อเทวนิยม

(เปลี่ยนทางจาก Atheism)

อเทวนิยม (อังกฤษ: atheism) คือ ทรรศนะที่ไม่เชื่อว่ามีพระเป็นเจ้า[2] และเชื่อในกฎธรรมชาติ ตรงกันข้ามกับเทวนิยม[3][4] อเทวนิยมแตกต่างจากอไญยนิยม (agnosticism) ซึ่งเป็นมุมมองที่ว่ามนุษย์ไม่อาจพิสูจน์ได้ว่าพระเจ้ามีจริงหรือไม่ รวมถึงปรากฏการณ์ที่ไม่อาจรับรู้ได้ด้วยประสบการณ์ทางผัสสะ[3]

อเทวนิยม ในภาษากรีก αθεοι (atheoi) แปลว่า "ปราศจากซึ่งเทพ" อย่างที่ปรากฏในจดหมายเปาโลถึงชาวเอเฟซัส (2:12) จากพา [1]ไพรัส 46ในศตวรรษที่ 3 ตอนต้น

คำว่า atheism ในภาษาอังกฤษ มาจากภาษากรีก ἄθεος (atheos) อันมีความหมายว่า "ปราศจากเทพ" ถือเป็นคำหยาบที่ใช้เรียกผู้ปฏิเสธเทพที่สังคมบูชากัน หลังจากที่มีความคิดอย่างอิสระ (freethought) ความสงสัยทางวิทยาศาสตร์ (skeptical inquiry) และการวิจารณ์ศาสนา (criticism of religion) เพิ่มขึ้นแล้ว การใช้คำนี้ก็มีความหมายอย่างแคบลง บุคคลกลุ่มแรกที่เริ่มถือว่าตนเป็นผู้ที่ไม่เชื่อเรื่องพระผู้สร้าง โดยเรียกตนเองว่า "ผู้ถืออเทวนิยม" (atheist) นั้น ใช้ชีวิตอยู่ในคริสต์ศตวรรษที่ 18[5]

เนื่องจากเหตุที่ว่า ความหมายและความเข้าใจของอเทวนิยมนั้น มีความแตกต่างกัน ในปัจจุบันจึงทราบได้ยากว่าในโลกมีผู้ถืออเทวนิยมกี่คน[6] อิงตามการคาดคะเนในปี พ.ศ. 2553 แล้ว มีผู้ถืออเทวนิยมอยู่ราว 2.3% ในโลก ในขณะที่อีก 11.9% เป็นผู้ที่ไม่เคร่งศาสนา[7] อิงตามการสำรวจความคิดเห็นจากคนระดับโลกในปี พ.ศ. 2555 โดย WIN/GIA แล้ว 13% ของผู้ที่เข้าร่วมบอกว่าตนมิเชื่อพระเจ้า[8] อิงตามอีกวิเคราะห์หนึ่ง จำนวนผู้ที่บอกว่าตนเองไม่เชื่อเรื่องพระเจ้าส่วนมากอยู่ในประเทศพัฒนาแล้ว ตัวอย่างร้อยละของประชากรที่บอกว่าตนเองไม่เชื่อในพระเจ้าหรือไม่นับถือศาสนาใดๆ เช่น สวีเดน 73%, อังกฤษ 69%, ออสเตรเลีย 63%, เยอรมนี 60%, เกาหลีใต้ 60%, ญี่ปุ่น 60%, จีน 90%, สหรัฐ 39%, ฟินแลนด์ 55%[9]

มโนคติ

บารอน โดฮ์ลบาค ผู้สนับสนุนอเทวนิยมในศตวรรษที่ 18

การอธิบายศาสนาอย่างย่อ

นักปรัชญา ลุดวิก ฟอยเออร์บาค[10] และนักจิตวิเคราะห์ ซิกมุนด์ ฟรอยด์ กล่าวว่า พระเจ้าและความเชื่อทางศาสนาต่าง ๆ คือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อทดแทนความต้องการทางจิตใจและอารมณ์ ซึ่งเป็นแนวคิดที่พุทธศาสนิกชนหลายกลุ่มเชื่อถือ[11] คาร์ล มาร์กซ์ และฟรีดริช เองเงิลส์ ผู้ได้รับอิทธิพลทางแนวคิดจากลุดวิก ฟอยเออร์บาค กล่าวว่า การเชื่อถือในพระเจ้าและศาสนาคือการปฏิบัติทางสังคมหนึ่งซึ่งผู้ที่มีอำนาจนำไปใช้กดขี่ข่มเหงคะเนงร้ายพวกชนชั้นกรรมกร มีฮาอิล บาคูนิน กล่าวว่า "ความคิดที่ว่าพระเจ้ามีจริงบอกเป็นนัยถึงการปฏิเสธทางเหตุผลและทางความยุติธรรมของมนุษย์ เป็นการปฏิเสธอิสรภาพของมนุษย์อย่างเด็ดเดี่ยวที่สุด และต้องทำให้มนุษย์ตกเป็นทาส ทั้งในทฤษฎีและปฏิบัติ" มีฮาอิลย้อนคำคติพจน์ของวอลแตร์ อันว่าครั้นพระเจ้าไม่มีจริง ผู้คนก็จำต้องสร้างพระเจ้าขึ้นมาเอง มีฮาอิลจึงกลับเขียนว่า "ถ้าพระเจ้ามีจริง คนต้องปฏิเสธพระองค์"[12]

อ้างอิง

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง