อิศวร จันทระ วิทยาสาคร

อิศวร จันทระ วิทยาสาคร (อังกฤษ: Ishwar Chandra Vidyasagar CIE, 26 กันยายน 1820 – 29 กรกฎาคม 1891)[1] ชื่อเมื่อเกิด อิศวร จันทระ บันทโยปัธยัย (Ishwar Chandra Bandyopadhyay) เป็นนักการศึกษา และ นักปฏิรูปสังคม[2] เขาเป็นผู้ทุ่มเทให้กับการทำร้อยแก้วภาษาเบงกอลให้ง่ายขึ้น (simplify) และทันสมัยขึ้น (modernise) เขายังเป็นผู้สร้างเหตุผล (rationalised) และทำให้อักษรและตัวพิมพ์อักษรเบงกอลง่ายขึ้นและเป็นระบบมากชึ้น หลังจากไม่มีการปรับเลยตั้งแต่ยุคที่ชาลส์ วิลคินส์ และ ปัญจนัน กรรมกร ได้แกะตัวพิมพ์อักษรเบงกอลไว้เมื่อปี 1780 วิทยาสาครได้รับการขนานนามว่าเป็น "บิดาของร้อยแก้วภาษาเบงกอล"[3]

อิศวร จันทระ วิทยาสาคร
อิศวร จันทระ วิทยาสาคร
อิศวร จันทระ วิทยาสาคร
เกิดอิศวร จันทระ พันทปัธยัย (Ishwar Chandra Bandopadhyay)
26 กันยายน ค.ศ. 1820(1820-09-26)
พิรสิงห์, รัฐปกครองเบงกอล, บริติชอินเดีย
(ปัจจุบันคือรัฐเบงกอลตะวันตก, อินเดีย)
เสียชีวิต189129 กรกฎาคม ค.ศ. 1891(1891-07-29) (70 ปี)
กัลกัตตา, รัฐปกครองเบงกอล, บริติชอินเดีย
(ปัจจุบันอยู่ในโกลกาตา, รัฐเบงกอลตะวันตก, อินเดีย)
อาชีพนักการศึกษา, นักปฏิรูปสังคม และนักเขียน
ภาษาภาษาเบงกอล
สัญชาติอินเดีย
จบจากวิทยาลัยสันสกฤต (1828-1839)
แนวร่วมในทางวรรณคดียุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการเบงกอล
ผลงานที่สำคัญวิโดว์ รีแมริจ
คู่สมรสทินมยี เทวี (Dinamayee Devi)
บุตร1

เขาเป็นหนึ่งในผู้รณรงค์คนสำคัญที่สุดต่อการอนุญาตให้มีการสมรสใหม่สำหรับสตรีฮินดูหม้าย รวมถึงร้องเรียนเรื่องนี้ต่อสภานิติบัญญัติท่ามกลางเสียงคัดค้านอย่างหนักจากฝั่งตรงข้ามที่ซึ่งรวบรวมรายชื่อได้มากกว่าของเขาถึงสี่เท่าโดยรัธกันตะ เทพและจากธรรมสภา[4][5] อย่างไรก็ตาม ลอร์ดดอลฮูสซีได้ช่วยเหลือเป็นการส่วนตัว จนท้ายที่สุดได้มีการออกใช้รัฐบัญญัติการสมรสใหม่สำหรับสตรีฮินดูที่เป็นหม้าย (Hindu Widows' Remarriage Act) ในปี 1856[6][7]

เขาได้รับชื่อ "วิทยาสาคร" (จากภาษาสันสกฤต วิทยา คือความรู้ และ สาคร คือท้องสมุทร รวมกันจึงแปลว่า ห้วงธารแห่งความรู้) จากวิทยาลัยสันสกฤต กัลกัตตา ที่ซึ่งเขาจบการศึกษา จากความสามารถอันโดดเด่นของเขาในสันสกฤตศึกษาและปรัชญา นักคณิตศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ อนิล กุมาร ไกน์ ต่อมาได้ก่อตั้ง มหาวิทยาลัยวิทยาสาคร เพื่อเป็นเกียรติแด่เขา[8]

สิ่งสืบเนื่อง

ไม่นานหลังเขาเสียชีวิต รพินทรนาถ ฐากุร ได้เขียนชื่นชมเขาว่า "ใคร ๆ ต่างสงสัยว่าเหตุใดพระเจ้าจึงได้สร้างบุรุษ [อย่างเขา] ขึ้นมาในบรรดาชาวเบงกอลกว่าสี่ล้านคน [ที่ทรงสร้างขึ้นมา]"[9][10]

ในปี 2004 เขาได้รับจัดอันดับเป็นที่ 9 ในผลสำรวจ ขาวเบงกอลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล ของบีบีซี[11]

สิ่งสืบเนื่องจากชื่อ

สะพานวิทยาสาครเสตุ ในกัลกัตตา ที่ซึ่งตั้งชื่อตามเขา
  • วิทยาลัยวิทยาสาคร
  • วิทยาลัยวิทยาสาครอีฟนิง
  • วิทยาลัยสตรีวิทยาสาคร
  • สถาบันสุขภาพวิทยาสาคร
  • วิทยาสาครมหาวิทยาลัย
  • วิทยาลัยกิจการสังคมวิทยาสาคร
  • สะพานวิทยาสาคร
  • วิทยาสาครศิศุนิเกตัน
  • วิทยาลัยครูวิทยาสาคร กัลนา
  • วิทยาลัยครูวิทยาสาคร มิทนปุเร
  • มหาวิทยาลัยวิทยาสาคร
  • วิทยาสาครวิทยปิต
  • โรงเรียนมัธยมสตรีวิทยาสาคร

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

แม่แบบ:Americana Poster

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย