มาเลเซียแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 370

มาเลเซียแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 370 (อังกฤษ: Malaysia Airlines Flight 370; MH370 หรือ MAS370) เป็นเที่ยวบินโดยสารระหว่างประเทศที่สูญหายเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2557 ระหว่างบินจากท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ไปท่าอากาศยานนานาชาติปักกิ่ง ประเทศจีน เที่ยวบินดังกล่าวติดต่อด้วยเสียงครั้งสุดท้ายกับศูนย์ควบคุมจราจรทางอากาศเมื่อเวลา 01:19 MYT ของวันที่ 8 มีนาคม (17:19 UTC ของวันที่ 7 มีนาคม) ขณะบินเหนือทะเลจีนใต้ไม่ถึงชั่วโมงหลังนำเครื่องขึ้น อากาศยานหายจากจอเรดาร์ของผู้ควบคุมจราจรทางอากาศเมื่อเวลา 01:22 MYT เรดาร์ทหารของมาเลเซียยังติดตามอากาศยานขณะที่เครื่องเบี่ยงจากเส้นทางการบินตามแผนและข้ามคาบสมุทรมลายู เครื่องพ้นรัศมีของเรดาร์ทหารมาเลเซียเมื่อเวลา 02:22 ขณะบินเหนือทะเลอันดามัน ห่างจากปีนังทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศมาเลเซียไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ 200 ไมล์ทะเล (370 กิโลเมตร) อากาศยานดังกล่าว ซึ่งเป็นโบอิง 777-200 อีอาร์ บรรทุกสมาชิกลูกเรือชาวมาเลเซีย 12 คน และผู้โดยสาร 227 คนจาก 15 ชาติ

มาเลเซียแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 370
9M-MRO ลำเดียวกับที่เกิดเหตุ ที่ท่าอากาศยานชาร์ล เดอ โกล ในปี 2554
สรุปอุบัติการณ์
วันที่8 มีนาคม 2557
สรุปสูญหาย
จุดเกิดเหตุตอนใต้ของมหาสมุทรอินเดีย (สันนิษฐาน)
ประเภทอากาศยานโบอิง 777-2H6อีอาร์
ดําเนินการโดยมาเลเซียแอร์ไลน์
ทะเบียน9M-MRO
ต้นทางท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์
ปลายทางท่าอากาศยานนานาชาติปักกิ่ง
ผู้โดยสาร227
ลูกเรือ12
รอดชีวิต0

เริ่มความพยายามค้นหานานาชาติในอ่าวไทยและทะเลจีนใต้ ที่ซึ่งมองเห็นสัญญาณของเที่ยวบินครั้งสุดท้ายบนเรดาร์สอดส่องดูแลทุติยภูมิ และไม่นานก็ขยายไปช่องแคบมะละกาและทะเลอันดามัน การวิเคราะห์การสื่อสารดาวเทียมระหว่างอากาศยานและเครือข่ายคมนาคมดาวเทียมอินมาร์แซทได้ข้อสรุปว่าเที่ยวบินดำเนินไปจนอย่างน้อย 08:19 และบินลงใต้เข้าสู่มหาสมุทรอินเดียใต้ แม้ยังไม่สามารถกำหนดตำแหน่งแม่นยำได้ ออสเตรเลียรับผิดชอบความพยายามค้นหาเมื่อวันที่ 17 มีนาคม เมื่อการค้นหาย้ายไปมหาสมุทรอินเดียใต้ วันที่ 24 มีนาคม รัฐบาลมาเลเซียสังเกตว่าตแหน่งสุดท้ายที่กำหนดจากการสื่อสารดาวเทียมอยู่ไกลกว่าที่ลงจอดใด ๆ ที่เป็นไปได้ และสรุปว่า "เที่ยวบิน MH370 สิ้นสุดในมหาสมุทรอินเดียใต้" การค้นหาระยะปัจจุบัน ซึ่งเป็นการค้นหาที่ใหญ่และแพงที่สุดในประวัติศาสตร์การบิน คือ การสำรวจพื้นสมุทรอย่างครอบคลุมประมาณ 1,800 กิโลเมตร (970 ไมล์ทะเล) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเพิร์ธ เวสเทิร์นออสเตรเลีย ซึ่งเริ่มเมื่อเดือนตุลาคม 2557 ไม่พบอากาศยานจนวันที่ 29 กรกฎาคม 2558 เมื่อมีชิ้นส่วนกองเศษทะเลถูกพัดขึ้นฝั่งเกาะเรอูนียง ซึ่งต่อมามีการยืนยันว่าเป็นแฟลปเพอรอน (flaperon) จากเที่ยวบินที่ 370 ยังไม่สามารถระบุตำแหน่งลำตัวเครื่องได้ ทำให้เกิดทฤษฎีจำนวนมากเกี่ยวกับการสาบสูญ

ลำดับเหตุการณ์

ชั่วโมงบิน (ชั่วโมง:นาที)เวลาเหตุการณ์
เวลามาตรฐานมาเลเซียเวลาสากลเชิงพิกัด
00:008 มีนาคม7 มีนาคมบินขึ้นจาก กัวลาลัมเปอร์
00:4116:41
00:2001:0117:01ข้อมูลการบินที่ความสูง 35,000 ฟุต (11,000 เมตร)[1]
00:2601:0717:07ได้รับข้อมูลจาก ระบบสื่อสารและรายงานสภาวะอากาศยาน (ACARS) ของเครื่องบินฯ เป็นครั้งสุดท้าย [2] ข้อมูลการบินที่ความสูง 35,000 ฟุตเป็นครั้งที่สอง[1]
00:3801:1917:19มีการติดต่อทางเสียง (ATC) จากห้องนักบินเป็นครั้งสุดท้าย[3]
00:4001:2117:21เรดาร์ทุติยภูมิ ตรวจจับตำแหน่งได้ที่พิกัด 6°55′15″N 103°34′43″E / 6.92083°N 103.57861°E / 6.92083; 103.57861 (Last secondary radar (transponder) contact, 8 March)[4]

[5] บริเวณปากอ่าวไทย

00:4101:2217:22เรดาร์และระบบตรวจตราทางอากาศ (ADS-B) ไม่สามารถตรวจพบ MH370 ได้อีกต่อไป
00:4901:3017:30มีความพยายามจากเครื่องบินลำอื่นในการติดต่อ MH370 ผ่านทางเสียง โดยได้รับเสียงอู้อี้ตอบกลับมา[6]
00:5601:3717:37ไม่ได้รับข้อมูล ACARS เป็นเวลา 30 นาที[2]
01:4102:2218:22เรดาร์ปฐมภูมิของกองทัพมาเลเซีย ตรวจจับเครื่องบินได้ที่ 6°49′38″N 97°43′15″E / 6.82722°N 97.72083°E / 6.82722; 97.72083 (Last primary radar contact, 8 March) ราว 320 กิโลเมตรทางตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะปีนัง
01:4402:2518:25ระบบอัตโนมัติของ MH370 สามารถติดต่อดาวเทียม Inmarsat-3 F1 และจะเริ่มการส่งสัญญาณปิงรายชั่วโมง [7] [8][9]
ได้รับสัญญาณปิงเป็นครั้งแรก
05:4906:3022:30ได้เวลาลงจอดที่ปักกิ่ง
06:4307:2423:24ทางการมาเลเซีย แถลงเหตุเครื่องบินสูญหายแก่สื่อมวลชน[10]
07:3008:118 มีนาคมดาวเทียม Inmarsat-3 F1 ได้รับสัญญาณปิง จาก MH370 เป็นครั้งที่หกและครั้งสุดท้าย ขณะดาวเทียมโคจรอยู่เหนือมหาสมุทรอินเดีย[8][11]
00:11
07:3808:1900:19พบสัญญาณปิงอ่อน ๆ จาก MH370 ที่ระบุเวลาและรายละเอียดที่แน่นอนไม่ได้ [12][13]
08:3409:1501:15ดาวเทียม Inmarsat-3 F1 ไม่ได้รับสัญญาณปิงจาก MH370 ที่ควรจะส่งมาเป็นครั้งที่เจ็ดตามกำหนดการ[8]

การสอบสวน

สัญชาติของผู้โดยสารบนเที่ยวบิน MH370
สัญชาติผดส.ลูกเรือรวม
 ออสเตรเลีย66
 แคนาดา22
 จีน152152
 ฝรั่งเศส[14]44
 ฮ่องกง[15]11
 อินเดีย55
 อินโดนีเซีย77
 อิหร่าน22
 มาเลเซีย381250
 เนเธอร์แลนด์11
 นิวซีแลนด์22
 รัสเซีย11
 ไต้หวัน11
 ยูเครน22
 สหรัฐ[16]33
ทั้งหมด (15 สัญชาติ)22712239

ทางการสหรัฐกำลังสอบสวนความเป็นไปได้ที่ว่าการก่อการร้ายเป็นเหตุให้เครื่องสูญหาย โดยมุ่งไปยังผู้โดยสารสี่คนที่ใช้รูปพรรณปลอม[17][18] ซึ่งสองในสี่คนนั้น เป็นชายชาวอิหร่าน ซึ่งต้องการจะต่อเครื่องจากปักกิ่งต่อไปยังยุโรป

12 มีนาคม เรดาร์ปฐมภูมิ ของระบบป้องกันภัยทางอากาศของมาเลเซียจับได้ว่า เที่ยวบิน MH370 อาจมีการเปลี่ยนเส้นทางบินกลับมายังฝั่งตะวันตกของประเทศ โดยตำแหน่งสุดท้ายที่กองทัพอากาศมาเลเซียตรวจจับเครื่องบินไม่ทราบสัญชาติได้คือราว 200 ไมล์ทะเลทีความสูง 29,000 ฟุต ห่างจากรัฐปีนังไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นพื้นที่คาบเกี่ยวกับพื้นที่ของมาเลเซีย ไทย อินโดนีเซีย และอินเดีย โดยสัญญาณได้หายไปในเวลา 02.15 น. (UTC+8)[19]

13 มีนาคม เดอะวอลล์สตรีทเจอร์นัล ของสหรัฐอเมริกา อ้างว่าฝ่ายความมั่นคงของสหรัฐอเมริกา ตรวจสอบพบว่า มีการส่งข้อมูลอัตโนมัติ ที่จะส่งมาทุก ๆ 30 นาทีจากเครื่องยนต์โรลส์-รอยซ์ของอากาศยาน มายังภาคพื้นดิน โดยมีการส่งข้อมูลมาทั้งหมดติดต่อกัน 5 ชั่วโมง หรือเท่ากับว่าเครื่องบินได้บินต่อไปภายหลังสูญหายราว 4 ชั่วโมง หรือ 4,000 กิโลเมตรจากจุดที่สูญหาย อย่างไรก็ตาม ฝ่ายมาเลเซียไม่ได้ตอบรับกับข่าวนี้[20]

15 มีนาคม นาจิบ ราซะก์ นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ได้ออกแถลงการณ์ถึงความคืบหน้าของการสอบสวนว่า "...การสื่อสารครั้งสุดท้ายระหว่างเครื่องบินและดาวเทียมระบุถึงความเป็นไปได้ของจุดหมายปลายทางสองที่ หนึ่งคือการไปทางเหนือตั้งแต่ชายแดนของคาซัคสถานและเติร์กเมนิสถานจนถึงภาคเหนือของไทย หรือไปทางใต้จากอินโดนิเซียถึงตอนใต้ของมหาสมุทรอินเดีย และขณะนี้ หน่วยสืบสวนกำลังทำงานเพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติมอยู่"..."[21]

ตลอดเวลาของห้วงเวลาที่สับสนนี้ รัฐบาลมาเลเซียค่อนข้างสงวนท่าทีและรอบคอบ มักจะเลี่ยงการตอบคำถามและข่าวลือต่าง ๆ ที่ออกมาอย่างรวดเร็ว การเปิดเผยข้อมูลหลายข้อมูลของรัฐบาลนั้น มักจะช้ากว่าวันที่รัฐบาลมาเลเซียได้รับข้อมูลอยู่หลายวัน ซึ่งทำให้ญาติของผู้โดยสารบนเที่ยวบินต่างไม่พอใจต่อท่าทีของรัฐบาลมาเลเซีย ตลอดจนกล่าวหาว่ารัฐบาลมาเลเซียกำลังซ่อนข้อมูลบางอย่างไว้[22]

เที่ยวบินนี้มีลูกเรือทั้งหมดเป็นชาวมาเลเซีย โดยมีกัปตันคือ ซาฮารีย์ อาหมัด ชาฮ์ ชาวปีนัง อายุ 53 ปี เขาเข้าทำงานที่สายการบินนี้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 ด้วยประสบการณ์บินทั้งหมด 18,365 ชั่วโมงบิน มีผู้ช่วยนักบินคนที่หนึ่ง คือ ฟาริค อับดุล ฮามิด อายุ 27 ปี 2,763 ชั่วโมงบิน

29 กรกฎาคม 2558 มีการพบชิ้นส่วนเครื่องบินลอยมาติดชายหาดบนเกาะเรอูนียง ทางมหาสมุทรอินเดียตะวันตก[23] ต่อมาวันที่ 5 สิงหาคม นาจิบ ราซะก์ นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ได้แถลงการณ์ยืนยันว่าชิ้นส่วนปีกเครื่องบินที่พบที่เกาะเรอูนียงเป็นของเที่ยวบินที่ 370 จริง[24][25] อย่างไรก็ตาม หนึ่งชั่วโมงหลังนายกรัฐมนตรีมาเลเซียแถลง รองอัยการกรุงปารีส ได้ออกแถลงการณ์ว่าคณะผู้เชี่ยวชาญไม่มีการยืนยันใด ๆ ว่าชิ้นส่วนดังกล่าวมาจาก MH370

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง