อันวัร อัสซาดาต

ประธานาธิบดีอียิปต์จาก ค.ศ. 1970 ถึง ค.ศ. 1981
(เปลี่ยนทางจาก อันวาร์ ซาดัต)

มุฮัมมัด อันวัร อัสซาดาต (อาหรับ: محمد أنور السادات; 25 ธันวาคม ค.ศ. 1918 – 6 ตุลาคม ค.ศ. 1981) เป็นนักการเมืองและนายทหารชาวอียิปต์ที่เคยดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอียิปต์คนที่ 3 ตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม ค.ศ. 1970 จนกระทั่งถูกลอบสังหารจากนายทหารฝ่ายมูลฐานนิยมในวันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ. 1981 อัสซาดาตเป็นสมาชิกอาวุโสของเจ้าหน้าที่เสรีที่โค่นล้มพระเจ้าฟารูกในการปฏิวัติอียิปต์ ค.ศ. 1952 และเป็นคนสนิทของประธานาธิบดี ญะมาล อับดุนนาศิร ซึ่งเขาดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดีสองครั้ง และขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีใน ค.ศ. 1970 จากนั้นใน ค.ศ. 1978 อัสซาดาตกับเมนาเฮม เบกิน นายกรัฐมนตรีอิสราเอล ลงนามสนธิสัญญาสันติภาพในความร่วมมือกับจิมมี คาร์เตอร์ ประธานาธิบดีสหรัฐ ซึงทำให้พวกเขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ

อันวัร อัสซาดาต
أنور السادات
อัสซาดาตใน ค.ศ. 1980
ประธานาธิบดีอียิปต์ คนที่ 3
ดำรงตำแหน่ง
15 ตุลาคม 1970 – 6 ตุลาคม 1981
รักษาการ: 28 กันยายน – 15 ตุลาคม 1970
นายกรัฐมนตรี
ดูรายชื่อ
  • มะห์มูด เฟาซี (1970–1972)
  • อะซีซ ศิดกี (1972–1973)
  • ตนเอง (1973–1974)
  • อับดุลอะซีซ มุฮัมมัด ฮิญาซี (1974–1975)
  • มัมดูห์ ซาลิม (1975–1978)
  • มุศเฏาะฟา เคาะลีล (1978–1980)
  • ตนเอง (1980–1981)
รองประธานาธิบดี
ดูรายชื่อ
  • ฮุซัยน์ อัชชาฟิอี (1970–1973)
  • อะลี ศ็อบรี (1970–1971)
  • มะห์มูด เฟาซี (1972–1974)
  • ฮุสนี มุบาร็อก (1975–1981)
ก่อนหน้าญะมาล อับดุนนาศิร
ถัดไปศูฟี อะบู ฏอลิบ (รักษาการ)
ฮุสนี มุบาร็อก
นายกรัฐมนตรีอียิปต์ คนที่ 37
ดำรงตำแหน่ง
15 พฤษภาคม 1980 – 6 ตุลาคม 1981
ประธานาธิบดีตนเอง
ก่อนหน้ามุศเฏาะฟา เคาะลีล
ถัดไปฮุสนี มุบาร็อก
ดำรงตำแหน่ง
26 มีนาคม 1973 – 25 กันยายน 1974
ประธานาธิบดีตนเอง
ก่อนหน้าอะซีซ ศิดกี
ถัดไปอับดุลอะซีซ มุฮัมมัด ฮิญาซี
รองประธานาธิบดีอียิปต์
ดำรงตำแหน่ง
19 ธันวาคม 1969 – 14 ตุลาคม 1970
ประธานาธิบดีญะมาล อับดุนนาศิร
ก่อนหน้าฮุซัยน์ อัชชาฟิอี
ถัดไปอะลี ศ็อบรี
ดำรงตำแหน่ง
17 กุมภาพันธ์ 1964 – 26 มีนาคม 1964
ประธานาธิบดีญะมาล อับดุนนาศิร
ก่อนหน้าฮุซัยน์ อัชชาฟิอี
ถัดไปซะกะริยา มุห์ยิดดีน
ประธานสภาแห่งชาติอียิปต์
ดำรงตำแหน่ง
21 กรกฎาคม 1960 – 20 มกราคม 1969
ประธานาธิบดีญะมาล อับดุนนาศิร
ก่อนหน้าอับดุลละฏีฟ อัลบัฆดาดี
ถัดไปMohamed Labib Skokeir
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
มุฮัมมัด อันวัร อัสซาดาต
محمد أنور السادات

25 ธันวาคม ค.ศ. 1918(1918-12-25)
อัลมุนูฟียะฮ์ รัฐสุลต่านอียิปต์
เสียชีวิต6 ตุลาคม ค.ศ. 1981(1981-10-06) (62 ปี)
ไคโร ประเทศอียิปต์
ลักษณะการเสียชีวิตถูกลอบสังหาร
ที่ไว้ศพอนุสรณ์สถานทหารนิรนาม
พรรคการเมืองพรรคประชาธิปัตย์แห่งชาติ
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
สหภาพสังคมนิยมอาหรับ
คู่สมรส
  • Eqbal Afifi[1] ()
  • ญิฮาน อัสซาดาต (สมรส 1949)
[2]
บุตร7
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยอะเล็กซานเดรีย
ลายมือชื่อ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้อียิปต์
สังกัดราชอาณาจักรอียิปต์ กองทัพหลวงอียิปต์
อียิปต์ กองทัพอียิปต์
ประจำการ1938–1952
ยศ พันเอก (ขณะดำรงตำแหน่ง)
จอมพล (กิตติมศักดิ์)

ในช่วงที่ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี 11 ปี เขาเปลี่ยนแปลงเส้นทางของอียิปต์ด้วยการละทิ้งจากหลักการทางการเมืองและเศรษฐกิจของลัทธิอันนาศิรหลายประการ จัดตั้งระบบหลายพรรคการเมืองใหม่ และดำเนินนโยบายเศรษฐกิจอินฟิตาห์ เขานำอียิปต์ในสงครามยมคิปปูร์ใน ค.ศ. 1973 เพื่อยึดคืนคาบสมุทรไซนายของอียิปต์ที่อิสราเอลครอบครองตั้งแต่สงครามหกวันใน ค.ศ. 1967 ทำให้เขากลายเป็นวีรบุรุษในอียิปต์และโลกอาหรับเพียงชั่วครู่ หลังจากนั้น เขามีส่วนในการเจรจากับอิสราเอลที่นำไปสู่การทำสนธิสัญญาสันติภาพอียิปต์–อิสราเอล ทำให้เขากับเมนาเฮมได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ซึ่งทำให้อัสซาดาตกลายเป็นมุสลิมคนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบล แม้ว่าปฏิกิริยาต่อสนธิสัญญาที่นำไซนายกลับคืนสู่อียิปต์โดยทั่วไปเป็นที่นิยมในชาวอียิปต์[3] สนธิสัญญานี้ถูกปฏิเสธจากอิควานัลมุสลิมีนในประเทศและฝ่ายซ้ายที่รู้สึกว่าอัสซาดาตล้มเลิกความพยายามในการรับรองรัฐปาเลสไตน์[3] นอกจากประเทศซูดานแล้ว โลกอาหรับและองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ (PLO) คัดค้านความพยายามของอัสซาดาตที่จะสร้างสันติภาพต่างหากกับอิสราเอลอย่างมากโดยไม่ปรึกษาหารือล่วงหน้ากับรัฐอาหรับ[3] การที่เขาปฏิเสธที่จะไกล่เกลี่ยในเรื่องปัญหาปาเลสไตน์ของประเทศเหล่านั้น ทำให้อียิปต์ถูกถูกระงับสถานะสมาชิกสันนิบาตอาหรับใน ค.ศ. 1979 ถึง 1989[4][5][6][7] สนธิสัญญาสันติภาพเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่นำไปสู่การลอบสังหารตัวเขา ณ วันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ. 1981 ฝ่ายทหารที่นำโดยคอลิด อัลอิสลามบูลี เปิดฉากยิงอัสซาดาตด้วยปืนไรเฟิลอัตโนมัติในช่วงพาเหรดวันที่ 6 ตุลาคมในไคโร ทำให้เขาเสียชีวิต

อ้างอิง

อ่านเพิ่ม

  • Avner, Yehuda (2010). The Prime Ministers: An Intimate Narrative of Israeli Leadership. The Toby Press. ISBN 978-1-59264-278-6.
  • Berenji, Shahin. "Sadat and the Road to Jerusalem: Bold Gestures and Risk Acceptance in the Search for Peace." International Security 45.1 (2020): 127–163.
  • Eidelberg, Paul (1979). Sadat's Strategy. Dollard des Ormeaux: Dawn Books. ISBN 978-0-9690001-0-5.
  • Finklestone, Joseph. Anwar Sadat: visionary who dared (Routledge, 2013). biography.
  • Haykal, Muhammad Hasanayn (1982). Autumn of Fury: The Assassination of Sadat. Wm Collins & Sons & Co. ISBN 978-0-394-53136-6.
  • Hurwitz, Harry; Medad, Yisrael (2010). Peace in the Making. Gefen Publishing House. ISBN 978-965-229-456-2.
  • Israeli, Raphael. "Sadat: The Calculus of War and Peace." The Diplomats, 1939–1979 (Princeton University Press, 2019) pp. 436–458. online
  • Meital, Yoram (1997). Egypt's Struggle for Peace: Continuity and Change, 1967–1971. Gainesville: University Press of Florida. ISBN 978-0-8130-1533-0.
  • Waterbury, John (1983). The Egypt of Nasser and Sadat: The Political Economy of Two Regimes (Limited ed.). Princeton University Press. ISBN 978-0-691-07650-8.
  • Wright, Lawrence (2006). The Looming Tower: Al-Qaeda and the Road to 9/11. New York: Knopf. ISBN 978-0-375-41486-2.

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้าอันวัร อัสซาดาตถัดไป
จิมมี คาร์เตอร์ บุคคลแห่งปีของนิตยสารไทม์
(ค.ศ. 1977)
เติ้งเสี่ยวผิง
🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง