ยอซีป บรอซ ตีโต

รัฐบุรุษยูโกสลาเวีย

ยอซีป บรอซ (Serbo-Croatian Cyrillic: Јосип Броз, ออกเสียง: [jǒsip brôːz]; 7 พฤษภาคม 1892 – 4 พฤษภาคม 1980)[nb 1][8] มักเป็นที่รู้จักกันว่า ตีโต (/ˈtt/;[9] Serbo-Croatian Cyrillic: Тито, ออกเสียง: [tîto]) เป็นนักปฏิวัติลัทธิคอมมิวนิสต์และรัฐบุรุษชาวยูโกสลาฟ ทำหน้าที่ในบทบาทต่าง ๆ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1943 จนถึงแก่อสัญกรรมในปี ค.ศ. 1980[10] ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เขาเป็นผู้นำพลพรรค มักจะถือว่าเป็นขบวนการต่อต้านที่มีประสิทธิภาพมากในทวีปยูโรปที่ถูกยึดครอง[11] เขายังทำหน้าที่เป็นประธานาธิบดีแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย ตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม ปี ค.ศ. 1953 ถึง วันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 1980 ในขณะที่การดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของเขาจะถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นเผด็จการ[12][13] และความกังวลเกี่ยวกับการปราบปรามฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองได้ถูกหยิบยกขึ้น ตีโตได้รับความเห็นเป็นส่วนใหญ่ว่าเป็นเผด็จการผู้มีความเมตตา (Benevolent Dictator)[14]

จอมพล
ยอซีป บรอซ ตีโต
ประธานาธิบดียูโกสลาเวีย คนที่ 1
ดำรงตำแหน่ง
14 มกราคม 1953 – 4 พฤษภาคม 1980
นายกรัฐมนตรีเขาเอง (1953–63)
Petar Stambolić (1963–67)
Mika Špiljak (1967–69)
Mitja Ribičič (1969–71)
Džemal Bijedić (1971–77)
Veselin Đuranović (1977–80)
ก่อนหน้าIvan Ribar
(as ประธานสภาสมัชชาสหพันธ์แห่งสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสสลาเวีย)
ถัดไปLazar Koliševski
as ประธานสภาประธานาธิบดีแห่งยูโกสลาเวีย คนที่ 1)
นายกรัฐมนตรียูโกสลาเวีย
ดำรงตำแหน่ง
2 พฤศจิกายน 1944 – 29 มิถุนายน 1963
กษัตริย์สมเด็จพระเจ้าปีเตอร์ที่ 2 (1943–45)
ประธานาธิบดีIvan Ribar (1945–53)
เขาเอง (1953–63)
ก่อนหน้าIvan Šubašić
ถัดไปPetar Stambolić
ขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด เลขาธิการคนที่ 1
ดำรงตำแหน่ง
1 กันยายน 1961 – 5 ตุลาคม 1964
ก่อนหน้าPosition created
ถัดไปญะมาล อับดุนนาศิร
เลขาธิการสภากลาโหม คนที่ 1
ดำรงตำแหน่ง
7 มีนาคม 1945 – 14 มกราคม 1953
นายกรัฐมนตรีเขาเอง
ก่อนหน้าPosition created
ถัดไปIvan Gošnjak
เลขาธิการสันนิบาตคอมมิวนิสต์แห่งยูโกสลาเวีย คนที่ 4
ดำรงตำแหน่ง
มีนาคม 1939 – 4 พฤษภาคม 1980
ก่อนหน้าMilan Gorkić
ถัดไปBranko Mikulić
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด07 พฤษภาคม ค.ศ. 1892(1892-05-07)[nb 1]
Kumrovec, โครเอเชีย-สโลวีเนีย, จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี
(ปัจจุบัน โครเอเชีย)
เสียชีวิต4 พฤษภาคม ค.ศ. 1980(1980-05-04) (87 ปี)
ลูบลิยานา, สาธารณรัฐสังคมนิยมสโลวีเนีย, สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย
ที่ไว้ศพเบลเกรด, เซอร์เบีย, House of Flowers
44°47′12″N 20°27′06″E / 44.78667°N 20.45167°E / 44.78667; 20.45167
เชื้อชาติเซิร์บ[1]
ศาสนาไม่มี(Atheist)[5][6]
(เคยนับถือ โรมันคาทอลิก)[7]
พรรคการเมืองสันนิบาตคอมมิวนิสต์แห่งยูโกสลาเวีย (SKJ)
คู่อาศัยDavorjanka Paunović
คู่สมรสเพลาจิเกีย บรอซ (1919–1939), div.
เฮอร์ตา ฮาส (1940–1943)
โจแวนก้า บรอซ (1952–1980)
บุตรZlatica Broz
Hinko Broz
Žarko Leon Broz
Aleksandar Broz
อาชีพจอมพล, นักปฎิวัติ,ผู้บัญชาการ
รางวัลอิสริยาภรณ์นานาชาติ 98 รายการ และยูโกสลาเวีย 21 รายการ รวมทั้ง
เครื่องอิสริยาภรณ์มหาดาราแห่งยูโกสลาเวีย
เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์บาธ
เครื่องอิสริยาภรณ์เลนิน
เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณแห่งสาธารณรัฐอิตาลี
(รายการย่อ, ดูรายการทั้งหมดในบทความ)
Ethnicityชาวโครแอต[2][3][4]
ลายมือชื่อ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี
สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย
สังกัดกองทัพประชาชนยูโกสลาเวีย
All (ผู้บัญชาการทหารสูงสุด)
ประจำการ1913–1919
1941–1980
ยศจอมพล
บังคับบัญชาขบวนการปาร์ติซานชาวเซิร์บ
กองทัพประชาชนยูโกสลาเวีย
ผ่านศึกสงครามโลกครั้งที่ 1
สงครามกลางเมืองรัสเซีย
สงครามกลางเมืองสเปน
สงครามโลกครั้งที่ 2

เขาได้เป็นบุคคลสาธารณรัฐที่ได้รับความนิยมทั้งในยูโกสลาเวียและต่างประเทศ[15] มุมมองที่เป็นสัญลักษณ์รวมกัน,[16] นโยบายภายในประเทศของเขาดำรงไว้ซึ่งการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขของชาติต่าง ๆ ในสหพันธ์ยูโกสลาเวีย เขาได้รับความสนใจจากนานาชาติมากขึ้นในฐานะผู้นำขบวนการไม่ฝักฝ่ายใด เคียงข้างกับ ชวาหะร์ลาล เนห์รูแห่งอินเดีย ญะมาล อับดุนนาศิรแห่งอียิปต์ และกวาเม อึนกรูมาแห่งกานา[17]

บรอซเกิดจากบิดาที่เป็นชาวโครแอตและมารดาที่เป็นชาวสโลวีนในหมู่บ้าน Kumrovec, ออสเตรีย-ฮังการี (ปัจจุบันในโครเอเชีย) ถูกเกณฑ์เป็นทหารในกองทัพ เขามีความโดดเด่นในตัวเขาเอง กลายเป็นจ่าสิบเอกที่มีอายุน้อยที่สุดในกองทัพบกออสเตรีย-ฮังการีในช่วงสมัยนั้น ภายหลังจากได้รับบาดเจ็บสาหัสและถูกจับกุมโดยทหารจักรวรรดิรัสเซียในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เขาถูกส่งไปยังค่ายแรงงานในเทือกเขายูรัล เขาได้มีส่วนร่วมในบางเหตุการณ์ของการปฏิวัติรัสเซีย ในปี ค.ศ. 1917 และสงครามกลางเมืองที่ตามมา

เมื่อเขาเดินทางกลับสู่คาบสมุทรบอลข่านในปี ค.ศ. 1918 บรอซได้เข้าสู่ราชอาณาจักรยูโกสลาเวียที่เพิ่งก่อตั้งขึ้น ที่เขาได้เข้าร่วมพรรคคอมมิวนิสต์แห่งยูโกสลาเวีย (KPJ) ต่อมาเขาได้รับเลือกเป็นเลขาธิการพรรค (ต่อมาได้เป็นประธานรัฐสภา) ของสันนิบาตคอมมิวนิสต์แห่งยูโกสลาเวีย (ค.ศ. 1939–1980) ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ภายหลังจากนาซีได้ส่งกองทัพเข้ารุกรานประเทศ เขาได้เป็นผู้นำขบวนการกองโจรชาวยูโกสลาฟ พลพรรค (ค.ศ. 1941–1945)[18]

ภายหลังสงคราม เขาได้รับเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี (ค.ศ. 1944–1963) และประธานาธิบดี(ต่อมาเป็นประธานาธิบดีตลอดชีพ) (ค.ศ. 1953–1980) แห่งสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย(SFRY) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1943 จนถึงแก่อสัญกรรมในปี ค.ศ. 1980 ตีโตได้รับยศตำแหน่งเป็นจอมพลแห่งยูโกสลาเวีย ทำหน้าที่เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดในกองทัพยูโกสลาเวีย กองทัพประชาชนยูโกสลาเวีย (JNA) ด้วยชื่อเสียงที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในกลุ่มประเทศสองฝ่ายในช่วงสงครามเย็น เขาได้รับเครื่องอิสรยาภรณ์จากต่างประเทศ 98 ชิ้น รวมทั้งเครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ และเครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งบาธ

ตีโตเป็นหัวหน้าผู้ก่อตั้งประเทศยูโกสลาเวียที่สอง สหพันธ์สังคมนิยม ที่ดำเนินมาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1943 จนถึง เดือนเมษายน ค.ศ. 1992 แม้ว่าจะเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งโคมินฟอร์ม เขากลายเป็นสมาชิกโคมินฟอร์มคนแรกที่ท้าทายอำนาจโซเวียตในปี ค.ศ. 1948 เขาเป็นผู้นำเพียงคนเดียวที่ถอนตัวออกจากโคมินฟอร์มในช่วงสมัยโจเซฟ สตาลิน และเริ่มต้นด้วยโครงการสังคมนิยมในประเทศของเขา ซึ่งมีองค์ประกอบของตลาดสังคมนิยม นักเศรษฐศาสตร์ที่ทำงานอยู่ในอดีตยูโกสลาเวีย รวมทั้ง Jaroslav Vaněk ที่เกิดเป็นชาวเช็ก และ Branko Horvat เกิดเป็นชาวยูโกสลาฟ ได้ส่งเสริมรูปแบบของตลาดสังคมนิยมที่ถูกขนานนามว่ารูปแบบอีลิเลียน สถานประกอบการที่สังคมเป็นเจ้าของโดยลูกจ้างของพวกเขาและโครงสร้างแรงงานที่จัดการด้วยตัวเอง พวกเขาได้เข้าแข่งขันในตลาดเปิดและเสรี

ตีโตได้สร้างลัทธิบูชาบุคคลที่ทรงอำนาจอย่างมากรอบ ๆ ตัวเขา ซึ่งได้รับการทำนุบำรุงโดยสันนิบาตคอมมิวนิสต์แห่งยูโกสลาเวีย หลังจากการถึงแก่อสัญกรรมของเขา

ตีโตพยายามควบคุมความตึงเครียดของกลุ่มชาติพันธุ์โดยมอบหมายอำนาจให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้แก่แต่ละสาธารณรัฐ รัฐธรรมนูญยูโกสลาเวีย ปี ค.ศ.1974 กำหนดให้สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวียเป็น "สหพันธ์สาธารณรัฐแห่งชาติและเชื้อชาตืที่เสมอภาค โดยอยู่ร่วมกันอย่างอิสระบนหลักการภราดรภาพและเอกภาพในการบรรลุผลประโยชน์ที่เฉพาะเจาะจงและร่วมกัน" แต่ละสาธารณรัฐยังได้รับสิทธิ์ในการตัดสินใจด้วยตนเองและทำการแยกตัวออก ถ้าหากทำผ่านช่องทางกฎหมาย ผลสุดท้าย, โคโซโวและวอยวอดีนา ทั้งสองมณฑลที่มีอำนาจการเลือกตั้งของเซอร์เบียต่างได้รับเอกราชเพิ่มขึ้นอย่างมาก รวมทั้งอำนาจโดยพฤตินัยในรัฐสภาเซอร์เบีย

สิบปีภายหลังจากการถึงแก่อสัญกรรม ลัทธิคอมมิวนิสต์ล่มสลายในยุโรปตะวันออกและประเทศยูโกสลาเวียได้เข้าสู่สงครามกลางเมือง

ดูเพิ่ม

เชิงอรรถ

อ้างอิง

บรรณานุกรม

แหล่งข้อมูลอื่น


🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง