พระมาลัยคำหลวง

พระมาลัยคำหลวง รู้จักกันในท้องถิ่นว่า พระมาลัยกลอนสวด[1] เป็นวรรณคดีศาสนาพุทธ ที่เจ้าฟ้าธรรมธิเบศไชยเชษฐ์สุริยวงศ์ทรงพระนิพนธ์เมื่อปี พ.ศ. 2280 ทำนองเช่นเดียวกับกาพย์มหาชาติ กล่าว คือ แต่งด้วยร่ายสุภาพ บางแห่งมีลักษณะคล้ายกาพย์ยานีปนอยู่บ้าง แต่เดิมนั้นพระมาลัยคำหลวงใช้สวดในงานมงคลสมรส ต่อมาเปลี่ยนไปใช้สวดเฉพาะงานศพหรือสวดหน้าศพ

ประติมากรรมรูปองค์พระมาลัย ศิลปะต้นรัตนโกสินทร์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

ตำนานพระมาลัย

ในเรื่องราวหลายแบบ พระมาลัยเป็นพระภิกษุที่สั่งสมบุญมากจนได้อภิญญา ท่านใช้พลังนี้เดินทางไปยังนรกชั้นต่าง ๆ โดยพบกับผู้ได้รับการลงโทษ และกำลังอ้อนวอนให้ญาติที่กำลังมีชีวิตทำบุญให้ตนด้วย เมื่อท่านได้พบกับพระอินทร์ที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และพบพระศรีอริยเมตไตรยที่สวรรค์ชั้นดุสิต ผู้สั่งสอนให้ท่านทำบุญมากขึ้น[2] ส่วนใดก็ตามที่ไม่มีในนี้ เป็นส่วนที่ถูกปรับแต่งและพัฒนาให้ผู้ฟังได้รับความบันเทิง[3]

พระมาลัยดูผู้ทำผิดประเวณีได้รับเคราห์กรรมในนรก ภาพในวัดมาจีรัม ประเทศมาเลเซีย
พระมาลัยดูผู้ทำผิดประเวณีได้รับเคราห์กรรมในนรก ภาพในวัดมาจีรัม ประเทศมาเลเซีย 
พระมาลัยสั่งสอนผู้ตายในนรก ภาพในวัดมาจีรัม ประเทศมาเลเซีย
พระมาลัยสั่งสอนผู้ตายในนรก ภาพในวัดมาจีรัม ประเทศมาเลเซีย 
พระมาลัยในสวรรค์ ตัวอย่างจากประเทศกัมพูชา, พิพิธภัณฑ์ศิลปะวอลเตอร์ส
พระมาลัยในสวรรค์ ตัวอย่างจากประเทศกัมพูชา, พิพิธภัณฑ์ศิลปะวอลเตอร์ส 
พระมาลัยสนทนากับพระอินทร์, ชุดสะสมเวลล์คัม
พระมาลัยสนทนากับพระอินทร์, ชุดสะสมเวลล์คัม 
พระมาลัยในกระดาษดำ, พิพิธภัณฑ์ศิลปะแซนดีเอโก
พระมาลัยในกระดาษดำ, พิพิธภัณฑ์ศิลปะแซนดีเอโก 
รูปปั้นพระมาลัยแบบกรุงเทพในคริสต์ศตวรษที่ 18
รูปปั้นพระมาลัยแบบกรุงเทพในคริสต์ศตวรษที่ 18 

ประวัติ

เอกสารตัวเขียนเกี่ยวกับพระมาลัยที่เก่าแก่ที่สุดถูกบันทึกใน จ.ศ. 878[4] (ค.ศ. 1516) ซึ่งเขียนด้วยภาษาบาลีและภาษาไทยถิ่นเหนือ อย่างไรก็ตาม เอกสารตัวเขียนที่รอดส่วนใหญ่อยู่ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19[5] มีความเป็นไปได้ว่าเนื้อเรื่องเดิมมาจากประเทศศรีลังกา แต่ถูกบันทึกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยได้รับความนิยมมากที่สุดในประเทศไทย[6] ในตอนแรก เรื่องราวของพระมาลัยมักถูกอ่านในงานศพซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความบันเทิง โดยพระภิกษุหลายรูปจะใส่ตอนจบหักมุมเพื่อสร้างความบันเทิงแก่ผู้ฟัง ต่อมาตั้งแต่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา การแสดงแบบนี้ถือว่าไม่เหมาะสม และพระภิกษุถูกห้ามไม่ให้อ่านเรื่องพระมาลัยในงานศพ แต่มีการหลบเลี่ยงการห้ามโดยการให้อดีตพระภิกษุครองผ้าไตรไปอ่านเรื่องนี้[3]

การพรรณาทางวัฒนธรรม

พระมาลัยเป็นที่นิยมในเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรการอย่างมากในประเทศไทยช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 เนื้อเรื่องมักเขียนด้วยอักษรเขมรแบบภาษาไทยลงในสมุดข่อย ส่วนใหญ่เขียนด้วยภาษาพูดและมีลูกเล่น[2] เอกสารพระมาลัยส่วนใหญ่มี 7 หัวเรื่อง โดยปกติจะเป็นคู่: เทวดาหรือเทวะ; พระสงฆ์เข้าฆราวาส; ฉากในนรก; ฉากการหยิบดอกบัว; พระมาลัยกับพระอินทร์ที่สถูปสวรรค์; เทวดาล่องลอยในอากาศ และฉากที่ตัดกันของคนชั่วที่ทะเลาะวิวาทกับคนดีนั่งสมาธิ[6] หนังสือนี้เคยเป็นคู่มือการสวดสำหรับพระภิกษุและสามเณร เพราะการผลิตและสนับสนุนมันมีผลบุญมาก ทำให้มีการผลิตขึ้นไว้ตกแต่งในงานศพของผู้เสียชีวิตอย่างหรูหรา[5]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง