ภาษาเติร์กเมน

ภาษาเติร์กเมน (türkmençe, түркменче, تۆرکمنچه, [tʏɾkmøntʃø][5] หรือ türkmen dili, түркмен дили, تۆرکمن ديلی, [tʏɾkmøn dɪlɪ])[6] บางครั้งเรียกเป็น "ภาษาเติร์กแบบเติร์กเมน" (Turkmen Turkic) หรือ "ภาษาตุรกีแบบเติร์กเมน" (Turkmen Turkish)[7][8][9][10] เป็นภาษาเตอร์กิกที่พูดโดยชาวเติร์กเมนในเอเชียกลาง ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศเติร์กเมนิสถาน, อิหร่าน และอัฟกานิสถาน โดยมีผู้พูดเป็นภาษาแม่ในประเทศเติร์กเมนิสถานประมาณ 5 ล้านคน และอีก 719,000 คนในอิหร่านตะวันออกเฉียงเหนือ[11] 1.5 ล้านคนในอัฟกานิสถานตะวันตกเฉียงเหนือ และ 155,000 คนในปากีสถาน[12][13] ภาษาเติร์กเมนมีสถานะเป็นภาษาทางการในประเทศเติร์กเมนิสถาน แต่ไม่มีสถานะทงการในบริเวณที่มีชุมชนเชื้อชาติเติร์กเมนขนาดใหญ่ในอิหร่าน, อัฟกานิสถาน หรือปากีสถาน ภาษาเติร์กเมนมีผู้พูดจำนวนน้อยในชุมชนเติร์กเมนในอุซเบกิสถานและทาจิกิสถาน และในชุมชนเติร์กเมนพลัดถิ่น โดยเฉพาะในตุรกีและรัสเซีย[14][15][16]

ภาษาเติร์กเมน
türkmençe, türkmen dili,
түркменче, түркмен дили,
تۆرکمن ديلی ,تۆرکمنچه
ประเทศที่มีการพูดเติร์กเมนิสถาน, รัสเซีย, อิหร่าน, อุซเบกิสถาน, ปากีสถาน, อัฟกานิสถาน, ทาจิกิสถาน[1][2]
ชาติพันธุ์ชาวเติร์กเมน
จำนวนผู้พูด11 million[3]  (2009–2015)[4]
ตระกูลภาษา
เตอร์กิก
ภาษาถิ่น
Trukhmen
ระบบการเขียนอักษรละติน (ชุดตัวอักษรเติร์กเมน), อักษรซีริลลิก, อักษรอาหรับ
อักษรเบรลล์เติร์กเมน
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการธงของประเทศเติร์กเมนิสถาน เติร์กเมนิสถาน
รหัสภาษา
ISO 639-1tk
ISO 639-2tuk
ISO 639-3tuk
Linguasphereส่วนหนึ่งของ 44-AAB-a
ผู้พูดภาษาเติร์กเมนในเอเชียกลาง
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

ภาษาเติร์กเมนเป็นสมาชิกของสาขาโอคุซของกลุ่มภาษาเตอร์กิก รูปแบบมาตรฐานของภาษาเติร์กเมน (ที่ใช้ในเติร์กเมนิสถาน) มีพื้นฐานจากสำเนียงเตเก ในขณะที่ชาวเติร์กเมนในอิหร่านส่วนใหญ่ใช้สำเนียงโยมุด และชาวเติร์กเมนในอัฟกานิสถานใช้สำเนียงเอร์ซารี[17] ภาษาเติร์กเมนมีความใกล้ชิดกับภาษาอาเซอร์ไบจาน, ตาตาร์ไครเมีย, กากาอุซ, ควาซไคว และตุรกี โดยมีความเข้าใจภาษาของกันและกันในระดับแตกต่างกันไป[18]

ภาษาเติร์กเมนเขียนโดยใช้อักษรซีริลลิกหรืออักษรอาหรับด้วย อย่างไรก็ดี ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ประธานาธิบดีซาปาร์มือรัต นือยาซอว์ ได้ประกาศให้เขียนภาษาเติร์กเมนโดยใช้อักษรโรมันที่ได้รับการดัดแปลง

การจำแนก ภาษาที่เกี่ยวข้อง และสำเนียง

ภาษาเติร์กเมนเป็นภาษาในกลุ่มภาษาเตอร์กิก อยู่ในกลุ่มย่อยเตอร์กิกตะวันออก กลุ่มโอคุซตะวันออก ซึ่งกลุ่มนี้ได้รวมภาษาเติร์กโคซารานีด้วย ภาษาเติร์กเมนมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับภาษาตาตาร์ไครเมียและภาษาซาลาร์และใกล้เคียงกับภาษาตุรกีและภาษาอาเซอร์ไบจาน

ภาษาเติร์กเมนเป็นภาษาที่มีการเปลี่ยนเสียงสระ เป็นภาษารูปคำติดต่อและไม่มีการแบ่งเพศทางไวยากรณ์และไม่มีกริยาอปกติ การเรียงลำดับคำในประโยคเป็นประธาน-กรรม-กริยา การเขียนของภาษาเติร์กเมนใช้ตามสำเนียงโยมุด และยังมีสำเนียงอื่น ๆ อีกมาก สำเนียงเตเกมักจะถูกอ้างว่าเป็นภาษาชะกะไตโดยเฉพาะในอัฟกานิสถาน แต่ภาษาเติร์กเมนทุกสำเนียงได้รับอิทธิพลจากภาษาชะกะไตไม่มากนัก

วรรณคดี

กวีที่มีชื่อเสียงของภาษาเติร์กเมนคือ Magtymguly Pyragy ซึ่งมีชีวิตในช่วงพุทธศตวรรษที่ 23 ภาษาของเขาเป็นการแสดงช่วงเปลี่ยนผ่านระหว่างภาษาชะกะไตและภาษาเติร์กเมนที่เป็นภาษาพูด

ระบบการเขียน

อย่างเป็นทางการ ภาษาเติร์กเมนในปัจจุบันเขียนด้วยอักษรใหม่หรืออักษรละติน อย่างไรก็ตาม อักษรยุคเก่าหรืออักษรซีริลลิกยังคงใช้อยู่ พรรคการเมืองหลายพรรคที่ต่อต้านนโยบายของประธานาธิบดีนิกาเยฟยังคงใช้อักษรซีริลลิกในเว็บไซต์และสื่อสิ่งพิมพ์

ก่อน พ.ศ. 2472 ภาษาเติร์กเมนเคยเขียนด้วยอักษรอาหรับดัดแปลง ใน พ.ศ. 2472 - 2481 เปลี่ยนมาใช้อักษรละติน แล้วจึงเปลี่ยนมาใช้อักษรซีริลลิกในช่วง พ.ศ. 2481 - 2534 แล้วจึงเปลี่ยนมาใช้อักษรละตินที่ใช้ในปัจจุบัน แต่การเปลี่ยนแปลงเป็นไปอย่างช้าๆ

ไวยากรณ์

การเปลี่ยนเสียงสระ

เช่นเดียวกับภาษากลุ่มเตอร์กิกอื่นๆ ภาษาเติร์กเมนมีการเปลี่ยนเสียงสระ โดยทั่วไป ถ้าเป็นคำดั้งเดิมในภาษาจะประกอบด้วยสระหน้าหรือสระหลังเท่านั้น คำอุปสรรคและปัจจัยจะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนเสียงสระนี้ โดยจะเปลี่ยนรูปไปตามคำที่เข้าประกอบ รูปกริยาแท้ของคำจะถูกจำแนกตามสระหย้าและสระหลัง คำที่มีที่มาจากภาษาอื่น ส่วนใหญ่เป็นภาษารัสเซีย ภาษาเปอร์เซียหรือภาษาอาหรับจะไม่มีการเปลี่ยนเสียงสระ

คำกริยา

คำกริยาแบ่งเป็นรูปเอกพจน์และพหูพจน์ แบ่งตามบุรุษเป็นบุรุษที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 มีการกของคำกริยา 11 การก มีคำกริยาสองชนิดในภาษาเติร์กเมนซึ่งแบ่งตามรูปของกริยาแท้ที่ลงท้ายด้วย -mak และ -mek โดย -mak จะตามรูปสระหลังส่วน -mek จะตามรูปสระหน้า

ปัจจัย

ปัจจัยเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของภาษาเติร์กเมน

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง