เวลาออมแสง

เวลาออมแสง (อังกฤษ : Daylight Saving Time, อักษรย่อ : DST) หรือ เวลาฤดูร้อน (อังกฤษ : Summer Time) เป็นข้อตกลงในการปรับนาฬิกาไปข้างหน้า เพื่อให้มีแสงอาทิตย์ในช่วงเวลาบ่ายมากขึ้นและมีแสงอาทิตย์ในช่วงเวลาเช้าน้อยลง โดยปกติแล้วการปรับจะปรับไปข้างหน้าหนึ่งชั่วโมงก่อนเข้าฤดูใบไม้ผลิ และปรับกลับหลังในฤดูใบไม้ร่วง เวลาออมแสงในยุคสมัยใหม่ถูกเสนอขึ้นครั้งแรกโดย William Willett นักก่อสร้างชาวอังกฤษ[1] หลายประเทศได้เริ่มใช้การปรับเวลาลักษณะนี้นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โดยมีรายละเอียดแตกต่างไปตามสถานที่และมีการเปลี่ยนแปลงเป็นครั้งคราว

แม้จะไม่ได้ใช้โดยประชากรส่วนใหญ่ของโลก แต่เวลาออมแสงก็เป็นเรื่องที่พบได้ปกติในบริเวณซีกโลกเหนือ
  บริเวณที่มีการใช้เวลาออมแสง
  บริเวณที่ใช้เวลาออมแสงในอดีต
  บริเวณที่ไม่เคยมีการใช้เวลาออมแสง

การเลื่อนนาฬิกาตามหลักเวลาออมแสงนี้ก่อให้เกิดความท้าทายในหลายด้าน เช่น อาจทำให้การรักษาเวลายุ่งยากขึ้น และกระทบการนัดหมาย การเดินทาง การบัญชี การลงบันทึก อุปกรณ์การแพทย์ รวมไปถึงเครื่องจักรอุตสาหกรรม[2] ระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติการส่วนมากสามารถปรับนาฬิกาของตัวได้อัตโนมัติ แต่การปรับนี้ก็อาจทำได้จำกัดและมีความผิดพลาด โดยเฉพาะเมื่อกฎของเวลาออมแสงเปลี่ยน[3]

ระบบเวลาออมแสงมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้มีช่วงแสงสว่างที่ "เหมาะสม" ตามความต้องการของท้องถิ่น โดยปรับนาฬิกาให้เข้ากับการขึ้นลงของดวงอาทิตย์ ซึ่งเปลี่ยนไปตามฤดูกาลตามความเอียงของแกนโลก

ในสหรัฐฯ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2005 ได้เริ่มทำการปรับเวลาออมแสงแตกต่างจากประเทศอื่นโดยเริ่มต้น 3 อาทิตย์ก่อนเวลาออมแสงปกติ และสิ้นสุด 1 อาทิตย์หลังเวลาออมแสงปกติ การปรับเปลี่ยนดังกล่าวได้รับการรับรองโดยประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู. บุช ในวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 2005

ในประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เคยมี DST ได้แก่ มาเลเซีย และฟิลิปปินส์

ศัพทวิทยา

ในภาษาอังกฤษ Daylight Saving Time บางครั้งอาจเขียนเชื่อมกันด้วยเครื่องหมายยัติภังค์ (-) เป็น Daylight-Saving Time'saving' ในที่นี้เป็นคำคุณศัพท์ เหมือนกับในคำว่า labor saving device (เครื่องทุ่นแรง, เครื่องประหยัดแรง)ส่วนการใช้คำอื่น ๆ เช่น daylight savings time, daylight savings, และ daylight time ก็พบเห็นได้ทั่วไปโดย 'savings' ในที่นี้เป็นการเปรียบเหมือนใน savings account (บัญชีออมทรัพย์)[4]ในข้อเสนอต้นฉบับของ Willett นั้น ใช้ศัพท์ว่า daylight saving แต่ใน ค.ศ. 1911 คำว่า summer time ก็ได้มาแทนที่คำว่า daylight saving time ในร่างกฎหมายในสหราชอาณาจักร[5]

ชื่อเขตเวลานั้นมักจะเปลี่ยนไปเมื่อใช้เวลาออมแสงภาษาอังกฤษแบบอเมริกันแทนที่คำว่า standard (มาตรฐาน) ด้วย daylight (ออมแสง):เช่น Pacific Standard Time (PST) กลายเป็น Pacific Daylight Time (PDT)ภาษาอังกฤษแบบบริเตนใช้ summer (ฤดูร้อน): เช่น Greenwich Mean Time (GMT) กลายเป็น British Summer Time (BST)ตัวย่อนั้นไม่ได้เปลี่ยนตามเสมอ เช่น ชาวออสเตรเลียจำนวนมาก (แม้ไม่ทั้งหมด) เรียก Eastern Standard Time (EST) กลายเป็น Eastern Summer Time (ซึ่งย่อว่า EST เช่นกัน)

อ้างอิง

  • Spring Forward: The Annual Madness of Daylight Saving Time.
  • Seize the Daylight: The Curious and Contentious Story of Daylight Saving Time. The British version, focusing on the UK, is

ดูเพิ่ม

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง