ศาสนาในประเทศญี่ปุ่น

ผู้นับถือศาสนาในประเทศญี่ปุ่น
(CIA World Factbook)[3]
ชินโต
  
70.5%
พุทธ
  
67.2%
คริสต์
  
1.5%
อื่น ๆ
  
5.9%
ที่มีจำนวนมากกว่า 100% เพราะชาวญี่ปุ่นหลายคนนับถือทั้งชินโตและศาสนาพุทธ

ศาสนาในประเทศญี่ปุ่น ส่วนใหญ่นับถือลัทธิชินโตกับศาสนาพุทธ ประมาณ 80% ทำพิธีชินโต สักการะบรรพบุรุษและคามิที่แท่นบูชาประจำบ้านกับศาลเจ้าชินโต ซึ่งมีจำนวนมากพอ ๆ กับศาสนาพุทธ การผสานระหว่างทั้งสอง เรียกโดยทั่วไปว่า ชินบุตสึ-ชูโง ก่อนที่จะมีรัฐชินโตในศตวรรษที่ 19[5] ในขณะที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือชินโต มีแค่ 3% ที่ตอบในใบสอบถาม เพราะเข้าใจว่าบ่งบอกถึงลัทธิชินโต[6][7] ประมาณสองในสามระบุเป็น "ไม่มีศาสนา" (無宗教, มูชูเกียว) และไม่ถือเป็นไม่มีศาสนา เพราะ มูชูเกียว กล่าวถึงศาสนาที่ดูปกติ "ธรรมดา" ในขณะที่ปฏิเสธการเข้าร่วมกับขบวนการที่ถูกกล่าวเป็นพวกต่างชาติหรือหัวรุนแรง[8]

ศาสนาในประเทศญี่ปุ่น (งานวิจัยของเอ็นเอชเคใน ค.ศ. 2018)[4]

  ไม่มี (62%)
  พุทธ (31%)
  คริสต์ (1%)
  อื่น ๆ (1%)
  ไม่ระบุ (2%)

ศาสนาหลัก

ลัทธิชินโต

ชินโต หรือ คามิโนะมิจิ คือศาสนาพื้นเมืองดั้งเดิมของชาวญี่ปุ่น ที่ประชาชนญี่ปุ่นส่วนใหญ่นับถือ[9] จอร์จ วิลเลียม ระบุว่าชินโตเป็นศาสนาที่เน้นการกระทำ[10] โดยเฉพาะการปฏิบัติพิธีกรรมอย่างเคร่งครัดเพื่อเชื่อมโยงรากเหง้าของญี่ปุ่นโบราณ[11] มีเอกสารทางศาสนา คือ โคจิกิ และ นิฮงโชกิ บันทึกและประมวลแนวทางการปฏิบัติตามธรรมเนียมชินโตเป็นครั้งแรกเมื่อราวคริสต์ศตวรรษที่ 8 ซึ่งเป็นการรวบรวมความเชื่อพื้นเมืองและเทวตำนานต่าง ๆ เอาไว้ หาใช่ลัทธิชินโตที่เป็นเอกภาพ[12] กระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 21 ลัทธิชินโตมีศาลเจ้าเป็นของตนเอง ภายในประดิษฐานเทพเจ้าหลายพระองค์ เรียกว่า คามิ[13] ซึ่งศาลเหล่านี้สร้างด้วยวัตถุประสงค์ที่หลากหลาย เช่น เป็นอนุสาวรีย์จากสงคราม การเกษตรกรรม และใช้เพื่อองค์กรศาสนาด้านอื่น ๆ ด้วย ศาสนิกชนมีความเชื่อที่หลากหลาย และมีธรรมเนียมปฏิบัติที่ต่างกันออกไปในแต่ละท้องถิ่น มีการใช้เครื่องแต่งกายและพิธีกรรมทางศาสนาที่ตกทอดมาแต่ยุคนาระ (ค.ศ. 710–794) และยุคเฮอัง (ค.ศ. 794–1185)[12]

คำว่า "ชินโต" เดิมออกเสียงว่า ชินโด[14] เป็นคำจากภาษาจีนว่า เฉินต่าว (จีน: 神道; พินอิน: shén dào)[15] ประกอบด้วยคันจิสองตัวคือคำว่า ชิน (神) แปลว่า วิญญาณ หรือคามิ กับคำว่า โต (道) แปลว่า เส้นทางแห่งปรัชญาหรือการศึกษา[12][15] ปรากฏชื่อ "ชินโด" ครั้งแรกในเอกสารยุคหลังคริสต์ศตวรรษที่ 6[14] ส่วน คามิ มีความหมายว่า "วิญญาณ" "แก่นแท้" หรืออาจแปลว่า "เทพเจ้า" อันหมายถึงพลังงานที่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์ต่าง ๆ[16] คามิปรากฏอยู่หลายรูปแบบ ตั้งแต่ หิน ต้นไม้ แม่น้ำ สัตว์ สถานที่ หรือแม้แต่มนุษย์[16] คามิกับมนุษย์ไม่อาจแยกออกจากกัน เพราะอาศัยอยู่บนโลกเดียวกัน และต่างมีความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนต่อกัน[12]

ลัทธิชินโตถือเป็นศาสนาที่มีประชากรนับถือมากที่สุดในประเทศ มีประชากรราวร้อยละ 80 ปฏิบัติตนตามธรรมเนียมชินโต แต่มีประชากรน้อยมากที่ระบุตนเองว่าเป็นศาสนิกชนของชินโตในการสำรวจ เพราะชาวญี่ปุ่นเข้าศาลเจ้าชินโต และขอพรจากเทพเจ้าได้ โดยไม่ต้องเข้าร่วมองค์กรทางศาสนาใด ๆ[6] ทั้งยังไม่มีพิธีกรรมเพื่อเข้าเป็นศาสนิกชนชินโตอย่างเป็นทางการ หากจะมีการนับก็จะประมาณการจากจำนวนผู้เข้าร่วมนิกายย่อยของลัทธิชินโตที่จัดตั้งใหม่แทน[7] มีศาลเจ้าชินโต 100,000 แห่ง[13] และมีนักบวชจำนวน 78,890 คน ทั่วประเทศญี่ปุ่น[17]

ศาสนาพุทธ

ศาสนาพุทธเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่นครั้งแรก เมื่อ ค.ศ. 538 หรือ 552[18] โดยแพร่หลายมาจากอาณาจักรแพ็กเจ (ปัจจุบันอยู่ในประเทศเกาหลีใต้)[18] กษัตริย์แพ็กเจส่งม้วนภาพพระพุทธเจ้าและพระสูตรบางส่วนให้แก่จักรพรรดิญี่ปุ่น จากนั้นศาสนาพุทธก็เผชิญการต่อต้านจากกลุ่มอนุรักษ์นิยมในช่วงระยะสั้น ๆ ราชสำนักญี่ปุ่นจึงให้การยอมรับศาสนาพุทธใน ค.ศ. 587[18] ในช่วงเวลานั้นรัฐยามาโตะมีอำนาจเหนือชนเผ่าต่าง ๆ มีความเชื่อเรื่องเทพบรรพชนและเทพจากธรรมชาติ[19] ในช่วงเวลานั้นก็เริ่มมีชนกลุ่มอื่นอพยพเข้ามาบนหมู่เกาะญี่ปุ่น ได้แก่ คลื่นผู้อพยพจากคาบสมุทรเกาหลี[20] ชนบนหลังม้าจากเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ[18] และการรับวัฒนธรรมจีนแผ่นดินใหญ่ยุคราชวงศ์สุย[21][20] ศาสนาพุทธให้การสนับสนุนอำนาจรัฐ และหล่อหลอมตนเองเข้ากับวัฒนธรรมเอเชียตะวันออก[19] คณะขุนนางญี่ปุ่นเริ่มสร้างวัดพุทธที่เมืองนาระ และเมืองเฮอัง (ปัจจุบันคือเกียวโต)[19]

เมื่อรัฐบาลโชกุนมีอำนาจในคริสต์ศตวรรษที่ 12 มีการย้ายเมืองหลวงฝ่ายบริหารไปที่เมืองคามากูระ ศาสนาพุทธรูปแบบอื่น ๆ ก็เข้ามาเผยแผ่มากขึ้น โดยเฉพาะนิกายเซน ซึ่งเป็นนิกายที่ได้รับความนิยมมาก และในยุคฟื้นฟูเมจิเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีนโยบายยกลัทธิชินโตเป็นศาสนาประจำชาติ มีการแยกศาสนสถานของชินโตกับพุทธออกจากกัน ตามมาด้วยนโยบายกำจัดศาสนาพุทธอย่างเป็นระบบ หวังให้หมดไปจากแผ่นดินญี่ปุ่น เรียกว่า ไฮบุตสึคิชากุ

ค.ศ. 2018 มีพระภิกษุ นักพรต และผู้นำของศาสนาพุทธมากกว่า 355,000 รูป[22] ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดิมคือจำนวน 40,000 รูป เมื่อ ค.ศ. 2000[23]

การจำแนกประชากร

รายงานจากงานวิจัยรวบรวมสถิติศาสนารายปีใน ค.ศ. 2015 โดยทบวงวัฒนธรรม, รัฐบาลญี่ปุ่น: มีกลุ่มผู้นับถือศาสนา 181,000 กลุ่มในประเทศญี่ปุ่น[24]

รายงานจากงานวิจัยใน ค.ศ. 2006[25] และ 2008[26] ชาวญี่ปุ่นที่ระบุตัวตนเป็นศาสนาองค์กรมีน้อยกว่า 40% ของประชากร ประมาณ 35% นับถือศาสนาพุทธ, 3 ถึง 4% เป็นสมาชิกของลัทธิชินโต และน้อยกว่า 1%[27][28][29] ถึง 2.3% นับถือศาสนาคริสต์[note 1]

ผู้นับถือศาสนาในญี่ปุ่น
ศาสนา1984[30]1996[31]2008[26]
พุทธ27%29.5%34%
ชินโต3%1%3%
คริสต์2%2%1%
ผู้นับถือศาสนาในญี่ปุ่นแบ่งตามจังหวัด (ค.ศ. 1996)[31]
จังหวัดพุทธ
เท็นได
หรือ
ชิงงง
พุทธ
นิกาย
สุขาวดี
พุทธ
นิกาย
เซน
พุทธ
นิชิเร็น
สมาคม
สร้างคุณค่า
สำนักพุทธอื่นๆพุทธองค์รวมสำนักหรือ
องค์กรชินโต
คริสต์ชินโตพื้นบ้าน
หรือไม่นับถือ
ฮกไกโด~3%13.3%8.2%3.2%~2%~2%~31.7%~2%~1%~65.3%
อาโอโมริ~1%10.3%5.6%3.4%~2%~3%~25.3%~2%~1%~71.7%
อิวะเตะ~2%6.1%12.8%~0~2%~3%~25.9%~0~1%~73.1%
มิยางิ~3%4.8%9.5%~2%~2%~2%~23.3%~0~1%~75.7%
อากิตะ~06.9%9.5%~3%~2%~2%~21.4%~3%~0~75.6%
ยามางาตะ~4%5.6%8.5%~3%~3%3.4%~27.5%~2%~1%~69.5%
ฟูกูชิมะ5.2%4.8%5.2%~0~3%~3%~21.2%~0~0~78.8%
อิบารากิ7.1%4.1%~2%~2%~3%~2%~20.2%~1%~1%~77.8%
โทจิงิ6%3.1%~3%~3%3.1%~2%~20.2%~0~1~78.8%
กุมมะ6.6%3.6%5.8%~3%~3%~2%~24%~1%~2%~73%
ไซตามะ5.8%5.2%~3%~2%3.3%~1%~20.3%~0~2%~77.7%
ชิบะ3.8%4.5%~1%3.3%~3%~1%~16.6%~0~1%~82.4%
โตเกียว3.4%8.3%~2%3.3%4%~2%~23%~1%3.4%~72.6%
คานางาวะ~3%5.5%3.7%3.7%3.5%~2%~21.4%~1%~3%~74.6%
นีงาตะ3.2%10.6%4.9%~1%~2%~2%~23.7%~1%~1%~74.3%
โทยามะ~2%41.3%~1%~2%~1%~1%~48.3%~0~0~51.7%
อิชิกาวะ~236.2%~1%~1%~0~3%~43.2%~1%~1%~54.8%
ฟูกูอิ~2%41.4%5.5%3.9%~1%~3%~56.8%~1%~0~42.2%
ยามานาชิ~1%4.5%6.2%8.9%~3%~3%~26.6%~1%~1%~71.4%
นางาโนะ3.5%11.8%7.6%~2%~3%~2%~29.9%~1%~1%~68.1%
กิฟุ~3%23.2%6.8%~1%~3%~1%~38.1%~1%~1%~59.9%
ชิซูโอกะ~1%6.2%9.4%7.3%3.6%~4%~31.5%~1%~1%~66.5%
ไอชิ~3%16.7%8.5%~1%~3%~2%~34.2%~2%~2%~61.8%
มิเอะ~3%22.9%4.2%~1%~2%~2%~35.1%~1%~1%~62.9%
ชิงะ3%26.7%3.2%~2%~3%~0~37.9%~0~1%~61.1%
เกียวโต~3%17.5%3.4%~2%~3%~3%~31.9%~2%~2%~66.1%
โอซากะ5.9%15.6%~3%3%5.2%~1%~33.7%~1%~1%~64.3%
เฮียวโงะ8.6%12.2%3.1%~3%3.1%~3%~33%~2%~2%~63%
นาระ4.2%17.3%~1%~3%~3%~2%~30.5%~0~1%~68.5%
วากายามะ9.6%13.5%~3%~1%3.5%~2%~32.6%~0~0~67.4%
ทตโตะริ~3%10.4%8.8%4%~2%~3%~31.2%~3%~1%~64.8%
ชิมาเนะ~4%18.4%6.5%~2%~1%~3%~30.9%~2%~1%~66.1%
โอกายามะ16.6%5.1%3%5.9%~3%0~33.6%~2%~1%~63.4%
ฮิโรชิมะ4.4%35.3%3.6%~2%4.9%~1%~51.2%~2%~2%~44.8%
ยามางูจิ~3%21.9%3.8%~2%3.8%~1%~35.5%~1%~1%~62.5%
โทกูชิมะ19.8%6.7%~0~1%3%~1%~31.5%~1%~1%~66.5%
คางาวะ14%18%~1%~2%~3%~1%~39%~0~1%~60%
เอฮิเมะ9.3%6.7%5.3%~2%~3%~1%~27.3%~1%~2%~69.7%
โคจิ6.3%6.3%~0~1%~3%~1%~17.6%5.5%~0~76.9%
ฟูกูโอกะ~2%24.1%3.3%3%3.3%~2%~37.7%~1%~2%~59.3%
ซางะ~4%21.9%6.1%~3%~2%~3%~40%~0~0~60%
นางาซากิ4.9%19.5%3.6%5.1%~3%~3%~39.1%~2%5.1%~53.8%
คูมาโมโตะ~2%28.4%~3%~2%~2%~1%~38.4%~0~1%~61.6%
โออิตะ~3%20.7%4.7%~3%~3%~1%~35.4%~2%~1%~61.6%
มิยาซากิ~3%18.2%~3%~3%~3%3.3%~33.5%3.8%~1%~61.7%
คาโงชิมะ~2%29.8%~1%~2%~3%6%~43.8%~3%~0~53.2%
โอกินาวะ~0~0~0~03.6%~0~3,6%~0~3~93.4%
ญี่ปุ่น4%12.9%4.1%~3%3%~2.5%~29.5%~1%~2%~67.5%

หมายเหตุ

อ้างอิง

สารานุกรม

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง