ภาษาอาเซอร์ไบจาน

ภาษาอาเซอรี หรือ ภาษาอาเซอร์ไบจาน เป็นภาษาราชการของประเทศอาเซอร์ไบจาน มีชื่อเรียกในภาษาของตนว่า Azərbaycan dili บางสำเนียงของภาษานี้ใช้พูดในอิหร่าน ซึ่งใช้เป็นภาษากลางระหว่างภาษาส่วนน้อยอื่น ๆ คือ ภาษาเคิร์ด ภาษาอาร์มีเนียและภาษาตาเลชิ มีผู้พูดภาษานี้ในสาธารณรัฐดาเกสถานในรัสเซีย จอร์เจียตะวันตกเฉียงใต้ อิหร่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกของตุรกี

ภาษาอาเซอร์ไบจาน
ภาษาอาเซอรี
Azərbaycan dili, آذربایجان دیلی, Азәрбајҹан дили[note 1]
ออกเสียง[ɑːzæɾbɑjˈdʒɑn diˈli]
ประเทศที่มีการพูด
ภูมิภาคอาเซอร์ไบจานอิหร่าน, ทรานส์คอเคเซีย
ชาติพันธุ์ชาวอาเซอร์ไบจาน
จำนวนผู้พูด30 ล้าน  (2018)[1]
ตระกูลภาษา
เตอร์กิก
รูปแบบมาตรฐาน
Shirvani (ในอาเซอร์ไบจาน)
Tabrizi (ในอาเซอร์ไบจานอิหร่าน)
ภาษาถิ่น
อัฟซาร์
Salchuq (สูญหาย)
Sonqori
อื่น ๆ
ระบบการเขียน
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการอาเซอร์ไบจาน
ดาเกสถาน (รัสเซีย)
Organization of Turkic States
ผู้วางระเบียบ
  • Azerbaijan National Academy of Sciences (อาเซอร์ไบจานเหนือ)
  • ไม่มี (อาเซอร์ไบจานใต้)
รหัสภาษา
ISO 639-1az
ISO 639-2aze
ISO 639-3aze – รหัสรวม
รหัสเอกเทศ:
azj – อาเซอร์ไบจานเหนือ
azb – อาเซอร์ไบจานใต้
slq – Salchuq
qxq – แกชฆอยี
Linguasphereส่วนหนึ่งของ 44-AAB-a
ผู้พูดภาษาอาเซอร์ไบจานในทรานส์คอเคเซียและอิหร่านตอนเหนือ
  บริเวณที่ภาษาอาเซอร์ไบจานเป็นภาษาชนส่วนมาก
  บริเวณที่ภาษาอาเซอร์ไบจานเป็นภาษาชนกลุ่มน้อย
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

เป็นภาษาในภาษากลุ่มอัลไต มีผู้พูดเป็นภาษาแม่ประมาณ 23 – 30 ล้านคน โดยมีราว 16- 23 ล้านคนในอิหร่านและ 7 ล้านคนในอาเซอร์ไบจาน และ 800,000 คน ในที่อื่น ๆ เป็นภาษากลุ่มเตอร์กิก ใกล้เคียงกับภาษาตุรกี ได้รับอิทธิพลจากภาษาเปอร์เซียและภาษาอาหรับ ผู้พูดภาษานี้พอจะเข้าใจกันได้กับผู้พูดภาษากลุ่มเตอร์กิก สาขาโอคุซอื่น ๆ เช่น ภาษาตุรกี ที่ใช้พูดในตุรกี ไซปรัสและแหลมบอลข่าน รวมทั้งภาษาเติร์กเมนด้วย

ระบบเสียง

เสียงพยัญชนะ

เสียงพยัญชนะในภาษาอาเซอร์ไบจานมาตรฐาน
ริมฝีปากฟัน(หลัง-)
ปุ่มเหงือก
เพดานแข็งเพดานอ่อนเส้นเสียง
นาสิกmn(ŋ)
หยุด/
กักเสียดแทรก
ไม่ก้องptt͡ʃc(k)
ก้องbdd͡ʒ(ɟ)ɡ
เสียดแทรกไม่ก้องfsʃxh
ก้องvzʒɣ
เปิดlj
สะบัดลิ้นɾ

เสียงสระ

เสียงสระในภาษาอาเซฮร์ไบจาน เรียงลำดับตามอักษรดังนี้:[4][5] a /ɑ/, e /e/, ə /æ/, ı /ɯ/, i /i/, o /o/, ö /ø/, u /u/, ü /y/

ตารางเสียงสระภาษาอาเซอร์ไบจานใต้ จาก Mokari & Werner (2016:509)
เสียงสระในภาษาอาเซอร์ไบจานมาตรฐาน
หน้าหลัง
ไม่ห่อห่อไม่ห่อห่อ
ปิดiyɯu
กลางeøo
เปิดæɑ

ตัวอักษร

ภาษาอาเซอร์ไบจานเหนือในอาเซอร์ไบจานจะใช้อักษรละตินเป็นอักษรทางการ และยังคงใช้อักษรซีริลลิกในการเขียนอยู่บ้าง ส่วนภาษาอาเซอร์ไบจานใต้ในอิหร่านจะใช้อักษรอาหรับเหมือนภาษาเปอร์เซีย

อักษรละตินเก่า
(ฉบับ ค.ศ. 1929–1938;
ไม่ใช่งานแล้ว;
แทนที่ด้วยฉบับ ค.ศ. 1991)
อักษรละตินทางการ
(อาเซอร์ไบจาน
ตั้งแต่ ค.ศ. 1991)
อักษรซีริลลิก
(ฉบับ ค.ศ. 1958,
เป็นทางการในดาเกสถาน)
อักษรเปอร์เซีย-อาหรับ
(อิหร่าน;
อาเซอร์ไบจานจนถึง ค.ศ. 1929)
สัทอักษรสากล
A aА аآ / ـا/ɑ/
B вB bБ бب/b/
Ç çC cҸ ҹج/dʒ/
C cÇ çЧ чچ/tʃ/
D dД дد/d/
E eЕ еئ/e/
Ə əӘ әا / َ / ە/æ/
F fФ фف/f/
G gҜ ҝگ/ɟ/
Ƣ ƣĞ ğҒ ғغ/ɣ/
H hҺ һح / ه/h/
X xХ хخ/x/
Ь ьI ıЫ ыؽ/ɯ/
I iİ iИ иی/i/
Ƶ ƶJ jЖ жژ/ʒ/
K kК кک/k/, /c/
Q qГ гق/ɡ/
L lЛ лل/l/
M mМ мم/m/
N nН нن/n/
Ꞑ ꞑ[6]--ݣ / نگ/ŋ/
O oО оوْ/o/
Ө өÖ öӨ өؤ/ø/
P pП пپ/p/
R rР рر/r/
S sС сث / س / ص/s/
Ş şШ шش/ʃ/
T tТ тت / ط/t/
U uУ уۇ/u/
Y yÜ üҮ үۆ/y/
V vВ вو/v/
J jY yЈ јی/j/
Z zЗ зذ / ز / ض / ظ/z/
-ʼع/ʔ/

ในอดีตภาษาอาเซอร์ไบจานจะใช้อักษรอาหรับเพียงอย่างเดียวเท่านั้น จนเมื่อปี ค.ศ. 1929 จึงได้เริ่มใช้อักษรละตินในการบันทึกภาษาอาเซอร์ไบจานเหนือ(ซึ่งแตกต่างกับรูปแบบที่ใช้ในปัจจุบัน) และเปลี่ยนมาใช้อักษรซีริลลิกระหว่างปี ค.ศ. 1938 - 1991 และได้กลับมาใช้อักษรละตินอีกครั้งจนถึงปัจจุบัน ส่วนภาษาอาเซอร์ไบจานใต้นั้นยังคงใช้อักษรอาหรับในการบันทึกมาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน

หมายเหตุ

อ้างอิง

บรรณานุกรม

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง