ราชวงศ์

ราชวงศ์ (อังกฤษ: dynasty) คือ วงศ์ตระกูลของกษัตริย์[1]หรือผู้ปกครองจากตระกูลเดียวกัน[2] มักปรากฏอยู่ในบริบทของระบบเจ้าขุนมูลนายและระบอบราชาธิปไตย แต่ในบางโอกาสก็ปรากฏอยู่ในระบอบสาธารณรัฐที่มีการเลือกตั้งด้วยเช่นกัน ถือเป็นวงศ์ตระกูลชนชั้นสูง[3]ที่สืบวงศ์พระมหากษัตริย์ เจ้าผู้ครองนคร ขุนนาง หรืออื่น ๆ ขึ้นอยู่กับว่าผู้นำหรือสมาชิกของตระกูลเกิดมาด้วยฐานันดรเช่นใด เจ้านายในราชวงศ์เรียกว่า "พระราชวงศ์"[4] นักประวัติศาสตร์หลายคนยังพิจารณาประวัติศาสตร์ของรัฐอธิปไตยแห่ง เช่น อียิปต์โบราณ จักรวรรดิการอแล็งเฌียง หรือจักรวรรดิจีน ภายใต้กรอบแนวคิดของลำดับราชวงศ์ผู้ปกครอง ดังนั้นบริบทของ "ราชวงศ์" จึงสามารถใช้อ้างถึงยุคสมัยที่แต่ละตระกูลปกครอง ทั้งยังเป็นบริบทที่ใช้อธิบายเหตุการณ์ แนวโน้ม และศิลปวัตถุของแต่ละยุคสมัยนั้น ๆ ได้ เช่น แจกันราชวงศ์หมิง ซึ่งบริบทของราชวงศ์มักจะถูกลดทอนลงจากการอ้างอิงคุณศัพท์ดังกล่าว

พระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ และพระราชโอรส พระเจ้าเจมส์ที่ 2 ในอนาคต

จนกระทั่งในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ที่บริบทนี้ถูกนำไปใช้อ้างอิงการแผ่ขยายพระราชตระกูลโดยชอบด้วยกฎหมายของพระมหากษัตริย์ ผ่านการขยายดินแดน พระราชทรัพย์ และพระราชอำนาจของสมาชิกราชวงศ์ของพระองค์[5] ทั้งนี้ราชวงศ์ที่ยังคงสืบทอดต่อเนื่องมาอย่างยาวนานที่สุดในโลกปัจจุบันคือ ราชวงศ์ญี่ปุ่น ที่ทรงปกครองตามพระราชประเพณีมาตั้งแต่ 660 ปีก่อนคริสต์ศักราช

ตามประเพณีแล้ว ราชวงศ์ทั่วโลกมักถูกนับตามพระประยูรวงศ์ของบุรุษเพศเป็นหลัก (Patrilineality) เช่น ภายใต้กฎหมายแซลิกของชาวแฟรงก์ ดังนั้นลำดับการสืบสันตติวงศ์ผ่านสตรีเพศมักถูกนับเป็นราชวงศ์ใหม่ภายใต้ราชวงศ์ของพระสวามี แต่ปรากฏบางกรณีเช่นในทวีปแอฟริกา (ราชวงศ์ผู้ปกครองของบาโลเบดู) ที่นับสายราชวงศ์ตามพระประยูรวงศ์ของสตรีเพศเป็นหลัก (Matrilineality) ซึ่งผู้ปกครองในลำดับถัดมาจะใช้พระราชสันตติวงศ์ของพระมารดาเป็นหลัก เช่น ราชวงศ์ออเรนจ์ของเนเธอร์แลนด์ ราชวงศ์บรากาติโอนีของจอร์เจีย และราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค-ลอแรน

ในบางครั้งคำว่า "ราชวงศ์" ยังใช้อย่างไม่เป็นทางการกับบุคคลที่ไม่ได้มีเชื้อเจ้านายราชวงศ์แต่อย่างใด เช่น สมาชิกของตระกูลผู้ทรงอำนาจและอิทธิพลในขอบเขตอื่น ๆ ที่ไม่ใช่การเมืองการปกครองอย่างลำดับตระกูลของผู้บริหารหรือเจ้าของบริษัทขนาดใหญ่ เป็นต้น แม้กระทั่งใช้กับกลุ่มบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องกับราชวงศ์แต่อย่างใด เช่น ลำดับกวีชั้นครูจากแหล่งเดียวกัน หรือลำดับคณะนักกีฬาของกีฬาบางประเภท เป็นต้น[2] จนมีการนำไปตั้งชื่อละครโทรทัศน์เกี่ยวกับตระกูลหรือครอบครัวของกลุ่มบุคคลดังกล่าว

ราชวงศ์ของแต่ละชาติ

แอฟริกา

ชาด

เอธิโอเปีย

  • ราชวงศ์ซากวี (ประมาณ พ.ศ. 1443-พ.ศ. 1813)
  • ราชวงศ์โซโลมอนิก (พ.ศ. 1813-พ.ศ. 2517)

แปซิฟิก

ฮาวาย

ตองงา

เมารีนิวซีแลนด์

ตาฮีติ

เอเชีย

ภูฏาน

เกาหลี

พม่า

จีน

ญี่ปุ่น

ไทย

ลาว

กัมพูชา

ซาอุดิอาระเบีย

  • ราชวงศ์ซาอุด (พ.ศ. 2475-ปัจจุบัน)

ยุโรป

คาบสมุทรไอบีเรีย

สเปน

ฝรั่งเศส

รัสเซีย

สกอตแลนด์

  • ราชวงศ์อัลปิน (พ.ศ. 1386-พ.ศ. 1577)
  • ราชวงศ์ดันเคลด์ (พ.ศ. 1577-พ.ศ. 1583, พ.ศ. 1601-พ.ศ. 1829)
  • ราชวงศ์เบลเลียว (พ.ศ. 1835-พ.ศ. 1839)
  • ราชวงศ์บรูซ (พ.ศ. 1849-พ.ศ. 1914)
  • ราชวงศ์สจวต (พ.ศ. 1914-พ.ศ. 2250)

อังกฤษ

อ้างอิง

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง