ดัชนีการพัฒนามนุษย์

ดัชนีการพัฒนามนุษย์ (อังกฤษ: Human Development Index) หรือ เอชดีไอ (HDI) คือดัชนีทางสถิติแบบองค์รวมที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการคาดหมายคงชีพ การศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อหัว ซึ่งใช้จัดลำดับการพัฒนามนุษย์ในแต่ละประเทศเป็น 4 กลุ่ม ยิ่งประเทศใดมีระดับการคาดหมายคงชีพ การศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อหัวมาก ก็จะยิ่งส่งผลให้ระดับการพัฒนามนุษย์มากตามไปด้วย ทั้งนี้ดัชนีดังกล่าวได้รับการพัฒนาโดยนักเศรษฐศาสตร์ชาวปากีสถาน มาห์บับ อุล ฮัก ร่วมกับนักเศรษฐศาสตร์ชาวอินเดีย อมรรตยะ เสน ซึ่งได้วางกรอบการศึกษาไว้ว่าผู้คนสามารถที่จะ "เป็น" หรือ "กระทำ" สิ่งที่ตนปรารถนาในชีวิตได้หรือไม่ และเผยแพร่รายงานการศึกษาโดยโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ

แผนที่โลกแสดงดัชนีการพัฒนามนุษย์ (ข้อมูลใน พ.ศ. 2564 ซึ่งเผยแพร่เมื่อ 8 กันยายน พ.ศ. 2565)[1]
  0.800–1.000 (สูงมาก)
  0.700–0.799 (สูง)
  0.550–0.699 (กลาง)
  0.350–0.549 (ต่ำ)
  ไม่มีข้อมูล

ใน พ.ศ. 2553 รายงานการพัฒนามนุษย์ได้ริเริ่มดัชนีการพัฒนามนุษย์ปรับปรุงด้วยความไม่เท่าเทียมหรือ "ไอเอชดีไอ" (Inequality-adjusted Human Development Index; IHDI) ในขณะที่ดัชนีแบบเดิมยังถือว่ามีข้อมูลที่เป็นประโยชน์อยู่ โดยกล่าวว่า "ไอเอชดีไอคือดัชนีที่สะท้อนระดับการพัฒนามนุษย์ที่แท้จริง (เนื่องจากพิจารณาความไม่เท่าเทียมในสังคมด้วย)" และ "อาจมองได้ว่าดัชนีการพัฒนามนุษย์แบบเดิมคือศักยภาพในการพัฒนามนุษย์ (ดัชนีไอเอชดีไอสูงสุดที่เป็นได้ เนื่องจากเป็นกรณีที่สังคมมีความเท่าเทียมกันโดยสมบูรณ์)"

ดัชนีการพัฒนามนุษย์วัดความสำเร็จโดยเฉลี่ยของแต่ละประเทศในการพัฒนามนุษย์สามด้านหลัก ๆ ได้แก่

  • การมีชีวิตที่ยืนยาวและมีสุขภาพดี - วัดจากอายุขัย
  • ความรู้ - วัดจากการรู้หนังสือ (มีน้ำหนักเป็นสองในสามส่วน) และอัตราส่วนการเข้าเรียนสุทธิที่รวมกันทั้งระดับประถม มัธยม และอุดมศึกษา (มีน้ำหนักเป็นหนึ่งในสามส่วน)
  • มาตรฐานคุณภาพชีวิต - วัดจากผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (Gross Domestic Product - GDP) ต่อหัวและความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ (purchasing power parity - PPP)

ในแต่ละปี รัฐสมาชิกองค์การสหประชาชาติจะได้รับการจัดอันดับตามดัชนีนี้ ประเทศที่ได้รับการจัดอยู่ในอันดับต้น ๆ มักจะโฆษณาผลการจัดอันดับดังกล่าว (เช่น กรณีของนายฌอง เครเตียง อดีตนายกรัฐมนตรีของแคนาดา) เพื่อที่จะดึงดูดให้บุคลากรที่มีความสามารถอพยพเข้ามาในประเทศของตนมากขึ้น (เพื่อเป็นทรัพยากรมนุษย์ในทางเศรษฐกิจ) หรือเพื่อที่จะลดแรงจูงใจในการอพยพย้ายออก อย่างไรก็ดี องค์การสหประชาชาติยังมีวิธีการวัดความยากจนในแต่ละประเทศอีกด้วย โดยการใช้ดัชนีความยากจนมนุษย์ (Human Poverty Index)

ในปัจจุบันประเทศไทยได้รับการจัดเป็นประเทศที่มีดัชนีการพัฒนามนุษย์สูงมาก จากข้อมูลใน พ.ศ. 2564 ซึ่งเผยแพร่รายงานในวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2565 โดยโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ[1]

ดัชนีการพัฒนามนุษย์ พ.ศ. 2564

โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติได้เผยแพร่รายงานการพัฒนามนุษย์ พ.ศ. 2565 ในวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2565 และได้คำนวณคะแนนสำหรับดัชนีการพัฒนามนุษย์จากประมาณการข้อมูลสำหรับ พ.ศ. 2564 ตารางด้านล่างต่อไปนี้คือกลุ่มประเทศที่มีระดับการพัฒนามนุษย์ "สูงมาก" จำนวน 66 ลำดับ[2][3]

  • = สูงขึ้น
  • = คงเดิม
  • = ต่ำลง
  • ตัวเลขด้านข้างเครื่องหมายแสดงถึงอันดับที่เปลี่ยนแปลงไปจากปีก่อนหน้า
อันดับประเทศHDI
การประเมิน 2565
ในปี 2564
[1]
การเปลี่ยนแปลง
เมื่อเทียบกับ 2563
[1]
การประเมิน 2565
ในปี 2564
[1]
การเปลี่ยนแปลง
เมื่อเทียบกับ 2563
[1]
34 (2)  โปแลนด์0.876
35  บาห์เรน0.875 0.002
35 (1)  ลิทัวเนีย0.875 0.004
35 (3)  ซาอุดีอาระเบีย0.875 0.005
38 (1)  โปรตุเกส0.866 0.003
39 (2)  ลัตเวีย0.863 0.008
40 (5)  อันดอร์รา0.858 0.010
40 (1)  โครเอเชีย0.858 0.003
42 (1)  ชิลี0.855 0.003
42  กาตาร์0.855 0.001
44 (2)  ซานมารีโน0.853 0.008
45 (5)  สโลวาเกีย0.848 0.009
46 (2)  ฮังการี0.846 0.003
47  อาร์เจนตินา0.842 0.002
48  ตุรกี0.838 0.005
49 (3)  มอนเตเนโกร0.832 0.006
50 (4)  คูเวต0.831 0.009
51 (2)  บรูไน0.829 0.001
52 (3)  รัสเซีย0.822 0.008
53  โรมาเนีย0.821 0.003
54 (3)  โอมาน0.816 0.011
55 (3)  บาฮามาส0.812 0.003
56 (3)  คาซัคสถาน0.811 0.003
57 (1)  ตรินิแดดและโตเบโก0.810 0.008
58 (1)  คอสตาริกา0.809 0.007
58 (3)  อุรุกวัย0.809 0.012
60  เบลารุส0.808 0.001
61 (6)  ปานามา0.805 0.004
62 (1)  มาเลเซีย0.803 0.003
63 (1)  จอร์เจีย0.802
63 (1)  มอริเชียส0.802 0.002
63 (1)  เซอร์เบีย0.802 0.002
66 (2)  ไทย0.800 0.002

ประเทศไทย

ประเทศไทยได้รับการจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนามนุษย์ในระดับ "สูงมาก" ซึ่งสถิติคะแนนย้อนหลัง (สำหรับการประเมินใน พ.ศ. 2564) เป็นดังต่อไปนี้

ประเทศอันดับล่าสุด
(พ.ศ. 2565)
เปลี่ยนแปลงจากปีก่อนคะแนน
25642561256025592558255725562555255425532548254325382533
 ไทย66[1] 20.8000.7950.7900.7850.7810.7780.7470.7460.7430.7370.7060.6530.6190.576

อ้างอิง

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง