ยุทธการตอกลิ่ม

ยุทธการตอกลิ่ม (อังกฤษ: Battle of the Bulge) ยังเป็นที่รู้จักกันคือ การรุกตอบโต้กลับที่อาร์แดน เป็นการทัพรุกรานของเยอรมันที่สำคัญบนแนวรบด้านตะวันตกในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง และเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 1944 ถึง 25 มกราคม ค.ศ. 1945 มันเป็นการเริ่มปฏิบัติการผ่านทางบริเวณอาร์แดนที่เป็นป่าทึบของวาโลเนียในทางด้านตะวันออกของเบลเยียม ทางตะวันออกเฉียงเหนือของฝรั่งเศส และลักเซมเบิร์ก ในช่วงสุดท้ายของสงครามในยุโรป การรุกครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อหยุดยั้งฝ่ายสัมพันธมิตรในการใช้ท่าเรือที่แอนต์เวิร์ปในเบลเยียมและเพื่อแบ่งแยกแนวรบของฝ่ายสัมพันธมิตร ที่จะทำให้เยอรมันสามารถทำการปิดล้อมและทำลายกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรทั้งสี่กองทัพและบีบบังคับให้ฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกเพื่อการเจรจาตกลงในการลงนามสนธิสัญญาสันติภาพในความพอใจของฝ่ายอักษะ

ยุทธการตอกลิ่ม
ส่วนหนึ่งของ สงครามโลกครั้งที่สอง

ทหารอเมริกันจากกรมทหารราบที่ 117, กำลังพิทักษ์ชาติเทนเนสซี ส่วนหนึ่งของกองพลทหารราบที่ 30 เคลื่อนผ่านรถถัง เอ็ม5เอ1 "สจวต" ระหว่างทางไปยึดเมือง St. Vith คืนระหว่างยุทธการตอกลิ่ม เดือนมกราคม 1945
วันที่16 ธันวาคม 1944 – 25 มกราคม 1945
สถานที่
ผล

ฝ่ายสัมพันธมิตรชนะ

  • แผนการรุกของสัมพันธมิตรตะวันตกล่าช้าไป 5 หรือ 6 สัปดาห์[1]
  • การบุกอันพินาศในอาร์เดนทำให้เยอรมนีหมดทรัพยากรในแนวรบตะวันตก
  • การพังทลายของเยอรมนีเปิดทางให้ฝ่ายสัมพันธมิตรฝ่าแนวซีกฟรีดได้ในที่สุด
  • การรุกของโซเวียตในประเทศโปแลนด์เปิดฉากในวันที่ 12 มกราคม 1945 ก่อนที่จะตั้งใจไว้แต่เดิม 8 วัน[2]
คู่สงคราม
นาซีเยอรมนี นาซีเยอรมนี
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ

สหรัฐ ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์
(กองบัญชาการสูงสุดกำลังรบนอกประเทศฝ่ายสัมพันธมิตร)
สหราชอาณาจักร เบอร์นาร์ด มอนต์โกเมอรี
(กลุ่มกองทัพที่ 21, กองทัพสหรัฐฯที่หนึ่ง, กองทัพสหรัฐฯที่เก้า)
สหรัฐ โอมาร์ แบรดลีย์
(กลุ่มกองทัพสหรัฐฯที่ 12)
สหรัฐ คอร์ทนี่ย์ ฮอดจ์
(กองทัพสหรัฐฯที่หนึ่ง)
สหรัฐ จอร์จ เอส. แพตตัน
(กองทัพสหรัฐฯที่สาม)

สหรัฐ แอนโทนี แมคออลีฟฟ์
(กองบินที่ 101)

นาซีเยอรมนี อดอล์ฟ ฮิตเลอร์
(ฟือเรอร์และนายกรัฐมนตรีไรช์)
นาซีเยอรมนี วัลเทอร์ โมเดิล
(กองทัพบกกลุ่ม B)
นาซีเยอรมนี แกร์ท ฟ็อน รุนท์ชเต็ท
(OB ตะวันตก)
นาซีเยอรมนี ฮัสโซ ฟ็อน มันท็อยเฟิล
(กองทัพยานเกราะที่ 5)
นาซีเยอรมนี เซ็พ ดีทริช
(กองทัพยานเกราะที่ 6)

นาซีเยอรมนี เอริช บรันเดินแบร์เกอร์
(กองทัพบกที่ 7)
กำลัง
16 ธันวาคม
6 กองพลทหารราบ
2 กองพลยานเกราะ
16 มกราคม
22 กองพลทหารราบ
8 กองพลยานเกราะ
2 กองพลน้อยยานเกราะ[3]
16 ธันวาคม
13 กองพลทหารราบ[a]
7 กองพลยานเกราะ
1 กองพลน้อย[4]
16 มกราคม
16 กองพลทหารราบ
8 กองพลยานเกราะ
2 กองพลน้อยทหารราบ[3]
ความสูญเสีย
สหรัฐ American
89,500 casualties[5]
19,000 killed,
47,500 wounded,
23,000 captured or missing
700–800+ tanks, tank destroyers, and assault guns destroyed[6]
647 aircraft lost[7]
สหราชอาณาจักร British
1,408 (200 killed, 969 wounded, and 239 missing)[8]
67,459[b] – 125,000 casualties[9][10]
(includes killed, wounded, missing, captured)
600–800+ tanks and assault guns destroyed[6][11][12]
~800 aircraft lost, over 500 in December and 280 during Unternehmen Bodenplatte[13]
Approximately 3,000 civilians killed[14]
Map showing the swelling of "the Bulge" as the German offensive progressed creating the nose-like salient during 16–25 December 1944.                      Front line, 16 December                      Front line, 20 December                      Front line, 25 December                      Allied movements                      German movements

เยอรมันได้บรรลุในการจู่โจมแบบไม่ให้ตั้งตัวโดยสิ้นเชิงในช่วงเช้าของวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 1944 เนื่องจากการรวมตัวกันของความมั่นใจที่มากเกินไปของฝ่ายสัมพันธมิตร ความหมกมุ่นในการวางแผนการรุกของฝ่ายสัมพันธมิตร และการลาดตะเวนทางอากาศที่แย่ เนื่องจากสภาพอากาศที่เลวร้าย กองทัพอเมริกันได้รับความรุนแรงจากการโจมตีครั้งนี้และก่อให้เกิดการบาดเจ็บล้มตายสูงสุดต่อพวกเขาจากปฏิบัติการใด ๆ ในช่วงสงคราม การสู้รบครั้งนี้ยังทำให้กองทัพของเยอรมนีได้หมดลงอย่างรุนแรงและพวกเขาส่วนมากไม่สามารถที่จะมาทดแทนได้ บุคลากรทางทหารของเยอรมัน และต่อมาเครื่องบินของลุฟท์วัฟเฟอ(ในช่วงสุดท้ายของการสู้รบ) ก็ได้รับความสูญเสียอย่างหนักเช่นเดียวกัน เยอรมันได้เข้าโจมตีส่วนที่ได้รับการปกป้องที่อ่อนแอของแนวรบฝ่ายสัมพันธมิตร โดยใช้ประโยชน์จากสภาพอากาศที่มืดครึ้มอย่างหนักซึ่งทำให้กองทัพอากาศของฝ่ายสัมพันธมิตรที่เหนือกว่าไม่สามารถบินออกไปได้ การต่อต้านอย่างรุนแรงบนไหล่ทางด้านเหนือของการรุก รอบบริเวณสันเขาเอลเซนบอร์น และในทางตอนใต้ รอบบริเวณบัสตอญ ปิดกั้นการเข้าถึงถนนสายสำคัญของเยอรมันไปทางตะวันตกเฉียงเหนือและตะวันตกซึ่งพวกเขาคาดหวังว่าจะประสบความสำเร็จ ขบวนยานเกราะและทหารราบที่ควรจะรุกไปตามเส้นทางขนานแต่กลับพบว่าตัวพวกเขาเองอยู่บนถนนเส้นทางเดียวกัน สิ่งนี้และภูมิประเทศที่เป็นที่ชื่นชอบของฝ่ายป้องกัน ทำให้เยอรมันรุกคืบช้ากว่าที่กำหนดและทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรสามารถที่จะเสริมกำลังแก่กองทหารที่เบาบางที่ประจำการอยู่ ทางตะวันตกที่ไกลที่สุดที่ฝ่ายรุกได้เดินทางไปถึงหมู่บ้าน Foy-Nôtre-Dame ทางตะวันออกเฉียงใต้ของดิแนนท์ ซึ่งได้ถูกหยุดยั้งโดยกองพลยานเกราะสหรัฐที่สอง เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม ค.ศ. 1944[15][16][17] สภาพอากาศที่ได้ถูกทำให้ดีขึ้น ตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม ได้เป็นใจให้กับการโจมตีทางอากาศต่อกองทัพเยอรมันและสายส่งบำรุงกำลังซึ่งได้ปิดผนึกถึงความล้มเหลวของการรุก ในวันที่ 26 ธันวาคม ผู้นำส่วนหนึ่งของกองทัพสหรัฐที่สามของแพตตันได้เดินทางมาถึงบัสตอญจากทางใต้ เป็นอันยุติของการปิดล้อม แม้ว่าการรุกจะถูกทำลายอย่างมีประสิทธิภาพในวันที่ 27 ธันวาคม แต่เมื่อหน่วยทหารของกองพลยานเกราะที่สองที่ติดกับได้พยายามจะที่ตีฝ่าออกไปถึงสองครั้งและประสบความสำเร็จได้เพียงบางส่วน การสู้รบยังคงดำเนินต่อไปอีกหนึ่งเดือนก่อนที่แนวหน้าจะได้รับการฟื้นฟูอย่างมีประสิทธิภาพก่อนที่จะเข้าโจมตี ภายหลังจากความพ่ายแพ้ หน่วยทหารเยอรมันที่มีประสบการณ์จำนวนมากได้หมดลงไปอย่างมากทั้งคนและอุปกรณ์ ในขณะที่ผู้รอดชีวิตได้ล่าถอยกลับไปยังแนวป้องกันซีคฟรีท

การโจมตีช่วงแรกของเยอรมันที่เกี่ยวข้องกับจำนวน 410,000 นาย มากกว่า 1,400 คันของรถถัง รถถังพิฆาตและปืนจู่โจ่ม ชิ้นปืนใหญ่ 2,600 ชิ้น ปืนต่อต้านรถถัง 1,600 กระบอก และเครื่องบินมากกว่า 1,000 ลำ รวมทั้งยานรบหุ้มเกราะอื่น ๆ จำนวนมาก[4] สิ่งเหล่านี้ได้รับการเสริมกำลังในสองสัปดาห์ต่อมา ทำให้กองกำลังทั้งหมดของฝ่ายการรุกถึงราวประมาณ 450,000 นาย และรถถังและปืนจู่โจม 1,500 คัน ระหว่าง 63,222 กับ 98,000 นายของทหารเหล่านี้ล้วนเสียชีวิต สูญหาย ได้รับบาดเจ็บจากการปฏิบัติหน้าที่หรือถูกจับกุม สำหรับอเมริกัน จากจำนวนทหารสูงสุด 610,000 นาย[18] 89,000 นาย[5] ได้กลายเป็นผู้บาดเจ็บ ซึ่งมีจำนวนบางส่วน 19,000 นายล้วนถูกสังหาร[5][19] "ตอกลิ่ม" เป็นการต่อสู้รบแบบเดี่ยวที่ใหญ่ที่สุดและนองเลือดที่สุดโดยสหรัฐในสงครามโลกครั้งที่สองI[20][21][22] และเป็นการทัพที่อันตรายมากที่สุดเป็นอันดับสามในประวัติศาสตร์อเมริกา

เบื้องหลัง

ภายหลังจากการบุกทะลวงจากนอร์ม็องดี เมื่อปลายเดือนกรกฏาคม ค.ศ. 1944 และฝ่ายสัมพันธมิตรทำการยกพลขึ้นบกในทางตอนใต้ของฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรได้รุกคืบสู่เยอรมนีได้เร็วกว่าที่คาดการณ์เอาไว้ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรกลับต้องเผชิญกับปัญหาทางด้านการขนส่งทางทหารหลายประการ:

  • กองกำลังทหารต่างเหนื่อยล้าจากการสู้รบอย่างต่อเนื่องหลายสัปดาห์
  • เส้นทางการส่งบำรุงกำลังได้ยืดยาวออกไปจนเปราะบาง
  • เสบียงได้หมดลงอย่างน่าเป็นกังวล

นายพล ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ (ผู้บัญชาการสูงสุดฝ่ายสัมพันธมิตรบนแนวรบด้านตะวันตก) และเหล่าเสนาธิการของเขาเลือกที่จะเข้ายึดพื้นที่บริเวณอาร์แดนซึ่งถูกยึดครองโดยกองทัพสหรัฐที่หนึ่ง ฝ่ายสัมพันธมิตรเลือกที่จะป้องกันในอาร์แดนด้วยกำลังพลน้อยมากเท่าที่จะทำได้ เนื่องจากภูมิประเทศที่เอื้ออำนวย(พื้นที่สูงที่มีป่ารกทึบกับหุบเขาแม่น้ำลึกและเครือข่ายเส้นทางถนนที่ค่อนข้างบาง) และวัตถุประสงค์การดำเนินเป้าหมายของฝ่ายสัมพันธมิตรที่จำกัดในพื้นที่ พวกเขาได้รับข้อมูลข่าวกรองว่าแวร์มัคท์ได้ใช้พื้นที่ข้ามชายแดนเยอรมันแห่งนี้เป็นพื้นที่สำหรับพักผ่อนและเตรียมความพร้อมสำหรับทหารของตน[23]

ปัญหาทางด้านเสบียงของฝ่ายสัมพันธมิตร

อ้างอิง

บรรณานุกรม

  • Cirillo, Roger (2003), Ardennes-Alsace, Office of the Chief of Military History Department of the Army, เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-06, สืบค้นเมื่อ 6 December 2008
  • Delaforce, Patrick (2004), The Battle of the Bulge: Hitler's Final Gamble, Pearson Higher Education, ISBN 978-1-4058-4062-0
  • MacDonald, Charles B. (1998), The Battle of the Bulge, Phoenix, ISBN 978-1-85799-128-4
  • Miles, Donna (14 December 2004), Battle of the Bulge Remembered 60 Years Later, United States Department of Defense, สืบค้นเมื่อ 12 June 2012

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง