พระราชวังบักกิงแฮม

พระราชวังบักกิงแฮม (อังกฤษ: Buckingham Palace; UK: /ˈbʌkɪŋəm/)[1][2] เป็นที่ประทับอย่างเป็นทางการของราชวงศ์อังกฤษและศูนย์กลางการบริหารของสถาบันพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักร[a][3] ในเขตนครเวสท์มินสเตอร์ กรุงลอนดอน

ภาพมุมสูงของพระราชวังบักกิงแฮมในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษาของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่สองในปี 2016

ชื่อเดิมของพระราชวังคือ บักกิงแฮมเฮาส์ (Buckingham House) อาคารที่ตั้งอยู่ที่ใจกลางของพระราชวังหลังปัจจุบันนั้นในอดีตเคยเป็นที่ตั้งของทาวน์เฮาส์ที่สร้างเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของดยุกแห่งบักกิงแฮมในปี 1703 บนที่ดินที่เป็นพื้นที่ส่วนบุคคลมาอย่างน้อย 150 ปี ต่อมาที่ดินนี้ถูกถือครองโดยพระเจ้าจอร์จที่สามในปี 1761[4] ในฐานะที่ประทับส่วนพระองค์ของพระราชินีชาร์ลอทและต่อมาจึงเป็นที่รู้จักในชื่อ The Queen's House (บ้านของพระราชินี) ในระหว่างศตวรรษที่ 19 ได้มีการขยายต่อเติมวัง ส่วนใหญ่เป็นผลงานของสถาปนิกจอห์น นาช และ เอ็ดเวิร์ด บลอร์ ผู้สร้างปีกอาคารทั้งสามขึ้นล้อมรอบคอร์ทยาร์ดตรงกลาง พระราชวังบักกิงแฮมได้กลายมาเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์แห่งอังกฤษภายหลังการเสด็จขึ้นครองราชย์ของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียในปี 1837

การต่อเติมทางสถาปัตยกรรมครั้งสำคัญล่าสุดมีขึ้นในปลายศตวรรษที่ 19 จนถึงต้นศตวรรษที่ 20 อันรวมถึงอีสท์ฟรอนท์ที่ซึ่งมีระเบียงอันมีชื่อเสียงซึ่งพระราชวงศ์อังกฤษเสด็จออกเพื่อพบปะพสกนิกรตามธรรมเนียม การวางระเบิดโดยเยอรมนีในสงครามโลกครั้งที่สองส่งผลให้โบสถ์น้อยของพระราชวังถูกทำลายไป ต่อมาจึงมีการสร้างควีนส์แกเลอรีขึ้นแทนที่ตรงตำแหน่งนั้น และในปี 1962 ได้เปิดสู่สาธารณะโดยจัดแสดงงานศิลปะในของสะสมหลวง

การตกแต่งภายในดั้งเดิมจากต้นศตวรรษที่ 19 ส่วนใหญ่ยังเหลือรอดมาถึงปัจจุบัน ซึ่งรวมถึงการประดับประดาด้วยสคาจีวลาสีสันสดใสและลาพิซลาซูลีสีน้ำเงินและชมพูอย่างกว้างขวาง ตามคำแนะนำของเซอร์ชาลส์ เลิง พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่เจ็ดทรงกำกับการตกแต่งใหม่บางส่วนให้เป็นโทนสีแบบ เบลล์เอโปก สีครีมและทอง ห้องรับรองขนาดเล็กจำนวนมากนั้นตกแต่งด้วยรูปแบบรีเจนซีแบบจีน ด้วยเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งที่นำมาจากรอยอลพาวิลเลียน ที่ไบรทัน และจาก คาร์ลทันเฮาส์ในลอนดอน พระราชวังบักกิงแฮมมีห้องรวมทั้งหมด 775 ห้อง และมีสวนซึ่งเป็นสวนส่วนบุคคลที่ใหญ่ที่สุดในลอนดอน ห้องรัฐการ (state rooms) ซึ่งใช้ในงานบันเทิงของรัฐและพิธีทางการเปิดให้สาธารณชนเข้าชมในแต่ละปีในช่วงเดือนสิงหาคมและกันยายน และบางวันใรฤดูหนาวและใบไม้ผลิ

ประวัติศาสตร์

ที่ตั้ง

บักกิงแฮมเฮาส์ ราวปี 1710 ออกแบบโดยวิลเลียม วินด์ เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของดยุกที่หนึ่งแห่งบักกิงแฮมและนอร์มันบี ฟะซาดนี้รวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของแกรนด์เอนทรานซ์ทางตะวันตก (ด้านใน) ของสี่เหลี่ยม ที่ซึ่งมีกรีนดรอวิงรูมอยู่เหนือ

ในยุคกลาง ที่ตั้งของพระราชวังบักกิงแฮมในปัจจุบันเคยเป็นส่วนหนึ่งของเมเนอร์ออฟเอบรี ที่ดินมีพื้นดินที่เปียกแฉะจากแม่น้ำไทเบิร์น ที่ซึ่งในปัจจุบันยังคงไหลอยู่ใต้ลานและที่ปีกทิศใต้ของวัง[5] จุดที่แม่น้ำข้ามได้ (ที่คาวเฟิร์ด) มีการตั้งรกรากและเติบโตของหมู่บ้านอายครอสส์ ความเป็นเจ้าของของพื้นที่นี้มีการเปลี่ยนมีเจ้าของอยู่หลายครั้งด้วยกัน เช่น เอดเวิร์ดผู้สารภาพ และพระอัครมเหสี เอดิธแห่งเวสเซกซ์ในสมัยแซกซอนตอนปลาย ปละต่อมาภายหลังการยึดครองของนอร์มัน พื้นที่นี้เป็นของวิลเลียมผู้พิชิต วิลเลียม ต่อมาได้มอบที่ดินนี้ให้กับเจฟฟรีเดอมันดะวิลล์ ผู้ซึ่งต่อมาก็ได้ยกเป็นพินัยกรรมให้แก่นักบวชแห่งเวสท์มินสเตอร์แอบบี[b]

ในปี 1531 พระเจ้าเฮนรีที่แปดได้ยึดครองโรงพยาบาลเซนต์เจมส์ต่อจากวิทยาลัยอีทัน ที่ซึ่งต่อมากลายเป็นพระราชวังเซนต์เจมส์[6] และต่อมาในปี 1536 เขาได้ยึดครองเมเนอร์แห่งเอบรีมาจากเวสท์มินสเตอร์แอบบี[7] การถ่ายโอนที่ดินเหล่านี้ทำให้ที่ตั้งของพระราชวังเวสท์มินสเตอร์กลับมาสู่พระราชอำนาจเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่รัชสมัยของวิลเลียมผู้พิชิตผู้ส่งต่อที่ดินนี้ให้แก่ผู้อื่นไปเมื่อเกือบ 500 ปีก่อน[8]

อาคารดั้งเดิม

กอริงเฮาส์

บ้านหลังแรกที่เป็นไปได้ว่าสร้างขึ้นในที่ดินของพระราชวังบักกิงแฮมในปัจจุบันเป็นของเซอร์วิลเลียม เบลก ในปี 1624[9] ตามด้วยเจ้าของคนถัดมา ลอร์ดกอริง นับตั้งแต่ปี 1633 และได้ขยายพื้นที่รวมถึงสร้างสวนขึ้นที่ซึ่งส่วนใหญ่สืบทอดมาถึงปัจจุบัน ในขณะนั้นเป็นที่รู้จักในชื่อสวนใหญ่กอริง[10][11] อย่างไรก็ตาม กอริงไม่ได้รับกรรมสิทธิ์ในที่ดินอย่างอิสระในการครอบครองสวนมัลเบอร์รี ในปี 1640 เอกสาร "ไม่ได้รับตราประทับหลวงก่อนชาลส์ที่หนึ่งจะหนีออกจากลอนดอน ตราประทับนี้จำเป็นในทางกฎหมาย" แต่กอริงไม่ทราบว่าเอกสารนั้นไม่ผ่านตราประทับ[12] นี่เป็นข้อยกเว้นส่วนสำคัญที่ในต่อมาราชสำนักอังกฤษสามารถทวงคืนกรรมสิทธิ์กลับมาภายใต้จอร์จที่สามได้[13]

อาร์ลิงทันเฮาส๋

ในขณะที่กอริงผู้ซึ่งเลินเล่อผิดสัญญาไม่จ่ายค่าเช่าที่ดิน[14] เฮนรี เบนเนท เอร์ลที่หนึ่งแห่งอาริงทันจึงสามารถซื้อสัญญาเซ่าของกอริงเฮาส์และเข้าอยู่อาศัยขณะที่บ้านถูกเผาลงในปี 1674[11] ที่ซึ่งต่อมาเขาได้สร้างอาร์ลิงทันเฮาส์ขึ้นแทนที่ในปีต่อมา ตรงพื้นที่ที่ปัจจุบันคือปีกอาคารส่วนใต้ของพระราชวัง[11] ในปี 1698, จอห์น เชฟฟีลด์ ผู้ซึ่งต่อมาเป็นดยุกแห่งบักกิงแฮมและนอร์มันบีได้เข้าถือครองกรรมสิทธิ์การเช่าที่ดิน[15]

บักกิงแฮมเฮาส์

พระราชวังเมื่อราวปี 1837 แสดงให้เห็นมาร์เบิลอาร์คช์ซึ่งเป็นทางเข้าเชิงพิธีสู่พระราชวัง ต่อมาได้ถูกย้ายออกไปเพื่อใช้ที่ดินจุดนั้นในการสร้างปีกอาคารฝั่งตะวันออก สร้างขึ้นในปี 1847

อาคารหลังที่เป็นหลักกลางทางสถาปัตยกรรมของพระราชวังหลังปัจจุบันนั้นเป็นที่พักอาศัยที่สร้างขึ้นให้กับดยุกแห่งบักกิงแฮมและนอร์มันบี ในปี 1703 ตามผลงานออกแบบของวิลเลียม วินด์ ซึ่งประกอบด้วยท่อนหลักของอาคารสูงสามชั้น และมีปีกเซอร์วิสขนาดเล็กกว่าขำนวนสองอันประกบ[16] ท้ายที่สุด บักกิงแฮมเฮาส์ได้ถูกขายโดยบุตรนอกกฎหมายของบักกิงแฮม เซอร์ชาลส์ เชฟฟีลด์ ในปี 1761[4] ให้กับจอร์จที่สามด้วยจำนวนเงิน £21,000[17][c] Sheffield's leasehold on the mulberry garden site, the freehold of which was still owned by the royal family, was due to expire in 1774.[18]

จากควีนส์เฮาส์สู่พระราชวัง

ภายใต้ความเป็นเจ้าของใหม่ของราชสำนัก อาคารนี้แรกเริ่มตั้งใจจะใบ้เป็นที่พักผ่อนส่วนพระองค์ของพระราชินีในพระเจ้าจอร์จที่สาม จึงทำให้ต่อมาเป็นที่รู้จักในชื่อ เดอะควีนส์เฮาส์ (The Queen's House) โดยใช้การออกแบบใหม่จากโครงสร้างเดิม เริ่มต้นในปี 1762[19] ในปี 1775 พระราชบัญญัติรัฐสภาได้กำหนดทรัพย์สินนี้เป็นของพระราชินีชาร์ลอท เพื่อแลกกับพระราชสิทธิ์ในซัมเมอร์เซทเฮาส์[20][d] and 14 of her 15 children were born there. Some furnishings were transferred from Carlton House, and others had been bought in France after the French Revolution[21] ในปี 1789 ในขณะที่พระราชวังเซนต์เจมส์ยังคงเป็นที่ประทับทางการและทางพิธีการของราชวงศ์[20] คำว่า "พระราชวังบักกิงแฮม" ก็ปรากฏใช้มาตั้งแต่อย่างน้อยในปี 1791 เป็นต้นมา[22]

ดูเพิ่ม

  • ธงที่พระราชวังบักกิงแฮม
  • รายชื่อที่ประทับของพระราชวงศ์อังกฤษ
  • ราชองครักษ์ของพระราชินี

หมายเหตุ

อ้างอิง

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง