สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส

สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส[1][ก] (อังกฤษ: Francis; ละติน: Franciscus; อิตาลี: Francesco; สเปน: Francisco; พระนามเดิม ฮอร์เฮ มาริโอ เบร์โกกลิโอ[a][ข]; ประสูติ 17 ธันวาคม ค.ศ. 1936) เป็นประมุขแห่งพระศาสนจักรคาทอลิกและประมุขแห่งนครรัฐวาติกันตั้งแต่ ค.ศ. 2013 สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสเป็นสมเด็จพระสันตะปาปาพระองค์แรกจากคณะเยสุอิต เป็นพระองค์แรกที่มาจากทวีปอเมริกาใต้ เป็นพระองค์แรกที่มาจากซีกโลกใต้ และเป็นพระองค์แรกที่มาจากนอกทวีปยุโรป ตั้งแต่สมัยของสมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 3 ซึ่งเป็นชาวซีเรีย ผู้ซึ่งครองราชย์ในคริสต์ศตวรรษที่ 8

สมเด็จพระสันตะปาปา

ฟรานซิส

Francis
บิชอปเเห่งกรุงโรม
สมณนามFranciscus (ละติน)
เริ่มวาระ13 มีนาคม ค.ศ. 2013
องค์ก่อนสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16
ข้อมูลส่วนพระองค์
พระนามเดิมฮอร์เฮ มาริโอ เบร์โกกลิโอ
ประสูติ (1936-12-17) 17 ธันวาคม ค.ศ. 1936 (87 ปี)
บัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา
ข้อมูลอื่น
บวชเมื่อ13 ธันวาคม ค.ศ. 1969
พระอภิไธยสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส's signature

เมื่อทรงพระเยาว์

สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสประสูติในกรุงบัวโนสไอเรส เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2479 ทรงมีพี่น้อง 5 คน พระชนกเป็นคนงานทางรถไฟ[2] พระองค์ทรงได้รับปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเคมี จากมหาวิทยาลัยบัวโนสไอเรส และทรงเข้าศึกษาที่เซมินารีในย่านบียาเดโบโต พระองค์ได้เป็นปฏิญาณตนเป็นนักบวชคณะเยสุอิตเมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2501 และทรงได้รับใบรับรองด้านสาขาวิชาปรัชญา จาก Colegio Máximo San José ต่อมาพระองค์ได้ทรงงานสอนวิชาวรรณกรรมและจิตวิทยาที่ Colegio de la Inmaculada และ Colegio del Salvador

ในปี พ.ศ. 2510 ทรงจบการศึกษา แล้วรับศีลอนุกรมเป็นบาทหลวงเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2512 ทรงทำงานสอนที่มหาวิทยาลัย Facultades de Filosofía y Teología de San Miguel จนดำรงตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์ทางเทววิทยา

ช่วง พ.ศ. 2516 - 2522 ทรงดำรงตำแหน่งอธิการเจ้าคณะแขวงคณะเยสุอิตในประเทศอาร์เจนตินา แล้วย้ายไปเป็นอธิการเซมินารีซานมีเกลจนถึงปี พ.ศ. 2529

สมณศักดิ์

ธรรมเนียมพระยศของ
สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส
ตราประจำพระองค์
การทูลฮิส โฮลิเนส (ฝ่าพระบาท)
การขานรับยัวร์ โฮลิเนส (เกล้ากระหม่อมพะย่ะค่ะ/เพคะ)

บาทหลวงฮอร์เฮ เบร์โกกลิโอ ได้รับการอภิเษกเป็นมุขนายกผู้ช่วยแห่งบัวโนสไอเรสและมุขนายกเกียรตินามแห่งเอากา (Auca) และได้สืบตำแหน่งเป็นอาร์ชบิชอปแห่งบัวโนสไอเรสแทนในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541

ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นพระคาร์ดินัล โดยสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 ได้ปฏิบัติหน้าที่ในหลายหน่วยงานในสภาปกครองโรมัน ได้แก่

  • สมณะกระทรวงพิธีกรรมและศีลศักดิ์สิทธิ์
  • สมณะกระทรวงบาทหลวง
  • สมณะกระทรวงสถาบันชีวิตที่ถวายแล้วและคณะชีวิตแพร่ธรรม
  • สมณสภาเพื่อครอบครัว
  • สมณกรรมาธิการละตินอเมริกา

การดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปา

เมื่อสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 ทรงสละตำแหน่งเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 และได้เปิดทางให้มีการเลือกพระสันตะปาปาองค์ใหม่ จึงได้มีการจัดการประชุมเลือกตั้งพระสันตะปาปา โดยกำหนดให้มีขึ้นในวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2556 หลังจากการลงคะแนนเสียงครั้งที่ 5 โดยพระคาร์ดินัลผู้มีสิทธิ์ออกเสียงจำนวน 115 ท่าน ผลปรากฏว่าพระคาร์ดินัลฮอร์เฮ เบร์โกกลิโอ อาร์ชบิชอปแห่งบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา ได้รับเลือก และทรงเลือกพระนาม "Franciscus" ซึ่งหมายถึงนักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซี[3][4][5] นับเป็นพระสันตะปาปาพระองค์แรกจากทวีปอเมริกาและคณะเยสุอิต[6]

ในวันที่ทรงได้รับเลือกตั้ง สันตะสำนักประกาศว่าพระนามอย่างเป็นทางการของพระองค์คือ "ฟรานซิส" ไม่ใช่ "ฟรานซิสที่ 1" พระองค์จะมีพระนามว่าฟรานซิสที่ 1 ก็ต่อเมื่อในอนาคตมีสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสที่ 2[7]

การเสด็จเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ

เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2562 ณ ห้องประชุมชั้น 11 อาคารรวมจิตเพียรธรรม โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ สภาประมุขแห่งบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย นำโดยพระคาร์ดินัล ฟรังซิสเซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช ประธานสภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกประเทศไทย และอาร์ชบิชอปพอล ชาง อิน-นัม เอกอัครสมณทูตวาติกันประจำประเทศไทย ได้ออกแถลงการ เรื่องสมเด็จพระสันตปาปาฟรานซิส จะเสด็จเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการตามคำเชิญของรัฐบาลไทย ในโอกาสฉลอง 350 ปี มิสซังสยาม[8]

สมเด็จพระสันตปาปาฟรานซิส เสด็จถึง ณ ท่าอากาศยานดอนเมือง วันที่ 20 พฤศจิกายน 2562 เวลา 12.30 น. ด้วยสายการบินอาลีตาเลีย (สายการบินประจำชาติอิตาลี) ได้รับการต้อนรับจากคณะพระสังฆราชทั้ง 11 สังฆมณฑล ทรงทำภารกิจหลายประการในประเทศไทย อาทิ เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2562 เสด็จฯ เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีพระที่นั่งอัมพรสถาน เสด็จฯ เข้าเฝ้าสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายกวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร และเสด็จฯ ทรงประกอบพิธีมิสซาสนามกีฬาแห่งชาติ เป็นต้น[9] จนถึงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2562 เสด็จออกจากประเทศไทย ด้วยสายการบินไทย เพื่อเสด็จต่อไปยังประเทศญี่ปุ่น[10]

เชิงอรรถ

หมายเหตุ

ศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทยนิยมสะกดว่า ฟรังซิส[11]

ออกเสียงตามตัวอักษรแบบภาษาสเปนในลาตินอเมริกา : [ˈxoɾxe ˈmaɾjo βeɾˈɣoɣljo] ฮอร์เฮ มาริโอ เบร์โกกลิโอ, ออกเสียงดั้งเดิมแบบภาษาอิตาลี: [ˈdʒɔrdʒe ˈmarjo bɛrˈgɔʎːo] จอร์เจ มารีโอ แบร์กอลโย

อ้างอิง


ก่อนหน้าสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสถัดไป
สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16
พระสันตะปาปา
(พ.ศ. 2556 - ปัจจุบัน)
ยังอยู่ในตำแหน่ง


🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง