วิดกึน ควิสลิง

วิดกึน อับราฮัม เลาริตซ์ ยุนเซิน ควิสลิง (นอร์เวย์: Vidkun Abraham Lauritz Jonssøn Quisling; 18 กรกฎาคม ค.ศ. 1887 – 24 ตุลาคม ค.ศ. 1945) เป็นเจ้าหน้าที่ทหารของนอร์เวย์และเป็นนักการเมืองในนามของผู้นำรัฐบาลนอร์เวย์ในช่วงการยึดครองโดยนาซีเยอรมนีในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง

วิดกึน ควิสลิง
A black and white photographic portrait of a man aged around thirty, looking slightly to his left. He is dressed in a dark suit and tie; his hair is neatly combed into a parting.
ควิสลิงใน ค.ศ. 1919
Minister President of Norway
ดำรงตำแหน่ง
1 กุมภาพันธ์ 1942 – 9 พฤษภาคม 1945
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ ผู้ตรวจการไรช์ โยเซฟ แทร์โบเฟิน
ก่อนหน้าJohan Nygaardsvold (ในฐานะนายกรัฐมนตรี)
ถัดไปJohan Nygaardsvold (ในฐานะนายกรัฐมนตรี)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมนอร์เวย์
ดำรงตำแหน่ง
1931–1933
นายกรัฐมนตรี
  • Peder Kolstad
  • Jens Hundseid
ก่อนหน้าTorgeir Anderssen-Rysst
ถัดไปJens Isak de Lange Kobro
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
วิดกึน อับราฮัม เลาริตซ์ ยุนเซิน ควิสลิง

18 กรกฎาคม ค.ศ. 1887(1887-07-18)
Fyresdal เทเลอมาร์ก นอร์เวย์
เสียชีวิต24 ตุลาคม ค.ศ. 1945(1945-10-24) (58 ปี)
ป้อมอาเกิชฮืส ออสโล นอร์เวย์
ศาสนาUniversism
พรรคการเมือง
  • Nasjonal Samling (1933–45)
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
  • Fatherland League (1930–31)
  • Nordisk folkereisning i Norge (1930–31)
  • Agrarian Party (1931–33)
คู่สมรส
  • Alexandra Andreevna Voronina
  • Maria Vasilijevna Quisling (disputed)
ลายมือชื่อ

ควิสลิงได้เข้าสู่วงการการเมืองเป็นครั้งแรกโดยเป็นผู้ประสานงานที่ใกล้ชิดกับฟริตจ็อฟ นันเซิน ผู้จัดการบรรเทามนุษยธรรมในช่วงความอดอยากในรัสเซีย ค.ศ. 1921 ใน Povolzhye เขาได้ติดประกาศในฐานะเอกราชทูตนอร์เวย์ไปยังสหภาพโซเวียต และสำหรับบางครั้งก็ดำเนินการกรณีในการทูตต่ออังกฤษ เขาได้กลับมายังนอร์เวย์ในปี ค.ศ. 1929 และดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในรัฐบาลของ Peder Kolstad (ค.ศ. 1931–32) และ Jens Hundseid (ค.ศ. 1932–33) โดยที่เขาอยู่สังกัดพรรคชาวนา

ในปี ค.ศ. 1933 ควิสลิงได้ลาออกจากพรรคชาวนาและก่อตั้งพรรคนิยมฟาสซิสต์ที่ชื่อ Nasjonal Samling แม้ว่าเขาจะได้รับความนิยมภายหลังจากการที่เขาได้โจมตีนักการเมืองนิยมฝ่ายซ้าย แต่พรรคของเขาไม่สามารถเอาชนะคว้าที่นั่งในรัฐสภา Storting ได้ และในวันที่ 9 เมษายน ค.ศ. 1940 กองทัพเยอรมันได้ยาตราเข้ายึดครองนอร์เวย์ในขณะที่ได้ใกล้คืบคลานเข้ามา เขาได้พยายามจะยึดอำนาจในการก่อรัฐประหารครั้งแรก โดยการป่าวประกาศทางวิทยุออกอากาศไปทั่วโลก แต่เขากลับล้มเหลวภายหลังจากที่รัฐบาลเยอรมันได้ปฏิเสธที่จะสนับสนุนรัฐบาลของเขา

ตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1942 ถึง ค.ศ. 1945 เขาได้ทำหน้าที่เป็นนายกรัฐมนตรีนอร์เวย์ ผู้นำบริหารรัฐนอร์เวย์ร่วมกับผู้บริหารพลเรือนเยอรมัน โยเซฟ เทอร์โบเวน รัฐบาลหุ่นเชิดนิยมนาซีของเขา ได้เป็นที่รู้จักกันในฐานะ"ระบอบควิสลิง" ที่ถูกครอบงำโดยคณะรัฐมนตรีจากพรรค Nasjonal Samling รัฐบาลของควิสลิงได้มีส่วนร่วมกับมาตราการสุดท้ายในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของเยอรมนี ควิสลิงได้ถูกจับกุมตัวและถูกไต่สวนในระหว่างการกวาดล้างฝ่ายนิยมฟาสซิสต์ในนอร์เวย์หลังสงครามโลกครั้งที่สอง เขาถูกตัดสินว่ามีความผิดในข้อหาหลายข้อกล่าวหา รวมทั้งการฉ้อฉล, การฆาตกรรม และเป็นผู้ทรยศอย่างใหญ่หลวงต่อรัฐนอร์เวย์และถูกตัดสินลงโทษด้วยการประหารชีวิต เขาได้ถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าแบบทีมยิง (firing squad) ที่ป้อมอาเกิชฮืส ในกรุงออสโล เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1945 ด้วยคำว่า ควิสลิง ต่อมาได้กลายเป็นภาษิตสำหรับ "ผู้สมรู้ร่วมคิด" หรือ "คนทรยศ" ในหลายภาษา ซึ่งได้สะท้อนแสดงให้เห็นถึงความน่าสังเวชในการกระทำของควิสลิง ทั้งในช่วงเวลาที่ยังมีชีวืตและจนกระทั่งที่เขาได้เสียชีวิตลง

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง