ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์

อดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา

จอมพล ดไวต์ เดวิด ไอก์ ไอเซนฮาวร์ (อังกฤษ: Dwight David "Ike" Eisenhower; 14 ตุลาคม ค.ศ. 1890 − 28 มีนาคม ค.ศ. 1969) เป็นชาวอเมริกันที่ดำรงตำแหน่งพลเอกแห่งกองทัพและรัฐบุรุษที่ทำหน้าที่เป็นประธานาธิบดีแห่งสหรัฐ คนที่ 34 ตั้งแต่ค.ศ. 1953 ถึง 1961 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เขาได้เป็นนายพลระดับห้าดาวในกองทัพสหรัฐและทำหน้าที่เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งกำลังรบนอกประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรในทวีปยุโรป เขาได้รับผิดชอบในการวางแผนและควบคุมดูแลในการบุกครองแอฟริกาเหนือในปฏิบัติการคบเพลิง ใน ค.ศ. 1942-43 และประสบความสำเร็จในการบุกครองฝรั่งเศสและเยอรมนีใน ค.ศ. 1944−45 จากแนวรบด้านตะวันตก

ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์
Official portrait of Dwight D. Eisenhower as president of the United States
ประธานาธิบดีสหรัฐ คนที่ 34
ดำรงตำแหน่ง
20 มกราคม 1953 – 20 มกราคม 1961
รองประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน
ก่อนหน้าแฮร์รี เอส. ทรูแมน
ถัดไปจอห์น เอฟ. เคนเนดี
ผู้บัญชาการทหารผสมสูงสุดยุโรป
ดำรงตำแหน่ง
2 เมษายน 1951 – 30 พฤษภาคม 1952
ประธานาธิบดีแฮร์รี เอส. ทรูแมน
รองเบอร์นาร์ด มอนต์โกเมอรี
ก่อนหน้าไม่มี
ถัดไปแมทธิว ริดจ์เวย์
เสนาธิการทหารบกสหรัฐ
ดำรงตำแหน่ง
19 พฤศจิกายน 1945 – 6 กุมภาพันธ์ 1948
ประธานาธิบดีแฮร์รี เอส. ทรูแมน
ก่อนหน้าจอร์จ มาร์แชลล์
ถัดไปโอมาร์ แบรดลีย์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
David Dwight Eisenhower

14 ตุลาคม ค.ศ. 1890(1890-10-14)
เดนิสัน รัฐเท็กซัส สหรัฐ
เสียชีวิต28 มีนาคม ค.ศ. 1969(1969-03-28) (78 ปี)
วอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐ
พรรคการเมืองริพับลิกัน (ตั้งแต่ 1952)
คู่สมรสMamie Doud
บุตร2 คน
อาชีพนายทหาร, นักการเมือง
ลายมือชื่อCursive signature in ink
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้สหรัฐ
สังกัดกองทัพบกสหรัฐ
ประจำการ
  • 1915–1953
  • 1961–1969[1]
ยศจอมพล (General of the Army)
ผ่านศึก

ไอเซนฮาวร์เกิดที่เมืองเดนิสัน รัฐเท็กซัส เขาได้ถูกรับเลี้ยงดูในรัฐแคนซัสในครอบครัวขนาดใหญ่ของเชื้อสายชาวดัตช์จากเพนซิลเวเนียส่วนใหญ่ ครอบครัวของเขามีพื้นฐานทางศาสนาที่เคร่งครัด แม่ของเขาตั้งแต่เกิดมานับถือนิกายลูเธอรัน เมื่อได้สมรสที่ River Brethren และต่อมาได้กลายเป็นพยานพระยะโฮวา อย่างไรก็ตาม, ไอเซนฮาวร์นั้นไม่ได้ถูกจัดให้อยู่ในศาสนานิกายใดๆ จนกระทั่ง ค.ศ. 1952 เขาได้อ้างถึงการย้ายถิ่นฐานอย่างต่อเนืองในช่วงการงานอาชีพทางทหารของเขาเป็นเหตุผลเดียว[2] เขาได้จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบกเวสต์พอยต์ใน ค.ศ. 1915 และต่อมาก็ได้สมรสกับนางมามี เดาด์ ซึ่งได้มีลูกชายสองคน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เขาได้ปฏิเสธคำขอให้ไปทำหน้าที่ในสมรภูมิทวีปยุโรปและแทนที่จะสั่งการหน่วยที่ได้รับการฝึกฝนให้เป็นพลขับรถถัง หลังสงคราม เขาได้ทำหน้าที่ภายใต้นายพลต่างๆและได้รับการเลื่อนยศเป็นพลจัตวาในปี 1941 ภายหลังจากที่สหรัฐได้เข้าสู่สงครามโลกครั้งที่สอง ไอเซนฮาวร์ได้ควบคุมในการบุกครองที่ประสบความสำเร็จที่แอฟริกาเหนือและเกาะซิซิลี ก่อนที่จะควบคุมดูแลการบุกครองฝรั่งเศสและเยอรมนี ภายหลังสงคราม ไอเซนฮาวร์ได้ทำหน้าที่เป็นเสนาธิการกองทัพบกและรับบทบาทเป็นอธิการบดีของมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ในปี 1951-52 เขาได้ทำหน้าที่เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งองค์กรนาโตคนแรก

ในปี 1952 ไอเซนฮาวร์ได้เข้าการแข่งขันชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในฐานะที่เป็นคนของพรรครีพันลิกันเพื่อสกัดกั้นนโยบายต่างประเทศที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดของวุฒิสมาชิก Robert A. Taft ที่ต่อต้านองค์กรนาโตและต้องการที่จะไม่ยุ่งเกี่ยวพันกับต่างประเทศ เขาได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งและชัยชนะที่สำคัญในการเลือกตั้งใน ค.ศ. 1956 ตั้งสองครั้งที่เอาชนะ Adlai Stevenson II เขาได้กลายเป็นคนของพรรครีพันลิกันคนแรกที่สามารถเอาชนะมาได้นับตั้งแต่เฮอร์เบิร์ต ฮูเวอร์ ใน ค.ศ. 1928 เป้าหมายหลักของไอเซนฮาวร์ในสำนักงาน อันได้แก่ การแผ่ขยายอิทธิพล​ของสหภาพโซเวียต และลดการขาดดุลรัฐบาลกลาง ใน ค.ศ. 1953 เขาได้ข่มขู่ว่าจะใช้อาวุธนิวเคลียร์จนกว่าจีนจะยินยอมในข้อตกลงสันติภาพในสงครามเกาหลี ซึ่งจีนเห็นด้วยและการสงบศึกนั้นที่ยังคงมีผลอยู่ นโยบายการมองใหม่ของเขาในการยับยั้งนิวเคลียร์ซึ่งได้จัดลำดับความสำคัญของอาวุธนิวเคลียร์ที่ราคาไม่แพงในขณะที่ได้ตัดงบประมาณจากกองพลของกองทัพบกที่มีราคาแพง เขายังคงถือนโยบายของแฮร์รี เอส. ทรูแมนจากการรับรองว่า สาธารณรัฐจีนในฐานะที่เป็นรัฐบาลที่ถูกต้องตามกฎหมายของประเทศจีนและเขาได้รับการอนุมัติจากรัฐสภาของ Formosa Resolution การปกครองของเขาได้ให้ความช่วยเหลือที่สำคัญในการช่วยให้ฝรั่งเศสต่อสู้กับคอมมิวนิสต์เวียดนามในสงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่ง หลังจากที่ฝรั่งเศสได้ถอนตัวออกไป เขาได้ให้การสนับสนุนทางการเงินที่เข้มแข็งให้กับรัฐใหม่ของเวียดนามใต้ เขาได้สนับสนุนการก่อรัฐประหารของทหารท้องถิ่นที่ต่อต้านกับรัฐบาลในอิหร่านและกัวเตมาลา ในช่วงวิกฤตการณ์คลองสุเอซ ใน ค.ศ. 1956 ไอเซนฮาวร์ได้กล่าวประณามอิสราเอล อังกฤษ และฝรั่งเศสที่ได้บุกครองอียิปต์ และเขาได้บังคับให้พวกเขาถอนตัว นอกจากนี้เขายังได้กล่าวประณามการบุกครองของโซเวียตในช่วงการปฏิวัติฮังการี ค.ศ. 1956 แต่ก็ไม่ได้ทำอะไรเลย ในช่วงวิกฤตการณ์ซีเรีย เขาได้อนุมัติแผนของซีไอเอ-เอ็มไอ6 เพื่อดำเนินเหตุการณ์ชายแดนปลอมที่เป็นข้ออ้างสำหรับการบุกครองโดยประเทศเพื่อนบ้านทางตะวันตกที่สนับสนุนของซีเรีย[3] ภายหลังจากสหภาพโซเวียตได้เปิดตัว สปุตนิก ใน ค.ศ.1957 ไอเซนฮาวร์ได้อนุมัติให้จัดตั้งองค์กรนาซา ซึ่งนำไปสู่การแข่งขันอวกาศ เขาได้ส่งทหาร 15,000 นายในช่วงวิกฤตการณ์เลบานอน ค.ศ. 1958 เมื่อใกล้ถึงสิ้นสุดของวาระ ความพยายามของเขาในการจัดตั้งการประชุมสุดยอดกับสหภาพโซเวียตที่พังทลายลง เมื่อเครื่องบินสายลับของสหรัฐถูกยิงตกเหนือน่านฟ้ารัสเซีย เขาได้อนุมัติในการบุกครองอ่าวหมู ซึ่งได้ทิ้งให้แก่ผู้รับช่วงต่อจากเขา จอห์น เอฟ. เคนเนดี เพื่อดำเนินต่อไป[4]

ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ และภริยา กับ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กำลังพูดคุยกัน ในปีพ.ศ. 2503

ในด้านภายในประเทศ, ไอเซนฮาวร์เป็นนักอนุรักษนิยมค่อนข้างปานกลางที่ยังคงสานต่อหน่วยงานโครงการสัญญาใหม่ และขยายความมั่นคงทางสังคม เขาได้แอบต่อต้าน Joseph McCarthy และมีส่วนทำให้การสิ้นสุดของ McCarthyism โดยอ้างสิทธิ์การบริหารประเทศอย่างเปิดเผย ไอเซนฮาวร์ได้ลงนามกฎหมายสิทธิพลเมือง ค.ศ. 1957 และส่งกองกำลังทหารของกองทัพเพื่อบังคับคำสั่งศาลรัฐบาลกลางที่รวมตัวกันที่โรงเรียนใน Little Rock, Arkansas โครงการขนาดใหญ่ของเขาคือ ระบบทางหลวงระหว่างรัฐ เขาได้ให้ความสำคัญในการจัดตั้งการศึกษาวิทยาศาสตร์ที่เข้มแข็งผ่านด้วยกฎหมายการศึกษาด้านการป้องกันประเทศ ข้อตกลงสองข้อของไอเซนฮาวร์ได้แสดงให้เห็นถึงความมั่นคั่งทางเศรษฐกิจที่แพร่หลายซึ่งยกเว้นเพียงแค่ภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย ใน ค.ศ. 1958 ในคำกล่าวสุนทรพจน์การอำลาต่อประเทศของเขา ไอเซนฮาวร์ได้แสดงถึงความวิตกกังวลเกี่ยวกับอันตรายของการใช้งบประมาณทางทหารจำนวนมาก การใช้งบประมาณดุลการค้าโดยเฉพาะอย่างยิ่ง และสัญญาของรัฐบาลที่ต่อโรงงานการผลิตทางทหารของภาคเอกชน เขาได้รับการโหวตให้เป็นชายที่ได้รับการยกย่องมากที่สุดถึงสิบสองครั้งของ Gallup และได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางทั้งภายในและนอกสำนักงาน การประเมินผลทางประวัติศาสตร์ของตำแหน่งประธานาธิบดีของเขาทำให้เขาอยู่เหนือชั้นของประธานาธิบดหรัฐ

ดไวต์ ดี ไอเซนฮาวร์ได้ถึงแก่อสัญกรรมด้วยภาวะหัวใจล้มเหลว เมื่อวันที่ 28 มีนาคม ค.ศ. 1969 รวมอายุได้ 78 ปี

เกียรติยศ

ยศทหาร

  • 12 มิถุนายน 1915 : ร้อยตรี
  • 1 กรกฎาคม 1916 : ร้อยโท
  • 15 พฤษภาคม 1917 : ร้อยเอก
  • 2 กรกฎาคม 1920 : พันตรี
  • 15 พฤษภาคม 1922 : ร้อยเอก (ลดยศเนื่องจากกองทัพถูกลดขนาด)
  • 26 สิงหาคม 1924 : พันตรี
  • 1 กรกฎาคม 1936 : พันโท
  • 6 มีนาคม 1941 : พันเอก
  • 29 กันยายน 1941 : พลจัตวา (ชั่วคราว)
  • 27 มีนาคม 1942 : พลตรี (ชั่วคราว)
  • 7 กรกฎาคม 1942 : พลโท (ชั่วคราว)
  • 11 กุมภาพันธ์ 1943 : พลเอก (ชั่วคราว)
  • 30 สิงหาคม 1943 : พลจัตวาและพลตรี
  • 20 ธันวาคม 1944 : จอมพล

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้าดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ถัดไป
แฮร์รี เอส. ทรูแมน
ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา คนที่ 34
(20 มกราคม พ.ศ. 2496 - 20 มกราคม พ.ศ. 2504)
จอห์น เอฟ. เคนเนดี
จอร์จ มาร์แชล บุคคลแห่งปีของนิตยสารไทม์
(ค.ศ. 1944)
แฮร์รี เอส. ทรูแมน
ชาร์ลส์ เดอ โกลล์ บุคคลแห่งปีของนิตยสารไทม์
(ค.ศ. 1959)
นักวิทยาศาสตร์อเมริกัน
🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง