พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร

มหาอำมาตย์เอก พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร มีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าธานีนิวัต (7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428 – 8 กันยายน พ.ศ. 2517) เป็นอดีตเสนาบดีกระทรวงธรรมการ อดีตประธานองคมนตรี และอดีตผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร
พระรูปพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
ดำรงตำแหน่ง12 มีนาคม พ.ศ. 2494 – 19 ธันวาคม พ.ศ. 2495
27 พฤษภาคม – 6 มิถุนายน พ.ศ. 2506
9 – 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2506
แต่งตั้งโดยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ประธานองคมนตรี
ดำรงตำแหน่ง18 มิถุนายน พ.ศ. 2492 – 25 มีนาคม พ.ศ. 2493
แต่งตั้งโดยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร
ดำรงตำแหน่ง8 เมษายน พ.ศ. 2495 – 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2506
แต่งตั้งโดยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ก่อนหน้าพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอลงกฎ
ถัดไปเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ
ดำรงตำแหน่ง8 มิถุนายน พ.ศ. 2506 – 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2506
14 กรกฎาคม พ.ศ. 2506 – 8 กันยายน พ.ศ. 2517
แต่งตั้งโดยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ก่อนหน้าเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ
ถัดไปหม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์
เสนาบดีกระทรวงธรรมการ
ดำรงตำแหน่ง3 สิงหาคม พ.ศ. 2469 – 29 มิถุนายน พ.ศ. 2475
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ก่อนหน้าเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี
ถัดไปเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี
ประสูติ7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428
เมืองพระนคร ประเทศสยาม
สิ้นพระชนม์8 กันยายน พ.ศ. 2517 (88 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
หม่อมหม่อมประยูร โสณกุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม สุขุม)
บุตร3 คน
รายชื่อ
  • หม่อมราชวงศ์นิวัตวาร ณ ป้อมเพชร
    หม่อมราชวงศ์ปาณฑิตย์ โสณกุล
    หม่อมราชวงศ์สุพิชชา โสณกุล
ราชวงศ์จักรี
ราชสกุลโสณกุล
พระบิดาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา
พระมารดาหม่อมเอม โสณกุล ณ อยุธยา
ลายพระอภิไธย
กรมหมื่นพิทยลาภฯ ระหว่างเป็นประธานในพิธีเปิดอาคารเรียนใหม่ของโรงเรียนอัสสัมชัญ

พระประวัติ

พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร มีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าธานีนิวัต เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา ประสูติแต่หม่อมเอม โสณกุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม กุณฑลจินดา; ธิดาของหลวงวรศักดาพิศาล (กาจ กุณฑลจินดา) เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428 ทรงศึกษาที่โรงเรียนราชกุมารในพระบรมมหาราชวัง

หม่อมเจ้าธานีนิวัติผนวชเป็นสามเณร เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2441 ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส เป็นพระอุปัชฌาย์ พระสุคุณคณาภรณ์ (ม.ร.ว.ชื่น สุจิตฺโต) เป็นพระศีลาจารย์[1] วันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2452 ได้ผนวชเป็นพระภิกษุ ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวชิรญาณวโรรส เป็นพระอุปัชฌาย์ พระสาสนโสภณ (อ่อน อหึสโก) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ผนวชแล้วไปเสด็จไปประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร[2]

หลังจากลาผนวช ได้เสด็จไปทรงศึกษาที่ประเทศอังกฤษ ที่โรงเรียนรอตติงดีน และโรงเรียนรักบี้ ทรงสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี (B.A.) สาขาบูรพคดีศึกษา (Oriental Studies) จากวิทยาลัยเมอร์ตันคอลเลจ มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด เมื่อปี พ.ศ. 2451 แล้วเสด็จกลับมาทรงรับราชการในปีถัดมา ทรงดำรงตำแหน่งปลัดกรมพลำภัง (กรมการปกครอง สังกัดกระทรวงมหาดไทยในปัจจุบัน), ข้าหลวงมหาดไทย มณฑลกรุงเก่า, [3]ราชเลขานุการในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ผู้ช่วยราชเลขานุการ[4] และได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัต ทรงศักดินา 3000 เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465[5]

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัตเป็นผู้รั้งตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงธรรมการ ตั้งแต่วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2469 แทนเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) ที่กราบถวายบังคมทูลลาออกจากตำแหน่ง[6] แล้วจึงโปรดเกล้าฯ ให้เป็นเสนาบดีกระทรวงธรรมการ เต็มตามตำแหน่ง ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2470[7] ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงธรรมการจนถึงปี พ.ศ. 2475 จึงทรงออกจากตำแหน่งภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้แต่งตั้งพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัต เป็นประธานองคมนตรี เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2492 [8] หลังจากพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ในวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2493 จึงทรงแต่งตั้งเป็นองคมนตรี[9] และวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2493 ทรงตั้งเป็นประธานองคมนตรี แทนพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระชัยนาทนเรนทร ที่ทรงย้ายไปเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์[10] ต่อมาวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 สถาปนาเป็น พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ทรงศักดินา 11,000[11] เมื่อพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระชัยนาทนเรนทร สิ้นพระชนม์ รัฐสภาจึงแต่งตั้งให้พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากรเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แทนตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2494[12] สุดท้ายทรงตั้งเป็นประธานองคมนตรีอีกครั้งในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2495[13]

พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ทรงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์อีก 2 ครั้ง คือตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม ถึงวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2506 ในระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศญี่ปุ่นและประเทศไต้หวัน[14] และตั้งแต่วันที่ 9 ถึงวันที่ 14 กรกฎาคม ปีเดียวกัน ในระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศฟิลิปปินส์[15]

พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร เสกสมรสกับหม่อมประยูร โสณกุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม สุขุม) ธิดาของเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) กับโต (สกุลเดิม ณ ป้อมเพชร) มีพระโอรสธิดา 4 คน ดังนี้[16]

  1. หม่อมราชวงศ์ไม่มีชื่อ (เพศชาย)
  2. หม่อมราชวงศ์นิวัตวาร ณ ป้อมเพชร
  3. หม่อมราชวงศ์ปาณฑิตย์ โสณกุล
  4. หม่อมราชวงศ์สุพิชชา โสณกุล

พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ประธานองคมนตรี สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2517 สิริพระชันษา 88 ปี ในการนี้พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานน้ำหลวงสรงพระศพ กับทั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระโกศทองน้อยทรงพระศพ และประดิษฐานพระโกศพระศพไว้ ณ พระที่นั่งทรงธรรม วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร มีพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศล พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงพระศพ เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2517 ณ พระเมรุหลวง วัดเทพศิรินทราวาส และในวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2517 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล เสด็จไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในการเก็บพระอัฐิ เลี้ยงเพลสามหาบ และทรงทอดผ้าไตร พระสงฆ์อีก 10 รูป สดับปกรณ์

การดำรงตำแหน่งประธานองคมนตรี

พระเกียรติยศ

พระอิสริยยศ

  • หม่อมเจ้าธานีนิวัต โสณกุล

(7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465)

  • พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัต

(11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465 - 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2493)

  • พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร

(8 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 - 8 กันยายน พ.ศ. 2517)

ธรรมเนียมพระยศของ
พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร
ตราประจำพระองค์
การทูลฝ่าพระบาท
การแทนตนเกล้ากระหม่อม/เกล้ากระหม่อมฉัน
การขานรับเกล้ากระหม่อม/เพคะ

พระยศ

พระยศพลเรือน

  • มหาอำมาตย์เอก[17]
  • อำมาตย์โท[18]

พระยศกระทรวงวัง

  • – เสวกโท
  • 28 ธันวาคม 2456 – เสวกเอก[19]
  • มหาเสวกตรี[20]
  • มหาเสวกโท[21]

พระยศกองเสือป่า

  • นายหมู่โท[22]
  • นายหมวดตรี
  • นายหมวดเอก[23]
  • นายกองตรี[24]
  • นายกองโท[25]
  • นายกองเอก[26]

ประธานองคมนตรี

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ทรงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

แหล่งค้นคว้าเพิ่มเติม

พงศาวลี

อ้างอิง


🔥 Top keywords: หน้าหลักสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024บางกอกคณิกาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)เนติพร เสน่ห์สังคมวิทยาศาสตร์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)วันวิสาขบูชาวอลเลย์บอลลมเล่นไฟตารางธาตุอันดับโลกเอฟไอวีบีอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์หมวดหมู่:จังหวัดของประเทศไทยไลเกอร์รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยไอแซก นิวตันศาสนาพุทธราชวงศ์จักรีกาลิเลโอ กาลิเลอีประวัติศาสตร์ชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนารายชื่อเครื่องดนตรีจังหวัดชัยนาทสังคายนาในศาสนาพุทธประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดนิวแคลิโดเนียวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยศาสนาพุทธในประเทศพม่าพระสุนทรโวหาร (ภู่)นริลญา กุลมงคลเพชร