พระเจ้าวัลเดมาร์ที่ 2 แห่งเดนมาร์ก

พระเจ้าวัลเดมาร์ที่ 2 แห่งเดนมาร์ก (9 เมษายน ค.ศ. 1170 - 28 มีนาคม ค.ศ. 1241) มักทรงถูกเรียกว่า วัลเดมาร์ผู้ชนะ หรือ วัลเดมาร์ผู้พิชิต (Valdemar Sejr) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งเดนมาร์ก ตั้งแต่ค.ศ. 1202 จนกระทั่งสวรรคตในปีค.ศ. 1241 พระนามลำลองว่า "Sejr" (เซิร์จ) เป็นพระนามที่ถูกเรียกในภายหลังจากพระองค์สวรรคตไปแล้ว ซึ่ง Sejr ในภาษาเดนมาร์แปลว่า "ชัยชนะ"

พระเจ้าวัลเดมาร์ที่ 2
พระมหากษัตริย์แห่งเดนมาร์ก
พระบรมสาทิสลักษณ์พระเจ้าวัลเดมาร์ที่ 2 แห่งเดนมาร์ก
พระมหากษัตริย์แห่งเดนมาร์กและชาวเวนด์
ครองราชย์1202 – 1241
ก่อนหน้าคนุดที่ 6
ถัดไปอีริคที่ 4
พระมหากษัตริย์พระองค์น้อยวัลเดมาร์ยุวกษัตริย์ 1218-1231
อีริคที่ 4 1231-1241
พระราชสมภพ9 พฤษภาคม ค.ศ. 1170(1170-05-09)
รีเบ, คาบสมุทรจัตแลนด์, เดนมาร์ก
สวรรคต28 มีนาคม ค.ศ. 1241(1241-03-28) (70 ปี)
ปราสาทวอร์ดิงบอร์ก, วอร์ดิงบอร์ก, เดนมาร์ก
ฝังพระศพโบสถ์นักบุญเบ็นท์, ริงสเต็ด, เดนมาร์ก
คู่อภิเษกดักมาร์แห่งโบฮีเมีย
เบเรนกาเรียแห่งโปรตุเกส
พระราชบุตร
พระนามเต็ม
วัลเดมาร์ แอสตริดเซน
ราชวงศ์แอสตริดเซน
พระราชบิดาพระเจ้าวัลเดมาร์ที่ 1 แห่งเดนมาร์ก
พระราชมารดาเจ้าหญิงโซเฟียแห่งมินสก์
ศาสนาโรมันคาทอลิก

ภูมิหลัง

พระราชลัญจกรกษัตริย์วัลเดมาร์ที่ 2

พระองค์เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่สองในพระเจ้าวัลเดมาร์ที่ 1 แห่งเดนมาร์กและโซเฟียแห่งมินสก์ ซึ่งเป็นพระธิดาในเจ้าหญิงริเชซาแห่งโปแลนด์ สมเด็จพระพันปีหลวงแห่งสวีเดนและโวโลดาร์ เกล็บโบวิช เจ้าชายแห่งมินสก์ เมื่อพระเจ้าวัลเดมาร์ที่ 1 พระราชบิดาสวรรคต เจ้าชายวัลเดมาร์ทรงมีพระชนมายุเพียง 12 พรรษา พระองค์ได้รับการแต่งตั้งเป็นดยุกแห่งจัตแลนด์ใต้ (ละติน: dux slesvicensis, ซึ่งก็คือ ดยุกแห่งดัชชีชเลสวิช[1]) โดยมีผู้สำเร็จราชการแทนองค์ดยุกคือ บิชอปวัลเดมาร์แห่งชเลสวิช โอรสนอกสมรสของพระเจ้าคนุตที่ 5 แห่งเดนมาร์ก

บิชอปวัลเดมาร์เป็นผู้ที่มีความทะเยอทะยานและทรงซ่อนเร้นความทะเยอทะยานโดยแสร้งกระทำการในฐานะดยุกวัลเดมาร์วัยเยาว์ เมื่อบิชอปวัลเดมาร์ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าชายมุขนายกแห่งเบรเมินในปีค.ศ. 1192 เขาวางแผนจะโค่นราชบัลลังก์ของพระเจ้าคนุดที่ 6 แห่งเดนมาร์ก (พระเชษฐาของดยุกวัลเดมาร์) ด้วยความช่วยเหลือของขุนนางเยอรมัน เพื่อให้เขาเองขึ้นนั่งบัลลังก์เดนมาร์ก แต่แผนการถูกเปิดโปง

ดยุกวัลเดมาร์ทรงตระหนักถึงภัยอันตรายที่บิชอปวัลเดมาร์กระทำในนามพระองค์ ดังนั้นพระองค์จึงเชิญอาร์กบิชอปมาเข้าเฝ้าที่เมืองอาเบนรา ในปีค.ศ. 1192 แต่บิชอปได้หลบหนีไปยังนอร์เวย์เพื่อไม่ให้ถูกจับกุม บิชอปวัลเดมาร์ได้จัดตั้งกองทัพและได้รับการสนับสนุนจากราชวงศ์โฮเอินชเตาเฟิน ด้วยเรือ 35 ลำ และเข้าจู่โจมชายฝั่งเดนมาร์ก เพื่อทวงสิทธิในราชบัลลังก์เดนมาร์ก โดยในฐานะพระโอรสของพระเจ้าคนุดที่ 5 ในปีค.ศ. 1193 ฝ่ายเดนมาร์กชนะ พระเจ้าคนุดที่ 6 สามารถจับกุมเขาได้ บิชอปวัลเดมาร์ถูกคุมขังในนอร์ดบอร์ก ช่วงปีค.ศ. 1193-1198 และจากนั้นย้ายไปที่หอคอยของปราสาทซอบอร์กบนเกาะเชลลันด์ จนถึงค.ศ. 1206 ภายหลังเขาถูกปล่อยตัวจากคำขอร้องของดักมาร์แห่งโบฮีเมีย (พระชายาในดยุกวัลเดมาร์) และสมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 3 หลังจากเขาสาบานว่าจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับกิจการของเดนมาร์กอีก[2]

ดยุกวัลเดมาร์ทรงเผชิญภัยคุกคามจากอดอล์ฟที่ 3 เคานท์แห่งชอนบวร์กและฮ็อลชไตน์ เคานท์คนนี้พยายามกระตุ้นให้เคานท์ชาวเยอรมันคนอื่นๆยึดครองจัตแลนด์ใต้จากเดนมาร์ก เพื่อช่วยเหลือแผนการของบิชอปวัลเดมาร์ในการยึดราชบัลลังก์เดนมาร์ก บิชอปวัลเดมาร์จึงถูกจับคุมขังอีกครั้ง ดยุกวัลเดมาร์จึงพยายามจัดการกับเคานท์อดอล์ฟ ด้วยกองทัพของพระองค์ พระองค์เคลื่อนพลไปทางใต้และยึดป้อมทหารของอดอล์ฟที่เรนส์บวร์ก พระองค์ได้รับชัยชนะและจับกุมเคานท์อดอล์ฟได้ในยุทธการที่สเตลเลา ในปีค.ศ. 1201 และขังคุกเขาข้างคุกของบิชอปวัลเดมาร์ เขาป่วยในสองปีต่อมา จึงพยายามหาทางออกจากคุกโดยยกดินแดนดัชชีชเลสวิชทางตอนเหนือของแม่น้ำเอ็ลเบอให้แก่ดยุกวัลเดมาร์ ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1202 พระเชษฐาของดยุกวัลเดมาร์ พระเจ้าคนุดที่ 6 สวรรคตอย่างไม่คาดคิดด้วยพระชนมายุ 40 พรรษา โดยไร้ทายาท

รัชกาล

ธรรมเนียมพระยศของ
สมเด็จพระเจ้าวัลเดมาร์ที่ 2
ตราประจำพระอิสริยยศ
การทูลHans Majestæt
(ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท)
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับDeres Majestæt
(พระพุทธเจ้าข้า/เพคะ)
ราชอาณาจักรเดนมาร์กในรัชสมัยกษัตริย์วัลเดมาร์ที่ 2

ดยุกวัลเดมาร์ได้รับการสถาปนาเป็นพระมหากษัตริย์โดยสภาจัตแลนด์ ในช่วงนั้นเพื่อนบ้านอย่างจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ตกอยู่ในสภาวะสงครามกลางเมือง ระหว่างผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์สองคน คือ จักรพรรดิอ็อทโทที่ 4 จากตระกูลเวล์ฟ และกษัตริย์ฟิลิปแห่งชวาเบินจากราชวงศ์โฮเอินชเตาเฟิน กษัตริย์วัลเดมาร์ที่ 2 นั้นเป็นพันธมิตรกับจักรพรรดิอ็อทโทและต่อต้านฟิลิป

ในปีค.ศ. 1203 กษัตริย์วัลเดมาร์ยกทัพยึดครองมุขมณฑลลือแบร์กและดัชชีฮ็อลชไตน์ ให้มาอยู่ภายใต้การปกครองของเดนมาร์ก ในปีค.ศ. 1204 พระองค์พยายามเข้าไปมีอิทธิพลในการสืบราชบัลลังก์นอร์เวย์โดยการส่งกองทัพเรือและกองทัพบกไปยังวีเกินในนอร์เวย์เพื่อสนับสนุนเออร์ลิง สไตน์เว็ก ผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์นอร์เวย์ ทำให้เกิดสงครามบาเกอร์ครั้งที่สองซึ่งจะสิ้นสุดในปีค.ศ. 1208 แต่ปัญหาการสืบราชบัลลังก์นอร์เวย์ได้ยุติลงชั่วคราวเนื่องจากพระมหากษัตริย์นอร์เวย์ยินยอมจะถวายการจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์เดนมาร์ก

ในปีค.ศ. 1207 คณะบาทหลวงส่วนใหญ่ของเบรเมิน ได้เลือกบิชอปวัลเดมาร์เป็นเจ้าชายมุขนายกอีกครั้ง ในขณะที่พระคณะส่วนน้อยที่นำโดยพระครูบรูก์ฮาร์ด เคานท์แห่งสตัมเปนเฮาเซน ได้หลบหนีไปยังฮัมบูร์ก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเขตมุขมณฑลของเบรเมินและมีการเลือกตั้งแข่งขันกันว่าใครจะเป็นผู้นำหลักของเบรเมิน กษัตริย์ฟิลิปแห่งชวาเบินรับรองให้บิชอปวัลเดมาร์เป็นเจ้าชายมุขนายกแห่งเบรเมิน เนื่องจากเขาเป็นศัตรูกับกษัตริย์วัลเดมาร์ที่ 2

กษัตริย์วัลเดมาร์ที่ 2 และเหล่าคณะบาทหลวงเบรเมินเสียงข้างน้อยที่หลบหนีได้ยื่นจดหมายประท้วงไปยังสมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 3 ซึ่งพระองค์ได้สั่งการให้ตรวจสอบเรื่องนี้ เมื่อบิชอปวัลเดมาร์เดินทางออกจากโรมกลับไปยังเบรเมินเป็นการขัดขืนคำสั่งของสมเด็จพระสันตะปาปาที่ทรงให้เขาอยู่รอคำสั่ง พระองค์จึงขับไล่เขาออกจากศาสนา ถึงที่สุดในปีค.ศ. 1208 ทรงโปรดให้ปลดเขาออกจากตำแหน่งบิชอปแห่งชเลสวิก ในปีค.ศ. 1208 บรูก์ฮาร์ด เคานท์แห่งสตัมเปนเฮาเซน ได้รับการแต่งตั้งโดยเหล่าพระครูเบรเมินเสียงข้างน้อยที่หลบหนีให้ดำรงเป็นผู้อ้างสิทธิในเจ้าชายมุขนายกและกษัตริย์วัลเดมาร์ที่ 2 ทรงละเมิดสิทธิของจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์โดยแต่งตั้งบรูก์ฮาร์ดแทนและให้เขาทรงเครื่องกกุธภัณฑ์ แต่ก็มีผลการปกครองมุขมณฑลเพัยงแค่ทางตอนเหนือของแม่น้ำเอลเบเท่านั้น ในปีค.ศ. 1209 สมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 3 ทรงยินยอมให้มีการแต่งตั้งนิโคลัสที่ 1 ให้เป็นบิชอปแห่งชเลสวิกแทนบิชอปวัลเดมาร์ นิโคลัสเป็นคนสนิทและเป็นที่ปรึกษาของกษัตริย์วัลเดมาร์ ในปีค.ศ. 1214 กษัตริย์วัลเดมาร์จึงทรงโปรดเกล้าฯแต่งตั้งบิชอปนิโคลัสที่ 1 เป็นอัครมหาเสนาบดีแห่งเดนมาร์ก สืบต่อจากเปเดร ซูเนอเซน บิชอปแห่งรอสคิลด์

ในปีเดียวกัน กษัตริย์วัลเดมาร์ที่ 2 พร้อมกองทัพเดนมาร์กบุกโจมตีมุขมณฑลทางตอนใต้ของแม้น้ำเอลเบ และยึดเมืองสเตด ในเดือนสิงหาคม เจ้าชายมุขนายกวัลเดมาร์ได้ยึดเมืองนี้คืนอีกครั้งหลังจากเสียเมืองไปไม่นาน กษัตริย์วัลเดมาร์ที่ 2 ทรงก่อสร้างสะพานเอลเบขึ้นมาและเพื่อมุ่งหน้าเข้าโจมตีฮาร์บูร์ก ในปีค.ศ. 1209 จักรพรรดิอ็อทโทที่ 4 ทรงเกลี้ยกล่อมให้กษัตริย์วัลเดมาร์ที่ 2 ถอยทัพกลับไปยังตอนเหนือของแม่น้ำเอลเบ จากนั้นกระตุ้นให้บูร์กฮาร์ดลาออกจากตำแหน่ง พร้อมขับไล่เจ้าชายมุขนายกวัลเดมาร์

ในปีค.ศ. 1210 สมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 3 ทรงแต่งตั้งเกอร์ฮาร์ดที่ 1 เคานท์แห่งอ็อลเดนบูร์ก-ไวล์ดเชาเซน ให้ดำรงเป็นเจ้าชายมุขนายกแห่งเบรเมินคนใหม่ ในปีค.ศ. 1211 ดยุกแแบร์นฮาร์ดที่ 3 แห่งดัชชีซัคเซิน ได้ติดตามบิชอปวัลเดมาร์ พี่เขยของพระองค์ ซึ่งถูกพระสันตะปาปาปลด กลับเข้าไปยังเมืองเบรเมิน ยึดอำนาจโดยพฤตินัยจากสมเด็จพระสันตะปาปา และพวกเขาหันไปสนับสนุนจักรพรรดิอ็อทโทที่ 4 ทันทีทันใด เนื่องจากพระองค์กำลังมีเรื่องมีราวกับสมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 3 ในกรณีซิชิลี ด้วยเหตุนี้กษัตริย์วัลเดมาร์ที่ 2 จึงยึดครองเมืองเตดอีกครั้ง ในขณะที่ปีค.ศ. 1213 ไฮน์ริชที่ 5 เคานต์พาลาไทน์แห่งไรน์ ได้ยึดครองเมืองนี้คืนให้เจ้าชายมุขนายกวัลเดมาร์

ในปีค.ศ. 1213 กษัตริย์วัลเดมาร์ที่ 2 ทรงเรียกเก็บภาษีสงครามในนอร์เวย์ และเกิดเรื่องราวที่ชาวนอร์เวย์สังหารเจ้าหน้าที่เก็บภาษีของกษัตริย์วัลเดมาร์ที่สภาเทรินเดลากและก่อการกบฏ การลุกฮือขยายตัวไปทั่วนอร์เวย์

ในปีค.ศ. 1216 กษัตริย์วัลเดมาร์ที่ 2 และกองทัพเดนมาร์ทำลายล้างแคว้นสเตดและเข้ายึดครองฮัมบูร์ก สองปีถัดมากษัตริย์วัลเดมาร์ที่ 2 และเกอร์ฮาร์ที่ 1 เป็นพันธมิตรกันเข้าขับไล่ไฮน์ริชที่ 5 กับจักรพรรดิอ็อทโทที่ 4 จากดินแดนมุขมณฑล ในที่สุดเจ้าชายมุขนายกวัลเดมาร์ก็ประกาศลาออกและเข้าสู่อาราม กษัตริย์วัลเดมาร์ที่ 2 สนับสนุนจักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และทรงได้รับรางวัลจากจักรพรรดิ โดยการยอมรับสิทธิของเดนมาร์กในการปกครองชเลสวิกและฮ็อลชไตน์ ดินแดนทั้งหมดของชาวเวนด์และดัชชีพอเมอเรเนีย

ยุทธการลินดานีส

ธงแดนเนอบรอกล่องลอยลงมาจากท้องฟ้าในยุทธการลินดานีส
วาดโดยคริสเตียน ออกุสต์ ลอเร็นท์เซน วาดปีค.ศ. 1809

อัศวินทิวทอนิกซึ่งทำหน้าที่เปลี่ยนให้ผู้คนแถบทะเลบอลติกฝั่งตะวันออกให้มานับถือศาสนาคริสต์ ในปีค.ศ. 1219 พวกเขาดำเนินการอย่างยากลำบากและกดดัน จึงทูลขอความช่วยเหลือจากกษัตริย์วัลเดมาร์ที่ 2 สมเด็จพระสันตะปาปาโฮโนริอุสที่ 3 ทรงยกระดับสงครามของกษัตริย์วัลเดมาร์ที่ 2 ให้เป็นสงครามครูเสด กษัตริย์วัลเดมาร์ทรงระดมกองทัพและรวมกองเรือทั้งหมดเพื่อส่งกองทัพไปสู้รบทางตะวันออก มีเรือรวมกันถึง 1,500 ลำ

เมื่อกองทัพขึ้นฝั่งที่เอสโตเนียบริเวณใกล้เมืองทาลลินน์ในปัจจุบัน หัวหน้าเผ่าเอสโตเนียยอมสยบต่อกองทัพเดนมาร์กและยอมรับกษัตริย์เดนมาร์กเป็นผู้นำสูงสุด มีชนต่างศาสนาบางคนยอมรับการบัพติศมาในศาสนาใหม่ซึ่งเป็นสัญญาณอันดี 3 วันถัดมาคือวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 1219 ในขณะที่ชาวเดนส์ทำพิธีมิสซา ชาวเอสโตเนียหลายพันคนบุกเข้ามาในค่ายของชาวเดนส์ ความสับสนนี้การเป็นสิ่งที่เลวร้ายสำหรับกษัตริย์วัลเดมาร์ที่ 2 โชคดีที่ วิตสลาฟที่ 1 เจ้าชายแห่งรือเงิน นำทหารของเขาในค่ายที่สองเข้าโจมตีชาวเอสโตเนียจากข้างหลัง

ตามตำนานในระหว่างยุทธการลินดานีสว่ากันว่าบิชอปซูเนเซนยกแขนของเขาขึ้นมาข้างหน้าเพื่อให้ชาวเดนส์ยกทัพไปข้างหน้า แต่เมื่อเขาเริ่มเมื่อยล้าและแขนตกลงมาพวกชาวเอสโตเนียเข้าตีชาวเดนส์จากข้างหลัง เมื่อผู้เข้าร่วมเคลื่อนไปข้างหน้าและบิชอปยกมืออีกครั้ง ชาวเดนส์ก็บุกไปข้างหน้าต่อ ในช่วงที่การต่อสู้ดุเดือดนั้นบิชอปซูเนเซนสวดมนต์อ้อนวอนพระเจ้าและปรากฏผ้าผืนแดงที่มีกากบาทสีขาวล่องลอยลงมาจากท้องฟ้าในช่วงที่ชาวเดนส์กำลังจะถอยทัพ มีเสียงพูดเข้ามาว่า "ถ้าธงผืนนี้ถูกชูขึ้น พวกเจ้าจักได้รับชัยชนะ!"[3] ชาวเดนส์ลุกขึ้นสู้และได้รับชัยชนะในสมรภูมิ เมื่อสิ้นสุดวันนั้น ชาวเอสโตเนียนอนตายเกลื่อนทุ่งสนามรบ และจากนั้นเอสโตเนียก็ถูกรวมเข้าในอาณาจักรเดนมาร์ก เอสโตเนียถูกบังคับให้เข้ารีตเป็นชาวคริสต์ แต่จากงานศึกษาเชิงลึกในลีเบอร์ เซนซัส ดาแนร์ ของนักประวัติศาสตร์ เอ็ดการ์ ซัคส์ ระบุว่า ชาวเอสโตเนียสมัครใจที่เปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์

กษัตริย์วัลเดมาร์ที่ 2 ทรงให้สร้างป้อมปราการใหญ่ที่รีวัลบริเวณใกล้สมรภูมิ[4] ในที่สุดเมืองก็เติบโตรอบปราสาทและกลายเป็นเมืองทาลลินน์ ภาษาเอสโตเนียแปลว่า "เมือง/ปราสาทเดนมาร์ก" ธงแดงกากบาทขาว (ธงแดนเนอบรอก) กลายเป็นธงชาติตั้งแต่ค.ศ. 1219 และกลายเป็นธงชาติที่เก่าแก่ที่สุดในยุโรปที่ยังใช้มาจนปัจจุบัน

ยุทธการบอร์นเฮอเว็ด

ในปีค.ศ. 1223 กษัตริย์วัลเดมาร์ที่ 2 และพระราชโอรสองค์โต คือ เจ้าชายวัลเดมาร์ ทรงถูกลักพาตัวโดยไฮน์ริชที่ 1 เคานท์แห่งชเวรีน ขณะทรงล่าสัตว์อยู่ที่เกาะเลิร์ท ใกล้เกาะฟึน[5] เคานท์ไฮน์ริชเรียกร้องให้ยอมคืนดินแดนฮ็อลชไตน์ที่ยึดครองมากว่า 20 ปี และให้ยอมเป็นรัฐบริวารของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ คณะผู้แทนเดนมาร์กปฏิเสธข้อเรียกร้องนี้และประกาศสงคราม ในช่วงที่กษัตริย์วัลเดมาร์ถูกคุมขัง ดินแดนเยอรมันทั้งหลายก็แยกตัวออกจากเดนมาร์ก กองทัพเดนมาร์กต้องถูกส่งไปยึดดินแดนคืน สงครามสิ้นสุดด้วยความพ่ายแพ้ของเดนมาร์กซึ่งพ่ายแพ้ต่อกองทัพที่บัญชาการโดยอัลแบร์ชที่ 2 แห่งออร์ลามุนด์ ซึ่งพ่ายแพ้ที่เมืองมืนล์ในปีค.ศ. 1225[5] เพื่อให้ได้ปล่อยตัวกษัตริย์วัลเดมาร์ เดนมาร์กต้องยอมรับให้ดินแดนที่แยกตัวให้เข้ากับเยอรมัน และต้องจ่ายเงิน 44,000 มาร์ก รวมถึงลงนามสัญญาว่าจะไม่แก้แค้นเคานท์ไฮน์ริชที่ลักพาตัวพระองค์ไป

กษัตริย์วัลเดมาร์ทรงยื่นอุทธรณ์ไปยังสมเด็จพระสันตะปาปาโฮโนริอุสที่ 3 เพื่อให้พระองค์อนุญาตให้คำสัญญาเป็นโมฆะ สมเด็จพระสันตะปาปาโฮโนริอุสที่ 3 ทรงยอมให้คำสัญญาเป็นโมฆะ และกษัตริย์ทรงพยายาามเรียกร้องดินแดนเยอรมันคืนในทันที[5] กษัตริย์วัลเดมาร์ที่ 2 ทรงทำสนธิสัญญากับพระนัดดาคือ อ็อทโทที่ 1 ดยุกแห่งเบราน์ชไวค์-ลือเนอบวร์คและมุ่งหน้าไปทางใต้เพื่อยึดดินแดนที่ทรงมองว่าเป็นสิทธิของพระองค์ แต่พระองค์ก็ไม่ทรงโชคดีเท่าไร กองทัพเดนมาร์กพ่ายแพ้ในยุทธการบอร์นเฮอเว็ดในวันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1227 เป็นตัวปิดฉากการเรียกร้องดินแดนทางภาคเหนือของเยอรมัน[5] กษัตริย์วัลเดมาร์ทรงหลบหนีมาได้ด้วยการกระทำอย่างวิถีอัศวินของอัศวินเยอรมันซึ่งนำพากษัตริย์หลบหนีโดยม้าอย่างปลอดภัย

ประมวลกฎหมายจัตแลนด์

ก่อนการรับรองประมวลกฎหมายเดนมาร์ก แต่ละดินแดนของเดนมาร์กมีกฎหมายของตัวเอง ยกเวนแถบอูทลันเดอ (สีม่วง) ที่ใช้ประมวลกฎหมายฟรีเชีย

หลังจากนั้นเป็นต้นมากษัตริย์วัลเดมาร์ที่ 2 ทรงมุ่งเน้นกิจการภายในประเทศ หนึ่งในการเปลี่ยนแปลงสมัยพระองค์คือระบบศักดินา ซึ่งพระองค์ทรงมอบทรัพย์สินแก่ผู้คนโดยความเข้าใจว่าคนเหล่านั้นต้องรับใช้พระองค์ตอบแทน สิ่งนี้เป็นการเพิ่มอำนาจของตระกูลขุนนาง (เฮอจาเดเลน) และก่อให้เกิดขุนนางชั้นผู้น้อย (ลาวาเดเลน) ซึ่งเป็นผู้ควบคุมเดนมาร์กเกือบทั้งหมด ชาวนาอิสระสูญเสียสิทธิดั้งเดิมและสิทธิพิเศษที่พวกเขาได้รับมาตั้งแต่สมัยไวกิง[6]

กษัตริย์วัลเดมาร์ที่ 2 ทรงใช้เวลาที่เหลือในการรวมประมวลกฎหมายของคาบสมุทรจัตแลนด์ เกาะเชลลันด์และสกัวเนอ ประมวลกฎหมายนี้ถูกบังคับใช้จนถึงปีค.ศ. 1683 นี่คือการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของกฎหมายท้องถิ่นซึ่งเกิดจากสภาของแคว้น ซึ่งใช้เป็นประเพณีมาอย่างยาวนาน หลายวิธีที่ใช้ตัดสินว่าใครเป็นผู้กระทำผิดหรือผู้บริสุทธิ์นั้นถูกมองว่าเป็นเรื่องผิดกฎหมาย เช่น การพิจารณาคดีด้วยความเจ็บปวดหรือการพิจารณาคดีด้วยการต่อสู้ ประมวลกฎหมายจัตแลนด์ได้รับการรับรองจากการประชุมขุนนางที่ปราสาทวอร์ดิงบอร์ก ในปีค.ศ. 1241 ซึ่งก่อนการสวรรคตของพระองค์

กษัตริย์วัลเดมาร์สวรรคตในวันที่ 28 มีนาคม ค.ศ. 1241 สิริพระชนมายุ 70 พรรษา พระองค์ถูกฝังพระบรมศพเคียงข้างพระมเหสีพระองค์แรก คือ สมเด็จพระราชินีดักมาร์ที่เมืองริงสเต็ด ในเชลลันด์

การอภิเษกสมรส

ก่อนการอภิเษกสมรส วัลเดมาร์ทรงหมั้นกับรีเชซาแห่งบาวาเรีย ธิดาในดยุกแห่งแซกโซนี เมื่อการแต่งงานไม่เกิดขึ้น พระองค์ได้อภิเษกสมรสครั้งแรกกับเจ้าหญิงดักมาร์แห่งโบฮีเมีย หรือทรงเป็นที่รู้จักในพระนาม มาร์เคตาแห่งโบฮีเมีย ในปีค.ศ. 1205 พระนางเป็นพระราชธิดาในพระเจ้าออทโทคาร์ที่ 1 แห่งโบฮีเมียที่ประสูติแต่พระมเหสีองค์แรกคือ อเดเลดแห่งเมสเซน และพระนางดักมาร์ก็เป็นที่นิยมในหมู่ประชาชนชาวเดนส์ การอภิเษกสมรสครั้งนี้ทรงมีพระราชโอรสหนึ่งพระองค์คือ วัลเดมาร์ยุวกษัตริย์ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นกษัตริย์ร่วมที่ชเลสวิกในปีค.ศ. 1218 ยุวกษัตริย์วัลเดมาร์ทรงถูกยิงธนูใส่โดยอุบัติเหตุขณะล่าสัตว์ที่จัตแลนด์เหนือในปีค.ศ. 1231 สมเด็จพระราชินีดักมาร์สิ้นพระชนม์ขณะมีพระประสูติกาลพระโอรสองค์ที่สองในปีค.ศ. 1212 ตามเพลงบัลเลต์ของเพลงโบราณระบุว่า เมื่อพระนางกำลังจะสิ้นพระชนม์ พระนางทรงขอให้กษัตริย์วัลเดมาร์เสกสมรสกับเคิร์ชเทน บุตรีของคาร์ล ฟอน รีซ และไม่ให้เสกสมรสกับ "ดอกไม้งาม" อย่างเบเรนกาเรียแห่งโปรตุเกส (เบ็นเกิร์ด) เพราะพระนางทรงทำนายว่าเหล่าโอรสที่เกิดกับบาเรนกาเรียแห่งโปรตุเกสจะต่อสู้แย่งชิงบัลลังก์กัน

หลังจากพระราชินีดักมาร์สิ้นพระชนม์ เดนมาร์กต้องการสร้างสัมพันธ์อันดีกับแฟลนเดอส์ กษัตริย์วัลเดมาร์จึงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงเบเรนกาเรียแห่งโปรตุเกสในปีค.ศ. 1214 พระนางทรงเป็นพระราชธิดาในพระเจ้าซังชูที่ 1 แห่งโปรตุเกสกับด็อลซาแห่งอารากอน พระราชบิดาและพระราชมารดาของพระนางสวรรคตตั้งแต่เจ้าหญิงยังทรงพระเยาว์ เจ้าหญิงเบเรนเกเรียทรงเป็นพระขนิษฐาในเฟอร์ดินานด์ เคานท์แห่งแฟลนเดอส์ ซึ่งเจ้าหญิงไปประทับอยู่กับพระเชษฐาพระองค์นี้จนกระทั่งอภิเษกสมรส สมเด็จพระราชินีเบเรนกาเรียทรงพระสิริโฉมแต่ทรงเป็นคนพระทัยแข็ง จนทำให้เป็นที่เกลียดชังของชาวเดนมาร์กโดยทั่วไปจนกระทั่งพระนางสิ้นพระชนม์ขณะมีพระประสูติกาลในปีค.ศ. 1221 พระมเหสีทั้งสองของกษัตริย์วัลเดมาร์ที่ 2 ทรงเป็นตัวละครหลักในบัลลาดและคตินิยมของชาวเดนมาร์กที่ว่า ดักมาร์เป็นคนอ่อนโยน เคร่งศาสนาและเป็นภรรยาในอุดมคติ ส่วนเบเรนกาเรียนั้นงดงามแต่เป็นสตรีที่หยิ่งทระนง

พระโอรสธิดา

พระโอรสที่ประสูติแต่ดักมาร์แห่งโบฮีเมียมีดังนี้

 พระนามประสูติสิ้นพระชนม์คู่สมรส และพระโอรส-ธิดา
วัลเดมาร์ยุวกษัตริย์ค.ศ. 120928 พฤศจิกายน ค.ศ. 1231อภิเษกสมรส 24 มิถุนายน ค.ศ. 1229 กับ
ลียูโนร์แห่งโปรตุเกส
ไม่มีพระโอรสธิดา
-พระโอรสตายคลอดค.ศ. 1212ค.ศ. 1212สิ้นพระชนม์เมื่อประสูติ

พระโอรสธิดาที่ประสูติแต่เบเรนกาเรียแห่งโปรตุเกสมีดังนี้

 พระนามประสูติสิ้นพระชนม์คู่สมรส และพระโอรส-ธิดา
พระเจ้าอีริคที่ 4 แห่งเดนมาร์กราว ค.ศ. 121610 สิงหาคม ค.ศ. 1250[7]อภิเษกสมรส 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1239 กับ
จัตตาแห่งแซกโซนี
มีพระโอรสธิดา 6 พระองค์ ได้แก่
เจ้าหญิงโซเฟีย สมเด็จพระราชินีแห่งสวีเดน
เจ้าชายคนุด
เจ้าหญิงอิงเงอร์บอร์ก สมเด็จพระราชินีแห่งนอร์เวย์
เจ้าหญิงจัตตา
เจ้าชายคริสตอฟ
เจ้าหญิงอักเนส
-เจ้าหญิงโซฟี มาร์เกรฟวีนแห่งบรันเดนบูร์กค.ศ. 1217ค.ศ. 1247[7]อภิเษกสมรส ค.ศ. 1230 กับ
โยฮันที่ 1 มาร์เกรฟแห่งบรันเดนบูร์ก
มีพระโอรสธิดา 6 พระองค์ ได้แก่
โยฮันที่ 2 มาร์เกรฟแห่งบรันเดนบูร์ก-สเตนดัล
อ็อทโทที่ 4 มาร์เกรฟแห่งบรันเดนบูร์ก-สเตนดัล
ค็อนราด มาร์เกรฟแห่งบรันเดนบูร์ก-สเตนดัล
อีริคแห่งบรันเดนบูร์ก
เฮเลนเนอแห่งบรันเดนบูร์ก
เฮอร์มานน์แห่งบรันเดนบูร์ก
พระเจ้าอเบลแห่งเดนมาร์กค.ศ. 121829 มิถุนายน ค.ศ. 1252[7]อภิเษกสมรส 25 เมษายน ค.ศ. 1237 กับ
เมิร์ชทิลด์แห่งฮ็อลชไตน์
มีพระโอรสธิดา 4 พระองค์ ได้แก่
วัลเดมาร์ที่ 3 ดยุกแห่งชเลสวิก
เจ้าหญิงโซฟี
อีริคที่ 1 ดยุกแห่งชเลสวิก
อเบล ลอร์ดแห่งลังก์เอลันด์
พระเจ้าคริสตอฟเฟอร์ที่ 1 แห่งเดนมาร์กค.ศ. 121929 พฤษภาคม ค.ศ. 1259[7]อภิเษกสมรส ค.ศ. 1248 กับ
มาร์เกเรเธ ซัมบีเรีย
มีพระโอรสธิดา 3 พระองค์ ได้แก่
เจ้าหญิงเมิร์ชทิลด์
เจ้าหญิงมาร์เกรเธอ
พระเจ้าอีริคที่ 5 แห่งเดนมาร์ก
-บุตรตายคลอดค.ศ. 1221ค.ศ. 1221สิ้นพระชนม์เมื่อประสูติ

ทรงมีพระโอรสที่ประสูติแต่พระสนม เฮเลนา กุททอร์มสต็อทเทอร์ (สตรีตระกูลขุนนางชาวสวีเดนและเป็นภริยาของขุนนางเดนมาร์ก)[8] ได้แก่

 พระนามประสูติสิ้นพระชนม์คู่สมรส และพระโอรส-ธิดา
-คนุต ดยุกแห่งเอสโตเนีย[8]ค.ศ. 1207ค.ศ. 1260มีพระโอรสธิดา 3 พระองค์ ได้แก่
อีริค ดยุกแห่งฮัลลันด์
สวันเทโปล์กแห่งวีบี
ธิดาไม่ปรากฏนาม

ทรงมีพระโอรสที่ประสูติแต่พระสนมไม่ทราบนาม

 พระนามประสูติสิ้นพระชนม์คู่สมรส และพระโอรส-ธิดา
-นีลส์ เคานท์แห่งฮัลลันด์ไม่ปรากฏหลักฐานค.ศ. 1218เสกสมรสกับโอดาแห่งชเวรีน
มีพระโอรส 1 พระองค์ ได้แก่
นีลส์ เคานท์แห่งฮัลลันด์เหนือ

พงศาวลี

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
8. พระเจ้าอีริคที่ 1 แห่งเดนมาร์ก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
4. เจ้าชายคนุด ลาวาร์ด
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
9. บอเอดิล ธูร์ก็อตสแด็ทเทอร์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
2. พระเจ้าวัลเดมาร์ที่ 1 แห่งเดนมาร์ก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
10. มิสทิสลาฟที่ 1 แห่งเคียฟ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
5. เจ้าหญิงอิงเงอร์บอร์กแห่งเคียฟ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
11. เจ้าหญิงคริสตินา อิงเงอร์สด็อทเทอร์แห่งสวีเดน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
1. พระเจ้าวัลเดมาร์ที่ 2 แห่งเดนมาร์ก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
12. เกล็บ วเซสลาฟวิชแห่งมินสก์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
6. โวโลดาร์ เกล็บโบวิช เจ้าชายแห่งมินสก์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
13. อนาสตาเซีย ยาโรโปลคอฟนาแห่งทูรอฟและลุทส์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
3. โซเฟียแห่งมินสก์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
14. บอเลสลอว์ที่ 3 วีร์มอนท์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
7. ริเชซาแห่งโปแลนด์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
15. ซาโลเมียแห่งเบิร์ก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

อ้างอิง

แหล่งข้อมูล

  • Line, Philip (2007). Kingship and State Formation in Sweden: 1130 – 1290. Brill.
  • Hundahl, Kerstin (2014). "Placing Blame and Creating Legitimacy: The Implications of Rugish Involvement in the Struggle over the Succession amidst the Danish Church Strife c.1258–1260". ใน Hundahl, Kerstin; Kjær, Lars; Lund, Niels (บ.ก.). Denmark and Europe in the Middle Ages, c.1000–1525: Essays in Honour of Professor Michael H. Gelting. Ashgate Publishing.
  • Petersen, Leif Inge Ree (2010). "Battle of Bornhöved". ใน Rogers, Clifford J. (บ.ก.). The Oxford Encyclopedia of Medieval Warfare and Military Technology. Vol. 1. Oxford University Press.

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้าพระเจ้าวัลเดมาร์ที่ 2 แห่งเดนมาร์กถัดไป
พระเจ้าคนุดที่ 6
พระมหากษัตริย์แห่งเดนมาร์ก
ร่วมกับ
ยุวกษัตริย์วัลเดมาร์
(1218-1231)
พระเจ้าอีริคที่ 4
(1232-1241)

(ค.ศ. 1202 - ค.ศ. 1241)
พระเจ้าอีริคที่ 4
🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง