฝรั่งเศสให้ปกครองดินแดนตามสนธิสัญญาแซงต์ แคลร์-ซูร์-อิบเตในปีค.ศ. 911 (พ.ศ. 1454) เพื่อเป็นการปกป้องราชอาณาจักรจากการรุกราน เป็นผลให้กำเนิดดินแดนที่เรียกว่า "นอร์ม็องดี" รอลโลจึงกลายเป็นดยุคแห่งนอร์ม็องดี และเชื้อสายของรอลโลได้ทำการบุกอังกฤษในปีค.ศ. 1066 (พ.ศ. 1609) โดยวิลเลียม ดยุคแห่งนอร์ม็องดีได้รับชัยชนะต่อกองทัพแองโกล-แซ็กซอนที่นำโดยพระเจ้าฮาโรลด์ กอดวินสัน สงครามครั้งนี้รู้จักกันในนามว่า “ชัยชนะของชาวนอร์มันต่ออังกฤษ” (Norman Conquest) [10] และทรงเป็นเชื้อสายจากไวกิงและพระประมุขของอังกฤษปัจจุบันก็สืบเชื้อสายมาจากชาวไวกิงหรือนอร์มัน

นอกจากนี้ชาวเดนส์และนอร์วีเจียนได้อพยพย้ายถิ่นฐานไปยังตะวันตกที่มหาสมุทรแอตแลนติก ตั้งถิ่นฐานบนไอซ์แลนด์, กรีนแลนด์และหมุ่เกาะเช็ทแลนด์ โดยรวมชาวไวกิงทำการสำรวจทวีปอเมริกาเหนือโดยรอบหนึ่งพันคนแต่ไม่ใช่ผลของการตั้งถิ่นฐานและพวกเขาได้ถูกขับไล่โดยชาวพื้นเมือง ไวกิงพวกอื่นโจมตีเยอรมนีและทะเลเมดิเตอร์เรเนียนได้ยึดเพียงช่วงสั้นๆ ไม่มีผลอะไรมากมายนัก

ส่วนเก่าแก่ของงานแนวป้องกันเดนเวอร์เกใกล้เฮเดบีอย่างน้อยตั้งแต่ฤดูร้อนค.ศ. 755 (พ.ศ. 1298) และได้รับการขยายด้วยกองกำลังที่ใหญ่กว่าในคริสต์ศตวรรษที่ 10 ขนาดและจำนวนทหารต้องการเกณฑ์บุรุษที่แข็งแกร่งในแต่ละท้องที่ ที่ซึ่งสามารถต้านทางอำนาจของกษัตริย์แห่งชาวแฟรงก์ ในค.ศ. 815 (พ.ศ. 1358) จักรพรรดิหลุยส์ผู้ศรัทธาทรงส่งกองทัพมาโจมตีคาบสมุทรจัตแลนด์อย่างชัดเจนหลังจากชาวไวกิงสนับสนุนศัตรูในราชบัลลังก์ของพระองค์ ซึ่งในบางครั้งคือพระเจ้าฮารัลด์ คล้ากแห่งเดนมาร์ก แต่ทรงถูกเรียกกลับโดยพระโอรสของพระเจ้ากุดเฟรด ผู้ซึ่งเป็นพระโอรสที่ไม่มีการกล่าวชื่อของพระเจ้ากุดเฟรด ในเวลาเดียวกันนักบุญอันส์การ์ได้เดินทางสู่เฮเดบีและถือเป็นจุดเริ่มต้นของศาสนาคริสต์ในสแกนดิเนเวียนิกายโรมันคาทอลิก และยุคไวกิ้งได้สิ้นสุดในรัชสมัยของพระเจ้าคนุตที่ 4 แห่งเดนมาร์กดังจะกล่าวถัดไป

พระเจ้ากอร์มดิโอลด์ พระมหากษัตริย์พระองค์แรกแห่งเดนมาร์ก (ค.ศ. 936 - ค.ศ. 958)

ภาพ พระเจ้ากอร์ม เดอะ โอลด์และพระราชินีไธราทรงทราบข่าวการสิ้นพระชนม์ของเจ้าชายคนุต พระโอรส วาดโดยออกุส คาร์ล วิลเฮล์ม ธอมเซน

พระเจ้ากอร์มดิโอลด์ เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าฮาร์ทาคานูทแห่งเดนมาร์กซึ่งทรงเป็นกษัตริย์กึ่งตำนานพระองค์สุดท้าย และพระเจ้ากอร์มทรงได้รับการบันทึกให้เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกแห่งเดนมาร์กอันเนื่องมาจากทรงรวมประเทศเป็นปึกแผ่น ตามตำนานโบราณเฮล์มสริงก์ลา (Heimskringla) ได้บันทึกว่า พระเจ้ากอร์มทรงยึดส่วนน้อยของราชอาณาจักรต่างๆและรวมเป็นหนึ่งเดียว พระองค์ทรงเป็นที่จดจำครั้งแรกโดยทรงเชิญบิชอปอุนนิแห่งฮัมบวร์คและเบรเมินเข้ามาในอาณาจักรในปีค.ศ. 936 (พ.ศ. 1479)[11] และเขาได้สานต่องานของนักบุญอันส์การ์ในการเผยแพร่คริสต์ศาสนา ตามที่กองหินเจลลิงในเจลลิงซึ่งเป็นหมู่บ้านในเดนมาร์กปัจจุบัน พระเจ้ากอร์มทรงประกาศ ณ ที่แห่งนั้นว่า "ชัยชนะต่อเดนมาร์กทั้งมวล" แต่ก็เป็นที่เลื่องลือว่าทรงปกครองคาบสมุทรจัตแลนด์ขณะทรงประทับที่เจลลิง[11]

พระเจ้ากอร์มทรงอภิเษกสมรสกับไธรา เดนเนบอด สตรีซึ่งเข้ามามีอิทธิพลมากในรัชสมัยนี้ด้วยความรอบคอบ และทรงอิทธิพลในราชสำนักเหนือพระสวามี ทั้งๆที่ภูมิหลังของพระนางยังไม่เป็นที่แน่ชัด พระนางอาจเป็นธิดาในหัวหน้าเผ่าแถบคาบสมุทรจัตแลนด์ทางใต้ บางข้อมูลกล่าวว่าทรงเป็นธิดาในพระเจ้าฮารัลด์ คลากหรือเป็นพระธิดาในพระเจ้าเอเธลเรดแห่งเวสเซ็กส์ ในตำนานกล่าวว่าทรงนำกองทัพเข้าโจมตีเยอรมนีด้วยตัวพระนางเอง พระนางทรงมีส่วนในการสร้างแนวป้องกันเดนเวอร์เกบริเวณชายแดนทางใต้ระหว่างเดนมาร์กกับศัตรูคือพวกแซ็กซอน ซึ่งปัจจุบันเป็นหลักฐานทางโบราณคดีที่เก่าแก่มาก

พระเจ้ากอร์มเสด็จสวรรคตในค.ศ. 958 (พ.ศ. 1501) สิริพระชนมายุราว 50 พรรษา พระโอรสได้ครองราชย์สืบต่อ

พระเจ้าฮารัลด์ บลูทูธกับการเปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์ (ค.ศ. 958 - ค.ศ. 986)

ภาพนูน พระเจ้าฮารัลด์ บลูทูธทรงเข้ารับพิธีบัพติศมาจากป็อปโป พระสมณะในราวปีค.ศ. 960 (พ.ศ. 1503) ถือเป็นจุดเริ่มต้นของศานาคริสต์ในเดนมาร์ก

พระเจ้าฮารัลด์ที่ 1 แห่งเดนมาร์ก หรือ พระเจ้าฮารัลด์ บลูทูท กอร์มสัน เป็นพระราชโอรสในพระเจ้ากอร์มดิโอลด์กับพระนางไธรา เดนเนบอด ทรงครองราชย์สืบราชบัลลังก์เดนมาร์กหลังจากการเสด็จสวรรคตของพระราชบิดาในปีค.ศ. 958 (พ.ศ. 1501)

ชาวเดนส์ได้รวมชาติและนับถือศานาคริสต์อย่างเป็นทางการในปีค.ศ. 965 (พ.ศ. 1508) โดยพระบรมราชโองการของพระเจ้าฮารัลด์ บลูทูธ เรื่องราวได้ถูกบันทึกในกองหินเจลลิง[12] ขอบเขตของราชอาณาจักรของพระเจ้าฮารัลด์ในขณะนั้นยังไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด แม้จะสมเหตุสมผลจากการยึดเอาแนวป้องกันเดนเวอร์เกที่สร้างในรัชกาลก่อนมาเป็นหลัก ซึ่งรวมทั้งเมืองไวกิงเฮเดบี, ตลอดคาบสมุทรจัตแลนด์, หมู่เกาะเดนมาร์กและทางภาคใต้ที่ปัจจุบันเป็นอาณาเขตของสวีเดนคือแคว้นสคาเนียและบางทีครอบครองส่วนของฮัลลันด์และเบรกิงก์ นอกจากนี้ กองหินเจลลิงยืนยันได้ว่า พระเจ้าฮารัลด์ทรงมี"ชัยชนะ"เหนือนอร์เวย์[13]

ก้อนหินเจลลิงขนาดใหญ่ที่ได้รับการบันทึกว่าเป็น "ใบแจ้งเกิด"ของเดนมาร์ก บันทึกการประกาศรวมชาติเดนมาร์กและศานาคริสต์ในเดนมาร์กโดยพระเจ้าฮารัลด์ บลูทูธในปีค.ศ. 960 (พ.ศ. 1503)

ประวัติศาสตร์ศาสนาคริสต์ในเดนมาร์กนั้นได้ทับซ้อนกับยุคสมัยของไวกิง และมีอาณาจักรน้อยใหญ่ในบริเวณเดนมาร์กมานานหลายปี พระเจ้าฮารัลด์ บลูทูธทรงขยายอาณาเขตจากคาบสมุทรจัตแลนด์ไปยังสแคน ในรอบช่วงเวลาเดียวกัน พระองค์ทรงรับมิชชันนารีชาวเยอรมันเข้ามา ผู้ซึ่งตามที่บันทึกในตำนาน[14] ได้รอดชีวิตจากการพิจารณาคดีโดยการทรมานที่ซึ่งทำให้สามารถโน้มน้าวพระทัยพระเจ้าฮารัลด์ให้เปลี่ยนมานับถือศานาคริสต์ ในความเป็นจริงแล้วพระองค์ทรงรบแพ้กองทัพของจักรพรรดิออทโทที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ทำให้ทรงยอมเข้ารีตเป็นคริสเตียน

ศาสนาใหม่ที่ซึ่งได้เข้ามาแทนที่เทพปกรณัมนอร์สศาสนาในสมัยโบราณได้สร้างประโยชน์มากมายแก่กษัตริย์ การนับถือศานาคริสต์ได้นำมาซึ่งการสนับสนุนจากจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งสามารถทำให้พระมหากษัตริย์มีพระราชอำนาจในการกำจัดศัตรูของพระองค์ผู้ซึ่งยังคงยึดมั่นในเทพปกรณัมนอร์สอยู่ ในช่วงต้นนั้นไม่มีหลักฐานว่าคริสตจักรเดนมาร์กได้จัดระเบียบการต่างๆอย่างมีประสิทธิภาพที่ซึ่งพระเจ้าฮารัลด์สามารถใช้ศาสนจักรนี้เพื่อสร้างพระราชอำนาจควบคุมราชอาณาจักรของพระองค์แต่อาจมีส่วนพัฒนารากฐานการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางทางการเมืองและคตินิยมทางศาสนาระหว่างอภิชนชั้นในสังคมที่ซึ่งทรงรักษาและยกระดับพระราชอำนาจของระบอบกษัตริย์ให้สูงยิ่งขึ้น

พระเจ้าฮารัลด์ บลูทูธทรงอภิเษกสมรสครั้งแรกกับเจ้าหญิงกิริธ โอลาฟสดอทเทียร์แห่งสวีเดน มีรัชทายาท 4 พระองค์ หลังจากพระนางกิริธ โอลาฟสดอทเทียร์สิ้นพระชนม์ในปีค.ศ. 970 (พ.ศ. 1513) พระองค์ได้อภิเษกสมรสครั้งที่สองกับเจ้าหญิงทอรา มิสทิวอจแห่งโอโบไทรต์ ไม่มีรัชทายาทด้วยกัน

พระเจ้าฮารัลด์ บลูทูธเสด็จสวรรคตในปีค.ศ. 986 (พ.ศ. 1529) สิริพระชนมายุราว 50 พรรษา พระโอรสได้ครองราชย์สืบต่อ

รัชสมัยพระเจ้าสเวน ฟอร์กเบียร์ด (ค.ศ. 986 - ค.ศ. 1014)

พระบรมสาทิสลักษณ์พระเจ้าสเวน ฟอร์กเบียร์ดแห่งเดนมาร์ก

พระเจ้าสเวนที่ 1 แห่งเดนมาร์ก หรือ พระเจ้าสเวน ฟอร์กเบียร์ด เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าฮารัลด์ บลูทูธกับเจ้าหญิงกิริธ โอลาฟสดอทเทียร์แห่งสวีเดน พระมเหสีองค์แรก เสด็จพระราชสมภพราว ค.ศ. 960 (พ.ศ. 1503) ทรงอภิเษกเสกสมรสกับเจ้าหญิงกันฮิลด์แห่งเว็นเด็นและต่อมาอาจจะเป็นพระนางซิกริดผู้ทรนง (เรื่องของพระมเหสีของพระองค์ยังเป็นที่ถกเถียงจนทุกวันนี้) และทรงราชย์บัลลังก์เดนมาร์กระหว่างค.ศ. 986 (พ.ศ. 1529) ถึง 3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1014 (พ.ศ. 1557) ในปี ค.ศ. 1000 (พ.ศ. 1543) พระองค์ทรงละทิ้งคริสต์ศาสนา โดยทรงกล่าวหาว่าการเข้ารีตเป็นคริสต์ของพระบิดาถือเป็นพฤติกรรมเบี่ยงเบน

ภาพ ยุทธการสวอลเดอร์ ส่งผลให้เดนมาร์กได้ครองราชอาณาจักรนอร์เวย์เกือบทั้งหมด

พระเจ้าสเวน ฟอร์กเบียร์ดทรงเป็นพันธมิตรกับทรอนด์จาร์ล อีริคแห่งเลด ในการทำสงครามกับพระเจ้าโอลาฟที่ 1 แห่งนอร์เวย์ในยุทธการสวอลเดอร์ส่งผลให้พระเจ้าโอลาฟที่ 1 แห่งนอร์เวย์เสด็จสวรรคตในสนามรบ ซึ่งทำให้ได้ครองราชอาณาจักรนอร์เวย์เกือบทั้งหมดและทรงสถาปนาพระองค์เองเป็นพระมหากษัตริย์แห่งนอร์เวย์ จากเหตุการณ์การสังหารหมู่วันเซนต์บริซ (St. Brice's Day massacre) ซึ่งเป็นการสังหารหมู่ชาวเดนส์ในราชอาณาจักรอังกฤษในวันที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 1002 (พ.ศ. 1545) โดยพระราชโองการของพระเจ้าแอเธลเรดที่ 2 แห่งอังกฤษ นักประวัติศาสตร์เชื่อว่า เหตุการณ์ในวันนั้นเป็นการสูญเสียชีวิตครั้งใหญ่ของชาวเดนส์ ในจำนวนผู้ถูกสังหารเชื่อว่ารวมทั้ง เจ้าหญิงกุนฮิลด์แห่งเดนมาร์ก พระขนิษฐาในพระเจ้าสเวน ฟอร์กเบียร์ดกับพาลลิก โทเกเซน พระสวามีของเจ้าหญิงก็ถูกสังหารในเหตุการณ์ครั้งนี้ด้วย[15] เมื่อพระเจ้าสเวนทราบทรงพิโรธยิ่งที่พระขนิษฐาสิ้นพระชนม์[16]ทรงระดมทัพเพื่อพิชิตอังกฤษให้ได้

ตามบันทึกของไซมอน ไคนส์ พระองค์ทรงเข้ายึดครองเวสเซ็กส์และแองเกลียตะวันออกในปีค.ศ. 1003 (พ.ศ. 1546) - ค.ศ. 1004 (พ.ศ. 1547) และในปีค.ศ. 1004 (พ.ศ. 1547) อังกฤษได้ยอมจำนนต่อเดนมาร์กอย่างเด็ดขาด และพระเจ้าสเวนทรงเป็นปฐมกษัตริย์ชาวเดนส์พระองค์แรกของอังกฤษ แต่หลังจากการสวรรคตของพระเจ้าสเวนและจากการขาดแคลนเสบียงทำให้กองทัพเดนมาร์กต้องยกทัพกลับในค.ศ. 1005 (พ.ศ. 1548)[17] ในเดือนสุดท้ายก่อนที่จะเสด็จสวรรคตทรงสถาปนาพระองค์เองเป็นพระมหากษัตริย์แห่งจักรวรรดิทะเลเหนือ

พระเจ้าสเวน ฟอร์กเบียร์ดเสด็จสวรรคตในปีค.ศ. 1014 (พ.ศ. 1557) สิริพระชนมายุราว 54 พรรษา

รัชสมัยพระเจ้าคนุตมหาราช (ค.ศ. 1018 - ค.ศ. 1035)

พระบรมสาทิสลักษณ์ พระเจ้าคนุตมหาราช วาดราวคริสต์ศตวรรษที่ 13 ภาพนี้ได้ปรากฏพระองค์ในฐานะพระมหากษัตริย์คริสต์ศาสนิกชน

พระเจ้าคนุตมหาราช เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าสเวน ฟอร์กเบียร์ดกับพระนางซิกริดผู้ทรนง เสด็จพระราชสมภพราวค.ศ. 985 (พ.ศ. 1528) - ค.ศ. 995 (พ.ศ. 1538) ทรงเสกสมรสกับพระนางเอลกิฟูแห่งนอร์ทแธมตัน และต่อมา พระนางเอ็มมาแห่งอังกฤษ

ขณะทรงดำรงพระอิศริยยศเป็นเจ้าชายแห่งเดนมาร์ก พระองค์ได้รับชัยชนะในอังกฤษจากยุทธการแอชชิงดัน ทรงชนะกองทัพของพระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 2 แห่งอังกฤษ หรือ พระเจ้าเอ็ดมันด์ ไอรอนไซด์ หลังจากนั้นพระมหากษัตริย์สองพระองค์ก็ทรงเจรจาต่อรองสงบศึกซึ่งระบุให้พระเจ้าเอ็ดมันด์ได้เอสเซ็กซ์ และพระเจ้าคานูทได้ดินแดนส่วนที่เหนือจากแม่น้ำเทมส์ นอกจากนั้นก็ยังทรงตกลงกันว่าถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียชีวิตดินแดนของผู้ที่เสียชีวิตก็จะตกไปเป็นของผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ พระเจ้าเอ็ดมันด์เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1016 (พ.ศ. 1559) ที่อ็อกฟอร์ดหรือลอนดอน ดินแดนของพระองค์จึงตกไปเป็นของเจ้าชายคานูท และเจ้าชายคนุตทรงปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์แห่งอังกฤษในปีค.ศ. 1016 (พ.ศ. 1559) ถือเป็นการยึดครองอังกฤษอย่างสมบูรณ์ ในปีค.ศ. 1018 (พ.ศ. 1561) ทรงสืบราชบัลลังก์เดนมาร์กจากสมเด็จพระเจ้าฮารัลด์ที่ 2 แห่งเดนมาร์ก พระเชษฐาซึ่งเสด็จสวรรคต ทำให้ทรงราชบัลลังก์ทั้งเดนมาร์กและอังกฤษร่วมกัน พระเจ้าคนุตทรงใช้พระราชอำนาจร่วมโดยรวมชาวเดนส์และอังกฤษเข้าด้วยกันทั้งด้านเศรษฐกิจและขนบธรรมเนียมประเพณีมากกว่าการปกครองอย่างกดขี่

จักรวรรดิทะเลเหนือภายใต้รัชสมัยของพระเจ้าคนุตมหาราช

ในปีค.ศ. 1016 (พ.ศ. 1559) พระเจ้าโอลาฟ ฮารัลด์สันแห่งนอร์เวย์ทรงได้รับชัยชนะจากกองทัพเดนส์ในนอร์เวย์ และต่อมาทรงร่วมมือกับพระเจ้าอนุนด์ จาค็อบแห่งสวีเดนโดยทรงอาศัยช่วงที่พระเจ้าคนุตมหาราชทรงจัดการความยุ่งยากในอังกฤษ ทั้งสองพระอค์ทรงวางแผนเริ่มโจมตีเดนมาร์กในปีค.ศ. 1026 (พ.ศ. 1569) ในยุทธการเฮลเกีย โดยกองทัพเรือสวีเดนและนอร์เวย์ได้รับกับดองทัพเรือของพระเจ้าคนุตซึ่งบัญชาการโดยอูล์ฟ จาร์ล[18] ขุนนางซึ่งเป็นพระสวามีในเจ้าหญิงแอสตริด สเวนสเด็ทเทอร์แห่งเดนมาร์ก พระขนิษฐาในพระเจ้าคนุต ในที่สุดสงครามจบลงโดยกองทัพเดนมาร์ก-อังกฤษเป็นฝ่ายชนะ ส่งผลให้พระเจ้าคนุตมหาราชทรงมีอิทธิพลสูงสุดในสแกนดิเนเวียโดยในปีค.ศ. 1027 (พ.ศ. 1570) พระเจ้าคนุตมหาราชทรงสถาปนาพระองค์เองเป็น พระมหากษัตริย์แห่งอังกฤษและเดนมาร์กทั้งมวลและปวงชนชาวนอร์วีเจียนและบางส่วนของปวงชนชาวสวีดิช

หลังจากสิ้นสุดทศวรรษแห่งความขัดแย้งระหว่างศัตรูของพระองค์ในสแกนดิเนเวีย พระเจ้าคนุตทรงอ้างสิทธิในราชบัลลังก์แห่งนอร์เวย์ที่ทรอนด์เฮมในปีค.ศ. 1028 (พ.ศ. 1571) เมืองซิกกูนาของสวีเดนได้ถูกยึดครองโดยพระเจ้าคนุต[19] พระองค์ทรงมีเหรียญตราที่มีการบันทึกถึงพระองค์ในฐานะพระมหากษัตริย์ในดินแดนนั้นแต่ไม่มีการบันทึกเกี่ยวกับการเข้ายึดครองของพระองค์

ราชาธิปไตยแห่งอังกฤษมีการเชื่อมโยงทางทะเลโดยการกำหนดของชาวเดนส์ซึ่งเชื่อมระหว่างเกาะบริเตนใหญ่และเกาะไอร์แลนด์ ที่ซึ่งพระเจ้าคนุตก็มีพระราชดำริเช่นเดียวกับพระราชบิดาในให้ความสนใจอย่างยิ่งและการขยายอิทธิพลเหนือบริเวณที่เรียกว่า แกล-กาเอดิล[20]

พระเจ้าคนุตทรงมีความสัมพันธ์อันดีกับจักรพรรดิเฮนรีที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์, จักรพรรดิคอนราดที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ เจ้าผู้ครองนครของชนเจอร์มานิค และทรงมีความสัมพันธ์โดยตรงกับพระสันตะปาปา

พระเจ้าคนุตมหาราชเสด็จสวรรคตในปี ค.ศ. 1035 (พ.ศ. 1578) สิริพระชนมายุราว 40 พรรษา พระราชโอรสได้ครองราชย์ต่อ การเสด็จสวรรคตของพระองค์ทำให้ในรัชสมัยต่อมาสูญเสียราชอาณาจักรอังกฤษและการรุกรานของนอร์เวย์ทำให้ราชวงศ์กอร์มสิ้นสุดด้วย เป็นการแบ่งแยกอาณาจักรระหว่างเดนมาร์กกับอังกฤษอย่างชัดเจนและจะไม่มีวันรวมกันได้อีก

รัชสมัยพระเจ้าฮาร์ธาคนุต (ค.ศ. 1035 - ค.ศ. 1042)

เหรียญตราพระบรมสาทิสลักษณ์พระเจ้าฮาร์ธาคนุตแห่งเดนมาร์ก

พระเจ้าฮาร์ธาคนุต หรือ สมเด็จพระเจ้าคานูทที่ 3 แห่งเดนมาร์ก เสด็จพระราชสมภพราว ค.ศ. 1018 (พ.ศ. 1561) เป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระเจ้าคานูทมหาราช และ เอ็มมาแห่งนอร์ม็องดี สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ และทรงราชบัลลังก์เดนมาร์กระหว่างปี ค.ศ. 1035 (พ.ศ. 1578) ถึงปี ค.ศ. 1042 (พ.ศ. 1585) และราชบัลลังก์อังกฤษระหว่างวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 1040 (พ.ศ. 1583) หลังจากที่พระราชบิดาพระเจ้าคานูทมหาราชเสด็จสวรรคต จนกระทั่งเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน ค.ศ. 1042 (พ.ศ. 1585)

ภาพ พระเจ้าฮาร์ธาคานูททรงพบพระเจ้าแม็กนัสที่ 1 แห่งนอร์เวย์ วาดโดยฮาล์ฟดาน อีเกดุส จิตรกรชาวนอร์เวย์

พระเจ้าฮาร์ธาคานูทได้รับราชบัลลังก์เดนมาร์กเมื่อปี ค.ศ. 1035 (พ.ศ. 1578) หลังจากที่พระราชบิดาพระเจ้าคานูทมหาราชเสด็จสวรรคต แต่การรุกรานของพระเจ้าแม็กนัสที่ 1 แห่งนอร์เวย์ทำให้ไม่ทรงสามารถมารับราชบัลลังก์อังกฤษได้ ทางอังกฤษจึงตกลงยกพระราชบัลลังก์ให้ฮาโรลด์ แฮร์ฟุตพระเชษฐาต่างพระมารดาผู้เป็นพระโอรสนอกสมรสของพระเจ้าคานูทมหาราชเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ชั่วคราว แต่พระเจ้าฮาโรลด์ แฮร์ฟุตทรงยึดราชบัลลังก์เป็นของพระองค์เองในปี ค.ศ. 1037 (พ.ศ. 1580) พระเจ้าฮาร์ธาคานูท “ถูกทิ้งเพราะไปอยู่เสียใกลในเดนมาร์ก”[21] — และเอ็มมาแห่งนอร์ม็องดีพระราชมารดาของพระเจ้าฮาร์ธาคานูทผู้ที่ประทับอยู่ที่วินเชสเตอร์กับกองทหารของฮาร์ธาคานูทก็ทรงถูกบังคับให้หนีไปบรูจส์ (Bruges) ในฟลานเดอร์ส พระเจ้าฮาร์ธาคานูททรงสงบศึกกับทางสแกนดิเนเวียด้วยสนธิสัญญาที่ทรงทำกับพระเจ้าแม็กนัสราวปี ค.ศ. 1038 (พ.ศ. 1581) หรือ ค.ศ. 1039 (พ.ศ. 1582) โดยตกลงกันว่าถ้าคนหนี่งคนใดสวรรคตดินแดนของผู้ที่สวรรคตก่อนไปก็จะตกไปเป็นของผู้ที่มีชีวิตอยู่ หลังจากนั้นพระเจ้าฮาร์ธาคานูทก็เตรียมการรุกรานอังกฤษเพื่อที่จะไปปลดพระเจ้าฮาโรลด์ แฮร์ฟุตจากราชบัลลังก์ แต่พระเจ้าฮาโรลด์ แฮร์ฟุตเสด็จสวรรคตเสียก่อนเมื่อวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 1040 (พ.ศ. 1583) พระเจ้าฮาร์ธาคานูทจึงได้รับการอัญเชิญจากอังกฤษ ทรงขึ้นฝั่งอังกฤษที่แซนด์วิชในเค้นท์ เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ. 1040 (พ.ศ. 1583) [21] พร้อมกับเรือรบ 62 ลำ เมื่อเสด็จมาถึงก็มีพระราชโองการให้ขุดร่างของพระเจ้าฮาโรลด์ แฮร์ฟุตขึ้นมาแล้วเอาไปโยนทิ้ง พระเจ้าฮาร์ธาคานูทเป็นพระมหากษัตริย์ที่โหดร้ายและไม่เป็นที่นิยม ทรงเรียกเก็บภาษีอย่างหนักเพื่อที่ทรงใช้ในการบำรุงกองทัพเรือของพระองค์

ในปี ค.ศ. 1041 (พ.ศ. 1584) พระเจ้าฮาร์ธาคานูททรงอัญเชิญพระอนุชาต่างพระบิดาสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้สารภาพ กลับจากการลี้ภัยในนอร์ม็องดีมาอยู่ในราชสำนักของพระองค์และคงคิดจะตั้งเอ็ดเวิร์ดให้เป็นรัชทายาทด้วย พระเจ้าฮาร์ธาคานูทมิได้ทรงเสกสมรสและไม่มีพระราชโอรสธิดา แต่ก็มีข่าวลือว่ามีพระโอรสนอกสมรส วิลเลียม คานูท พระเจ้าฮาร์ธาคานูทเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน ค.ศ. 1042 (พ.ศ. 1585) ที่แลมเบ็ธ พระบรมศพถูกฝังไว้ที่วินเชสเตอร์ที่เดียวกับพระราชบิดาและพระราชมารดา สิ้นสุดราชวงศ์กอร์ม เอ็ดเวิร์ดขึ้นครองราชบัลลังก์อังกฤษเป็นสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้สารภาพ ฟื้นฟูราชวงศ์เวสเซ็กซ์ของแซ็กซอน ในการโจมตีอังกฤษครั้งสุดท้ายของชาวนอร์เวย์ล้มเหลว แต่เป็นการนำไปสู่การยึดครองอังกฤษของพระเจ้าวิลเลียมผู้พิชิตในปีค.ศ. 1066 (พ.ศ. 1609)[13]

รัชสมัยพระเจ้าแม็กนัส ผู้ทรงธรรม (ค.ศ. 1042 - ค.ศ. 1047)

พระบรมสาทิสลักษณ์พระเจ้าแม็กนัส ผู้ทรงธรรมแห่งนอร์เวย์

พระเจ้าแม็กนัส ผู้ทรงธรรม หรือ สมเด็จพระเจ้าแม็กนัสที่ 1 แห่งนอร์เวย์ เป็นพระโอรสนอกสมรสในพระเจ้าโอลาฟที่ 2 แห่งนอร์เวย์กับนางอัลวีฮิลด์ เสด็จพระราชสมภพราวค.ศ. 1024 (พ.ศ. 1567) ทรงราชบัลลังก์นอร์เวย์ระหว่างปีค.ศ. 1035 (พ.ศ. 1587) ถึงค.ศ. 1047 (พ.ศ. 1590) และทรงราชบัลลังก์เดนมาร์กระหว่างปีค.ศ. 1042 (พ.ศ. 1585) ถึงค.ศ. 1047 (พ.ศ. 1590)

เมื่อทรงพระเยาว์ พระองค์และพระมารดาต้องเสด็จลี้ภัยจากการที่พระบิดาถูกขับออกจากอำนาจในปีค.ศ. 1028 (พ.ศ. 1571)โดยพระราชโองการของพระเจ้าคนุตมหาราช พระองค์ได้เสด็จกลับนอร์เวย์ในปีค.ศ. 1035 (พ.ศ. 1587) หลังจากการสวรรคตของพระเจ้าคนุตมหาราช และทรงได้รับการสถาปนาเป็นพระมหากษัตริย์แห่งนอร์เวย์ขณะมีพระชนมายุเพียง 11 พรรษา พระองค์มีพระราชประสงค์ที่จะกำจัดศัตรูของพระราชบิดาทุกคน แต่ซืกวาร์ท ทอร์ดาร์สัน กวีในราชสำนักได้ห้ามปรามพระองค์ไว้ ที่ซึ่งทำให้พระองค์เป็นที่กล่าวขานในนาม "ผู้ทรงธรรม"[22]

พระองค์ได้ประกาศสงครามกับเดนมาร์กในรอบค.ศ. 1040 (พ.ศ. 1583) ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าฮาร์ธาคนุต ที่มีพระราชประสงค์ที่จะยึดครองนอร์เวย์มารวมกับเดนมาร์ก[23] แต่ทั้งสองพระองค์ก็ได้เจรจาสงบศึกกันโดยเสด็จมาพบปะกัน โดยตกลงกันว่าถ้าคนหนี่งคนใดสวรรคตดินแดนของผู้ที่สวรรคตก่อนไปก็จะตกไปเป็นของผู้ที่มีชีวิตอยู่[22][24] พระเจ้าฮาร์ธาคานูทเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน ค.ศ. 1042 (พ.ศ. 1585) ถือเป็นจุดสิ้นสุดราชวงศ์กอร์ม ทำให้พระเจ้าแม้กนัสได้เป็นกษัตริย์แห่งนอร์เวย์และเดนมาร์ก สถาปนาราชวงศ์แฟร์แฮร์ในเดนมาร์ก พระองค์ต้องเผชิญกับการอ้างสิทธิของเจ้าชายสเวน แอสตริดเซนแห่งเดนมาร์ก พระนัดดาในพระเจ้าคนุตมหาราช ในขณะที่เจ้าชายฮารัลด์ ฮาร์ดราดาแห่งนอร์เวย์ พระปิตุลาในพระเจ้าแม็กนัสได้เสด็จกลับนอร์เวย์จากทางตะวันออกและทรงประกาศปกครองที่นั่น ในขณะที่เจ้าชายสเวนทรงคุกคามเดนมาร์ก เจ้าชายฮารัลด์ได้เจริญสัมพันธไมตรีกับเจ้าชายสเวน[25][26] พระเจ้าแม็กนัสทรงจำใจทำให้พระปิตุลาพอพระทัย[25] โดยให้เจ้าชายฮารัลด์ครองราชบัลลังก์นอร์เวย์ร่วมกับพระองค์ในปีค.ศ. 1046 (พ.ศ. 1589)[27][28]

พระเจ้าแม็กนัสแห่งนอร์เวย์เสด็จสวรรคตอย่างกะทันหันด้วยอุบัติเหตุบนเรือพระที่นั่ง พระองค์ทรงหมดสติ ขณะกำลังยกกองทัพเพื่อไปพิชิตอังกฤษในวันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 1047 (พ.ศ. 1590) สิริพระชนมายุราว 23 พรรษา พระองค์มิได้อภิเษกสมรสและไม่มีทายาท โดยมีการรายงานว่าพระองค์ทรงยินยอมให้เจ้าชายสเวนสืบราชบัลลังก์เดนมาร์กต่อจากพระองค์ ถือเป็นการสิ้นสุดราชวงศ์แฟร์แฮร์สายนอร์เวย์ที่เข้ามาปกครองเดนมาร์ก ราชอาณาจักรนอร์เวย์-เดนมาร์กจึงแตกออกเป็นสองส่วน เจ้าชายฮารัลด์ ฮาร์ดราดาแห่งนอร์เวย์ทรงราชบัลลังก์นอร์เวย์และเจ้าชายสเวน แอสตริดเซนแห่งเดนมาร์กทรงราชบัลลังก์เดนมาร์ก

ศาสนาคริสต์ การขยายดินแดนและการสถาปนาราชอาณาจักรเดนมาร์ก

สมเด็จพระเจ้าสเวนที่ 2 แอสตริดเซน

รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าสเวนที่ 2 แอสตริดเซน หรือ สมเด็จพระเจ้าสเวนที่ 2 แห่งเดนมาร์ก ทรงเป็นพระราชโอรสในอูล์ฟ จาร์ลกับเจ้าหญิงแอสตริด สเวนสเด็ทเทอร์แห่งเดนมาร์ก พระองค์ทรงครองราชสมบัติเดนมาร์กในปีค.ศ. 1047 (พ.ศ. 1590) ภายหลังการสวรรคตของพระเจ้าแม็กนัส ผู้ทรงธรรม และทรงสถาปนาราชวงศ์แอสตริดเซนขึ้นแทนที่ราชวงศ์แฟร์แฮร์แห่งนอร์เวย์

พระองค์ได้สถาปนาราชอาณาจักรเดนมาร์กที่เข้มแข็งขึ้นอีกครั้ง และทรงดำเนินการสานสัมพันธไมตรีที่ดีกับอาร์คบิชอปอดาลเบิร์ตแห่งฮัมบวร์ค ซึ่งในขณะนั้นเป็นอาร์คบิชอปแห่งสแกนดิเนเวียทั้งมวลและมีอิทธิพลสูงสุด,[11] ภายใต้อิทธิพลของพระเจ้าสเวน ทำให้ขณะนั้นเดนมาร์กได้ถูกแบ่งเป็นแปดเขตปกครองโดยบิชอปในรอบปีค.ศ. 1060 (พ.ศ. 1603)[29]

การครองราชย์ของพระเจ้าสเวนและการประดิษฐานราชวงศ์แอสตริดเซนในเดนมาร์กนั้น พระองค์ทรงมีความเชื่อมโยงกับสายสืบราชสันตติวงศ์เดนมาร์กผ่านทางพระมารดาของพระองค์คือ เจ้าหญิงแอสตริด และทรงได้รับชื่อตระกูลผ่านทางพระมารดาว่า "แอสตริดเซน" โดยมีการเน้นย้ำถึงความสำคัญของสายสันตติวงศ์ทางพระองค์ให้เชื่อมโยงกับพระราชวงศ์เดนมาร์ก[30] พระองค์ยังทรงผลิตเหรียญกษาปณ์เอง

พระเจ้าสเวนทรงสถาปนาและรวมพระราชอำนาจทั้งหมดมาไว้ที่ส่วนกลางโดยทรงสานสัมพันธ์กับคริสตจักรและมหาอำนาจต่างชาติ และทรงดำเนินการเป็นพันธมิตรกับพระสันตปาปา[25] พระองค์ทรงมีความทะเยอทะยานโดยมีพระราชประสงค์ให้พระราชโอรสองค์หนึ่งคือ เจ้าชายคนุต แม็กนัสแห่งเดนมาร์กสวมมงกุฎเป็นสมเด็จพระสันตปาปา แต่เจ้าชายทรงสิ้นพระชนม์ในระหว่างการเดินทางไปยังกรุงโรม พระองค์ทรงล้มเหลวในการพยายามผลักดันให้มีการล้างบาปของพระเจ้าฮารัลด์ บลูทูธ กษัตริย์ชาวคริสต์พระองค์แรก พระองค์ทรงเจริญสัมพันธไมตรีกับจักรพรรดิไฮน์ริชที่ 3 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในการต่อต้านจักรพรรดิบอลด์วินที่ 1 แห่งคอนสแตนติโนเปิลในปีค.ศ. 1049 (พ.ศ. 1592) และพระเจ้าสเวนยังทรงสนับสนุนเจ้าชายก็อตต์ชอล์กแห่งโอโบไทรต์ พระชามาดา(ลูกเขย)ในการทำสงครามกับพวกสงครามกลางเมือลูติชิ ในปีค.ศ. 1057 (พ.ศ. 1600)[30]

หลังจากสมเด็จพระเจ้าฮารัลด์ ฮาร์ดราดาแห่งนอร์เวย์พ่ายแพ้และเสด็จสวรรคตกลางสมรภูมิในการต่อสู้ที่สะพานสแตมฟอร์ดในอังกฤษและพระเจ้าวิลเลียม ผู้พิชิตสามารถพิชิตอังกฤษได้ พระเจ้าสเวนกลับมาให้ความสนพระทัยในอังกฤษที่ครั้งหนึ่งเคยถูกปกครองโดยพระเจ้าคนุตมหาราช พระปิตุลาของพระองค์ พระองค์ทรงเข้าร่วมฝ่ายเดียวกับสมเด็จพระเจ้าเอ็ดการ์ เอเธลลิง ซึ่งเป็นเชื้อสายสุดท้ายแห่งราชวงศ์ชาวแองโกล-แซกซันและได้รวมกองทัพโจมตีพระเจ้าวิลเลียมในปีค.ศ. 1069 (พ.ศ. 1612) อย่างไรก็ตามหลังจากเข้ายึดเมืองยอร์ก พระเจ้าสเวนได้ยอมรับการจ่ายของพระเจ้าวิลเลียมที่ให้ละทิ้งพระเจ้าเอ็ดการ์ ผู้ซึ่งได้ลี้ภัยในสก็อตแลนด์ ที่ซึ่งพระเจ้าสเวนได้ล้มเหลวในการพิชิตในปีค.ศ. 1074/1075 (พ.ศ. 1617/1618)[30]

สมเด็จพระเจ้าสเวนที่ 2 แอสตริดเซนเสด็จสวรรคตวันที่ 28 เมษายน ค.ศ. 1074/76 (พ.ศ. 1617/19) พระชนมายุราว 55 พรรษา หลังจากสวรรคต พระองค์ทรงถูกขนานนามว่า "พระบิดาแห่งเหล่ากษัตริย์" เนื่องจากพระโอรส 5 พระองค์จาก 15 พระองค์ทรงครองราชบัลลังก์เดนมาร์กต่อมา[31]

ภาพ มรณสักขีแห่งพระเจ้าคานูทที่ 4 นักบุญ วาดโดย คริสเตียน อัลแบรชท์ ฟาน เบนซอน

รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าคานูทที่ 4 นักบุญ เป็นพระราชโอรสนอกกฎหมายในสมเด็จพระเจ้าสเวนที่ 2 แห่งเดนมาร์ก ทรงสืบราชบัลลังก์ต่อจากสมเด็จพระเจ้าฮารัลด์ที่ 3 แห่งเดนมาร์ก พระเชษฐาซึ่งเสด็จสวรรคตในปีค.ศ. 1080 (พ.ศ. 1623) พระองค์ทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงอเดลาแห่งฟลานเดอร์ มีพระราชโอรส 1 พระองค์และพระราชธิดา 2 พระองค์

พระเจ้าคานูทเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงทะเยอทะยาน ทรงเสริมสร้างความแข็งแกร่งแก่ราชาธิปไตยแห่งเดนมาร์ก ทรงเป็นผู้ศรัทธาในคริสตจักรโรมันคาทอลิกอย่างยิ่ง และทรงมีแผนการที่จะครองราชบัลลังก์อังกฤษ

พระองค์ทรงศรัทธาในพระศาสนาอย่างยิ่ง ทรงทำการให้อำนาจแก่ฝ่ายศาสนาและทรงเฝ้าสังเกตพิธีกรรมในวันหยุดทางศาสนาอย่างเข้มงวด[25] พระองค์ทรงถวายธรรมทานอันมหาศาลแก่โบสถ์ในดาลบี, ออเดนส์, รอสกิลด์และวีบอร์ก และโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ลุนด์[25] การเพิ่มพระราชอำนาจให้แก่ศาสนจักรของพระองค์เป็นการสร้างพันธไมตรีที่แข็งแกร่ง ซึ่งเปลี่ยนมาสนับสนุนสถานะอำนาจของพระเจ้าคานูท[25]

ในรัชสมัยของพระองค์เป็นที่จดจำในการสถาปนาพระราชอำนาจเพื่อเพิ่มอำนาจของราชสำนักเดนมาร์กด้วยการระงับอำนาจของขุนนางและบังคับให้ฝ่ายศักดินาอยู่ภายใต้กฎหมาย[25] ผลจากกฎหมายของพระเจ้าคานูทได้ทำให้การถือสิทธิ์ของพระองค์ในการที่ทรงเป็นเจ้าของที่ดินโดยรวม สิทธิ์ในสินค้าจากเรืออัปปาง และสิทธิสืบต่อการครอบครองทรัพย์สมบัติของชาวต่างชาติและประชาชนซึ่งไร้ญาติ ผลของกฎหมายยังทำการคุ้มครองอิสรภาพของทาส บุคคลในวงการศาสนาและพ่อค้าชาวต่างชาติ[30] พระกุศโลบายเหล่านี้ได้นำไปสู่ความไม่พอใจแก่บริวารของพระองค์ ซึ่งไม่คุ้นเคยกับการรวมพระราชอำนาจของกษัตริย์และทรงเข้าไปก้าวก่ายชีวิตประจำวันของพวกเขา[25]

แต่ความทะเยอทะยานของพระเจ้าคานูทยังคงไม่สิ้นสุดแต่เพียงภายในราชอาณาจักร ในฐานะเป็นพระราชปนัดดาในพระเจ้าคนุตมหาราช ซึ่งทรงเคยปกครองอังกฤษ,เดนมาร์กและนอร์เวย์จนกระทั่งค.ศ. 1035 (พ.ศ. 1578) พระเจ้าคานูททรงพิจารณาว่าราชบัลลังก์อังกฤษนั้นเป็นสิทธิอันชอบธรรมของพระองค์ ในขณะนั้นพระองค์ทรงมองพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษในฐานะผู้ช่วงชิงราชบัลลังก์ ในปีค.ศ. 1085 (พ.ศ. 1628) ด้วยการสนับสนุนจากพระสัสสุระ โรเบิร์ตที่ 1 เคานท์แห่งฟลานเดอส์และพระเจ้าโอลาฟที่ 3 แห่งนอร์เวย์ พระเจ้าคานูททรงวางแผนที่จะรุกรานอังกฤษและทรงรวมกำลังพลเรือที่ลิมฟยอร์ด เรียกว่า "เลดิง" (leding)[25] กองทัพเรือมิได้เคลื่อนออก โดยพระองค์ทรงเตรัยมการที่จะยึดครองดัชชีชเลสวิช เนื่องจากภัยคุกคามศัตรูที่สำคัญอย่างจักรพรรดิไฮน์ริชที่ 4 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ที่ซึ่งไม่ทรงเป็นมิตรกับทั้งเดนมาร์กและฟลานเดอส์ พระเจ้าคานูททรงเกรงราชภัยจากการรุกรานของจักรพรรดิไฮน์ริช ที่ซึ่งศัตรูของพระจักรพรรดิอย่าง รูดอล์ฟแห่งไรน์เฟลเดนได้ลี้ภัยอยู่ในเดนมาร์ก[25]

เหล่านักรบในกองทัพเรือซึ่งส่วนใหญ่เป็นประชาชน ต้องการที่จะกลับบ้านเดิมของตนในฤดูเก็บเกี่ยว ทั้งเหนื่อยล้าจากการรอคำสั่ง ที่ซึ่งได้เลือกให้พระอนุชาของพระเจ้าคานูทคือ เจ้าชายโอลาฟ (ต่อมาคือ สมเด็จพระเจ้าโอลาฟที่ 1 แห่งเดนมาร์ก)ให้ทรงแก้ไขปัญหา สิ่งนี้ได้นำมาซึ่งความระแวงในตัวเจ้าชายโอลาฟของพระเจ้าคานูท พระองค์จึงมีพระบัญชาให้จับกุมเจ้าชายโอลาฟและส่งไปยังฟลานเดอส์ ในที่สุดกลุ่มเลดิงก็กระจายตัวและประชาชนต่างกลับไปทำการเกษตรในภูมิลำเนาของตน[25] แต่พระเจ้าคานูทก็ทรงวางแผนที่จะระดมพลภายในปีนั้น

สมเด็จพระเจ้าวาลเดมาร์ที่ 1 มหาราชแห่งเดนมาร์ก

ก่อนที่จะมีการระดมพล ประชาชนได้ก่อจลาจลที่เวนด์ซิสเซล[30] ที่ซึ่งพระเจ้าคานูททรงประทับอยู่ ในต้นปีค.ศ. 1086 (พ.ศ. 1629) ในช่วงแรกพระเจ้าคานูททรงลี้ภัยไปยังชเลสวิชและในที่สุดเสด็จมาที่ออเดนส์ ในวันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1086 (พ.ศ. 1629) พระเจ้าคานูทและข้าราชบริพารของพระองค์กำลังพาผู้ลี้ภัยเข้ามายังสำนักสงฆ์เซนต์อัลบานในออเดนส์ กลุ่มกบฏได้บุกเข้ามาในสำนักสงฆ์และปลงพระชนม์พระเจ้าคานูท รวมทั้งพระอนุชาของพระองค์ เจ้าชายเบเนดิกต์และข้าราชบริพาร 17 คนก่อนที่จะถึงแท่นบูชา[30] สิริพระชนมายุราว 43 - 44 พรรษา จากการที่ทรงเป็นมรณสักขี ทำให้ทรงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นนักบุญในรัชสมัยต่อมาของสมเด็จพระเจ้าโอลาฟที่ 1 พระอนุชาซึ่งเคยถูกพระองค์เนรเทศ การเสด็จสวรรคตของพระเจ้าคานูท นักบุญถือเป็นจุดสิ้นสุดยุคสมัยแห่งไวกิงของเดนมาร์ก

ในช่วงต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 12 เดนมาร์กได้มีที่นั่งในภาคคริสตจักรอย่างเป็นอิสระในสแกนดิเนเวีย ไม่นานหลังจากนั้นสวีเดนและนอร์เวย์ได้สถาปนาตำแหน่งหัวหน้าบิชอปเองโดยเป็นอิสระจากเดนมาร์ก ในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 12 เป็นช่วงเวลาที่ยุ่งยากของเดนมาร์ก สงครามกลางเมืองที่รุนแรงได้ทำให้แผ่นดินสะเทือน ในที่สุดพระเจ้าวาลเดมาร์ที่ 1 มหาราชแห่งเดนมาร์ก ทรงควบคุมอาณาจักร ทรงทำให้มั่นคงและปรับโครงสร้างการจัดการ พระเจ้าวาลเดมาร์ที่ 1 และแอบซาลอน ผู้ดำรงเป็นบิชอปแห่งรอสคิลด์ได้สร้างประเทศขึ้นใหม่

ในช่วงรัชกาลของพระเจ้าวาลเดมาร์ที่ 1 ได้มีการเริ่มต้นก่อสร้างปราสาทในหมู่บ้านฮาฟน์ ในที่สุดนำไปสู่การสถาปนาโคเปนเฮเกน เมืองหลวงสมัยใหม่ของเดนมาร์ก พระเจ้าวาลเดมาร์และแอบซาลอนได้สร้างเดนมาร์กให้เป็นมหาอำนาจหลักในทะเลบอลติก เป็นอำนาจที่ภายหลังได้แข่งขันกับสันนิบาตฮันเซียติก, บรรดาเคานท์แห่งฮ็อลชไตน์และอัศวินทิวทอนิกในการค้า ดินแดน และอิทธิพลต่อบอลติกทั้งหมด ในปีค.ศ. 1168 (พ.ศ. 1711) พระเจ้าวาลเดมาร์และแอบซาลอนได้รับฐานที่มั่นคงในชายหาดทางใต้ของทะเลบอลติก เมื่อทรงปราบปรามราชรัฐรือเกินได้

ในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1180 เมคเลินบวร์คและดัชชีพอเมอเรเนียได้ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของเดนมาร์กเช่นกัน ในแคว้นใหม่ทางใต้ ชาวเดนส์ได้ส่งเสริมศาสนาคริสต์(ภารกิจของชาวรานี พระอารามเหมือนอัลเดนาแอบบี)และการตั้งถิ่นฐาน(การร่วมของเดนมาร์กในออสเซียดลุงก์) ชาวเดนส์สูญเสียดินแดนทางใต้หลังจากสมรภูมิบอร์นโฮวีด แต่ราชรัฐรือเกินยังคงอยู่กับเดนมาร์กจนกระทั่งค.ศ. 1325 (พ.ศ. 1868)

ธงเดนเนบอร์กปลิวลงมาจากท้องฟ้า ในการรบที่ลินดันนิสเซ วันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 1219 วาดโดยคริสเตียน ออกุสต์ โลเรนต์เซน เมื่อ ค.ศ. 1809

ในปีค.ศ. 1202 (พ.ศ. 1745) พระเจ้าวาลเดมาร์ที่ 2 แห่งเดนมาร์กทรงขึ้นครองราชย์และทรงก่อ "สงครามครูเสด" หลายครั้งเพื่ออ้างสิทธิในดินแดนซึ่งปัจจุบันคือ ประเทศเอสโตเนีย มีตำนานว่าธงชาติเดนมาร์กคือ ธงแดนเนอบรอกได้ปลิวมาจากท้องฟ้าในสมรภูมิลินดันนิสเซในเอสโตเนียปีค.ศ. 1219 (พ.ศ. 1762) เดนมาร์กได้ชัยชนะสูงสุดในสมรภูมิบอร์นโฮวีดในวันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1227 (พ.ศ. 1770) ต่อมาด้วยการเสียดินแดนเยอรมันตอนเหนือของเดนมาร์ก พระเจ้าวาลเดมาร์เองก็ทรงได้รับการบันทึกในวีรกรรมที่กล้าหาญของอัศวินชาวเยอรมันผู้ซึ่งคุ้มครองพระองค์อย่างปลอดภัยบนม้าของเขา

สมเด็จพระเจ้าวาลเดมาร์ที่ 2 แห่งเดนมาร์ก

ในช่วงเวาลาที่พระเจ้าวาลเดมาร์ทรงพยายามจัดการกิจการภายใน หนึ่งในการเปลี่ยนแปลงคือพระองค์ทรงก่อตั้งระบอบศักดินาที่ซึ่งพระองค์ได้มอบที่ดินแก่บุรุษด้วยความเข้าพระทัยว่าพวกเขาจะเป็นหนี้บุญคุณพระองค์ การทำเช่นนี้ช่วยเพิ่มอำนาจของตระกูลขุนนาง (เดนมาร์ก: højadelen) และก่อให้เกิดขุนนางขนาดเล็ก (เดนมาร์ก: lavadelen) ผู้ซึ่งควบคุมเดนมาร์กส่วนใหญ่ ชาวนาสูญเสียสิทธิในแบบดั้งเดิมและสิทธิพิเศษที่พวกเขาเคยมีความสุขตั้งแต่สมัยไวกิง

พระมหากษัตริย์เดนมาร์กทรงมีความยากลำบากในการควบคุมรักษาสถานะของราชอาณาจักรในการเผชิญหน้ากับฝ่ายต่อต้านทั้งจากชนชั้นขุนนางและศาสนจักร เป็นการขยายระยะเวลาความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดระหว่างพระมหากษัตริย์และสมเด็จพระสันตะปาปาแห่งโรม ที่เรียกว่า "ข้อพิพาทรองบาทหลวง" (archiepiscopal conflicts)

โดยในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 13 พระราชอำนาจได้ลดลงเรื่อยๆและขุนนางได้บีบบังคับให้พระมหากษัตริย์ทรงยอมรับกฎบัตรซึ่งได้มีการพิจารณาให้เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของเดนมาร์ก ที่ตามมาคือสมรภูมิบอร์นโฮวีดในปีค.ศ. 1227 เดนมาร์กที่อ่อนแอได้ให้หน้าต่างแห่งโอกาสแก่ทั้งสันนิบาตฮันเซียติกและเคานท์แห่งชอนบวร์กและฮ็อลชไตน์ เคานท์แห่งฮ็อลชไตน์ได้ควบคุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของเดนมาร์กเพราะพระมหากษัตริย์จะพระราชทานที่ดินแก่พวกเขาเป็นการแลกเปลี่ยนสำหรับเงินเพื่อการดำเนินการในกิจการของพระราชวงศ์

พระเจ้าวาลเดมาร์ที่ 2 ทรงใช้พระชนม์ชีพที่เหลือของพระองค์ในการวางรากฐานประมวลกฎหมายแก่คาบสมุทรจัตแลนด์, เกาะเชลลันด์และสคาเนีย ประมวลกฎหมายเหล่านี้ถูกนำมาใช้เป็นประมวลกฎหมายของเดนมาร์กจนกระทั่งค.ศ. 1683 (พ.ศ. 2226) นี่เป็นการเปลี่ยนแปลงทางกฎหมายที่สำคัญจากกฎหมายท้องถิ่นที่รวมตัวกันทางภูมิภาค (เดนมาร์ก: landting) ที่เคยเป็นธรรมเนียมมาอย่างยาวนาน มีวิธีการหลายวิธีในการกำหนดความผิดหรือความบริสุทธิ์ของผู้ทำผิดกฎหมายรวทั้งการพิจารณาโดยการทดสอบและการพิจารณาโดยการต่อสู้ ประมวลกฎหมายจัตแลนด์ (เดนมาร์ก: Jyske Lov) ได้รับการอนุมัติโดยการประชุมของสภาขุนนางที่วอร์ดิงบอร์กในปีค.ศ. 1241 (พ.ศ. 1784) เพียงก่อนการสวรรคตของพระเจ้าวาลเดมาร์ เนื่อมาจากสถานะของพระองค์คือ "พระมหากษัตริย์แห่งเดนเนบอร์ก" (the king of Dannebrog) และทรงเป็นผู้บัญญัติกฎหมาย พระเจ้าวาลเดมาร์ทรงเป็นศูนย์กลางในประวัติศาสตร์เดนมาร์ก ถึงสงครามกลางเมืองของชนรุ่นหลังและการสลายตัวที่เกอดขึ้นหลังจากการสวรรคตของพระองค์ได้ทำให้พระองค์กลายเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งยุคทอง

ยุคกลางเป็นช่วงเวลาที่มีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างพระมหากษัตริย์และโรมันคาทอลิก อาคารโบสถ์จำนวนหลายพันถูกสร้างขึ้นทั่วประเทศในช่วงเวลานี้ เศรษฐกิจได้ขยายตัวขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 12 ฐานส่วนใหญ่มาจากความร่ำรวยในการค้าปลาเฮร์ริง แต่ในคริสต์ศตวรรษที่ 13 กลายเป็นช่วงเวลาของความยุ่งยากและการล่มสลายชั่วคราวของพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์

สมัยยุ่งยากสำหรับพระมหากษัตริย์

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  • Derry, T. K. A History of Scandinavia: Norway, Sweden, Denmark, Finland and Iceland. Minneapolis: University of Minnesota Press, 1979. ISBN 0-8166-3799-7.
  • Lauring, Palle. A History of Denmark. 3rd ed. Copenhagen: Høst, 1995. ISBN 87-14-29306-4.
  • Jespersen, Knud J. V. A History of Denmark (Palgrave Essential Histories) (2004) excerpt and text search
  • Barton, H. A. Scandinavia in the Revolutionary Era, 1760-1815 (Minneapolis, 1986)
  • Brincker, Benedikte. "When did the Danish nation emerge? A review of Danish historians' attempts to date the Danish nation," National Identities, December 2009, Vol. 11 Issue 4, pp 353–365
  • Campbell, John L., John A. Hall, and Ove Kaj Pedersen, eds. National Identity and the Varieties of Capitalism: The Danish Experience (Studies in Nationalism and Ethnic Conflict) (2006)
  • Etting, Vivian. Queen Margrete I, 1353-1412, and the Founding of the Nordic Union (Brill, 2004) online edition
  • Jespersen, Leon. "Court and Nobility in Early Modern Denmark," Scandinavian Journal of History, September 2002, Vol. 27 Issue 3, pp 129–142, covers 1588 to 1650
  • Munck, Thomas. "Absolute Monarchy in Later 18th-century Denmark: Centralized Reform, Public Expectations, and the Copenhagen Press" Historical Journal, March 1998, Vol. 41 Issue 1, pp 201–24 in JSTOR
  • Munck, Thomas. The peasantry and the early absolute monarchy in Denmark, 1660-1708 (Copenhagen, 1979)
  • Kirmmse, Bruce. Kierkegaard in Golden Age Denmark (Indiana University Press, 1990)
  • Michelson, William. "From Religious Movement to Economic Change: The Grundtvigian Case in Denmark," Journal of Social History, Summer 1969, Vol. 2 Issue 4, pp 283–301
  • Rossel, Sven H. A History of Danish Literature (University of Nebraska Press, 1992) 714pp online edition
  • Schwarz, Martin. Church History of Denmark (Ashgate, 2002). 333 pp. ISBN 0-7546-0307-5
  • Abildgren, Kim. "Consumer prices in Denmark 1502-2007," Scandinavian Economic History Review, 2010, Vol. 58 Issue 1, pp 2–24
  • Hornby, Ove. "Proto-Industrialisation Before Industrialisation? The Danish Case," Scandinavian Economic History Review, April 1982, Vol. 30 Issue 1, pp 3–33, covers 1750 to 1850
  • Johansen, Hans Chr. Danish Population History, 1600-1939 (Odense: University Press of Southern Denmark, 2002) 246 pp. ISBN 978-87-7838-725-7 online review
  • Johansen, Hans Chr. "Trends in Modern and Early Modern Social History Writing in Denmark after 1970," Social History, Vol. 8, No. 3 (Oct., 1983), pp. 375–381
  • Christiansen, Palle Ove. "Culture and Contrasts in a Northern European Village: Lifestyles among Manorial Peasants in 18th-Century Denmark, Journal of Social History Volume: 29#2 (1995) pp 275+.
  • Kjzergaard, T. The Danish Revolution: an ecohistorical interpretation (Cambridge, 1995), on farming
  • Topp, Niels-Henrik. "Unemployment and Economic Policy in Denmark in the 1930s," Scandinavian Economic History Review, April 2008, Vol. 56 Issue 1, pp 71–90
  • Barfod, Jörgen H.: The Holocaust Failed in Denmark. Kopenhagen 1985.
  • Berdichevsky, Norman. The Danish-German Border Dispute, 1815–2001: aspects of cultural and demographic politics. (2002) ISBN 1-930901-34-8
  • Buckser, Andrew: After the Rescue: Jewish identity and community in contemporary Denmark. ORT 2003.
  • Lund, Joachim. "Denmark and the ‘European New Order’, 1940–-1942," Contemporary European History, August 2004, Vol. 13 Issue 3, pp 305–321
  • Robert Bohn: Dänische Geschichte. München: Beck, 2001. – (Beck'sche Reihe; 2162). – ISBN 3-406-44762-7
  • Steen Bo Frandsen: Dänemark – der kleine Nachbar im Norden. Aspekte der deutsch-dänischen Beziehungen im 19. und 20. Jahrhundert. Darmstadt 1994. – ISBN 3-534-11712-3
  • Eva Heinzelmann / Stefanie Robl / Thomas Riis (Hrsg.): Der dänische Gesamtstaat, Verlag Ludwig, Kiel 2006, ISBN 978-3-937719-01-6.
  • Lars Hermanson: Släkt, vänner och makt: en studie av elitens politiska kultur i 1100-talets Danmark, Göteborg 2000. (= Avhandlingar från Historiska institutionen i Göteborg; 24), Zusammenfassung in englischer Sprache (Zugl.: Göteborg, Univ., Diss., 2000), ISBN 91-88614-30-1
  • Erich Hoffmann: „Der heutige Stand der Erforschung der Geschichte Skandinaviens in der Völkerwanderungszeit im Rahmen der mittelalterlichen Geschichtsforschung.“ In: Der historische Horizont der Götterbild–Amulette aus der Übergangsepoche von der Spätantike zum Frühmittelalter. Göttingen 1992. S. 143–182.
  • Jørgen Kühl / Robert Bohn: Ein europäisches Modell? Nationale Minderheiten im deutsch-dänischen Grenzland 1945–2005. Bielefeld 2005. – ISBN 3-89534-541-5
  • Arndt Ruprecht: Die ausgehende Wikingerzeit im Lichte der Runeninschriften. Göttingen 1958.
  • Therkel Stræde: "Dänemark: Die schwierige Erinnerung an Kollaboration und Widerstand." – In: Mythen der Nationen: 1945 – Arena der Erinnerungen. / hrsg. von Monika Flacke. – Mainz 2004. – ISBN 3-8053-3298-X – S. 123–144
  • Hans-Martin Ottmer: “Weserübung”. Der deutsche Angriff auf Dänemark und Norwegen im April 1940. München 1994. ISBN 3-486-56092-1
  • Jörg-Peter Findeisen: Dänemark. Von den Anfängen bis zur Gegenwart. Regensburg 1999.

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง