จังหวัดโอซากะ

จังหวัดของประเทศญี่ปุ่น

จังหวัดโอซากะ (ญี่ปุ่น: 大阪府โรมาจิŌsaka-fu) เป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศญี่ปุ่นที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคคันไซบนเกาะฮนชู[1] จังหวัดโอซากะมีจำนวนประชากร 8,778,035 คน (ข้อมูลเมื่อ 1 เมษายน ค.ศ. 2022 (2022 -04-01)) และมีขนาดพื้นที่ 1,905 ตารางกิโลเมตร (736 ตารางไมล์) จังหวัดโอซากะมีอาณาเขตทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือติดกับจังหวัดเฮียวโงะ ทิศเหนือติดกับจังหวัดเกียวโต ทิศตะวันออกเฉียงใต้ติดกับจังหวัดนาระ และทิศใต้ติดกับจังหวัดวากายามะ

จังหวัดโอซากะ

大阪府
การถอดเสียงภาษาญี่ปุ่น
 • คันจิ大阪府
 • โรมาจิŌsaka-fu
 • ทับศัพท์ไทยโอซากะ-ฟุ
บน: ปราสาทโอซากะและโอซากะบิซเนสพาร์ก,
กลาง: โดตมโบริ, เทศกาลคิชิวาดะดันจิริ,
ล่าง: ย่านเมืองเก่าทนดาบายาชิ จิไนมาจิ, หมู่สุสานโมซุ
ธงของจังหวัดโอซากะ
ธง
ตราอย่างเป็นทางการของจังหวัดโอซากะ
ตรา
แผนที่
ที่ตั้งของจังหวัดโอซากะ
พิกัด: 34°41′11″N 135°31′12″E / 34.68639°N 135.52000°E / 34.68639; 135.52000
ประเทศ ญี่ปุ่น
ภูมิภาคคันไซ
เกาะฮนชู
เมืองหลวงนครโอซากะ
หน่วยย่อยการปกครองอำเภอ: 5, เทศบาล: 43
การปกครอง
 • นายกจังหวัดฮิโรฟูมิ โยชิมูระ
พื้นที่
 • ทั้งหมด1,905.14 ตร.กม. (735.58 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่ที่ 46
ประชากร
 (1 กรกฎาคม ค.ศ. 2019)
 • ทั้งหมด8,823,358 คน
 • อันดับที่ 3
 • ความหนาแน่น4,600 คน/ตร.กม. (12,000 คน/ตร.ไมล์)
รหัส ISO 3166JP-27
เว็บไซต์www.pref.osaka.lg.jp
สัญลักษณ์
สัตว์ปีกนกอีเสือ, โมซุ (Lanius bucephalus)
ดอกไม้ดอกบ๊วย (Prunus mume)
พริมโรส (Primula sieboldii)
ต้นไม้ต้นแปะก๊วย (Ginkgo biloba)

เมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัดคือ นครโอซากะ ซึ่งเป็นนครที่มีประชากรมากเป็นอันดับสามของประเทศ นครที่สำคัญอื่น ๆ ในจังหวัดโอซากะ เช่น ซาไก ฮิงาชิโอซากะ และฮิรากาตะ[2] จังหวัดโอซากะเป็นจังหวัดที่มีประชากรมากเป็นอันดับสามของประเทศ แต่มีขนาดพื้นที่เล็กเป็นอันดับสอง ส่วนในด้านความหนาแน่นของประชากร ซึ่งอยู่ที่ 4,600 คนต่อตารางกิโลเมตร (12,000 คนต่อตารางไมล์) จัดเป็นจังหวัดที่หนาแน่นเป็นอันดับสองของประเทศ โดยเป็นรองเพียงมหานครโตเกียวเท่านั้น จังหวัดโอซากะเป็นหนึ่งในสองจังหวัดของญี่ปุ่นที่ใช้คำว่า ฟุ (府 fu) ต่อท้ายชื่อเช่นเดียวกับจังหวัดเกียวโต ในขณะที่จังหวัดอื่น ๆ ใช้คำว่า เค็ง (県 ken) จังหวัดโอซากะเป็นศูนย์กลางของเขตมหานครเคฮันชิง ซึ่งเป็นเขตมหานครที่มีประชากรมากเป็นอันดับสองรองจากเขตมหานครโตเกียว และเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมมากติดอันดับโลก

ประวัติศาสตร์

ก่อนสมัยการฟื้นฟูเมจิ บริเวณจังหวัดโอซากะในปัจจุบันเคยแบ่งออกเป็นหลายแคว้น ได้แก่ แคว้นคาวาจิ แคว้นอิซูมิ[3][4] และแคว้นเซ็ตสึ[5] ภายหลังการยกเลิกระบบแคว้นในช่วงเริ่มต้นของยุคเมจิ จึงมีการจัดตั้งจังหวัดโอซากะขึ้นเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน ค.ศ. 1868[6] โดยลงท้ายชื่อจังหวัดด้วยคำว่า ฟุ (府 fu)

เมื่อวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1956 มีการยกฐานะนครโอซากะขึ้นเป็น "นครใหญ่ที่ตั้งขึ้นโดยข้อบัญญัติรัฐบาล" โดยแบ่งออกเป็น 24 เขต ต่อมาก็ได้มีการยกฐานะนครซาไกเป็นนครใหญ่ที่ตั้งขึ้นโดยข้อบัญญัติรัฐบาลแห่งที่สองของจังหวัดเมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 2006 โดยแบ่งออกเป็น 7 เขต

เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ. 2018 เกิดแผ่นดินไหวขึ้นทางตอนเหนือของจังหวัด ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 4 ราย และสร้างความเสียหายเล็กน้อยในพื้นที่โดยรอบของโอซากะ[7]

ภูมิศาสตร์

จังหวัดโอซากะมีอาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจังหวัดเฮียวโงะและจังหวัดเกียวโต ทิศตะวันออกติดกับจังหวัดนาระ ทิศใต้ติดกับจังหวัดวากายามะ และทิศตะวันตกติดกับอ่าวโอซากะ โดยมีแม่น้ำโยโดะและแม่น้ำยามาโตะไหลผ่านในเขตจังหวัด

ก่อนจะมีการก่อสร้างท่าอากาศยานนานาชาติคันไซ โอซากะถูกจัดว่าเป็นจังหวัดที่เล็กที่สุดในญี่ปุ่น แต่เมื่อมีการถมทะเลและสร้างเป็นท่าอากาศยานขึ้นมา ก็ทำให้มีพื้นที่เพิ่มจนมีขนาดใหญ่กว่าจังหวัดที่เล็กที่สุดอย่างจังหวัดคางาวะเล็กน้อย[8][9]

ณ วันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 2012 ร้อยละ 11 ของพื้นที่ทั้งหมดของจังหวัดได้รับกำหนดให้เป็นเขตอุทยาน ได้แก่ อุทยานกึ่งแห่งชาติคงโง-อิโกมะ-คิเซ็ง, อุทยานกึ่งแห่งชาติเมจิโนะโมริมิโน, อุทยานจังหวัดโฮกุเซ็ตสึ และอุทยานจังหวัดฮันนัง-มิซากิ[10]

การเมืองการปกครอง

ศาลากลางจังหวัดโอซากะ

ใน ค.ศ. 2000 ฟูซาเอะ โอตะ ได้ดำรงตำแหน่งเป็นนายกจังหวัดหญิงคนแรกของประเทศญี่ปุ่น โดยเธอเข้ามาแทนที่น็อก โยโกยามะ ซึ่งลาออกหลังจากถูกดำเนินคดีในข้อหาล่วงละเมิดทางเพศ[11] โทรุ ฮาชิโมโตะ ซึ่งก่อนหน้านี้เคยมีชื่อเสียงในรายการโทรทัศน์ที่เกี่ยวกับการให้คำปรึกษาทางกฎหมาย ได้รับการเลือกให้เป็นนายกจังหวัดใน ค.ศ. 2008 ขณะอายุ 38 ปี ทำให้เป็นนายกจังหวัดที่มีอายุน้อยที่สุดในประเทศญี่ปุ่น[12]

ข้อเสนอการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหาร

ใน ค.ศ. 2010 กลุ่มฟื้นฟูโอซากะได้ก่อตั้งขึ้นโดยได้รับการสนับสนุนจากนายกจังหวัดโทรุ ฮาชิโมโตะ ด้วยความประสงค์ที่จะปฏิรูปจังหวัดโอซากะให้เป็นมหานครโอซากะและรวมเข้ากับนครโอซากะ[12] ในการเลือกตั้งท้องถิ่น ค.ศ. 2011 กลุ่มฟื้นฟูโอซากะสามารถคว้าที่นั่งส่วนใหญ่ของสภาจังหวัดไว้ได้ และฮาชิโมโตะได้รับเลือกให้เป็นนายกเทศมนตรีนครโอซากะ

การลงประชามติในประเด็นนี้จัดขึ้นครั้งแรกใน ค.ศ. 2015 ผลที่ได้คือมีผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับแผนดังกล่าวด้วยคะแนนเสียงร้อยละ 50.38 ของผู้ลงคะแนนทั้งหมด[12] และได้มีการลงประชามติครั้งที่สองใน ค.ศ. 2020 ผลคือมีผู้ไม่เห็นด้วยร้อยละ 50.6 ของผู้ลงคะแนนทั้งหมด[13]

การแบ่งเขตการบริหาร

นครซาไก และหมู่สุสานโมซุ
นครทากัตสึกิ

นับตั้งแต่ ค.ศ. 2005 จังหวัดโอซากะประกอบด้วย 43 เทศบาล ได้แก่ 33 เทศบาลนคร, 9 เทศบาลเมือง และ 1 เทศบาลหมู่บ้าน โดยใน ค.ศ. 2021 เทศบาลนครทั้ง 33 แห่งนี้ เป็นนครใหญ่ที่ตั้งขึ้นโดยข้อบัญญัติรัฐบาล 2 แห่ง, นครศูนย์กลาง 7 แห่ง และนครพิเศษ (ในช่วงเปลี่ยนผ่าน) 2 แห่ง (ระบบนครพิเศษได้ถูกยกเลิกในบทกฎหมายไปเมื่อ ค.ศ. 2015 และจะถูกแทนที่ด้วยระบบนครศูนย์กลางภายในคริสต์ทศวรรษ 2020)

นอกจากนี้ยังมีการแบ่งพื้นที่จังหวัดโอซากะเป็นอำเภอซึ่งไม่มีหน่วยงานบริหาร มีจำนวน 5 อำเภอ โดยจะครอบคลุมเฉพาะพื้นที่ที่เป็นเทศบาลเมืองและหมู่บ้านเท่านั้น

แผนที่เทศบาลในจังหวัดโอซากะ
     นครใหญ่ที่ตั้งขึ้นโดยข้อบัญญัติรัฐบาล      นคร      เมือง      หมู่บ้าน
ธงชื่อประเภทอำเภอ
(-กุง)
พื้นที่
(ตร.กม.)
ประชากร
(คน)
รหัส
ท้องถิ่น
ทับศัพท์ไทยอักษรญี่ปุ่นโรมาจิ
โอซากะ大阪市Ōsaka-shiนครใหญ่
โดยข้อบัญญัติ
รัฐบาล
ไม่มีอำเภอ225.212,668,58627100-4
ซาไก堺市Sakai-shi149.82828,74127140-3
โทโยนากะ豊中市Toyonaka-shiนครศูนย์กลาง36.38396,01427203-5
ซูอิตะ吹田市Suita-shi36.11378,32227205-1
ทากัตสึกิ高槻市Takatsuki-shi105.31350,91427207-8
ฮิรากาตะ枚方市Hirakata-shi65.08401,44927210-8
ยาโอะ八尾市Yao-shi41.71268,01327212-4
เนยางาวะ寝屋川市Neyagawa-shi24.73236,75827215-9
ฮิงาชิโอซากะ東大阪市Higashi-Ōsaka-shi61.78495,01127227-2
คิชิวาดะ岸和田市Kishiwada-shiนครพิเศษ72.68197,62927202-7
อิบารากิ茨木市Ibaraki-shi76.52280,56227211-6
อิเกดะ池田市Ikeda-shiนคร22.09103,02827204-3
อิซูมิโอตสึ泉大津市Izumi-Ōtsu-shi13.3675,39827206-0
ไคซูกะ貝塚市Kaizuka-shi43.9988,34527208-6
โมริงูจิ守口市Moriguchi-shi12.73143,87727209-4
อิซูมิซาโนะ泉佐野市Izumi-Sano-shi55.03100,64927213-2
ทนดาบายาชิ富田林市Tondabayashi-shi39.66112,99327214-1
คาวาจินางาโนะ河内長野市Kawachi-Nagano-shi109.61105,87227216-7
มัตสึบาระ松原市Matsubara-shi16.66121,12527217-5
ไดโต大東市Daitō-shi18.27119,32927218-3
อิซูมิ和泉市Izumi-shi84.98186,37027219-1
มิโน箕面市Minoo-shi47.84134,43527220-5
คาชิวาระ柏原市Kashiwara-shi25.3976,38327221-3
ฮาบิกิโนะ羽曳野市Habikino-shi26.44113,25627222-1
คาโดมะ門真市Kadoma-shi12.28124,51627223-0
เซ็ตสึ摂津市Settsu-shi14.8885,29027224-8
ทากาอิชิ高石市Takaishi-shi11.3556,58327225-6
ฟูจิอิเดระ藤井寺市Fujidera-shi8.8965,07527226-4
เซ็นนัง泉南市Sennan-shi48.4862,07627228-1
ชิโจนาวาเตะ四條畷市Shijōnawate-shi18.7455,83227229-9
คาตาโนะ交野市Katano-shi25.5576,38327230-2
โอซากะซายามะ大阪狭山市Ōsaka-Sayama-shi11.8657,99327231-1
ฮันนัง阪南市Hannan-shi36.155,79827232-9
ชิมาโมโตะ島本町Shimamoto-chōเมืองมิชิมะ16.7829,97027301-5
โทโยโนะ豊能町Toyono-chōโทโยโนะ34.3719,51927321-0
โนเซะ能勢町Nose-chō98.689,97127322-8
ทาดาโอกะ忠岡町Tadaoka-chōเซ็มโบกุ4.0317,18727341-4
คูมาโตริ熊取町Kumatori-chōเซ็นนัง17.2343,98827361-9
ทาจิริ田尻町Tajiri-chō4.968,37727362-7
มิซากิ岬町Misakichō49.0816,26727366-0
ไทชิ太子町Taishi-chōมินามิคาวาจิ14.1713,63427381-3
คานัง河南町Kanan-chō25.2616,02727382-1
ชิฮายะอากาซากะ千早赤阪村Chihaya-Akasaka-muraหมู่บ้าน37.385,46727383-0
จังหวัดโอซากะ大阪府Ōsaka-fuจังหวัด1,905.148,823,35827000-8

เศรษฐกิจ

อูเมดะ
ปราสาทโอซากะ
Universal Studios Japan
ท่าอากาศยานนานาชาติคันไซ
ตึกอูเมดะสกาย
ป้ายโฆษณากูลิโกะ อันมีชื่อเสียง

ในปีงบประมาณ 2004 ผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดโอซากะอยู่ที่ 38.7 ล้านล้านเยน เป็นรองเพียงแค่โตเกียวเท่านั้น นับว่าเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 0.9 และตัวเลขนี้คิดเป็นร้อยละ 48 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมทั้งหมดของพื้นที่คิงกิ รายได้ต่อหัวของประชากรอยู่ที่ 3.0 ล้านเยน สูงเป็นอันดับ 7 ประเทศ[14] มียอดการค้าในปีเดียวกันนี้ 60.1 ล้านล้านเยน[15]

ยักษ์ใหญ่ในวงการอิเล็กทรอนิกส์อย่างพานาโซนิคและชาร์ปต่างก็มีสำนักงานใหญ่อยู่ในพื้นที่เศรษฐกิจของจังหวัดโอซากะ นอกจากนี้ยังมีธุรกิจขนาดกลางและย่อม (SME) อยู่มากมาย โดยในปี 2006 นครโอซากะมี SME อยู่ 330,737 แห่ง[16] ผลผลิตที่มาจาก SME เหล่านี้คิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 65.4 ของผลผลิตทั้งหมดในตัวจังหวัด[17] สาเหตุหนึ่งที่ทำให้โอซากะเป็นที่สนใจในด้านเศรษฐกิจก็คือความร่วมมือทางวิชาการและอุตสาหกรรม นอกจากนี้ โอซากะยังเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์ โดยเฉพาะตราสารอนุพันธ์ เช่น ฟิวเจอร์สนิกเกอิ 225 นับว่าเป็นศูนย์กลางที่สำคัญของโลก

อุตสาหกรรมที่ใหญ่ในโอซากะมีหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เคมี ยา อุตสาหกรรมหนัก อาหาร และของตกแต่งบ้าน

ประชากร

ประวัติจำนวนประชากร
ปีประชากร±% p.a.
18901,324,216—    
19031,823,456+2.49%
19132,461,067+3.04%
19202,587,847+0.72%
19253,059,502+3.41%
19303,540,017+2.96%
19354,297,174+3.95%
19404,792,966+2.21%
19452,800,958−10.19%
19503,857,047+6.61%
19554,618,308+3.67%
19605,504,746+3.57%
19656,657,189+3.87%
19707,620,480+2.74%
19758,278,925+1.67%
19808,473,446+0.47%
19858,668,095+0.46%
19908,734,516+0.15%
19958,797,268+0.14%
20008,805,081+0.02%
20058,817,166+0.03%
20108,865,245+0.11%
20158,838,908−0.06%
แหล่งข้อมูล:[18]

จากการสำมะโนประชากรในปี พ.ศ. 2548 จังหวัดโอซากะมีประชากร 8,817,166 คน เพิ่มขึ้นจากการสำมะโนประชากรในปี พ.ศ. 2543 จำนวน 12,085 คน หรือร้อยละ 0.14[19]

วัฒนธรรม

วัดและศาลเจ้า

  • ชิเทนโนจิ
  • คันชินจิ
  • ซูมิโยชิ ไทชะ

พิพิธภัณฑ์

  • พิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์แห่งชาติ [1][ลิงก์เสีย]
  • พิพิธภัณฑ์หัตถกรรมพื้นบ้าน [2]

มหาวิทยาลัย

  • มหาวิทยาลัยโอซากะ (Osaka University)
  • มหาวิทยาลัยคันไซ (Kansai University)
  • มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์คันไซ (Kansai Medical University)
  • มหาวิทยาลัยนครโอซากะ (Osaka City University)
  • มหาวิทยาลัยจังหวัดโอซากะ (Osaka Prefecture University)
  • Osaka Kyoiku University
  • Kinki University
  • Kansai Gaidai University
  • Osaka International Educational University
  • Osaka University of Health and Sport sciences
  • Osaka University of Commerce
  • Osaka University of Economic and Law
  • Osaka College of Music
  • Osaka Electro Communication University
  • Osaka Gakuin University
  • Otemon Gakuin University
  • Hannan University
  • Setsunan University
  • St. Andrew's University
  • Taisei Gakuin University
  • Tezukayama Gakuin University

สวนสาธารณะ

  • สวนที่ระลึกงานเอ็กซ์โป - เคยเป็นสถานที่จัดงานเวิร์ลด์เอ็กซ์โป '70
  • สวนฮัตโตริรีวคุจิ
  • สวนสึรุมิรีวคุจิ
  • สวนนะไง
  • สวนปราสาทโอซากะ
  • สวนนะกะโนะชิมะ

การคมนาคม

จังหวัดโอซากะ มีการคมนาคมที่ทันสมัย มีท่าอากาศยานนานาชาติอยู่สองแห่ง คือ ท่าอากาศยานนานาชาติคันไซ และ ท่าอากาศยานนานาชาติโอซากะ และยังมีรถไฟความเร็วสูงชิงกันเซ็งวิ่งผ่าน โดยจะจอดที่สถานีชินโอซากะ ไม่ไกลจากตัวเมือง ส่วนการคมนาคมทางเรือก็สะดวกสบาย สามารถโดยสารเรือไปได้ทั้งในและต่างประเทศ

กีฬา

ฟุตบอล

เบสบอล

บาสเกตบอล

รักบี้

สัญลักษณ์ของจังหวัด

สัญลักษณ์ของจังหวัดโอซากะ คือ sennari byōtan หรือ พันน้ำเต้า ซึ่งเคยเป็นตราของไดเมียวโทโยโตมิ ฮิเดโยชิ ผู้ปกครองผู้สร้างปราสาทโอซากะ

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง