ฮอร์โมน

ฮอร์โมน (อังกฤษ: hormone มาจากภาษากรีก horman แปลว่า เคลื่อนไหว) คือ ตัวนำส่งสารเคมีจากเซลล์กลุ่มของเซลล์หนึ่งไปยังเซลล์อื่น ๆ สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ (multicellular organism) ทั้งพืชและสัตว์ สามารถผลิตฮอร์โมนได้ที่ ต่อมไร้ท่อ (endocrine gland) โมเลกุลของฮอร์โมนจะถูกปล่อยโดยตรงยังกระแสเลือด ของเหลวในร่างกายอื่นๆ หรือเนื้อเยื่อใกล้เคียง

หน้าที่ของฮอร์โมน คือการส่งสัญญาณให้ทำงานหรือหยุดทำงาน เช่น

  1. กระตุ้นหรือยับยั้งการเจริญเติบโต
  2. กระตุ้นหรือยับยั้งโปรแกรมการสลายตัวของเซลล์
  3. กระตุ้นหรือยับยั้งระบบภูมิคุ้มกัน
  4. ควบคุม กระบวนการสร้างและสลาย (metabolism) และเตรียมพร้อมสำหรับบทบาทใหม่ๆ เช่น การต่อสู้ หนี หรือ กำหนดช่วงเวลาของชีวิตเช่น วัยรุ่น วัยมีครอบครัวมีลูกหลานไว้สืบสกุล และวัยทอง

สรีรวิทยาของฮอร์โมน

อัตราการผลิตฮอร์โมนจะถูกควบคุมโดยระบบ ภาวะธำรงดุล (Homeostasis) ซึ่งจะเป็นแบบผลป้อนกลับทางลบ (negative feedback) ระบบควบคุมภาวะธำรงดุลของฮอร์โมนมีส่วนของการผลิตที่ขึ้นกับ กระบวนการสร้างและสลาย (metabolism) ของฮอร์โมนเป็นตัวกำหนดที่สำคัญ

การหลั่ง ฮอร์โมน ถูกกระตุ้นหรือยับยั้ง โดย

  • ฮอร์โมน อื่น (กระตุ้น หรือ ปล่อย ฮอร์โมน)
  • ความเข็มข้นของไออนในพลาสมา หรือสารอาหาร และการเชื่อมต่อกับ กลอบูลิน (globulin)
  • นิวรอน (Neuron) และบทบาททางจิตใจ
  • การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม เช่น แสงและอุณหภูมิ

ฮอร์โมนกลุ่มพิเศษได้แก่ โทรฟิกฮอร์โมน (trophic hormone) มีบทบาทกระตุ้นการผลิตฮอร์โมนในต่อมไร้ท่ออื่น เช่น ไทรอยด์ - สติมูเลติ่ง ฮอร์โมน (thyroid-stimulating hormone (TSH)) มีบทบาทเกี่ยวกับการเจริญเติบโต และกระตุ้นฮอร์โมนอื่นของต่อมไทรอยด์

ล่าสุดพบสารประกอบใหม่ที่อยู่ในกลุ่มฮอร์โมน ชื่อ "ฮอร์โมนหิว" ("Hunger Hormones") ซึ่งประกอบด้วย

  • กรีลิน (ghrelin)
  • โอรีซิน (orexin )
  • พีวายวาย 3-36 (PYY 3-36)
  • และ แอนตาโกนิสต์ ของมันชื่อ เลปติน (leptin)

ประเภท

ฮอร์โมนของสัตว์มีกระดูกสันหลังแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มดังนี้:

  1. ฮอร์โมนอนุพันธ์ของอะมีน (Amine-derived hormone) เป็นอนุพันธ์ของ กรดอะมิโน ไทโรซีน และ ทริปโตแฟน (tryptophan) ตัวอย่าง เช่น แคทีคอลามีน (catecholamine) และ ไทโรซีน (thyroxine)
  2. เพปไทด์ฮอร์โมน (Peptide hormone) ประกอบด้วยโซ่ของ กรดอะมิโน ตัวอย่าง เช่น เพปไทด์ฮอร์โมน เล็กอย่าง TRH และ วาโซเพรสซิน เพปไทด์ประกอบด้วยโซ่ กรดอะมิโน ที่ต่อกันเป็นโมเลกุลของ โปรตีน ตัวอย่าง โปรตีนฮอร์โมน ได้แก่ อินสุลิน และโกรว์ทฮอร์โมน
  3. สเตอรอยด์ฮอร์โมน (Steroid hormone) เป็นอนุพันธ์จาก คอเลสเตอรอล (cholesterol) แหล่งผลิตในร่างกายได้แก่ เปลือกต่อมหมวกไต (adrenal cortex) และ ต่อมบ่งเพศ (gonad) ตัวอย่างเช่น
    1. สเตอรอยด์ฮอร์โมน คือ เทสโตสเตอโรน และ คอร์ติโซน
    2. สเตอรอลฮอร์โมน (Sterol hormone) เช่น แคลซิตริออล
  4. ลิพิด และ ฟอสโฟลิพิด มี ฮอร์โมน ดังนี้
    1. ลิพิดเช่น กรดไลโนเลนิก (linoleic acid)
    2. ฟอสโฟลิพิด เช่น กรดอาแรคคิโดนิก (arachidonic acid)
    3. อีไอโคซานอยด์ (eicosanoid) เช่น โปรสตาแกลนดิน (prostaglandin)

อะมีน ฮอร์โมน(amine hormone)

ฮอร์โมนอนุพันธ์ของอะมีน:

เพปไทด์ ฮอร์โมน (peptide hormone)

เพปไทด์ฮอร์โมน:

  • แอนตี้มูลเลอเรียน ฮอร์โมน (AMH, mullerian inhibiting factor หรือ ฮอร์โมน)
  • อะดิโปเนกติน (adiponectin และ Acrp30)
  • อะดริโนคอร์ติโคโทปิก ฮอร์โมน (adrenocorticotropic hormone-ACTH, corticotropin)
  • แองกิโอเทนซิโนเจน และ แองกิโอเทนซิน
  • แอนตี้ไดยูรีติก ฮอร์โมน (ADH, vasopressin, arginine vasopressin, AVP)
  • เอเทรียล-เนตริยูรีติก เพปไทด์ (ANP, atriopeptin)
  • แคลซิโทนิน (calcitonin)
  • คอลีซีสโตคินิน (cholecystokinin-CCK)
  • คอร์ติโคโทรปิน-รีลีสซิ่ง ฮอร์โมน (CRH)
  • อัริโทรพอยอีติน (EPO)
  • ฟอลลิเคิล สติมูเลติง ฮอร์โมน (FSH)
  • แกสตริน (gastrin)
  • กลูคากอน (glucagon)
  • โกนาโดโทรปิน-รีลีสซิ่ง ฮอร์โมน (GnRH)
  • โกรวท์ ฮอร์โมน-รีลีสซิ่ง ฮอร์โมน (GHRH)
  • ฮูแมน คอริโอนิก โกนาโดโทรปิน (hCG)
  • โกรวท์ ฮอร์โมน (GH or hGH)
  • อินสุลิน (insulin)
  • อินสุลิน-ไลค์ โกรวท์ แฟคเตอร์ (IGF, also somatomedin)
  • เลปติน (leptin)
  • ลูทีอิไนซิ่ง ฮอร์โมน (LH)
  • มีลาโนไซต์ สติมูเลติง ฮอร์โมน (MSH or α-MSH)
  • นิวโรเพปไทด์ วาย (neuropeptide Y)
  • ออกซิโตซิน (oxytocin)
  • พาราไทรอยด์ ฮอร์โมน (PTH)
  • โปรแลกติน (PRL)
  • เรนิน (renin)
  • เซครีติน (secretin)
  • โซมาโตสแตติน (somatostatin)
  • ทรอมโบพอยอีติน (thrombopoietin)
  • ไทรอยด์-สติมูเลติง ฮอร์โมน (TSH)
  • ไทโรโทรปิน-รีลีสซิ่ง ฮอร์โมน (TRH)

สเตอรอยด์ และ สเตอรอล ฮอร์โมน (steroid hormone)

สเตอรอยด์ฮอร์โมน:

  • กลูโคคอร์ติคอยด์ (Glucocorticoid)
    • คอร์ติโซน (cortisol)
  • มิเนอรัลโลคอร์ติคอยด์ (Mineralocorticoid)
    • อัลโดสเตอโรน (aldosterone)
  • เซ็กซ์ สเตอรอยด์ (Sex steroid)
    • แอนโดรเจน (Androgen)
      • เทสโตสเตอโรน (testosterone)
      • ดีไฮโดรอิพิแอนโดรสเตอโรน (dehydroepiandrosterone-DHEA)
      • ดีไฮโดรอิพิแอนโดรสเตอโรนซัลเฟต (dehydroepiandrosterone sulfate-DHEAS)
      • แอนโดรสตินิไดโอน (androstenedione)
      • ไดไฮโดรเทสโตสเตอโรน (dihydrotestosterone-DHT)
    • เอสโตรเจน (Estrogen)
      • เอสตาไดออล (estradiol)
    • โปรเจสตาเจน (Progestagen)

สเตอรอล ฮอร์โมน:

  • ไวตามิน ดี อนุพันธ์
    • แคลซิไตรออล (calcitriol)

ลิพิด ฮอร์โมน (lipid hormone)

ลิพิด และ ฟอสโฟลิพิด ฮอร์โมน (อีไอโคซานอยด์) :

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  • Henderson J. Ernest Starling and 'Hormones': an historical commentary. J Endocrinol 2005;184:5-10. PMID 15642778.
🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง