ภาษาเตอร์กิกโฆรอซอน

ภาษากลุ่มโอคุซที่พูดในประเทศอิหร่าน

ภาษาเตอร์กิกโฆรอซอน (خراسان تركچىسى, ออกเสียง: [xorɑsɑn tyrktʃesi]) เป็นภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มเตอร์กิกที่พูดในบริเวณตอนเหนือของจังหวัดโฆรอซอนเหนือและจังหวัดโฆรอซอเนแรแซวี ประเทศอิหร่าน ผู้พูดภาษานี้เกือบทั้งหมดสามารถพูดภาษาเปอร์เซียได้[4]

ภาษาเตอร์กิกโฆรอซอน
خراسان تركچىسى
ออกเสียง[xorɑsɑn tyrktʃesi]
ประเทศที่มีการพูดอิหร่าน
ภูมิภาคเกรตเตอร์โฆรอซอน
จำนวนผู้พูด400,000 คน[1]
886,000 คน (2014)[2]
มากกว่า 1,000,000 คน[3]  (ไม่พบวันที่)
ตระกูลภาษา
เตอร์กิก
ระบบการเขียนอักษรเปอร์เซีย
รหัสภาษา
ISO 639-3kmz
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

การแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์

ภาษาเตอร์กิกโฆรอซอนส่วนใหญ่ใช้พูดในอิหร่านหลายจังหวัด ถ้านับสำเนียงโอคุซของภาษาอุซเบกเป็นสำเนียงของภาษานี้ด้วย ก็จะมีผู้พูดอยู่ทางตอนใต้ของอุซเบกิสถานเช่นกัน ภาษานี้แบ่งเป็นสามสำเนียงคือ เหนือ ใต้และตะวันตก

การจัดจำแนกและภาษาใกล้เคียง

ภาษาเตอร์กิกโฆรอซอนจัดอยู่ในภาษากลุ่มโอคุซของภาษากลุ่มเตอร์กิกซึ่งรวมภาษาตุรกี ภาษาอาเซอร์ไบจาน ภาษากากาอุซ ภาษาตุรกีกากาอุซบอลข่าน ภาษาเติร์กเมนและภาษาซาลาร์ และสำเนียงโอคุซที่ใช้พูดในอุซเบกิสถาน ภาษาเตอร์กิกโฆรอซอนถือว่าใกล้เคียงมากกับภาษาอุซเบกสำเนียงโอคุซและภาษาเติร์กเมน และใกล้เคียงกับสำเนียงของภาษาอาเซอร์ไบจานที่ใช้พูดในอิหร่าน

เสียง

พยัญชนะ

เสียงพยัญชนะ
 ริมฝีปากปุ่มเหงือกเพดานปากเพดานอ่อนลิ้นไก่เส้นเสียง
หยุดpbtd  kɡq   
กักเสียดแทรก    t͡ʃd͡ʒ      
เสียดแทรกfvszʃʒxɣ  h 
นาสิกmnɲŋ    
สะบัด  r        
ข้างลิ้น  l        
เปิด    j      

สระ

สระ
หน้าหลัง
ไม่ห่อห่อไม่ห่อห่อ
ปิดiyɯu
กลางeøo
เปิดæɑɒ

ลักษณะของภาษา

นาม

คำนามทำให้เป็นรูปพหูพจน์ด้วยการเติมปัจจัย-lAr ซึ่งมีสองรูปคือ -lar และ –lær ขึ้นกับการเปลี่ยนเสียงสระ การกของนามจำแนกโดยการลงท้ายด้วยปัจจัยที่ขึ้นกับการเปลี่ยนเสียงสระและสระหรือพยัญชนะที่ตามมา การแสดงความเป็นเจ้าของจะเติมปัจจัยเข้าที่นามที่ถูกถือครอง

การกหลังสระหลังพยัญชนะ
Nominativeไม่มีการลงท้าย
Genitiveniŋ/niniŋ/in
Dativeya/yæa/æ
Accusativeni/nɯi/ɯ
Locativeda/dæ
Ablativedan/dæn
Instrumentalnan/næn

สรรพนาม

ภาษาเตอร์กิกโฆรอซอนมีสรรพนามแทนบุคคล 6 คำ และจะมีการลงท้ายต่างจากนามปกติ

เอกพจน์พหูพจน์
บุรุษที่ 1mænbɯz
บุรุษที่ 2sænsiz
บุรุษที่ 3oolar

สรรพนามแสดงความเป็นเจ้าของ

เอกพจน์พหูพจน์
บุรุษที่ 1(I)m(I)mIz
บุรุษที่ 2(I)ŋ(I)ŋIz
บุรุษที่ 3(s)IlArI

กริยา

คำกริยามีการแบ่งย่อยตามกาล ความมุ่งหมาย มาลา บุคคล และจำนวน รูปพื้นฐานของกริยาลงท้ายด้วย -max

อ้างอิง

Tulu, Sultan (1989). Chorasantürkische Materialien aus Kalāt bei Esfarāyen. Berlin: Klaus Schwarz Verlag. ISBN 3-922968-88-0.

Doerfer, Gerhard; Hesche, Wolfram (1993). Chorasantürkisch: Wörterlisten, Kurzgrammatiken, Indices. Wiesbaden: Harrassowitz. ISBN 3-447-03320-7.

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: หน้าหลักสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024บางกอกคณิกาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)เนติพร เสน่ห์สังคมวิทยาศาสตร์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)วันวิสาขบูชาวอลเลย์บอลลมเล่นไฟตารางธาตุอันดับโลกเอฟไอวีบีอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์หมวดหมู่:จังหวัดของประเทศไทยไลเกอร์รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยไอแซก นิวตันศาสนาพุทธราชวงศ์จักรีกาลิเลโอ กาลิเลอีประวัติศาสตร์ชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนารายชื่อเครื่องดนตรีจังหวัดชัยนาทสังคายนาในศาสนาพุทธประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดนิวแคลิโดเนียวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยศาสนาพุทธในประเทศพม่าพระสุนทรโวหาร (ภู่)นริลญา กุลมงคลเพชร