พระอัครชายา (หยก)

พระอัครชายาในสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก

พระอัครชายา[1] มีพระนามว่า หยก หรือ ดาวเรือง[1] เป็นพระอัครชายาในสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก และเป็นพระบรมราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

พระอัครชายา
ประสูติกรุงศรีอยุธยา
หยก
สวรรคตราวปี พ.ศ. 2286-2288[ต้องการอ้างอิง]
บรรจุพระบรมอัฐิหอพระธาตุมณเฑียร
พระราชสวามีสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก
พระราชบุตร
ราชวงศ์จักรี
ศาสนาเถรวาท

พระประวัติ

พื้นเพ

พระอัครชายา มีพระนามเดิมว่า ดาวเรือง[1][2] หรือ หยก[3] เป็นธิดาคนโตของคหบดีชาวจีนฮกเกี้ยน[4] ครอบครัวของพระองค์เป็นตระกูลสูงและมีฐานะทางเศรษฐกิจดี[2] ซึ่งบ้านเดิมของพระองค์ตั้งอยู่ภายในกำแพงพระนครด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะเมือง บริเวณป้อมเพชรก็เป็นย่านอาศัยของชาวจีนฮกเกี้ยนที่มีฐานะดี[5] พระองค์มีพระขนิษฐาคนหนึ่งเป็นบาทบริจาริกาในสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนกด้วย[6] นอกจากนี้บางแห่งก็ว่าพระองค์เป็นหลานสาวของเจ้าพระยาอภัยราชาสมุหนายก[7]

เสกสมรส

พระองค์เสกสมรสกับทองดี (ต่อมาคือสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก) บุตรคนโตของพระยาราชนิกูล (ทองคำ) และย้ายเข้าไปพำนักในเคหาสน์ของพระอัครชายา ซึ่งนิธิ เอียวศรีวงศ์ให้ความเห็นว่าทั้งสองต้องมีฐานะที่ดีเสมอกัน[2] ดังปรากฏใน หนังสืออภินิหารบรรพบุรุษ ความว่า[8]

"...สมเด็จพระบรมมหาไปยกาธิบดี ท่านได้ทำการวิวาหมงคล กับสมเด็จพระบรมมหาไปยิกาธิบดีซึ่งทรงพระนามว่าดาวเรือง เปนบุตรีท่านเสนาบดีในกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระบรมมหาไปยกาธิบดีท่านได้เสด็จมาอยู่ที่นิวาศน์สฐานของสมเด็จพระบรมมหาไปยิกาธิบดี ณ ภายในกำแพงพระนครหลังป้อมเพ็ชร์..."

ตามพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงระบุไว้เพียงว่าพื้นที่นิวาสถานเดิมของพระอัครชายาอยู่บริเวณวัดสุวรรณดารารามไปจนถึงป้อมเพชรและคลองในไก่[8][9][10] แต่ภายหลังสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนกและพระอัครชายาได้ร่วมกันสร้างวัดทอง ที่ต่อมาใช้ชื่อวัดสุวรรณดาราราม ซึ่งนามของวัดสื่อถึงพระนามของทั้งสองพระองค์คือ "ทองดี+ดาวเรือง"[2]

สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนกและพระอัครชายา มีพระราชโอรส-ธิดาด้วยกัน 5 พระองค์ ได้แก่

  1. สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระเทพสุดาวดี (2272–2342) เสกสมรสกับพระอินทรรักษา (เสม) มีพระโอรส-ธิดา 4 พระองค์
  2. สมเด็จพระเจ้าขุนรามณรงค์ มีพระธิดาเพียงพระองค์เดียว[11][12]
  3. สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ (2277–2342) เสกสมรสกับเงิน แซ่ตัน มีพระโอรส-ธิดา 6 พระองค์
  4. พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (2280–2352) มีพระอัครมเหสีคือสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี มีพระราชโอรส-ธิดา 42 พระองค์[13]
  5. สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท (2286–2346) มีพระอัครชายาคือเจ้าศรีอโนชา มีพระราชโอรส-ธิดา 43 พระองค์[14]

พระอัครชายาสิ้นพระชนม์เมื่อใด ไม่เป็นที่ปรากฏ

พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมอัฐิ

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้จัดพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมอัฐิ ของสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก และสมโภชพระบรมอัฐิสมเด็จพระราชชนนี ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2338 เนื่องในวโรกาสที่มีพระชนมพรรษาครบ 60 พรรษา โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระเมรุมาศขนาดใหญ่ และมีเครื่องมหรสพสมโภช เหมือนอย่างงานพระบรมศพพระเจ้าแผ่นดินในสมัยกรุงศรีอยุธยา

พระเมรุมาศก่อสร้างแล้วเสร็จใน พ.ศ. 2339 ได้มีพิธีแห่พระบรมอัฐิออกสู่พระเมรุ มีมหรสพสมโภชเป็นเวลา 7 วัน เมื่อเสร็จพระราชพิธีถวายพระเพลิงแล้วได้อัญเชิญพระบรมอัฐิ กลับมาประดิษฐาน ณ หอพระธาตุมณเฑียร ในพระบรมมหาราชวัง และในพระราชพิธีพระราชกุศลกาลานุกาลและพระราชพิธีสงกรานต์ พระสงฆ์จากวัดอัมพวันเจติยาราม จะรับหน้าที่สดับปกรณ์ผ้าคู่ประจำพระบรมอัฐิสมเด็จพระปฐมบรมอัยยิกาเธอ

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง