ปากีสถานตะวันออก

ปากีสถานตะวันออก (อังกฤษ: East Pakistan; เบงกอล: পূর্ব পাকিস্তান Purbo Pākistān; อูรดู: مشرقی پاکستان Mašriqī Pākistān ออกเสียง: [məʃrɪqiː pɑːkɪst̪ɑːn]) เป็นดินแดนที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของประเทศปากีสถาน ซึ่งอยู่ในดินแดนเบงกอล ระหว่าง พ.ศ. 2498 - 2514

ปากีสถานตะวันออก

পূর্ব পাকিস্তান (เบงกอล)
مشرقی پاکستان (อูรดู)
พ.ศ. 2498–2514
ธงชาติปากีสถานตะวันออก
ธงชาติ
ตราแผ่นดินของปากีสถานตะวันออก
ตราแผ่นดิน
คำขวัญ"Unity, Faith, Discipline"
(เอกภาพ, ศรัทธา, วินัย)
เพลงชาติQaumī Tarāna
เพลงชาติโดยพฤตินัย
Pakistan Zindabad
(ปากีสถานจงเจริญ)
ที่ตั้งของปากีสถานตะวันออก
เมืองหลวงธากา
ภาษาทั่วไปภาษาเบงกอล (ภาษาราชการ)
ภาษาพิหาร
ภาษาอูรดู
ภาษาอังกฤษ
ศาสนา
ศาสนาอิสลาม
ศาสนาฮินดู
การปกครองระบบรัฐสภา ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (1955–1956)
ประชาธิปไตยระบบรัฐสภาภายใต้สาธารณรัฐอิสลาม (1956–1958)
กฎอัยการศึก (1958–1962)
สาธารณรัฐระบบประธานาธิบดี (1962–1970)
กฎอัยการศึก (1970–1971)
ผู้บริหาร 
• 2503-2505
อาซัม ข่าน
• 2505-2512
อับดุล โมเนม ข่าน
• 2512-2514
ไซเยด โมฮัมหมัด อะห์ซาน
• 2514
อามีร อัลดุลลอห์ ข่าน เนียซี
ประธานรัฐมนตรี 
• 2498-2499, 2501
อาบู ฮุสเซน สรรกัร
• 2499-2501
อะตาอุรระห์มาน ข่าน
ผู้ว่าการ 
• 2498-2499
อามีรุดดิน อะห์เหม็ด
• 2499-2501
เอ เค ฟัซลุล ฮุก
• 2501-2503
ซากีร ฮูเซน
สภานิติบัญญัติLegislative Assembly
ยุคประวัติศาสตร์สงครามเย็น
• การก่อตั้ง
พ.ศ. 2498
• การสถาปนาสุดท้าย
22 พฤศจิกายน 2497
26 มีนาคม 2514
• สงครามอินเดีย-ปากีสถาน พ.ศ. 2514
3 ธันวาคม 2514
• ประกาศเอกราช
16 ธันวาคม 2514
พื้นที่
147,570 ตารางกิโลเมตร (56,980 ตารางไมล์)
สกุลเงินรูปีปากีสถาน
ก่อนหน้า
ถัดไป
เบงกอลตะวันออก
รัฐบาลเฉพาะกาลสาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ บังกลาเทศ

ใน พ.ศ. 2490 เบงกอลเป็นส่วนหนึ่งของบริติชอินเดีย ซึ่งแบ่งเป็นเบงกอลตะวันตกและเบงกอลตะวันออกตามศาสนา[1] การแบ่งแยกนี้เป็นผลจากความขัดแย้งทางศาสนาระหว่างฮินดูและมุสลิมในอินเดีย [2] ใน พ.ศ. 2490 ชาวเบงกอลที่เป็นมุสลิมเข้าร่วมกับขบวนการปากีสถาน หลังการแบ่งแยกอินเดียและกลายเป็นจังหวัดเบงกอลตะวันออกของปากีสถาน [3] ระหว่าง พ.ศ. 2490 - 2497 เบงกอลตะวันออกมีการบริหารเป็นเอกเทศโดยพันธมิตรมุสลิมปากีสถาน นำโดยนูรุล อามีน[3] ต่อมาใน พ.ศ. 2498 นายกรัฐมนตรีเบงกอล มูฮัมหมัด อาลี โบกรา ได้ประกาศยุบจังหวัดเบงกอลตะวันออก และจัดตั้งปากีสถานตะวันออก โดยมีเมืองหลักคือธากา ในช่วงนี้พันธมิตรมุสลิมปากีสถานพ่ายแพ้ให้แก่สันนิบาตอวามี[4][5][6] สันนิบาตอวามีเข้ามาบริหารปากีสถานตะวันออก หลังจาก ฮุเซน ชะฮีด ชุระวรรดี ได้เป็นนายกรัฐมนตรี[7][8] ช่วงระหว่าง พ.ศ. 2501 - 2514 เป็นช่วงที่เกิดความขัดแย้งทางการเมือง[9] การสนับสนุนการปกครองตนเองเติบโตขึ้นเมื่อสันนิบาตอวามี จัดตั้งขบวนการหกประการใน พ.ศ. 2509 [10] และเติบโตเต็มที่เมื่อสันนิบาตอวามีชนะการเลือกตั้งทั่วไปใน พ.ศ. 2513 ในปากีสถานตะวันออก[11][12]

หลังการเลือกตั้งทั่วไป นายกรัฐมนตรีของปากีสถาน นายพลยะห์ยา ข่าน พยายามเจรจากับทั้งพรรคประชาชนปากีสถาน และสันนิบาตอวามีในการแบ่งปันอำนาจจากรัฐบาลกลางแต่ล้มเหลว สันนิบาตอวามีได้ประกาศเอกราชของปากีสถานตะวันออกเมื่อ 26 มีนาคม พ.ศ. 2514 และเริ่มต้นสงครามปลดปล่อยบังกลาเทศจากปากีสถาน โดยอินเดียเข้ามาสนับสนุนสันนิบาตอวามี[13] สงครามสิ้นสุดลงเมื่อ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2514 ปากีสถานตะวันออกได้รับเอกราชอย่างเป็นทางการในนามบังกลาเทศ[13]

อ้างอิง

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง