เกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำ

เกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำ (อังกฤษ: electoral threshold) คือจำนวนคะแนนเสียงขั้นต่ำที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งหรือพรรคการเมืองจะต้องได้รับจึงสามารถมีตัวแทนในสภานิติบัญญัติได้ โดยเกณฑ์ข้อจำกัดนี้สามารถกระทำได้ในหลายวิธี ตัวอย่างเช่น ในระบบสัดส่วนแบบบัญชีรายชื่อมีเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำว่าพรรคการเมืองจะต้องได้รับคะแนนเสียงขั้นต่ำจำนวนร้อยละจำนวนหนึ่งของคะแนนเสียงรวมทั้งหมด (เช่น ร้อยละ 5) ในระดับชาติ หรือในระดับเขตใดเขตหนึ่ง จึงจะได้รับการจัดสรรที่นั่งในสภานิติบัญญัติ ในเขตเลือกตั้งที่มีผู้แทนมากกว่าหนึ่งคนซึ่งมักจะใช้ระบบการลงคะแนนแบบจัดลำดับ นอกจากเกณฑ์ขั้นต่ำแล้ว ผู้สมัครจะต้องได้รับคะแนนเสียงถึงจำนวนโควตา ไม่ว่าจะเป็นจากคะแนนในรอบแรก หรือรอบอื่นๆ ก็ตาม โดยขึ้นอยู่กับจำนวนผู้แทนในเขตนั้นๆ จึงจะได้ที่นั่งในสภา

ผลกระทบของเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำนั้นคือการปฏิเสธการมีตัวแทนของพรรคการเมืองขนาดเล็กหรือมิฉะนั้นจะต้องร่วมพันธมิตรเป็นกลุ่มพรรคการเมือง โดยมีข้อสันนิษฐานเพื่อให้ระบบการเมืองมีความเข้มแข็งขึ้นโดยป้องกันไม่ให้เกิดพรรคเศษจำนวนมากเกินไป ผู้ที่สนับสนุนแนวคิดนี้กล่าวว่าการที่พรรคขนาดเล็กมีที่นั่งจำนวนหนึ่งในสภาจะช่วยเพิ่มภาพลักษณ์ของพรรคการเมืองเล็กได้ดีขึ้น แต่หากจะให้พรรคที่มีเสียงสนับสนุนเพียงร้อยละ 1 ของทั้งหมดมามีส่วนร่วมในสภา รวมทั้งมีเสียงในการยับยั้งนั้นไม่ค่อยเหมาะสม[1] อย่างไรก็ตาม ผู้วิจารณ์ได้โต้แย้งว่าหากไม่มีการใช้ระบบการลงคะแนนแบบจัดลำดับ เสมือนว่าผู้สนับสนุนพรรคเล็กนั้นถูกตัดสิทธิในการเลือกผู้แทนที่ตัวเองเป็นผู้เลือก

เกณฑ์ในประเทศต่างๆ

แผนที่โลกแสดงถึงเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำในแต่ละประเทศ
ในบางประเทศมีกฎเพิ่มเติมสำหรับพรรคร่วมพันธมิตรและผู้สมัครอิสระในการชนะที่นั่งในแบบแบ่งเขต
  <1
  1–1.9
  2–2.9
  3–3.9
  4–4.9
  5–5.9
  6–6.9
  7+
  แต่ละสภามีเกณฑ์ต่างกัน

ในโปแลนด์ เยอรมนี และนิวซีแลนด์นั้นล้วนมีเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำในการเลือกสภาผู้แทนราษฎร คือร้อยละ 5 (ในโปแลนด์หากเป็นพรรคพันธมิตรร่วมตั้งแต่สองพรรคขึ้นไปในแต่ละเขตเลือกตั้งจะปรับขึ้นเป็นร้อยละ 8) อย่างไรก็ดีในเยอรมนีและนิวซีแลนด์ หากพรรคการเมืองนั้นชนะการเลือกตั้งในแบบแบ่งเขตอย่างน้อยจำนวนหนึ่งแล้ว ได้แก่ 3 ที่นั่งในเยอรมนี และ 1 ที่นั่งในนิวซีแลนด์ เกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำจะไม่ถูกบังคับใช้ ในอิสราเอลใช้เกณฑ์ที่ร้อยละ 3.25 (ในอดีตเคยใช้ร้อยละ 1 ก่อนปีค.ศ. 1992 ต่อมาเพิ่มเป็นร้อยละ 1.5 ในช่วงปีค.ศ. 1992-2003 และร้อยละ 2 ในช่วงปีค.ศ. 2003-2014) และตุรกีจำนวนร้อยละ 10 ในโปแลนด์นั้นพรรคการเมืองที่เป็นตัวแทนกลุ่มชาติพันธุ์ชนกลุ่มน้อยได้รับการยกเว้นและจึงจะมีผู้แทนจำนวนหนึ่งมาจากชนกลุ่มน้อยเยอรมันในรัฐสภาโปแลนด์ในทุกสมัย ในโรมาเนียกำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำสำหรับพรรคการเมืองตัวแทนกลุ่มชาติพันธุ์แตกต่างจากเกณฑ์ปกติสำหรับการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎร

ในหลายประเทศที่ใช้การเลือกตั้งระบบสัดส่วนไม่มีการกำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำไว้ อาทิเช่น โปรตุเกส แอฟริกาใต้ ฟินแลนด์ เนเธอร์แลนด์ และนอร์ทมาซิโดเนีย ถึงแม้ว่าเนเธอร์แลนด์จะมีกฎเพิ่มเติมว่าที่นั่งแรกนั้นห้ามเป็นที่นั่งปัดเศษ ซึ่งหมายความว่ามีการคำนวนเกณฑ์คะแนนขั้นต่ำที่ 100% หารด้วยจำนวนที่นั่งทั้งหมด (150 ที่นั่ง จึงได้เกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำที่ร้อยละ 0.67) ในสโลวีเนียนั้นในการเลือกตั้งปีค.ศ. 1992 และ 1996 มีการกำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำไว้ที่ 3 ที่นั่ง ซึ่งหมายความว่าพรรคการเมืองจะต้องชนะคะแนนอย่างน้อยร้อยละ 3.2 เพื่อจะผ่านเกณฑ์ ต่อมาในปีค.ศ. 2000 เกณฑ์ถูกปรับขึ้นเป็นร้อยละ 4 ของคะแนนเสียงทั้งหมด

ในสวีเดนมีเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำที่ร้อยละ 4 ในคะแนนระดับชาติ แต่หากพรรคการเมืองใดได้รับคะแนนเสียงในเขตเลือกตั้งใดเกินกว่าร้อยละ 12 จะได้รับการจัดสรรที่นั่งของเขตนั้นไป อย่างไรก็ตามในการเลือกตั้งปีค.ศ. 2014 ไม่มีผู้สมัครรายใดได้รับเลือกจากเกณฑ์ร้อยละ 12 เลย ในนอร์เวย์มีเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำในระดับชาติร้อยละ 4 ซึ่งใช้ในการปรับที่นั่งเท่านั้น พรรคการเมืองใดที่ได้รับคะแนนเสียงเพียงพอในระดับเขตนั้นยังสามารถชนะการเลือกตั้งได้ถึงแม้คะแนนของพรรคจะไม่ถึงเกณฑ์ ในการเลือกตั้งปีค.ศ. 2009 พรรคเสรีนิยมชนะ 2 ที่นั่งจากการใช้เกณฑ์นี้

ในออสเตรเลียซึ่งใช้ระบบการเลือกตั้งระบบสัดส่วนแบบถ่ายโอนคะแนนเสียง โดยเลือกที่จะไม่ตั้งเกณฑ์คะแนนขั้นต่ำแต่มีการกำหนดเขตเลือกตั้งที่มีขนาดเล็กแบบมีผู้แทนหลายคนจึงทำให้พรรคการเมืองต้องได้คะแนนโควตามากเป็นพิเศษจึงจะได้รับเลือกตั้ง นอกจากนี้ในออสเตรเลียยังใช้การลงคะแนนแบบจัดลำดับด้วยจึงทำให้ผู้สนับสนุนพรรคการเมืองเล็กไม่ถูกละเลยเพราะคะแนนเสียงทุกคะแนนจะถูกแจกจ่ายให้กับผู้สมัครตามลำดับความชอบของผู้ลงคะแนนแต่ละคน

ในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากการเลือกตั้งส่วนใหญ่ใช้ระบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุดจึงไม่มีเกณฑ์คะแนนขั้นต่ำตามกฎหมาย อย่างไรก็ตาม เริ่มมีการใช้เกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำในหลายรัฐสำหรับพรรคการเมืองเพื่อจะขอให้มีการเข้าถึงบัตรลงคะแนนอัตโนมัติสำหรับการเลือกตั้งทั่วไปสมัยหน้าโดยไม่ต้องให้ผู้ลงคะแนนยื่นเรื่องต่อทางการ

ในบางประเทศอาจมีมากกว่าหนึ่งเกณฑ์ อาทิเช่น เยอรมนีนั้นมีเกณฑ์ปกติที่ร้อยละ 5 แต่พรรคการเมืองใดที่ชนะการเลือกตั้งในแบบแบ่งเขตมากกว่า 3 ที่นั่งจะสามารถมีผู้แทนได้ในสภาถึงแม้ว่าคะแนนเสียงโดยรวมจะไม่ถึงเกณฑ์ร้อยละ 5 ส่วนประเทศอื่นๆ ที่พิจารณาใช้มากกว่าหนึ่งเกณฑ์นั้นส่วนใหญ่อยู่ในระหว่างการศึกษา โดยเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเป็นการเสริมสร้างความมั่นคงในระบบการเมือง

ยุโรป

ประเทศสำหรับแต่ละพรรคการเมืองสำหรับประเภทอื่นๆ
อัลแบเนีย3%5% สำหรับพันธมิตรกลุ่มพรรคการเมืองในระดับเขตเลือกตั้ง[2]
อันดอร์รา7.14% (1/14 ของคะแนนเสียงทั้งหมด)[3]
อาร์มีเนีย5%7% สำหรับพันธมิตรกลุ่มพรรคการเมือง
ออสเตรีย4% หรือ Grundmandat ในเขตเลือกตั้งระดับภูมิภาค
เบลเยียม5% (ในระดับเขตเลือกตั้ง และไม่มีเกณฑ์ขั้นต่ำในระดับชาติ)
บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา3%
บัลแกเรีย4%
โครเอเชีย5%
ไซปรัส3.6%5% สำหรับนอร์เทิร์นไซปรัส
สาธารณรัฐเช็ก5%8% สำหรับพันธมิตรกลุ่มพรรคการเมืองแบบสองพรรค และ 11% สำหรับพันธมิตรกลุ่มพรรคการเมืองแบบหลายพรรค
เอสโตเนีย5%
เดนมาร์ก2% or direct mandate[4][5]
เยอรมนี5% ของคะแนนบัญชีรายชื่อพรรค
ในการมีตัวแทนในสภา (หรือชนะอย่างน้อยสามที่นั่งในระดับเขต)
0% (ชนกลุ่มน้อยทางชาติพันธุ์), 0% (การเลือกตั้งสภายุโรป)
จอร์เจีย3%[6]
กรีซ3%
ฮังการี5%10% สำหรับพันธมิตรกลุ่มพรรคการเมืองแบบสองพรรค, 15% สำหรับพันธมิตรกลุ่มพรรคการเมืองแบบหลายพรรค และ 0.26% สำหรับชนกลุ่มน้อยทางชาติพันธุ์ (ที่นั่งแรกเท่านั้น)
ไอซ์แลนด์5% (สำหรับการชดเชยที่นั่ง)[7]
อิตาลี3%10% (สำหรับพันธมิตรกลุ่มพรรคการเมือง) แต่บัญชีรายชื่อจะต้องได้รับอย่างน้อย 3%, 1% (ของแต่ละพรรคในกลุ่มพันธมิตร), 20% หรือชนะใน 2 เขตเลือกตั้ง (กลุ่มชาติพันธุ์)
คาซักสถาน7%
ลัตเวีย5%
ลิกเตนสไตน์8%
ลิธัวเนีย5%7% สำหรับพันธมิตรกลุ่มพรรคการเมือง
มอลโดวา5%3% (อิสระ), 12% (สำหรับพันธมิตรกลุ่มพรรคการเมือง)
โมนาโค5%[8]
มอนเตเนโกร3%มีกฎพิเศษสำหรับบัญชีรายชื่อของชนกลุ่มน้อยทางชาติพันธุ์[9]
เนเธอร์แลนด์0.667% (จำนวนร้อยละของคะแนนเสียงที่ต้องการสำหรับหนึ่งที่นั่ง)[10]
นอร์เวย์4% (สำหรับการชดเชยที่นั่ง)
โปแลนด์5%8% (สำหรับพันธมิตรกลุ่มพรรคการเมือง; ซึ่งไม่สามารถใช้ได้กับการเลือกตั้งสภายุโรป); 0% (ชนกลุ่มน้อยทางชาติพันธุ์)
โรมาเนีย5%10% (สำหรับพันธมิตรกลุ่มพรรคการเมือง)
รัสเซีย5%
ซานมารีโน5%[11]
สกอตแลนด์5%
สเปน3% (ระดับเขต) ส่วนเซวตาและเมลียาใช้การลงคะแนนระบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุด โดยไม่มีเกณฑ์ขั้นต่ำสำหรับวุฒิสภาและการเลือกตั้งสภายุโรป 5% สำหรับการเลือกตั้งท้องถิ่น และหลายเกณฑ์ในการเลือกตั้งระดับแคว้น
สวีเดน4% (ระดับชาติ)
12% (ระดับเขต)
เซอร์เบีย3%[12]ไม่มีเกณฑ์ขั้นต่ำสำหรับบัญชีรายชื่อระดับชาติของกลุ่มชาติพันธุ์[13][12]
สโลวาเกีย5%7% สำหรับพันธมิตรกลุ่มพรรคการเมืองสองพรรค, 10% สำหรับพันธมิตรกลุ่มพรรคการเมืองมากกว่าสองพรรค
สโลวีเนีย4%
ตุรกี10%10% สำหรับพันธมิตรกลุ่มพรรคการเมือง ซึ่งพรรคการเมืองที่อยู่ในพันธมิตรจะไม่ต้องมีเกณฑ์ขั้นต่ำในระดับชาติเป็นรายพรรค ไม่มีเกณฑ์ขั้นต่ำสำหรับผู้สมัครอิสระ
ยูเครน5%
เวลส์5%

ทวีปอื่นๆ

ประเทศสำหรับแต่ละพรรคการเมืองสำหรับประเภทอื่นๆ
อาร์เจนตินา3% ของผู้มีสิทธิลงคะแนน[14]
บราซิล1.5%
โบลีเวีย3%
บุรุนดี2%[15]
โคลอมเบีย3%
ติมอร์ตะวันออก4%[16][17][18]
ฟิจิ5%
อินโดนีเซีย4% (สำหรับแค่สภาผู้แทนราษฎร)[19]
อิสราเอล3.25%
คีร์กีซสถาน9% และ 0.7% ของคะแนนเสียงทั้งหมดในแต่ละแคว้นทั้งเจ็ด
โมซัมบิก5%[20]
เนปาล3% ของคะแนนเสียงทั้งหมดในระบบสัดส่วน และอย่างน้อย 1 ที่นั่งจากระบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุด
นิวซีแลนด์5% (หรือชนะอย่างน้อย 1 ที่นั่งในแบบแบ่งเขต)
เปรู5%[21]
ปาเลสไตน์2%
ฟิลิปปินส์2% สำหรับที่นั่งแบบบัญชีรายชื่อจำนวน 20% ของที่นั่งทั้งหมดในสภาล่างพรรคการเมืองอื่นๆ สามารถได้รับที่นั่งหากจำนวนที่นั่ง 20% นี้ยังจัดสรรได้ไม่ครบ
เกาหลีใต้3% (หรือชนะอย่างน้อย 5 ที่นั่งในแบบแบ่งเขต)[22][23]5% (การเลือกตั้งสภาท้องถิ่น)[24]
รวันดา5%
ไต้หวัน5%[25]
ทาจิกิสถาน5%[26]
อุรุกวัย1% (สภาผู้แทนราษฎร)
3% (วุฒิสภา)


อ้างอิง

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง