หีนยาน

"หีนยาน" (/ˌhnəˈjɑːnə/) เป็นคำภาษาสันสกฤตแปลตรงตัวว่า "ยานลำเล็ก" หรือ "ยานชั้นเลว"[1][2] ศาสนาจารย์จีนและทิเบตดั้งเดิมนิยมแปลว่า "ยานที่เล็กกว่า"[3] ซึ่งตรงข้ามกับมหายาน ซึ่งแปลว่า "ยานใหญ่"

ในอดีต นักวิชาการตะวันตกนิยมใช้คำว่าหีนยานเพื่อเรียก "ระบบคำสอนที่เก่าแก่ที่สุดของศาสนาพุทธ" เช่นในพจนานุกรมภาษาสันสกฤตจาก ค.ศ. 1899[4] นอกจากนี้ยังปรากฏ หีนยาน ใช้เป็นคำเรียกแทนเถรวาท ซึ่งเป็นนิกายของศาสนาพุทธที่นิยมปฏิบัติมากในประเทศศรีลังกาและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นักวิชาการ รอเบิร์ท เธอร์แมนระบุอ้างมาซาโทชิ นางาโทมิ ศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดว่า 'ศาสนาพุทธนิกายหีนยาน' เป็นคำที่สมาชิกบางส่วนของเถรวาทมองว่าเป็นคำที่ดูหมิ่นและไม่เหมาะสม[5]

ศัพทมูล

หีนยาน มาจากคำว่า หีน[6] แปลว่า "เล็ก", "เลว", "ต่ำ", "ถูกทิ้งร้าง", "คับแคบไม่เพียงพอ", "บกพร่อง" ประกอบกับคำว่า ยาน (यान):[7] แปลว่า "ยานพาหนะ" ในแง่ของ "หนทางสู่การตรัสรู้" ส่วนในพจนานุกรมภาษาบาลีของสมาคมบาลีปกรณ์แปล หีน ว่า "เลว, น่าสังเวช; ทราม, พื้น ๆ, น่าสงสาร, น่าเหยียดหยาม" และ "น่าดูหมิ่น"

ผู้แปลคัมภีร์ เช่น พระกุมารชีวะ แปลคำนี้เป็นภาษาจีนคลาสสิกว่า "ยานเล็ก" (小 คือ "เล็ก", 乘 คือ "ยาน") อย่างไรก็ตาม ปรากฏคำแปลจีนอื่น ๆ ที่เก่าแก่กว่าเช่นกัน ส่วนในภาษามองโกเลีย (Baga Holgon) แปลว่ายานลำเล็กเช่นกัน[8] ส่วนในภาษาทิเบตใช้คำว่า theg chung แปลว่า "ยานเล็ก"[9] และ theg dman แปลว่า "ยานด้อย"[10]

อย่างไรก็ตาม ตรังกู รินโปเช เคยเน้นย้ำว่า หีนยาน ไม่เคยมีความหมายสื่อถึง "ความด้อยกว่า" โดยเขาระบุว่า "หีนยาน คือ "ยานลำเล็กกว่า" และไม่มีทางที่จะด้อยกว่ามหายาน"[11]

ต้นกำเนิด

คำว่า “หินยาน” และ “มหายาน” ปรากฏครั้งแรกในคัมภีร์ปรัชญาปารมิตาสูตร[12] ต่อมามีคณาจารย์พระพุทธศาสนาช่วงพุทธศตวรรษที่ 6 ได้ปฏิรูปคำสอนและการปฏิบัติในพระพุทธศาสนา โดยถือเอาวิถีทางพระโพธิสัตว์เป็นอุดมคติแทนที่การบรรลุเป็นพระอรหันต์ในชาตินี้[13] ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติดั้งเดิมที่มีมาตั้งแต่ศาสนาพุทธยุคแรก จึงเรียกกลุ่มตนเองว่า มหายาน และเรียกกลุ่มเดิมว่า หินยาน โดยมีนิกายเถรวาทเป็นหนึ่งในนั้น อย่างไรก็ตามหีนยานกลุ่มที่มหายานวิพากษ์วิจารณ์มากที่สุดคือนิกายสรวาสติวาท (ซึ่งต่อมาได้แตกออกเป็นไวภาษิกะและเสาตรานติกะ)[12]

พระพุทธศาสนา 18 นิกายที่ฝ่ายมหายานถือว่าเป็นฝ่ายหีนยาน ได้แก่

อ้างอิง

บรรณานุกรม

  • Analayo, Bhikkhu (2014), "The Hinayana Fallacy" (PDF), Journal of the Oxford Centre for Buddhist Studies (6): 9–31
  • Collins, Steven (1990), Selfless Persons: Imagery and Thought in Theravāda Buddhism, Cambridge University Press, ISBN 978-0521701488
  • Gombrich, Richard (2006), Theravāda Buddhism, Routledge, ISBN 978-0415-36508-6
  • Hirakawa, Akira; Groner, Paul (2007), History of Indian Buddhism: From Sakyamuni to Early Mahayana, Motilal Banarsidass, ISBN 978-8120809550
  • Hoffman, Frank J.; Mahinda, Deegalle (1996), Pāli Buddhism, Routledge, ISBN 978-0700703593
  • Kalupahana, David (2015), Mulamadhyamakakarika of Nagarjuna, Motilal Banarsidass, ISBN 978-8120807747
  • King, Richard (1999), Indian Philosophy: An Introduction to Hindu and Buddhist Thought, Georgetown University Press, ISBN 978-0878407569
  • LeVine, Sarah; Gellner, David N. (2007), Rebuilding Buddhism: The Theravada Movement in Twentieth-Century Nepal, Harvard University Press, ISBN 978-0674025547
  • Lopez Jr., Donald (2005), The Madman's Middle Way: Reflections on Reality of the Tibetan Monk Gendun Chopel, University of Chicago Press, ISBN 978-0226493169
  • Nattier, Jan (2003), A Few Good Men: The Bodhisattva Path according to The Inquiry of Ugra (Ugraparipṛcchā), University of Hawaii Press, p. 174 (footnote 6), ISBN 978-0824830038
  • Rinpoche, Kalu (1995), Profound Buddhism From Hinayana To Vajrayana, Clearpoint Press, ISBN 978-0963037152
  • Rinpoche, Khenchen Thrangu (2004), Distinguishing Dharma and Dharmata, A Commentary on The Treatise of Maitreya, ISBN 978-1877294334
  • Swearer, Donald (2006), "Theravada Buddhist Societies", ใน Juergensmeyer, Mark (บ.ก.), The Oxford Handbook of Global Religions, Oxford University Press, ISBN 978-0195137989
  • Thera, Nyanaponika; Bodhi, Bhikkhu (1998), Abhidhamma Studies: Buddhist Explorations of Consciousness and Time, Wisdom Publications, ISBN 978-0861711352
  • Williams, Jane; Williams, Paul (2004), Buddhism: Critical Concepts in Religious Studies, Volume 3., Routledge, ISBN 978-0415332293
  • Williams, Paul (2000), Buddhist Thought: A Complete Introduction to the Indian Tradition, ISBN 978-0415207010
  • Williams, Paul (2009), Mahayana Buddhism: The Doctrinal Foundations, Routledge, ISBN 978-0-415-35653-4
🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง