มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม[1] หรือ มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (อังกฤษ: intangible cultural heritage, ย่อ: ICH) ได้รับการสนับสนุนจากยูเนสโก โดยมุ่งเน้นไปยังวัฒนธรรมส่วนที่ในทางกายภาพนั้นจับต้องไม่ได้

สัญลักษณ์ของอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้

ใน พ.ศ. 2544 ยูเนสโกได้ทำการสำรวจ[2] เพื่อพยายามให้นิยามและจัดทำอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (Convention for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage) จนแล้วเสร็จใน พ.ศ. 2546[3] เพื่อการคุ้มครองและสนับสนุนวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้

ปัจจุบัน (ธันวาคม 2564) ยูเนสโกขึ้นทะเบียนมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้แล้วทั้งสิ้น 629 รายการ ใน 139 ประเทศทั่วโลก[4]

นิยาม

หน้ากากโน; ญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกที่ออกกฎหมายมาคุ้มครองและส่งเสริมมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้[5]

ตามอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ พ.ศ. 2546 คำว่า "มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Cultural Heritage)" นิยาม ดังนี้[6]

“มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้” หมายถึง การปฏิบัติ การเป็นตัวแทน การแสดงออก ความรู้ ทักษะ ตลอดจนเครื่องมือ วัตถุ สิ่งประดิษฐ์ และพื้นที่ทางวัฒนธรรมอันเป็นผลจากสิ่งเหล่านั้น ซึ่งชุมชน กลุ่มชน และในบางกรณีปัจเจกบุคคลยอมรับว่าเป็นส่วนหนึ่งของมรดกทางวัฒนธรรมของตน มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้นี้ซึ่งถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนอีกรุ่นหนึ่งเป็นสิ่งซึ่งชุมชนและกลุ่มชนสร้างขึ้นใหม่อย่างสม่ำเสมอเพื่อตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมของตน เป็นปฏิสัมพันธ์ของพวกเขาที่มีต่อธรรมชาติและประวัติศาสตร์ของตน และทำให้คนเหล่านั้นเกิดความรู้สึกมีอัตลักษณ์และความต่อเนื่อง ดังนั้นจึงก่อให้เกิดความเคารพต่อความหลากหลายทางวัฒนธรรมและการคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ เพื่อให้เป็นไปตามจุดประสงค์ของอนุสัญญาฉบับนี้ จะมีการพิจารณาเฉพาะมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้เท่าที่สอดคล้องกับบทบัญญัติที่มีอยู่ด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศเท่านั้น รวมทั้งข้อกำหนดให้มีการเคารพซึ่งกันและกันระหว่างชุมชนทั้งหลาย กลุ่มชน และปัจเจกบุคคล และต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

ประวัติศาสตร์มุขปาฐะ

มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้แตกต่างจากประวัติศาสตร์มุขปาฐะเล็กน้อย (ประวัติศาสตร์มุขปาฐะเป็นการบันทึก สงวนไว้ และตีความซึ่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์โดยอยู่บนประสบการณ์ส่วนบุคคลและความคิดเห็นของผู้เล่า) มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้มุ่งไปที่การสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรม 'ไว้กับ' ผู้คนหรือชุมชนโดยปกป้องกระบวนการที่ทำให้ประเพณีและความรู้ที่สืบทอดกันมาสามารถส่งทอดต่อไปได้ ในขณะที่ประวัติศาสตร์มุขปาฐะมุ่งไปที่การเก็บและรักษาข้อมูลทางประวัติศาสตร์จากปัจเจกชนหรือกลุ่มบุคคล

ในประเทศไทย

นิยามศัพท์ของคำว่า "Intangible Cultural Heritage" ในบริบทของประเทศไทยมีผู้นิยามไว้หลากหลาย เช่น มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ มรดกทางวัฒนธรรมที่ไม่ใช่กายภาพ และมรดกวัฒนธรรมทางจิตใจ เป็นต้น

ความสับสนของการนิยามความหมายของ "Intangible Cultural Heritage" ในประเทศไทยดังกล่าว ก่อให้เกิดการถกเถียงเป็นวงกว้าง กระทรวงวัฒนธรรมในฐานะผู้รับผิดชอบจึงได้หาบทสรุปโดยการเปิดเวทีรับความคิดเห็น และมีมติให้ใช้คำว่า "มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม" แทนคำว่า "มรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้" ตามที่บัญญัติไว้ใน พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พ.ศ. 2559 อย่างไรก็ตาม การนิยามความหมายของคำว่า "มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม" ในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาฯ ที่ทางการไทยจัดทำ และคำว่า "Intangible Cultural Heritage" ใน อนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ พ.ศ. 2546 ที่ยูเนสโกจัดทำ มีความแตกต่างกันบางประการ[7][8]

การสงวนรักษา

ก่อนที่จะมีอนุสัญญาของยูเนสโก ได้มีความพยายามของประเทศต่าง ๆ ในการสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรมให้คงอยู่ต่อไป[9] ญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกในโลกที่ออกกฎหมายในการคุ้มครองสมบัติทางวัฒนธรรมเมื่อ พ.ศ. 2493 ซึ่งคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมทั้งประเภทที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้[5][10] ประเทศอื่น ๆ อาทิ เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ สหรัฐอเมริกา ไทย ฝรั่งเศส โรมาเนีย สาธารณรัฐเช็ก และโปแลนด์ต่างก็มีโครงการคล้ายกันในเวลาต่อมา[10]

อนุสัญญาที่ยูเนสโกประกาศใช้เมื่อ พ.ศ. 2546 (มีผลเมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2549) กำหนดให้ประเทศภาคีจัดทำรายชื่อมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ และดำเนินการเพื่อให้มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ สามารถดำรงสืบทอดอยู่ต่อไปได้ นอกจากนี้ยังเปิดช่องให้ระดมเงินบริจาคระหว่างประเทศสมาชิกยูเนสโกมาใช้เพื่อการทำนุบำรุงมรดกที่ขึ้นทะเบียนแล้วอีกด้วย[10] ยูเนสโกยังมีโครงการอื่นเกี่ยวกับวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ เช่น โครงการขึ้นทะเบียน "Proclamation of Masterpieces of the Oral and Intangible Heritage of Humanity" ซึ่งเริ่มต้นด้วย 19 รายการเมื่อ พ.ศ. 2544 เพิ่มเติมเป็น 28 รายการเมื่อ พ.ศ. 2546 และเป็น 43 รายการใน พ.ศ. 2548 เหล่านี้ดูเหมือนว่าจะเป็นการแก้ไขความไม่สมดุลในโครงการขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลก (World Heritage Sites) ที่ซีกโลกใต้เองมักจะเสียเปรียบเพราะมีอนุสาวรีย์หรือสิ่งก่อสร้างที่สำคัญจำนวนไม่มากเท่าซีกโลกเหนือ [10] และท้ายที่สุดโครงการนี้ได้รับการทดแทนโดยการจัด "มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม" หรือ "มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้" โดยองค์การยูเนสโก (UNESCO Intangible Cultural Heritage Lists) ใน พ.ศ. 2551

ประเภทการสงวนรักษา

การขึ้นทะเบียนตามอนุสัญญามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ มี 3 รายการ ได้แก่

  1. รายการตัวแทนมรดกทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ (Representative List of the Intangible Cultural Heritage of Humanity : RL)
  2. รายการที่ต้องได้รับการสงวนรักษาอย่างเร่งด่วน (Intangible Cultural Heritage in Need of Urgent Safeguarding : USL)
  3. รายการที่เป็นแบบอย่างที่ดีในการสงวนรักษา (Register of Good Safeguarding Practices : GSP)

สถิติ

อันดับประเทศที่มีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมมากที่สุด

อันดับประเทศจำนวนรายการที่ขึ้นทะเบียน[11]
1  จีน43[12]
2  ตุรกี30[13]
3  ฝรั่งเศส28[14]
4  สเปน25[15]
5  อิหร่าน24[16]
6  อาเซอร์ไบจาน23[17]
7  โครเอเชีย,  ญี่ปุ่น,  เกาหลีใต้22[18] [19][20]
8  อิตาลี19[21]
9  เบลเยียม18[22]
10  อินเดีย,  คีร์กีซสถาน,  มองโกเลีย,  เวียดนาม,  สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์,  อุซเบกิสถาน15[23][24][25][26][27][28]
11  โคลอมเบีย,  โมร็อกโก,  โอมาน,  เปรู14[29][30][31][32]
12  อินโดนีเซีย,  คาซัคสถาน,  ซาอุดีอาระเบีย13[33][34][35]
13  เม็กซิโก12[36]
14  แอลจีเรีย,  ออสเตรีย11[37][38]
15  เช็กเกีย,  เยอรมนี,  กรีซ,  โปรตุเกส,  โรมาเนีย,  สวิตเซอร์แลนด์10[39][40][41][42][43][44]
16  โบลิเวีย,  บราซิล,  ฮังการี,  มาลี,  สโลวาเกีย,  เวเนซุเอลา9[45][46][47][48][49][50]
17  อาร์มีเนีย,  บัลแกเรีย,  อียิปต์8[51][52][53]
18  ไซปรัส,  มาเลเซีย,  ไนจีเรีย,  สโลวีเนีย,  ตูนิเซีย7[54][55][56][57][58]
19  กัมพูชา,  คิวบา,  มาลาวี,  มอริเตเนีย,  ปาเลสไตน์,  ฟิลิปปินส์,  โปแลนด์,  ซีเรีย,  ยูกันดา6[59][60][61][62][63][64][65][66][67]
20  บังกลาเทศ,  เบลารุส,  เอสโตเนีย,  เคนยา,  ลักเซมเบิร์ก,  เนเธอร์แลนด์,  ยูเครน,  แซมเบีย5[68][69][70][71][72][73][74][75]
21  สาธารณรัฐโดมินิกัน,  เอกวาดอร์,  ฟินแลนด์,  กัวเตมาลา,  ไอร์แลนด์,  โกตดิวัวร์,  คูเวต,  ลิทัวเนีย,  มอริเชียส,  มอลโดวา,  เกาหลีเหนือ,  กาตาร์,  ไทย,  เยเมน4[76][77][78][79][80][81][82][83][84][85][86][87][88][89]
22  อันดอร์รา,  บาห์เรน,  บอตสวานา,  ลัตเวีย,  มาดากัสการ์,  โมซัมบิก,  ปากีสถาน,  สวีเดน3[90][91][92][93][94][95][96][97]

อันดับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมมากที่สุด

ข้อมูล ณ วันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2566[98]

ประเทศจำนวน
 เวียดนาม15
 อินโดนีเซีย13
 มาเลเซีย7
 กัมพูชา6
 ฟิลิปปินส์6
 ไทย4
 ลาว2
 สิงคโปร์1
 ติมอร์-เลสเต1

ประเทศไทย

ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีในอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ค.ศ. 2003 เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2559 (ค.ศ. 2016) โดย ปัจจุบันองค์การยูเนสโกมีการขึ้นทะเบียนจากองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ทั้งสิ้น 4 รายการ


ดูเพิ่ม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง