อนุสัญญาเจนีวาฉบับที่สาม

อนุสัญญาเจนีวาฉบับที่สาม (อังกฤษ: Third Geneva Convention) หรือเรียกแบบเต็มว่า อนุสัญญาเจนีวาเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อเชลยศึก ลงวันที่ 12 สิงหาคม ค.ศ. 1949 (พ.ศ. 2492) (อังกฤษ: Geneva Convention relative to the Treatment of Prisoners of War of 12 August 1949) เป็นสนธิสัญญาหนึ่งในสี่ฉบับของอนุสัญญาเจนีวา เพื่อแก้ไขอนุสัญญาเจนีวาเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อเชลยศึก ฉบับลงวันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 1929[1] อนุสัญญาให้นิยามถึงการคุ้มครองด้านมนุษยธรรมแก่เชลยศึก มีรัฐภาคีอนุสัญญาฯ ทั้งสิ้น 196 ประเทศ[2]

อนุสัญญาเจนีวาฉบับที่สาม
Third Geneva Convention
Geneva Convention relative to the Treatment of Prisoners of War
(อนุสัญญาเจนีวาเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อเชลยศึก)
เจ้าหน้าที่กาชาดขณะเตรียมอาหารให้เชลยศึก
ที่ลงนามเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์
ภาคี196 ประเทศ
ภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส
Third Geneva Convention ที่ วิกิซอร์ซ

ภาค 1: บททั่วไป

  ภาคีของอนุสัญญา 4 ฉบับ และพิธีสาร 1–3
  ภาคีของอนุสัญญา 4 ฉบับ และพิธีสาร 1-2
  ภาคีของอนุสัญญา 4 ฉบับ และพิธีสาร 1, 3
  ภาคีของอนุสัญญา 4 ฉบับ และพิธีสาร 1
  ภาคีของอนุสัญญา 4 ฉบับ และพิธีสาร 3
  ภาคีของอนุสัญญา 4 ฉบับ ไม่เป็นภาคีพิธีสาร

ในส่วนนี้ได้บอกถึงวงจำกัดโดยรวมของอนุสัญญา ดังนี้

  • ข้อ 1 และ 2 ครอบคลุมว่า ฝ่ายใดมีผลผูกพันตามอนุสัญญา
  • ข้อ 2 ระบุยามที่ประเทศจะมีผลผูกพันตามอนุสัญญา
    • เมื่อเกิดกรณีพิพาทกันด้วยอาวุธระหว่างอัครภาคีผู้ทำสัญญาสองฝ่ายหรือกว่านั้นขึ้นไป
    • เมื่อเกิดกรณีการยึดครองอาณาเขตบางส่วนหรือทั้งหมดของอัครภาคีผู้ทำสัญญา
    • แม้ว่าประเทศที่พิพาทกันประเทศหนึ่งจะมิได้เป็นภาคีอนุสัญญาฉบับนี้ก็ตาม ประเทศที่เป็นภาคียังคงมีความผูกพันกันตามอนุสัญญานี้ ยิ่งกว่านั้น บรรดาประเทศดังกล่าวแล้ว ยังต้องมีความผูกพันตามอนุสัญญานี้ในความสัมพันธ์กับประเทศที่มิได้เป็นภาคีนั้นด้วย หากว่าประเทศนั้นยอมรับและใช้บทบัญญัติแห่งอนุสัญญานี้
  • ข้อ 3 ถูกเรียกว่า "อนุสัญญาน้อย" จากการที่เป็นอนุสัญญาเจนีวาเพียงข้อเดียวที่ใช้ยามเกิดความขัดแย้งอันมิได้เป็นกรณีระหว่างประเทศ[3] รวมถึงได้อธิบายถึงการคุ้มครองขั้นต่ำสุดที่บุคคลทุกคนในอาณาเขตของผู้ลงนามตามสนธิสัญญาต้องปฏิบัติตามเมื่อเกิดการพิพาทกันด้วยอาวุธอันมิได้มีลักษณะเป็นกรณีระหว่างประเทศ (โดยไม่คำนึงถึงสัญชาติแม้จะมีหรือไม่ก็ตาม): ผู้ไม่มีหน้าที่ทำการรบ, ผู้สังกัดในกองทัพที่ได้วางอาวุธแล้ว และ ผู้ทำการรบที่ถูกกันออกจากการต่อสู้ เพราะป่วยไข้ บาดเจ็บ ถูกกักคุม หรือเพราะเหตุอื่นใดก็ดี ไม่ว่าในพฤติการณ์ใด ๆ จะต้องได้รับการปฏิบัติด้วยมนุษยธรรม รวมถึงห้ามทำลายเกียรติยศแห่งบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การปฏิบัติให้เป็นที่อับอายขายหน้า และเสื่อมทรามต่ำช้า การตัดสินลงโทษจำเป็นต้องผ่านศาลที่ได้ตั้งขึ้นมาอย่างถูกระเบียบ ให้หลักประกันความยุติธรรมซึ่งอารยชนทั้งหลายยอมรับนับถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ ข้อ 3 ให้ความคุ้มครองแก่ผู้ที่ไม่ได้ถือว่าเป็นเชลยศึก ข้อ 3 ยังระบุว่า ภาคีคู่พิพาทควรพยายามนำบทบัญญัติอื่น ๆ แห่งอนุสัญญานี้ทั้งหมดหรือบางส่วนมาใช้บังคับอีกด้วย โดยทำความตกลงกันเป็นพิเศษ
  • ข้อ 4 ก. ได้นิยาม เชลยศึก ให้รวมถึงบุคคลประเภทหนึ่งประเภทใดดังต่อไปนี้ ซึ่งได้ตกอยู่ในอำนาจของฝ่ายศัตรู
    • (1) ผู้สังกัดในกองทัพของภาคีคู่พิพาทและผู้สังกัดในมิลิเซีย (กองกำลังอาสาสมัครหรือพลเรือนติดอาวุธ) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพข้างต้น
    • (2) ผู้สังกัดในมิลิเซียและกองกำลังอาสาสมัคร รวมทั้งผู้สังกัดในขบวนต่อต้านที่จัดตั้งขึ้นอย่างเป็นระเบียบ ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
      • (ก) มีผู้บัญชาสั่งการอันเป็นบุคคลที่รับผิดชอบสำหรับผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา
      • (ข) มีเครื่องหมายที่กำหนดไว้เด่นชัดสามารถจะเห็นได้ในระยะไกล
      • (ค) ถืออาวุธโดยเปิดเผย
      • (ง) ปฏิบัติการรบตามกฎและประเพณีการสงคราม
    • (3) ผู้สังกัดในกองทัพประจำ ซึ่งมีความสวามิภักดิ์ต่อรัฐบาลหรือเจ้าหน้าที่ที่มิได้รับการรับรองจากประเทศที่กักคุม
    • (4) พลเรือนผู้สนับสนุนการทหารแต่มิได้ปฏิบัติการรบและผู้มีบัตรประจำตัวที่ออกโดยกองทัพที่ตนได้ร่วมอยู่
    • (5) กองเรือพาณิชย์และลูกเรือของเครื่องบินพลเรือนประจำภาคีคู่พิพาท ผู้ไม่ได้รับประโยชน์จากการปฏิบัติที่อนุเคราะห์ดีกว่านี้ตามบทบัญญัติอื่นแห่งกฎหมายระหว่างประเทศ
    • (5) พลเมืองในอาณาเขตที่มิได้ถูกยึดครอง ซึ่งเมื่อศัตรูประชิดเข้ามาได้สมัครใจเข้าจับอาวุธต่อต้านกองทหารที่บุกเข้ามานั้น โดยไม่มีเวลาจัดรวมกันเข้าเป็นหน่วยกองทหารประจำ หากว่าบุคคลเหล่านี้ถืออาวุธโดยเปิด และเคารพต่อกฎและประเพณีการสงคราม
    • ค. ข้อนี้จะไม่กระทบกระเทือนแต่อย่างใดถึงฐานะของพนักงานแพทย์และอนุศาสนาจารย์ ดังที่ได้บัญญัติไว้ในข้อ 33 แห่งอนุสัญญาฉบับนี้
  • ข้อ 5 ระบุถึงเชลยศึก (ดังที่ระบุในข้อ 4) นั้นถูกคุ้มครองโดยอนุสัญญานับตั้งแต่เวลาที่ถูกจับกุมถึงเวลาการปล่อยตัว ข้อนี้ยังได้ระบุถึงยามที่เกิดข้อสงสัยว่าผู้ทำการรบอยู่ในประเภทดังที่ระบุไว้ในข้อ 4 หรือไม่ เมื่อเกิดเหตุเช่นนี้ ให้บุคคลนั้นถูกคุ้มครองตามอนุสัญญาฉบับนี้จนกว่าศาลที่มีอำนาจได้ชี้ขาดในฐานะของบุคคลเหล่านั้น

ภาค 2: การคุ้มครองโดยทั่วไปแก่เชลยศึก

ในภาคแห่งอนุสัญญานี้ครอบคลุมถึงสถานะของเชลยศึก

ข้อ 12 ระบุว่าเชลยศึกย่อมอยู่ในอำนาจของรัฐ มิใช่อยู่ในอำนาจของบุคคลผู้จับกุมและไม่สามารถถูกพาตัวไปยังรัฐที่ไม่ได้เป็นภาคีแห่งอนุสัญญา

ข้อ 13 ถึง 16 ระบุว่าเชลยศึกต้องถูกปฏิบัติอย่างมีมนุษยธรรม ละเว้นการเลือกปฏิบัติ การแก้แค้นและต้องได้รับการรักษาเลี้ยงดูทางการแพทย์ตามโอกาสโดยไม่คิดมูลค่า

ภาค 3: การคุมขัง

ภาคนี้ถูกแยกเป็นหลายหมวด

หมวด 1 ครอบคลุมถึงการเริ่มต้นแห่งการคุมขัง (ข้อ 17-20) หมวดนี้ได้ระบุถึงข้อมูลที่เชลยศึกต้องให้การ ("นามสกุล, นามตัวและยศ, วันเกิด, และหมายเลขประจำกองทัพ, ประจำกรม, ประจำตัว, หรือหมายเลขลำดับ") และวิธีการสอบสวนที่ต้องปฏิบัติ ("ห้ามมิให้ใช้การทรมานทางร่างกายหรือจิตใจ หรือการบังคับในรูปใด ๆ แก่เชลยศึก") รวมทั้งระบุถึงสิ่งของส่วนตัวที่เชลยศึกสามารถเก็บไว้เองได้และให้เชลยศึกอพยพจากแนวรบโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้

หมวด 2 ครอบคลุมถึงการกักกันเชลยศึก หมวดนี้ถูกแบ่งออกเป็น 8 ส่วน ซึ่งครอบคลุมถึง:

  1. ข้อสังเกตทั่วไป (ข้อ 21-24)
  2. ที่อยู่ อาหาร และเครื่องนุ่งห่มของเชลยศึก (ข้อ 25-28)
  3. สุขภาพและการรักษาพยาบาล (ข้อ 29-32)
  4. พนักงานแพทย์และอนุศาสนาจารย์ที่ถูกกักตัวไว้ให้อยู่ช่วยเหลือเชลยศึก (ข้อ 33)
  5. กิจการที่เกี่ยวกับศาสนา สติปัญญาและร่างกาย (ข้อ 34-38)
  6. วินัย (ข้อ 39-42)
  7. ยศของเชลยศึก (ข้อ 43-45)
  8. การย้ายเชลยศึก หลังจากได้มาถึงค่ายแล้ว (ข้อ 46-48)

หมวด 3 (ข้อ 49-57) ครอบคลุมถึงประเภทงานที่เชลยศึกอาจสามารถทำได้ โดยคำนึงถึงอายุ เพศ ยศ และความเหมาะสมทางร่างกายและด้วยความประสงค์ งานอันมีลักษณะผิดอนามัยหรือมีความอันตรายจะต้องถูกทำโดยอาสาสมัครเท่านั้น หมวดนี้ยังได้บอกถึงรายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่พัก สถานพยาบาล และหากเชลยศึกถูกมอบหมายงานให้บุคคลเอกชน ทางประเทศที่กักคุม เจ้าหน้าที่ทางทหาร และผู้บัญชาการค่ายที่เชลยศึกสังกัดอยู่จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ ในส่วนของค่าแรงจะถูกครอบคลุมในข้อ 62 ของหมวดถัดไป

หมวด 4 (ข้อ 58-68) ครอบคลุมเกี่ยวกับรายได้ทางการเงินของเชลยศึก

หมวด 5 (ข้อ 69-74) ครอบคลุมถึงความสัมพันธ์ของเชลยศึกกับภายนอก หมวดนี้ได้ครอบคลุมในเรื่องของความถี่ที่เชลยศึกสามารถไปรับ-ส่งจดหมาย รวมถึงพัสดุ ทางประเทศที่กักคุมเชลยศึกสามารถตรวจข้อความหรือตั้งข้อจำกัดต่าง ๆ แก่จดหมายทุกฉบับได้ หากแต่ต้องปฏิบัติให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้

หมวด 6 ครอบคลุมถึงความสัมพันธ์ระหว่างเชลยศึกกับเจ้าหน้าที่ ถูกแบ่งย่อยออกเป็นสามส่วน

  1. คำกล่าวหาของเชลยศึกเกี่ยวกับสภาพการคุมขัง (ข้อ 78)
  2. ผู้แทนของเชลยศึก (79-81) ระบุถึงให้ "เชลยศึกมีเสรีภาพในการเลือกตั้ง [ตัวแทน] โดยวิธีลงคะแนนลับทุก ๆ ระยะ 6 เดือน" ผู้แทนเชลยศึก ไม่ว่ามาจากการเป็นนายทหารผู้อาวุโสหรือมาจากการเลือกตั้ง ให้ทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมระหว่างเจ้าหน้าที่ทางทหาร ประเทศที่คุ้มครอง คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ และองค์การอื่นใดที่อาจจะช่วยเหลือแก่ตนกับตัวนักโทษเอง
  3. ในส่วน "การลงโทษทางอาญาและทางวินัย" ถูกแบ่งย่อยออกเป็น 3 บท
    1. บททั่วไป (ข้อ 82-88)
    2. การลงโทษทางวินัย (ข้อ 89-98)
    3. การดำเนินคดีทางศาล (ข้อ 99-108)

ภาค 4: ความสิ้นสุดแห่งการคุมขัง

ภาคนี้ถูกแยกเป็นหลายหมวด

หมวด 1 (ข้อ 109-117) ครอบคลุมการส่งตัวกลับประเทศเดิมโดยตรงและการพักอาศัยในประเทศที่เป็นกลาง

หมวด 2 (ข้อ 118-119) ครอบคลุมการปล่อยตัวและการส่งตัวเชลยศึกกลับประเทศเดิมเมื่อยุติการสู้รบแล้ว

หมวด 3 (ข้อ 120-121) ครอบคลุมการตายของเชลยศึก

ภาค 5: สำนักงานสนเทศ และสมาคมบรรเทาทุกข์เชลยศึก

สำนักงานสนเทศเป็นองค์กรที่ต้องถูกตั้งขึ้นในอำนาจของภาคีคู่พิพาทแต่ละฝ่าย เพื่ออำนวยความสะดวกในการแบ่งปันข้อมูลโดยภาคีคู่สงครามและฝ่ายกลางตามที่บทบัญญัติแห่งอนุสัญญาเจนีวาฉบับที่สามได้บัญญัติไว้ ซึ่งจะสอดคล้องกับ "ให้จัดตั้งสำนักตัวแทนสนเทศกลาง ... ในประเทศที่เป็นกลาง" เพื่อทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมให้แก่ฝ่ายอำนาจที่เชลยศึกได้เป็นพันธมิตรไว้ โดยบทบัญญัติในส่วนข้างต้นอยู่ในข้อ 122 ถึง 125

สำนักตัวแทนสนเทศกลางสำหรับเชลยศึกถูกตั้งขึ้นภายใต้กาชาด

ภาค 6: การปฏิบัติตามอนุสัญญา

ประกอบด้วยสองหมวด

หมวด 1 (ข้อ 126-132) บททั่วไป

หมวด 2 (ข้อ 133-143) บทสุดท้าย

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง