พระพุทธรูปแห่งบามียาน

พระพุทธรูปแห่งบามียาน หมายถึง อดีตพระพุทธรูปอายุราวคริสต์ศตวรรษที่ 6[1] ขนาดใหญ่ที่สร้างฝังเข้าไปในหน้าผา ตั้งอยู่ในจังหวัดบามียาน ทางตอนกลางของประเทศอัฟกานิสถาน ราว 130 กิโลเมตร (81 ไมล์) ทางตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงคาบูล และตั้งอยู่ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเล 2,500 เมตร (8,200 ฟุต) โดยพระพุทธรูปสององค์ได้แก่ องค์โตหรือองค์ "ตะวันตก" และองค์น้อยหรือองค์ "ตะวันออก" การตรวจวัดอายุคาร์บอนของพระพุทธรูปพบว่าโครงสร้างขององค์น้อยซึ่งสูง 38 m (125 ft) สร้างขึ้นในราว ค.ศ. 570 ส่วนองค์โตซึ่งสูง 55 m (180 ft) สร้างขึ้นในราว ค.ศ. 618[2][3]

ภูมิทัศน์วัฒนธรรมและ
ซากโบราณสถานแห่งหุบเขาบามียาน *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
พระพุทธรูปองค์ "ตะวันออก" สูง 38 เมตร
พระพุทธรูปองค์ "ตะวันตก" สูง 55 เมตร
พิกัด34°49′55″N 67°49′36″E / 34.8320°N 67.8267°E / 34.8320; 67.8267
ประเทศจังหวัดบามียาน, ธงของประเทศอัฟกานิสถาน อัฟกานิสถาน
ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม
เกณฑ์พิจารณา(i) (ii) (iii) (iv) (v)
อ้างอิง208
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2546 (คณะกรรมการสมัยที่ 27)
ในภาวะอันตราย2546
พระพุทธรูปแห่งบามียานตั้งอยู่ในประเทศอัฟกานิสถาน
พระพุทธรูปแห่งบามียาน
ที่ตั้งของพระพุทธรูปแห่งบามียาน ในประเทศอัฟกานิสถาน
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

พุทธศิลป์แสดงวิวัฒนาการยุคหลังจากรูปแบบผสมผสานดั้งเดิมของศิลปะคันธาระ[4] ชาวท้องถิ่นเรียกพระพุทธรูปองค์โตว่า ซาลซาล (Salsal; "แสงซึ่งส่องไปทั่วเอกภพ") และองค์เล็กว่า ชามามา (Shamama; "พระมารดาราชินี")[5] ตัวองค์หลักของพระพุทธรูปสร้างขึ้นโดยการขุดเจาะเข้าไปในผาหินทรายโดยตรง ส่วนรายละเอียดย่อย ๆ ที่ตกแต่งสร้างขึ้นจากการผสมดินเหนียวกับฟาง ฉาบด้วยสตักโค และตกแต่งด้วยสีสันซึ่งแสดงรายละเอียดพระพักตร์ หัตถ์ และรอบพับบนจีวร แต่สีที่มีนี้จางหายไปตามกาลเวลา องค์โตถูกทาด้วยสีแดงคาร์มีน และองค์เล็กทาด้วยสีต่าง ๆ หลายสี[6] ท่อนล่างของพระกรของพระพุทธรูปสร้างขึ้นจากดินเหนียวผสมฟางประกอบโครงที่ทำจากไม้ ส่วนท่อนบนของพระพักตร์เชื่อว่าสร้างขึ้นจากไม้ แถวของหลุมและรูที่ปรากฏโดยรอบมีไว้ปักแท่งไม้ที่ช่วยยึดสตักโคชั้นนอก

นอกจากองค์พระพุทธรูปแล้ว ในบริเวณโดยรอบยังรายล้อมด้วยถ้ำและพื้นผิวที่ล้วนตกแต่งด้วยจิตรกรรม[7] เชื่อกันว่ายุครุ่งเรืองสูงสุดทางพุทธศาสนาของบริเวณนี้คือระหว่างคริสต์ศตวรรษที่หกถึงแปด จนกระทั่งถูกมุสลิมเข้ายึดครอง[7] รูปแบบศิลปะที่พบนั้นเข้าใจว่าเป็นศิลปะในศาสนาพุทธ และศิลปะคุปตะจากอินเดีย ผสมผสานอิทธิพลจากซาสซานิกและบีแซนทีน รวมถึงอิทธิพลแบบมณฑลโตคาริสตาน[7]

ใน ค.ศ. 1999 ผู้นำของกลุ่มตอลิบาน มุลลอห์ มุฮัมมัด อุมัรได้ประกาศให้มีการพิทักษ์ปกป้องพระพุทธรูป[8] อย่างไรก็ตาม พระพุทธรูปทั้งสององค์ถูกระเบิดทิ้งใน ค.ศ. 2001 ระหว่างที่ทีมผู้เชี่ยวชาญจากประเทศสวีเดนกำลังมีแผนที่จะทำการบูรณะท่ามกลางวิกฤตมนุษยธรรม[9]

ประวัติ

ภาพจำลองจากจินตนาการ แสดงพระพุทธรูปในสภาพที่รายละเอียดการแกะสลักสมบูรณ์

พระพุทธรูปสององค์เป็นของพระไวโรจนพุทธะ และ พระศากยมุนี ซึ่งพิจารณาได้จากมุทราที่ต่างกัน[10][11] จากการตรวจอายุคาร์บอนพบว่าสร้างขึ้นในระหว่าง ค.ศ. 544-595 สำหรับพระพุทธรูปองค์ "ตะวันออก" ที่สูง 38 เมตร และ ค.ศ. 591-644 สำหรับพระพุทธรูปองค์ "ตะวันตก" ที่สูง 55 เมตร[12][3]

1998-2001: ภายใต้ตอลิบาน

ในระหว่างสงครามกลางเมืองอัฟกานิสถาน พื้นที่ของบามียานอยู่ภายใต้ปกครองของกองกำลังฮิซบิวะห์ดัต สมาชิกของพันธมิตรเหนือ ซึ่งในเวลานั้นกำลังต่อสู้กับกลุ่มตอลิบาน ภายหลังตอลิบานเข้ายึดครองมะซาริชารีฟได้ในเดือนสิงหาคม 1998 บริเวณบามียานก็อยู่ภายใต้ปกครองของตอลิบานนับแต่นั้น[13] ตัวเมืองถูกตอลิบานยึดได้ในวันที่ 13 กันยายน[14] ในเวลานั้น มีการกล่าวถึงประชากรชาวอัฟกันว่า "เหนื่อยล้า หิวโหย"[15]

อับดุล วะเฮ็ด (Abdul Wahed) นายพลตอลิบานในพื้นที่ ประกาศเจตจำนงที่จะระเบิดพระพุทธรูปที่หุบเขาทิ้งทั้งหมดตั้งแต่ก่อนที่กองกำลังตอลิบานจะยึกครองพื้นที่ได้ วะเฮ็ดดำเนินการเจาะรูเข้าไปในพระเศียรของพระพุทธรูปเพื่อใส่ระเบิด ต่อมาเขาถูกสั่งห้ามดำเนินการโดยนายกเทศบาลท้องถิ่น รวมถึงได้รับคำสั่งโดยตรงจากผู้นำสูงสุดของตอลิบาน มุฮัมมัด อุมัร แต่ต่อมาก็มีการเผายางบนบริเวณพระเศียรอีก[16] ในเดือนกรกฎาคม 1999 มุลลอห์มุฮัมมัด อุมัร ลงนามในประกาศยืนยันว่าตอลิบานจะทำการอนุรักษ์พระพุทธรูปแห่งบามียาน เนื่องจากในอัฟกานิสถานไม่มีพุทธศาสนิกชนและพระพุทธรูปนี้ก็ไม่ได้มีการบูชาหรือประกอบพิธีกรรมของพุทธเป็นเวลานานแล้ว เขาระบุว่า "รัฐบาลถือว่าพระพุทธรูปแห่งบามียานนี้เป็นแหล่งรายได้สำคัญของอัฟกานิสถาน ฉะนั้น รัฐภายใต้ปกครองของตอลิบานห้ามกระทำการทำลายพระพุทธรูปแห่งบามียานเป็นอันเด็ดขาด"[8] นอกจากนี้ ยังพบเอกสารทางการในต้น ค.ศ. 2000 ที่เจ้าหน้าที่ตอลิบานท้องถิ่นได้สอบถามขอความช่วยเหลือจากสหประชาชาติเพื่อสร้างและปรับปรุงระบบระบายน้ำบริเวณโดยรอบและในองค์พระพุทธรูปเพื่อป้องกันความเสียหาย[17]

อย่างไรก็ตาม ตอลิบานออกประกาศเจตจำนงจะทำลายรูปปั้นใน 27 กุมภาพันธ์ 2001 ส่งผลให้เกิดความโกรธและกระแสต่อต้านอย่างรุนแรงไปทั่ว ผู้อำนวยการองค์การยูเนสโก โคอิชิโระ มัตซุอูระ ได้จัดการประชุมระหว่างรัฐในองค์การความร่วมมืออิสลาม (OIC) ผลจากการประชุมคือรัฐสมาชิกทั้งหมด รวมทั้งปากีสถาน ซาอุดิอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์แสดงจุดยืนต่อต้านการทำลายพระพุทธรูปนี้[18] ทั้งซาอุดิอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ยังประณามการทำลายพระพุทธรูปว่าเป็นการกระทำที่ "ป่าเถื่อน"[19] ส่วนประเทศอินเดีย ซึ่งถึงแม้จะไม่เคยยอมรับรัฐบาลของตอลิบานในฐานะรัฐบาลอัฟกานิสถาน ได้ยื่นมือให้ความช่วยเหลือในการขนส่งโบราณวัตถุของบามียานมาไว้ที่อินเดีย ซึ่งอินเดียจะเก็บรักษาไว้ แต่สุดท้ายถูกตอลิบานปฏิเสธ[20] ประธานาธิบดีปากีสถาน เปอร์เวซ มูชาร์ราฟ ได้ทำการเจรจาการทูตนำโดยรัฐมนตรีมหาดไทย โมอีนุดดีน ไฮเดร์ ไปยังคาบูลเพื่อพบกับอุมัร และเจรจาเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการทำลายพระพุทธรูป โดยอ้างว่าการทำลายพระพุทธรูปเช่นนี้เป็นการกระทำที่ไม่เคยมีมาก่อนและขัดต่อหลักของศาสนาอิสลาม[21]

รัฐมนตรีของตอลิบาน อับดุล ซาลาม ซาอีฟ เคยระบุว่ายูเนสโกได้ส่งจดหมายมายังรัฐบาลตอลิบานจำนวน 36 ฉบับเพื่อต่อต้านการระเบิดทำลายพระพุทธรูป โดยมีทูตจากจีน ญี่ปุ่น และศรีลังกา ที่แสดงความเป็นห่วงและต้องการหาทางออกมากที่สุด โดยที่ญี่ปุ่นถึงกับเสนอแผนเพื่อแก้ปัญหานี้มากมาย เช่น แผนการย้ายรูปปั้นทั้งหมดมาไว้ที่ประเทศญี่ปุ่น, หาทางปิดบังหรือซ่อนพระพุทธรูปจากทิวทัศน์ของหุบเขา ไปจนถึงการยอมจ่ายเงินให้ตอลิบานเพื่อไม่ให้ทำลายพระพุทธรูป[22][23]

แต่ท้ายที่สุด รูปปั้นถูกคำสั่งให้ทำลายทิ้งโดยตรงจาก อับดุล วาลี (Abdul Wali) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเผยแพร่คุณธรรมและยับยั้งความชั่ว (Propagation of Virtue and the Prevention of Vice)[24]

2001: ถูกทำลายโดยตอลิบาน

ภาพถ่ายขณะทำการระเบิดรูปปั้น

รูปปั้นทั้งหมดถูกทำลายด้วยระเบิดไดนาไมต์ในระยะเวลาหลายสัปดาห์ เริ่มตั้งแต่ 2 มีนาคม 2001[25][26] แบ่งเป็นช่วงต่าง ๆ โดยช่วงแรกประกอบด้วยการกระหน่ำยิงปืนและอาวุธใส่ ซึ่งแม้จะทลายพระพุทธรูปลงไปมากแต่ยังไม่เพียงพอ รัฐมนตรีกระทรวงข้อมูลข่าวสาร Qudratullah Jamal ระบุในเวลานั้นว่า "การทำลายรูปปั้นนี้ไม่ได้ง่ายอย่างที่คุณคิดหรอกนะ"[27] ท้ายที่สุดตอลิบานนำเอาระเบิดเข้าฝังในรูที่เจาะในรูปปั้น[28] จนรูปปั้นถูกทำลายหมด ยกเว้นส่วนพระพักตร์กนึ่งของพระพุทธรูปองค์หนึ่ง ซึ่งสุดท้ายต้องใช้การยิงจรวดระเบิดเข้าไปจนพังทลายลงมา[29]

อุมัรเคยให้สัมภาษณ์อ่างเปิดเผยต่อกรณีการทำลายรูปปั้นว่า:

ผมไม่อยากจะทำลายพระพุทธรูปแห่งบามียานหรอก ในความเป็นจริงแล้ว มีชาวต่างชาติบางส่วนที่มาหาผมและบอกว่าต้องการจะบูรณะซ่อมแซมพระพุทธรูปแห่งบามียานซึ่งเสียหายบ้างจากฝน ผมตกใจมากกับคำร้องขอเหล่านี้ ผมคิดเลยว่า พวกบรรดาคนตายด้านเหล่านี้ไม่เคยคิดจะสนใจมนุษย์มนาหลายพันคนที่กำลังจะตายเพราะความหิวโหย แต่กลับมากังวลมากมายเหลือเกินกับสิ่งไม่มีชีวิตอย่างรูปปั้น นี่มันน่าเสียใจ (deplorable) เป็นอย่างมากจริง ๆ ผมถึงได้สั่งการให้ทำลายรูปปั้นพวกนี้เสีย ถ้าคนเหล่านี้มาเพื่อช่วยเหลือทางมนุษยธรรมแต่แรก ผมก็ไม่คิดจะสั่งให้ระเบิดพระพุทธรูปทิ้งหรอก[30]

ในวันที่ 6 มีนาคม 2001 เดอะไทมส์ อ้างคำพูดของมุลลอห์โอมาร์ว่า "มุสลิมทั้งหลายควรจะภูมิใจกับการทุบทำลายรูปเคารพ นี่คือการสรรเสริญอัลลอฮ์ผู้ทุบทำลายพวกมัน [รูปเคารพ]"[31]

หัวหน้าคณะทูตในเวลานั้น Sayed Rahmatullah Hashemi ระบุว่าการทำลายพระพุทธรูปถูกสั่งมาจากประธานคณะกรรมการนักปราชญ์หลังคณะผู้เชี่ยวชาญด้านอนุสรณ์ชาวสวีเดนได้เสนอแผนเพื่อปรับปรุงซ่อมแซมเศียรของพระพุทธรูป แต่ "เมื่อประธานฝ่ายอัฟกันถามเพื่อขอเงินมาเพื่อเป็นอาหารแก่เด็ก ๆ ในประเทศ แทนที่จะมาใช้ซ่อมรูปปั้น พวก[คณะจากสวีเดน]ปฏิเสธ และบอกว่า 'ไม่ เงินจำนวนนี้มีไว้สำหรับรูปปั้น ไม่ใช่เด็ก'" อย่างไรก็ตาม เขากลับไม่ได้พูดถึงกรณีที่มีพิพิธภัณฑ์จากต่างชาติเสนอเงินจำนวนหนึ่งเพื่อ "ซื้อพระพุทธรูปเหล่านี้ไป แล้ว[ให้อัฟกัน]นำเงินจำนวนนี้ไปหาอาหารให้เด็ก ๆ กิน"[32] เขายังเสริมอีกว่า "ถ้าพวกเรา[ตอลิบาน] อยากจะทำลายรูปปั้นจริง ๆ เราก็คงทำมันไปตั้งแต่สามปีก่อนแล้ว"[33]

ไมเคิล ฟอลเซอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการอนุรักษ์ ศูนย์พหุวัฒนธรรมศึกษาในเยอรมนี ระบุว่าการทำลายรูปปั้นนี้เป็นการแสดงท่าทีต่อต้านแนวคิดแบบโลกาภิวัตน์ในแง่ของการ "อนุรักษ์วัฒนธรรม" (cultural heritage)[34]

อ้างอิง

อ่านเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น


🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง