รัฐตรังกานู

ตรังกานู[5] หรือ เตอเริงกานู[5] (มลายู: Terengganu, ترڠڬانو) เป็นรัฐสุลต่านและเป็นหนึ่งในสิบสามรัฐที่ประกอบขึ้นเป็นสหพันธ์มาเลเซีย มีชื่อเฉลิมเมืองเป็นภาษาอาหรับว่า ดารุลอีมัน ("ถิ่นที่อยู่แห่งความศรัทธา")

รัฐตรังกานู

Negeri Terengganu
เนอเกอรีเตอเริงกานูดารุลอีมัน
Negeri Terengganu Darul Iman
การถอดเสียงต่าง ๆ
 • มลายูTerengganu (รูมี)
ترڠڬانو(ยาวี)
ธงของรัฐตรังกานู
ธง
ตราราชการของรัฐตรังกานู
ตราอาร์ม
คำขวัญ: 
มาจู เบอร์กัตดันเซอจะฮ์เตอรา
เพลง: เซอลามัตซุลตัน
   รัฐตรังกานู ใน    ประเทศมาเลเซีย
   รัฐตรังกานู ใน    ประเทศมาเลเซีย
พิกัด: 4°45′N 103°0′E / 4.750°N 103.000°E / 4.750; 103.000
เมืองหลวงกัวลาเตอเริงกานู
เมืองเจ้าผู้ครองกัวลาเตอเริงกานู
การปกครอง
 • ประเภทราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญระบบรัฐสภา
 • สุลต่านสมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านมีซัน ไซนัล อาบีดิน
 • มุขมนตรีอะฮ์มัด ซัมซูรี มคตาร์ (พรรคอิสลามมาเลเซีย)
พื้นที่[2]
 • ทั้งหมด13,035 ตร.กม. (5,033 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2017)[3]
 • ทั้งหมด1,210,500[1] (ที่ 10) คน
ดัชนีรัฐ
 • ดัชนีการพัฒนามนุษย์ (2017)0.807 (สูงมาก) (อันดับที่ 3)[4]
เขตเวลาUTC+8 (เวลามาตรฐานมาเลเซีย)
รหัสไปรษณีย์20xxx ถึง 24xxx
รหัสโทรศัพท์09
ทะเบียนพาหนะT
สหราชอาณาจักรปกครองค.ศ. 1909
ญี่ปุ่นยึดครองค.ศ. 1942
เข้าร่วมสหพันธรัฐมาลายาค.ศ. 1948
รับเอกราชเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐมาลายา31 สิงหาคม ค.ศ. 1957
เว็บไซต์www.terengganu.gov.my

รัฐตรังกานูตั้งอยู่ริมชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของมาเลเซียตะวันตก ทางทิศเหนือและทิศตะวันตกติดต่อกับรัฐกลันตัน ทางทิศใต้ติดต่อกับรัฐปะหัง และทางทิศตะวันออกจรดทะเลจีนใต้ หมู่เกาะเปอร์เฮินเตียน (Perhentian Islands) เป็นส่วนหนึ่งของรัฐนี้ด้วย ทำให้รัฐตรังกานูมีพื้นที่ทั้งหมดรวม 12,955 ตารางกิโลเมตร

องค์ประกอบทางชาติพันธุ์ในปี พ.ศ. 2538 ได้แก่ ชาวมลายู (859,402 คน หรือร้อยละ 94) ชาวจีน (42,970 คน หรือร้อยละ 5) ชาวอินเดีย (4,355 คน) และอื่น ๆ (3,238 คน)

เมืองชายฝั่งกัวลาเตอเริงกานูตั้งอยู่ที่ปากแม่น้ำตรังกานู เป็นทั้งเมืองหลวงของรัฐและเมืองของสุลต่าน และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของรัฐ

ศาสนา

สถิติจำนวนผู้นับถือศาสนาต่าง ๆ ของรัฐตรังกานูใน ค.ศ. 2010[6]
ศาสนาอัตราส่วน
อิสลาม
  
96.9%
พุทธ
  
2.5%
ฮินดู
  
0.2%
คริสต์
  
0.2%
ไม่มีศาสนาและอื่น ๆ
  
0.2%

รายนามเจ้าเมืองตรังกานู

พระนามพระนามตามเอกสารฝ่ายไทยปีที่ดำรงตำแหน่ง (ค.ศ.)
Zainal Abidin Iสุลต่านมะหมัด1725–1733
Mansur Shah Iพระยาตรังกานู (ตวนมาโซ)1733–1793
Zainal Abidin IIพระยาตรังกานู (ตนกูแยนา)1793–1808
Ahmad Shah Iพระยาตรังกานู (ตนกูอามัด)1808–1830
Abdul Rahmanพระยาตรังกานู (ตนกูอับดุลมาน)1830–1831
Omar Riayat Shah
Mansur Shah II
ตนกูอุมา
ตนกูมังโซ[7]
1831 (ครองตำแหน่งร่วมกัน)
Mansur Shah IIพระยาตรังกานู (ตนกูมังโซ)1831–1837
Muhammad Shah Iพระยาตรังกานู (ตนกูมะหมัด)1837–1839
Omar Riayat Shahพระยาตรังกานู (ตนกูอุมา)1839–1876
Mahmud Mustafa Shahพระยาตรังกานู (ตนกูปะสา)1876-1877
Ahmad Muadzam Shah II1876–1881
Zainal Abidin III
สุลต่านไซนัล อาบิดีนที่ 3
พระยาพิไชยภูเบนทร์ พระยาตรังกานู
(ตวนกูไชนาลรบีดิน)
1881–1918 (อังกฤษปกครอง 1909)
Muhammad Shah II
สุลต่านมูฮัมหมัด ชาห์ที่ 2
1918–1920
Sulaiman Badrul Alam Shah
สุลต่านสุไลมาน บาดรุล อลัม ชาห์
1920–1942
Ali Shah
สุลต่านอาลี ชาห์
1942–1945
Ismail Nasiruddin Shah
สุลต่าน อิสมาอิล นาซีรุดดีน ชาห์
1945–1979
Mahmud al-Muktafi Billah Shah
สุลต่านมะห์มุด อัล-มักตาฟี บิลลาห์ ชาห์
1979–1998
Mizan Zainal Abidin
สุลต่านมีซาน ไซนัล อาบีดิน
1998–ปัจจุบัน

อ้างอิง

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง