อาร์มีย์สการัตนากอมานดา เด-0

อาร์มีย์สการัตนากอมานดา เด-0 (ชื่อทางการเต็มคือ โครเอเชีย: Vojni objekat Armijska Ratna Komanda ARK D-0) หรือชื่ออื่น ดิอาร์ก (the Ark), อาเอร์กา/เด-0 (ARK/D-0) และชื่อเล่น หลุมหลบภัยของตีโต (อังกฤษ: Tito's bunker)[3] เป็นหลุมหลบภัยนิวเคลียร์ยุคสงครามเย็นและศูนย์บัญชาการทางการทหาร ตั้งอยู่ใกล้กับเมืองกอญิตส์[4] ในประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา[5] หลุมหลบภัยนี้สร้างขึ้นเพื่อป้องกันภัยแก่ประธานาธิบดียอซีป บรอซ ตีโต แห่งสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย และสมาชิกวงในของเขามากถึง 350 คน[3] ในกรณีที่อาจเกิดข้อพิพาททางนิวเคลียร์ขึ้น หลุมหลบภัยประกอบด้วยส่วนที่อยู่อาศัย ห้องประชุม สำนักงาน ห้องวางแผนยุทธการ และพื้นที่อื่น ๆ[5] หลุมหลบภัยนี้เป็นความลับของรัฐกระทั่งยูโกสลาเวียล่มสลายในคริสต์ทศวรรษ 1990[6] หลุมหลบภัยสร้างขึ้นระหว่างปี 1953 ถึง 1979[3][5] โดยสร้างอยู่ภายในเขาซลาตาร์ (Zlatar) ซึ่งเป็นเชิงเขาทางใต้ของทิวเขาบิเยลาชนิตซา[7]

อาเอร์กา เด-0: อาร์มีย์สการัตนากอมานดา
กอญิตส์ สหพันธรัฐบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา ประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา
โถงทางเดินหลักในอาเอร์กา
พิกัด43°38′03″N 17°59′42″E / 43.6343°N 17.9949°E / 43.6343; 17.9949
ประเภทหลุมหลบภัยนิวเคลียร์ยุคสงครามเย็น
ข้อมูล
เจ้าของ ประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา
ควบคุมโดย กองทัพบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา[1]
สภาพใช้งาน (ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์)
ประวัติศาสตร์
สร้าง1953–1979[2]
(ค่าใช้จ่าย 7,385,745,671.97 ดีนาร์ยูโกสลาฟ เท่ากับ 4,600,000,000.00 ดอลลาร์สหรัฐในเวลานั้น)
สร้างโดย รัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย
วัสดุคอนเกรีตเสริมเหล็ก
การต่อสู้/สงครามสงครามเย็น, สงครามบอสเนีย

ในปี 1953 ซึ่งสงครามเย็นเริ่ม "ร้อนแรงขึ้น" ประธานาธิบดีตีโตให้คำสั่งแก่กองทัพประชาชนยูโกสลาฟเพื่อทำการก่อสร้างหลุมหลบภัยนี้ขึ้น ในกรณีที่เกิดสงครามนิวเคลียร์ขึ้นจะใช้งานที่นี่เป็นศูนย์บัญชาการและหลุมหลบภัยแก่ผู้บัญชาการระดับสูงของตีโต รวมถึงครอบครัวและคนใกล้ชิดของเขา การก่อสร้างและการมีอยู่ของหลุมหลบภัยนี้ได้รับการปกป้องอย่างแน่นหนา ถือเป็นความลับทางการทหารที่ลับที่สุดของยูโกสลาฟในเวลานั้น[7] ในปี 1979 หลุมหลบภัยก่อสร้างแล้วเสร็จ รวมระยะเวลา 26 ปี งบประมาณ 4.6 พันล้านดอลลาร์ในการก่อสร้าง[3][7] (เทียบเท่า 17.2 พันล้านดอลลาร์ในปัจจุบัน)[6] โครงการนี้พึ่งจะเปิดเผยสู่สาธารณะเมื่อช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990[5]

หลังตีโตถึงแก่อสัญกรรมในปี 1980 โครงการนี้ได้เก็บรักษาเผื่อใช้ในอนาคตและพร้อมใช้งานหากเกิดสงคราม ในปี 1992 ขณะเกิดสงครามในยูโกสลาเวีย มิลูติน กูกาญัตส์ นายพลแห่งกองทัพประชาชนยูโกสลาฟ สั่งให้ทุบทำลายหลุมหลบภัยนี้ เช่นเดียวกับฐานทัพอากาศเฌ็ลยาวา การทำลายไม่สำเร็จเนื่องจากถูกเจ้าหน้าที่ทหารสองนายทำการล้มแผนผ่านการตัดสายไฟขาดขณะหนี หลุมหลบภัยจึงได้ส่งมอบแก่รัฐบาลบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา ต่อมาสาธารณรัฐบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาใช้งานที่นี่เป็นโกดังเก็บของในระหว่างสงครามบอสเนีย[8]

หลังสงครามบอสเนียสิ้นสุด ในปัจจุบันหลุมหลบภัยใช้งานเป็นสถานที่พบปะของศิลปินจากทั่วโลก มีการจัดโครงการนิทรรศการศิลปะร่วมสมัยรายสองปี (Project Biennial of Contemporary Art) ที่นี่ ด้วยมุ่งหมายให้ที่นี้กลายเป็นสถาบันด้านวัฒนธรรมของภูมิภาค และตอบสนองความต้องการทางศิลปะที่เพิ่มสูงขึ้น[9] และใช้งานเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ภายในอนุรักษ์วัตถุและสัญลักษณ์ต่าง ๆ จากสมัยของตีโตไว้อย่างดี

อ้างอิง

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง