อนุสัญญาเจนีวา

อนุสัญญาเจนีวา (อังกฤษ: Geneva Conventions) คือสนธิสัญญาสี่ฉบับ และพิธีสารสามฉบับที่วางมาตรฐานในการปฏิบัติต่อผู้เป็นเหยื่อของสงครามอย่างมีมนุษยธรรม[1] ได้รับการรับรองเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2492 และเริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2493 มีเป้าหมายให้การสงเคราะห์ทหาร และพลเรือนที่ได้รับผลกระทบจากสงคราม โดยประสานงานใกล้ชิดกับคณะกรรมการกาชาดสากล (ไอซีอาร์ซี)

ต้นฉบับอนุสัญญาเจนีวาแบบ PDF ค.ศ. 1864
  ภาคีของอนุสัญญา 4 ฉบับ และพิธีสาร 1–3
  ภาคีของอนุสัญญา 4 ฉบับ และพิธีสาร 1-2
  ภาคีของอนุสัญญา 4 ฉบับ และพิธีสาร 1, 3
  ภาคีของอนุสัญญา 4 ฉบับ และพิธีสาร 1
  ภาคีของอนุสัญญา 4 ฉบับ และพิธีสาร 3
  ภาคีของอนุสัญญา 4 ฉบับ ไม่เป็นภาคีพิธีสาร

เนื้อหา

จากการประชุมที่จัดโดยรัฐบาลประเทศสวิตเซอร์แลนด์และประเทศต่าง ๆ ในยุโรปอีก 12 ประเทศในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2407[2][3] อนุสัญญาทั้งสี่ฉบับมีสาระสำคัญดังนี้

  • อนุสัญญาฉบับที่ 1 "เพื่อให้ผู้บาดเจ็บและป่วยไข้ในกองทัพมีสภาวะดีขึ้น"
  • อนุสัญญาฉบับที่ 2 "เพื่อให้ผู้สังกัดในกองทัพขณะอยู่ในทะเลซึ่งบาดเจ็บ ป่วยไข้ และเรือต้องอับปาง มีสภาวะดีขึ้น"
  • อนุสัญญาฉบับที่ 3 "เกี่ยวกับการปฏิบัติต่อเชลยศึก"
  • อนุสัญญาฉบับที่ 4 ว่าด้วยการปกป้องคุ้มครองบุคคลพลเรือนในระหว่างสงคราม หรือการขัดแย้งทางกำลังทหารประเทศต่าง ๆ ให้สัตยาบันต่ออนุสัญญานี้ ดังนี้
    • การรักษาพยาบาลแก่เพื่อนและศัตรูโดยเท่าเทียมกัน
    • เคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เกียรติของมนุษย์ สิทธิในครอบครัว ในการนับถือศาสนาและเกียรติของสตรี
    • ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ ไปเยี่ยมนักโทษสงคราม และประชาชนที่อยู่ในค่ายกักกัน โดยพูดกับผู้ถูกกักขังอย่างไม่มีพยานร่วมรับรู้
    • ห้ามการกระทำที่ไม่มีมนุษยธรรม การทรมาน การประหารชีวิต การเนรเทศ จับตัวประกัน สอบสวนหมู่การกระทำที่รุนแรงและทำลายทรัพย์สินส่วนตัวอย่างไม่ปรานี

นอกจากนี้ อนุสัญญาเจนีวาฉบับนี้ ยังได้กล่าวถึงข้อกำหนดเกี่ยวกับการคุ้มครองพลเรือนให้พ้นจากภัยสงครามระหว่างประเทศและคุ้มครองแก่พวกกบฏให้พ้นจากการถูกทรมานในกรณีเกิดสงครามกลางเมืองภายในประเทศ รวมทั้งมีสาระอื่น ๆ อีก เช่น เงื่อนไขการลงโทษเพื่อคุ้มครองผู้ถูกต้องโทษ และการส่งตัวนักโทษสงครามกลับสู่ประเทศบ้านเกิดเมืองนอนของตน เป็นต้น

พิธีสาร

อนุสัญญาปี 2492 ยังมีการแก้ไขเพิ่มเติมด้วยพิธีสารอีกสามฉบับ

  • พิธีสาร 1 (ปี 2520) ว่าด้วยการคุ้มครองผู้เสียหายของการขัดกันด้วยอาวุธระหว่างประเทศ
  • พิธีสาร 2 (ปี 2520) ว่าด้วยการคุ้มครองผู้เสียหายของการขัดกันไม่ใช่ด้วยอาวุธระหว่างประเทศ
  • พิธีสาร 3 (ปี 2548) ว่าด้วยการรับสัญลักษณ์พิเศษเพิ่มเติม

การใช้

อนุสัญญาเจนีวาใช้ได้ในยามสงครามและการขัดกันด้วยอาวุธต่อรัฐบาลที่ให้สัตยาบันต่อเงื่อนไขของอนุสัญญา รายละเอียดของการใช้มีระบุในข้อ 2 และ 3 ร่วม

ข้อ 2 ร่วมว่าด้วยการขัดกันด้วยอาวุธระหว่างประเทศ

ระบุว่าอนุสัญญาเจนีวาใช้กับความขัดแย้งระหว่างประเทศทุกกรณี ซึ่งรัฐซึ่งรบกันอยู่นั้นอย่างน้อยหนึ่งรัฐให้สัตยาบันอนุสัญญาเจนีวา โดยหลักคือ

  • อนุสัญญาใช้กับสงครามที่ประกาศทุกกรณีระหว่างชาติที่ลงนาม
  • อนุสัญญาใช้กับความขัดแย้งด้วยอาวุธระหว่างชาติผู้ลงนามตั้งแต่สองชาติขึ้นไป ซึ่งเป็นการเพิ่มเติมในปี 2492 เพื่อให้ครอบคลุมสถานการณ์ที่มีลักษณะแห่งสงครามซึ่งไม่มีการประกาศสงครามอย่างเป็นทางการ เช่น การปฏิบัติของตำรวจ
  • อนุสัญญาใช้กับชาติผู้ลงนามแม้ว่าชาติอีกฝ่ายไม่ใช่ผู้ลงนาม แต่เฉพาะถ้าอีกฝ่าย "ยอมรับและใช้บทบัญญัติ" ของอนุสัญญาฯ

เมื่อเข้าเงื่อนไขความขัดแย้งระหว่างประเทศ จะถือว่าใช้ความคุ้มครองเบ็ดเสร็จของอนุสัญญาฯ

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง