ยอร์ก

ยอร์ก (อังกฤษ: York) เป็นนครที่ยังมีกำแพงเมืองโบราณล้อมรอบที่ตั้งอยู่ในนอร์ธยอร์กเชอร์ในภูมิภาคยอร์กเชอร์และแม่น้ำฮ้มเบอร์ของอังกฤษ นครยอร์กตั้งอยู่ในบริเวณที่แม่น้ำอูสและแม่น้ำฟอสส์

ยอร์ก
นคร และองค์กรปกครองเอกรูป
นครยอร์ก
York
ธงของยอร์ก
ธง
โลโกอย่างเป็นทางการของยอร์ก
โลโกของสภานครยอร์ก
สมญา: 
"นครช็อกโกแลต"[1]
คำขวัญ: 
"Let the Banner of York Fly High"[2]
ที่ตั้งภายในเทศมณฑลนอร์ทยอร์กเชอร์
ที่ตั้งภายในเทศมณฑลนอร์ทยอร์กเชอร์
ยอร์กตั้งอยู่ในประเทศอังกฤษ
ยอร์ก
ยอร์ก
ที่ตั้งภายในประเทศอังกฤษ
พิกัด: 53°57′30″N 1°4′49″W / 53.95833°N 1.08028°W / 53.95833; -1.08028
รัฐเอกราชสหราชอาณาจักร
ประเทศอังกฤษ
ภูมิภาคยอร์กเชอร์และฮัมเบอร์
เทศมณฑลพิธีการนอร์ทยอร์กเชอร์
เทศมณฑลประวัติศาสตร์ยอร์กเชอร์
การปกครอง
 • ประเภทองค์กรปกครองระดับเดียว
 • องค์กรสภานครยอร์ก
พื้นที่
 • ทั้งหมด271.94 ตร.กม. (105.00 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (กลางปี 2019)
 • ทั้งหมด210,618 คน
 • อันดับ(อันดับ87)
 • ความหนาแน่น687 คน/ตร.กม. (1,780 คน/ตร.ไมล์)
 • ชาติพันธุ์
(สำรวจปี ค.ศ. 2011)
คนผิวขาว 94.3%
เดมะนิมYorker • Yorkie[3]
เขตเวลาUTC+0 (เวลามาตรฐานกรีนิช)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+1 (เวลาฤดูร้อนบริติช)
พื้นที่รหัสไปรษณีย์YO
รหัสโทรศัพท์01904
เว็บไซต์york.gov.uk

ยอร์กเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และมีบทบาทมาเกือบตลอด 2,000 ปีที่ก่อตั้งมา เมืองยอร์กก่อตั้งเป็นเมืองป้อมปราการเอบอราคุม (Eboracum) ในปี ค.ศ. 71 โดยโรมัน และได้รับเลือกให้เป็นเมืองหลวงของบริทาเนียน้อย (Britannia Inferior)[4] ระหว่างสมัยโรมันบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์เช่นจักรพรรดิคอนสแตนตินมหาราชมีส่วนเกี่ยวข้องกับเมือง จักรวรรดิโรมันทั้งหมดปกครองจากยอร์กเป็นเวลาสองปีโดยจักรพรรดิเซปตีมิอุส เซเวรุส (Septimius Severus)[5]

หลังจากชาวแองเกิลส์เข้ามาตั้งถิ่นฐานยอร์กก็ได้รับชื่อใหม่เป็น “Eoferwic” ของราชอาณาจักรนอร์ทธัมเบรีย[6] เมื่อชนไวกิงเข้ายึดเมืองในปี ค.ศ. 866 ก็เปลี่ยนชื่อเมืองเป็นจอร์วิกของราชอาณาจักรจอร์วิก (Jórvík) ที่มีอาณาบริเวณครอบคลุมทางบริเวณตอนเหนือของอังกฤษเกือบทั้งหมด จนกระทั่งราว ค.ศ. 1000 เมืองจึงมารู้จักกันในชื่อ “ยอร์ก”[6]

ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 พระเจ้าริชาร์ดที่ 2 มีพระราชประสงค์ที่จะตั้งยอร์คเป็นเมืองหลวงของอังกฤษแต่ก่อนที่จะสำเร็จพระองค์ก็ทรงถูกถอดจากการเป็นพระมหากษัตริย์เสียก่อน[6] หลังจากสงครามดอกกุหลาบ ยอร์คก็กลายเป็นที่ตั้งของสภาแห่งภาคเหนือ (Council of the North) และมีฐานะที่ยอมรับกันว่าเป็นเมืองหลวงของภาคเหนือ จนกระทั่งหลังจากการฟื้นฟูราชวงศ์เท่านั้นที่ความสำคัญทางการเมืองของยอร์คเริ่มลดถอยลง[6] ภาคยอร์กเป็นหนึ่งในภาคคริสตจักรในคริสตจักรแห่งอังกฤษเช่นเดียวกับภาคแคนเทอร์เบอรี

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1996 คำว่า “นครยอร์ก” หมายถึงบริเวณที่รวมทั้งบริเวณรอบนอกออกไปจากเขตตัวเมืองเก่า บริเวณปริมณฑลยอร์กมีประชากรด้วยกันราว 137,505 คน แต่เมื่อรวมทั้งรอบนอกแล้วก็มีด้วยกัน 193,300 คน

ระเบียงภาพ

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ยอร์ก

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง