สงครามปลดปล่อยบังกลาเทศ

ความขัดแย้งที่นำไปสู่เอกราชของบังกลาเทศ

สงครามปลดปล่อยบังกลาเทศ สงครามประกาศอิสรภาพบังกลาเทศ หรือ สงครามปลดปล่อย[b] (เบงกอล: মুক্তিযুদ্ধ) เป็นการปฏิวัติและการขัดกันด้วยอาวุธที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1971 เมื่อขบวนการชาตินิยมเบงกอลและเรียกร้องการกำหนดการปกครองด้วยตนเองในปากีสถานตะวันออกก่อการกำเริบจนนำไปสู่การประกาศอิสรภาพของบังกลาเทศ สงครามเปิดฉากเมื่อคณะเผด็จการทหารในปากีสถานตะวันตกนำโดยยาห์ยา ข่านดำเนินการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวบังกลาเทศในปฏิบัติการเสิร์ชไลต์ของคืนวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1971

สงครามปลดปล่อยบังกลาเทศ
ส่วนหนึ่งของ ความขัดแย้งอินเดีย-ปากีสถานและสงครามเย็น

ตามเข็มนาฬิกาจากซ้ายบน: อนุสรณ์ปัญญาชนผู้พลีชีพ; ปืนใหญ่ฮาวอิตเซอร์ของกองทัพบังกลาเทศ; พลโท อามีร์ เนียซีลงนามในตราสารยอมจำนนของปากีสถาน[1]; พีเอ็นเอส กาซี
วันที่26 มีนาคม – 16 ธันวาคม ค.ศ. 1971
(8 เดือน 2 สัปดาห์ 6 วัน)
สถานที่
พื้นที่หลัก:
ปากีสถานตะวันออก (บังกลาเทศปัจจุบัน)

ผลกระทบ:
แนวรบด้านตะวันออก:

แนวรบด้านตะวันตก:

  • พรมแดนอินเดีย-ปากีสถานตะวันตก

มหาสมุทรอินเดีย:

ผล
  • อินเดีย–บังกลาเทศชนะ[2][3][4]
  • กองทัพปากีสถานยอมจำนน
ดินแดน
เปลี่ยนแปลง
ปากีสถานตะวันออกแยกจากปากีสถาน กลายเป็นสาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ
คู่สงคราม

รัฐบาลชั่วคราวบังกลาเทศ

  • มุกติวาหินี
    (26 มีนาคม – 16 ธันวาคม ค.ศ. 1971)

 อินเดีย

ปากีสถาน
(รัฐบาลปากีสถานตะวันออก)


กำลังกึ่งทหาร:

  • ญามาอะเตอิสลามี
  • คณะกรรมการนาโกริก ศักติ
  • ราซาการ์
  • อัล-บะดัร
  • อัล-ชัมส์
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ

ชีค มูจิบูร์ เราะห์มาน
(ประธานาธิบดีรัฐบาลชั่วคราวบังกลาเทศ)
ทาจุดดิน อะห์มัด
(นายกรัฐมนตรีรัฐบาลชั่วคราวบังกลาเทศ)
พลเอก เอ็ม. เอ. จี. ออสมานี
(ผู้บัญชาการกองทัพบังกลาเทศ)
นาวาอากาศเอก เอ. เค. คันด์เคอร์
(รองผู้บัญชาการกองทัพบังกลาเทศ)
วรหคีรี เวนกต คีรี
(ประธานาธิบดีอินเดีย)
อินทิรา คานธี
(นายกรัฐมนตรีอินเดีย)
พลเอก แซม มาเน็กชอว์
(เสนาธิการทหารบก)
พลโท จักจิต สิงห์ อะโรรา

(ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการตะวันออก)
พลเรือโท นิลกัณฐ์ กฤษณัน
(ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการกองทัพเรือตะวันออก)
พลอากาศโท หริ จันทร์ เทวัญ
(ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการกองทัพอากาศตะวันออก)

ยาห์ยา ข่าน
(ประธานาธิบดีปากีสถาน)
นุรุล อะมีน
(นายกรัฐมนตรีปากีสถาน)
อับดุล โมตอเลบ มะลิก
(ผู้ว่าการปากีสถานตะวันออก)
พลเอก เอ. เอช. ข่าน
(เสนาธิการทหารบก)
พลโท อามีร์ เนียซี Surrendered
(ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการตะวันออก)
พลเรือตรี โมฮัมหมัด ชาริฟ Surrendered
(ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการกองทัพเรือตะวันออก)
พลอากาศจัตวา อินามุล ฮัก ข่าน Surrendered
(ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการกองทัพอากาศตะวันออก)


ควาจา ไครุดดิน
(ประธานคณะกรรมการนาโกริก ศักติ)
กุลัม อะซัม
(เอเมียร์ญามาอะเตอิสลามี)
โมติอูร์ เราะฮ์มัน นิซามี
(ผู้นำอัล-บะดัร)
พลตรี โมฮัมหมัด จัมเชด
(ผู้บัญชาการราซาการ์)
ฟัซลุล กาดีร์ เชาธรี
(ผู้นำอัล-ชัมส์)
กำลัง
175,000[5][6]
250,000[5]
กองทัพประจำการ ~91,000 นาย[a]
กำลังกึ่งทหาร 280,000 นาย[a]
ทหารอาสาสมัคร ~25,000 นาย[8]
ความสูญเสีย
เสียชีวิต ~30,000 นาย[9][10]
เสียชีวิต 1,426–1,525 นาย[11]
บาดเจ็บ 3,611–4,061 นาย[11]
เสียชีวิต ~8,000 นาย
บาดเจ็บ ~10,000 นาย
ตกเป็นเชลย 90,000—93,000 นาย[12] (รวมทหาร 79,676 นายและทหารอาสาสมัครท้องถิ่น 10,324—12,192 นาย)[11][13][14]
พลเรือนเสียชีวิต: ประมาณ 300,000–3,000,000 คน[10]

ความรุนแรงที่เกิดขึ้นทำให้มุกติวาหินี ขบวนการต่อต้านของชาวเบงกอลเริ่มสงครามกองโจร ฝ่ายปากีสถานได้เปรียบในช่วงแรกก่อนถูกโต้กลับเมื่อฝ่ายกองโจรก่อวินาศกรรมอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะปฏิบัติการแจ็คพอตที่สร้างความเสียหายต่อกองทัพเรือปากีสถาน ขณะที่กองทัพอากาศบังกลาเทศที่เพิ่งเริ่มก่อตั้งโจมตีฐานทัพปากีสถาน[17] อินเดียเข้าร่วมสงครามในวันที่ 3 ธันวาคม หลังปากีสถานโจมตีตอนเหนือของอินเดียทางอากาศ เกิดเป็นสงครามอินเดีย-ปากีสถาน ปากีสถานซึ่งเผชิญกับการครองอากาศของอินเดียทางแนวรบด้านตะวันออก และการรุกคืบของทัพพันธมิตรอินเดีย-มุกติวาหินีทางแนวรบด้านตะวันตกยอมจำนนที่เมืองธากาในวันที่ 16 ธันวาคม ซึ่งนับเป็นการยอมจำนนครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง[18]

กองทัพปากีสถานปฏิบัติการทางทหารและโจมตีชนบทและเขตเมืองทั่วปากีสถานตะวันออกทางอากาศเพื่อปราบปรามความไม่สงบหลังการเลือกตั้งทั่วไปในปี ค.ศ. 1970 รวมถึงมีส่วนในการเนรเทศ ข่มขืนกระทำชำเราและกวาดล้างนักเรียน ปัญญาชน ผู้ฝักใฝ่คติชาตินิยมเบงกอล ชนกลุ่มน้อยทางศาสนาและบุคลากรทางการทหาร อีกทั้งยังสนับสนุนกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรงอย่างราซาการ์ อัล-บะดัร อัล-ชัมส์เพื่อช่วยในการตีโฉบฉวย[19][20][21][22][23] สงครามนี้เกิดการสังหารหมู่จำนวนมากรวมถึงการสังหารปัญญาชนชาวเบงกอลกว่า 1,000 คน[24] นอกจากนี้ยังเกิดความรุนแรงทางนิกายระหว่างชาวเบงกอลกับชาวมุสลิมพิหาร ชาวเบงกอลประมาณ 10 ล้านลี้ภัยในอินเดีย ขณะที่อีก 30 ล้านคนต้องพลัดถิ่นภายในประเทศ[25]

สงครามปลดปล่อยบังกลาเทศเปลี่ยนภูมิทัศน์ทางภูมิรัฐศาสตร์ในเอเชียใต้ เมื่อบังกลาเทศอุบัติขึ้นมาเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่เจ็ดของโลก สงครามนี้ยังเป็นหนึ่งในช่วงตึงเครียดสำคัญในสงครามเย็นระหว่างสหรัฐ สหภาพโซเวียตและสาธารณรัฐประชาชนจีน รัฐสมาชิกสหประชาชาติส่วนใหญ่ยอมรับบังกลาเทศเป็นรัฐเอกราชในปี ค.ศ. 1972

เชิงอรรถ

หมายเหตุ

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง