อาร์เธอร์ แมคโดนัลด์

อาร์เธอร์ บรูซ แมคโดนัลด์ (อังกฤษ: Arthur Bruce McDonald) เกิดเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2486 ณ เมืองซิดนีย์ รัฐโนวาสโกเชีย เป็นนักฟิสิกส์ชาวแคนาดา ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์สังเกตการณ์นิวตริโนซัดบิวรีในรัฐออนแทรีโอ แมคโดนัลด์เป็นผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ประจำปี พ.ศ. 2558 ร่วมกับทากาอากิ คาจิตะ นักฟิสิกส์ชาวญี่ปุ่น ในฐานะ "การค้นพบปรากฏการณ์การแกว่งของนิวตริโน ซึ่งชี้ให้เห็นว่านิวตริโนนั้นมีมวล"[1]

อาร์เธอร์ แมคโดนัลด์
(Arthur McDonald)
แมคโดนัลด์ในพิธีมอบรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ พ.ศ. 2558
เกิด29 ตุลาคม พ.ศ. 2486
ซิดนีย์ รัฐโนวาสโกเชีย
ประเทศแคนาดา
สัญชาติ แคนาดา
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยดัลฮาวซี
สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย
องค์การมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน
มหาวิทยาลัยควีนส์

ประวัติ

อาร์เธอร์ แมคโดนัลด์สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีและโทจากคณะฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยดัลฮาวซี ในรัฐโนวาสโกเชีย เมื่อปี พ.ศ. 2507 และ 2508 ตามลำดับ และศึกษาต่อจนจบระดับปริญญาเอกสาขาฟิสิกส์นิวเคลียร์ที่สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนียเมื่อ พ.ศ. 2512[2]

แมคโดนัลด์เริ่มต้นทำงานในฐานะเจ้าหน้าที่วิจัยแห่งศูนย์ปฏิบัติการนิวเคลียร์ชอล์กริเวอร์ (CRNL) ในรัฐออนแทรีโอ ระหว่างปี พ.ศ. 2513–2525 ต่อมารับตำแหน่งอาจารย์สอนฟิสิกส์ให้แก่มหาวิทยาลัยพรินซ์ตันระหว่างปี พ.ศ. 2525–2532 และได้ย้ายมาสอนที่มหาวิทยาลัยควีนส์จนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ แมคโดนัลด์ยังดำรงตำแหน่ง University Research Chair (URC) ตั้งแต่ พ.ศ. 2545 และตำแหน่ง Gordon and Patricia Gray Chair ในสาขาฟิสิกส์ดาราศาสตร์ตั้งแต่ พ.ศ. 2549 ซึ่งเป็นตำแหน่งในมหาวิทยาลัยควีนส์ และยังเป็นหนึ่งในคณะกรรมการแห่งสถาบันฟิสิกส์ทฤษฎีเพริเมเทอร์ในรัฐออนแทรีโอ[2][3]

การวิจัยและผลงาน

แมคโดนัลด์และทีมวิจัยแห่งศูนย์สังเกตการณ์นิวตริโนซัดบิวรีได้ค้นพบปรากฏการณ์การแกว่งของอนุภาคนิวตริโนเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2544 โดยใช้อุปกรณ์ตรวจจับนิวตริโนที่ตั้งอยู่ในเหมืองเก่าลึกลงไปใต้ดินกว่า 2,100 เมตรใกล้เมืองซัดบิวรี รัฐออนแทรีโอ โดยทีมวิจัยพิสูจน์ได้ว่านิวตริโนจากดวงอาทิตย์นั้นสามารถแกว่งและเปลี่ยนรูปไปเป็น อิเล็กตรอนนิวตริโน ( ) มิวออนนิวตริโน ( ) หรือเทานิวตริโน ( ) ได้จริง ผลงานดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์ใน Physical Review Letters ซึ่งเป็นวารสารวิชาการเชิงวิทยาศาสตร์โดยสมาคมฟิสิกส์แห่งอเมริกา และได้รับการพิจารณาว่าเป็นผลงานที่สำคัญมากชิ้นหนึ่ง ผลงานชิ้นนี้ได้พิสูจน์และแก้ปัญหาของนิวตริโนที่มาจากดวงอาทิตย์โดยใช้คำอธิบายจากปรากฏการณ์การแกว่งของนิวตริโน

เกียรติยศ

  • (พ.ศ. 2549) เครื่องอิสริยาภรณ์แห่งแคนาดา[4]
  • (พ.ศ. 2550) เหรียญเบนจามินแฟรงคลิน สาขาฟิสิกส์ มอบโดยสถาบันแฟรงคลินในฐานะ "การค้นพบว่าอนุภาคมูลฐานสามชนิดที่มีชื่อว่านิวตริโนสามารถเปลี่ยนชนิดไปมาได้เมื่อเดินทางเป็นระยะทางที่เหมาะสม และนิวตริโนเหล่านั้นมีมวล"[5]
  • (พ.ศ. 2554) เหรียญเฮนรีมาร์แชลทอรี มอบโดยราชสมาคมแห่งแคนาดาในฐานะ "นำเกียรติยศและสิ่งล้ำค่าทางภูมิปัญญาอันยิ่งใหญ่ให้แก่ประเทศ"[6]
  • (พ.ศ. 2558) รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ร่วมกับทากาอากิ คาจิตะ ในฐานะ "การค้นพบปรากฏการณ์การแกว่งของนิวตริโน ซึ่งชี้ให้เห็นว่านิวตริโนนั้นมีมวล"[1]

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง