ยุทธการที่ตูร์

ยุทธการที่ตูร์[6] หรือ ยุทธการปัวติเยร์ (อังกฤษ: Battle of Tours หรือ Battle of Poitiers) และ ยุทธการทางหลวงแห่งผู้พลีชีพ (อาหรับ: معركة بلاط الشهداء, อักษรโรมัน: Maʿrakat Balāṭ ash-Shuhadā'; Battle of the Highway of the Martyrs)[7] เป็นยุทธการในวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 732 และเป็นยุทธการที่สำคัญในการรุกรานกอลของอุมัยยะฮ์ที่นำไปสู่ชัยชนะของกองทัพแฟรงก์และอากีแตน[8][9]ที่นำโดยชาร์ล มาร์แตล ต่อกองทัพมุสลิมผู้รุกรานของรัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ที่นำโดยอับดุรเราะห์มาน อัลฆอฟิกี ผู้ว่าการอัลอันดะลุส นักประวัติศาสตร์บางคน อย่างเอ็ดเวิร์ด กิบบอน ยกให้ชัยชนะของฝ่ายคริสเตียนในสงครามนี้เป็นปัจจัยสำคัญในการหยุดการทำให้เป็นอิสลามในยุโรปตะวันตก[10]

ยุทธการที่ตูร์
ส่วนหนึ่งของ การรุกรานกอลของอุมัยยะฮ์

ยุทธการแห่งปัวติเยร์ของเดือนตุลาคม ค.ศ. 732 เป็นภาพของชาร์ลส์ มาร์เตล (บนหลังม้า) เผชิญหน้ากับอับดุรเราะฮ์มาน อัลฆอฟิกี (ขวา) ในยุทธการตูร์
วันที่10 ตุลาคม ค.ศ. 732[2]
สถานที่
Moussais-la-Bataille ประเทศฝรั่งเศส[3]
47°23′37″N 0°41′21″E / 47.3936°N 0.6892°E / 47.3936; 0.6892
ผล

แฟรงก์ชนะ[4][5]

  • กองทัพอุมัยยะฮ์ถอนทัพ
คู่สงคราม

ราชอาณาจักรแฟรงก์ (อาณาจักรแฟรงก์ตะวันตก)[1]

รัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์[1]
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
อับดุรเราะห์มาน อัลฆอฟิกี[1] 
กำลัง
15,000–20,000 นาย[1]20,000 นาย[1]
ความสูญเสีย
1,000 นาย[1]12,000 นาย[1]

รายละเอียดของสงครามที่รวมทั้งจุดที่ต่อสู้แต่ตัวเลขของผู้เข้าร่วมไม่เป็นที่ทราบแน่นอนจากหลักฐานที่ยังเหลืออยู่ ข้อมูลส่วนใหญ่ยอมรับว่าฝ่ายอุมัยยะฮ์มีกองกำลังที่มากกว่า และได้รับความเสียหายมาก แต่สิ่งที่น่าสนใจคือฝ่ายแฟรงก์ได้รับชัยชนะโดยไม่มีกองทหารม้าหนัก[11] สนามรบนี้ตั้งอยู่ในบริเวณใดสักแห่งระหว่างนครปัวตีเยกับตูร์ ในอากีแตนตอนเหนือ ในประเทศฝรั่งเศสตะวันตก ใกล้ชายแดนดินแดนแฟรงก์กับดัชชีอากีแตนที่เป็นเอกราชในณะนั้น ซึ่งอยู่ภายใต้การนำของโอโดมหาราช

อัลฆอฟิกีเสียชีวิตในการสู้รบ และมีการถอนกองทัพอุมัยยะฮ์ออกจากพื้นที่ ยุทธการนี้มีส่วนช่วงที่การวางรากฐานจักรวรรดิการอแล็งเฌียงและอิทธิพลของแฟรงก์ในยุโรปตะวันตกต่อมาอีกร้อยปี นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ยอมรับว่า "การสถาปนาอิทธิพลแฟรงก์ในยุโรปตะวันตกสร้างโชคชะตาของทวีป และยุทธการที่ตูร์ยืนยันสิ่งนั้น"[12]

ภูมิหลัง

ยุทธการที่ตูร์เกิดขึ้นหลังการพิชิตของอุมัยยะฮ์ในทวีปยุโรป 2 ทศวรรษที่เริ่มต้นด้วยการรุกรานราชอาณาจักรวิซิกอทของคริสเตียนบนคาบสมุทรไอบีเรียใน ค.ศ. 711 หลังจากนั้นมีการทัพเข้าสู่ดินแดนกอลของชาวแฟรงก์ที่เป็นอดีตมณฑลของจักรวรรดิโรมัน การทัพของอุมัยยะฮ์เดินไปทางเหนือถึงอากีแตนและบูร์กอญ ซึ่งรวมการสู้รบหลักที่บอร์โดและการจู่โจมที่โอเติง ชัยชนะของชาร์ลเชื่อกันอย่างกว้างขวางว่าหยุดการเดินทัพไปทางเหนือของกองทัพอุมัยยะฮ์จากคาบสมุทรไอบีเรีย และหลีกเลี่ยงการทำให้ยุโรปตะวันตกไปเป็นอิสลาม[13][14]

นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่สันนิษฐานว่ากองทัพทั้งสองพบกันในบริเวณที่แม่น้ำ Clain กับ Vienne เชื่อมกันระหว่างตูร์กับปัวตีเย ไม่มีใครทราบจำนวนทหารในแต่ละกองทัพ ข้อมูลภาษาละตินร่วมสมัยชื่อ พงศาวดารโมซาราบิก ค.ศ. 754 ที่ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับยุทธการมากกว่าข้อมูลภาษาอาหรับและละตินอื่น ๆ ระบุว่า "ผู้คนจากAustrasia [กองทัพแฟรงก์] ที่มีทหารจำนวนมากและมีอาวุธที่น่าเกรงขาม สังหารพระเจ้าอับดุรเราะห์มาน"[15] ซึ่งนักประวัติศาสตร์มุสลิมและอาหรับหลายคนยอมรับ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลตะวันตกทั้งหมดปฏิเสธสิ่งนี้ โดยประมาณการว่ากองทัพแฟรงก์มีจำนวน 30,000 นาย ซึ่งน้อยกว่าครึ่งของกองทัพมุสลิม[16]

อุมัยยะฮ์

ความเห็น

นักประวัติศาสตร์คริสเตียนก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 20 สรรเสริญชาร์ลส์ว่าเป็นวีรบุรุษของคริสเตียนและกล่าวว่ายุทธการครั้งนี้เป็นจุดที่เปลี่ยนแปลงความขัดแย้งต่อต้านอิสลาม การต่อสู้ที่เป็นการพิทักษ์คริสต์ศาสนาให้เป็นศาสนาของยุโรป นักประวัติศาสตร์ทางการทหารสมัยใหม่วิคเตอร์ เดวิส แฮนสันกล่าวว่า “นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ของคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 เช่นกิบบอนมีความเห็นว่ายุทธการปัวติเยร์เป็นยุทธการสำคัญที่เป็นจุดที่แสดงอำนาจอันสูงสุดของมุสลิมที่คืบเข้ามาในยุโรป”[17] เลโอโพลด์ ฟอน รังเคอ (Leopold von Ranke) มีความเห็นว่า “ปัวติเยร์เป็นจุดของความหันเหของสมัยที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์โลก”[18]

อ้างอิง

บรรณานุกรม

  • Arabs, Franks, and the Battle of Tours, 732: Three Accounts เก็บถาวร 2014-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน from the Internet Medieval Sourcebook
  • Bachrach, Bernard S. (2001). Early Carolingian Warfare: Prelude to Empire. University of Pennsylvania Press. ISBN 0-8122-3533-9
  • Barbero, Alessandro (2004). Charlemagne: Father of a Continent. University of California Press. ISBN 0-520-23943-1
  • Baudot, Marcel (1955). "Localisation et datation de la première victoire remportée par Charles Martel contre les Musulmans". Mémoires et documents publiés par la Société de l'École des Charles (ภาษาฝรั่งเศส). XII (1): 91–105.
  • Bede, Giles, John Allen, Stevens, John, Gurney, Anna and Petrie, Henry (1847). The Venerable Bede's Ecclesiastical History of England. H. G. Bohn.
  • Bennett, Matthew; Bradsbury, Jim; DeVries, Kelly; Dickie, Iain; Jestice, Phyllis G. (2013). Fighting Techniques of the Medieval World, AD 500 – AD 1500: Equipment, combat skills, and tactics. London: Amber Books. ISBN 978-1-909160-47-7.
  • Collins, Roger (1989). The Arab Conquest of Spain: 710–797. Oxford, England: Blackwell. ISBN 978-0-631-15923-0.
  • Coppée, Henry (2002) [1881]. History of the Conquest of Spain by the Arab Moors, With a Sketch of the Civilization Which They Achieved, and Imparted to Europe. Vol. II. Gorgias Press. ISBN 1-931956-94-4.
  • Cowley, Robert and Parker, Geoffrey (Eds.). (2001). The Reader's Companion to Military History. Houghton Mifflin Books. ISBN 0-618-12742-9
  • Creasy, Edward Shepherd; Speed, John Gilmer (2001). Decisive Battles of the World (revised ed.). Safety Harbor, Florida: Simon Publications. ISBN 978-1-931541-81-7.; originally published in 1851 as Decisive Battles of the World from Marathon to Waterloo; revised edition with John Gilmer Speed originally published in 1899 by Colonial Press.
  • Davis, Paul K. (1999). 100 Decisive Battles From Ancient Times to the Present. Santa Barbara, California: ABC-CLIO. ISBN 978-1-57607-075-8.
  • Eggenberger, David, บ.ก. (1985). "Acroinum (Moslem-Byzantine Wars), 739 & Tours (Moslem Invasion of France), 732". An Encyclopedia of Battles: Accounts of Over 1,560 Battles from 1479 B.C. to the Present. Courier (Dover Publications). pp. 3, 441–442. ISBN 978-0-486-24913-1.; a revised edition of Dictionary of Battles published in 1967 by Thomas Y. Crowell.
  • Fouracre, Paul (2000). The Age of Charles Martel. Pearson Education. ISBN 0-582-06476-7
  • Gibbon, Edward The Battle of Tours[ลิงก์เสีย], The History of the Decline and Fall of the Roman Empire
  • Grant, Michael History of Rome
  • Grunebaum, Gustave von (2005). Classical Islam: A History, 600 A.D. to 1258 A.D. Aldine Transaction. ISBN 0-202-30767-0
  • Hanson, Victor Davis. Carnage and Culture: Landmark Battles in the Rise of Western Power. Anchor Books, 2001. Published in the UK as Why the West has Won. Faber and Faber, 2001. ISBN 0-571-21640-4
  • Hitti, Philip Khuri (2002). History of Syria Including Lebanon and Palestine. Gorgias Press LLC. ISBN 1-931956-61-8
  • Hooker, Richard "Civil War and the Umayyads"
  • Lewis, Bernard (1994). Islam and the West. Oxford University Press. ISBN 0-19-509061-6
  • Mastnak, Tomaž (2002). Crusading Peace: Christendom, the Muslim World, and Western Political Order. University of California Press. ISBN 0-520-22635-6
  • Oman, Charles W. (1960). Art of War in the Middle Ages A.D. 378–1515. Cornell University Press. ISBN 0-8014-9062-6
  • Poke, The Battle of Tours, from the book Fifteen Decisive Battles of the World From Marathon to Waterloo by Sir Edward Creasy, MA
  • Reagan, Geoffrey, The Guinness Book of Decisive Battles, Canopy Books, New York (1992) ISBN 1-55859-431-0
  • Riche, Paul (1993). The Carolingians: A Family Who Forged Europe. University of Pennsylvania Press. ISBN 0-8122-1342-4
  • Roberts, no J.M. (2003) The New History of the World Oxford University Press. ISBN 0-19-521927-9
  • Santosuosso, Antonio (2004). Barbarians, Marauders, and Infidels. Westview Press. ISBN 0-8133-9153-9.
  • Schoenfeld, Edward J. (2001). "Battle of Poitiers". ใน Cowley, Robert; Parker, Geoffrey (บ.ก.). The Reader's Companion to Military History. New York: Houghton Mifflin. p. 366. ISBN 978-0-618-12742-9.
  • Torrey, Charles Cutler (1922). The History of the Conquest of Egypt, North Africa and Spain: Known as the Futūh Miṣr of Ibn ʻAbd al-Ḥakam. Yale University Press.
  • The Battle of Tours 732, from the Jewish Virtual Library.
  • Tours, Poitiers, from "Leaders and Battles Database" online.
  • Watson, William E. (1993). "The Battle of Tours-Poitiers Revisited". Providence: Studies in Western Civilization. 2 (1): 51–68.
  • White, Lynn Townsend Jr. (1962). Medieval Technology and Social Change. Oxford, England: Oxford University Press. ISBN 978-0-19-500266-9.
  • Wolf, Kenneth Baxter (1990). Conquerors and Chroniclers of Early Medieval Spain. Liverpool, England: Liverpool University Press. doi:10.3828/978-0-85323-554-5. ISBN 978-0-85323-554-5.

แหล่งข้อมูลอื่น


🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง