ประเทศจอร์เจีย

42°00′N 43°30′E / 42.000°N 43.500°E / 42.000; 43.500

จอร์เจีย

საქართველო  (จอร์เจีย)
คำขวัญ
ძალა ერთობაშია
Dzala ertobashia
("พลังอยู่ในเอกภาพ")
เพลงชาติ
თავისუფლება
Tavisupleba
("อิสรภาพ")
พื้นที่ภายใต้การควบคุมอยู่ในสีเขียวเข้ม พื้นที่อ้างสิทธิแต่ไม่ได้ควบคุมอยู่ในสีเขียวอ่อน
พื้นที่ภายใต้การควบคุมอยู่ในสีเขียวเข้ม พื้นที่อ้างสิทธิแต่ไม่ได้ควบคุมอยู่ในสีเขียวอ่อน
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
ทบิลีซี
41°43′N 44°47′E / 41.717°N 44.783°E / 41.717; 44.783
ภาษาราชการจอร์เจีย (ทั่วประเทศ)
อับคาเซีย (อับคาเซีย)[1][2]
กลุ่มชาติพันธุ์
(ค.ศ. 2014[a])
86.8% ชาวจอร์เจีย
6.2% ชาวอาเซอร์ไบจาน
4.5% ชาวอาร์มีเนีย
0.7% ชาวรัสเซีย
2.1% อื่น ๆ
ศาสนา
(ค.ศ. 2014)
88.1% คริสต์
—83.4% ออร์ทอดอกซ์จอร์เจีย
—5.7% นิกายอื่น ๆ
10.7% อิสลาม
1.2% อื่น ๆ / ไม่มี[3]
การปกครองรัฐเดี่ยว ระบบรัฐสภา สาธารณรัฐรัฐธรรมนูญ
• ประธานาธิบดี
ซาลอเม ซูราบิชวีลี
• นายกรัฐมนตรี
อีรากลี ฆารีบัชวีลี
• ประธานรัฐสภา
Kakha Kuchava
สภานิติบัญญัติรัฐสภา
วันก่อตั้ง
• Colchis และ Iberia
ประมาณ 13 ปีก่อนคริสต์ศักราช – ค.ศ. 580
• ราชอาณาจักรอับคาเซียและBagratid Iberia
ค.ศ. 786–1008
• จอร์เจียที่รวมเป็นหนึ่ง
ค.ศ. 1008
• การแบ่งไตรภาคี
ค.ศ. 1463–1810
• การผนวกของรัสเซีย

12 กันยายน ค.ศ. 1801

26 พฤษภาคม ค.ศ. 1918
• การโจมตีของกองทัพแดง
25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1921
• เป็นเอกราชจากสหภาพโซเวียต
ประกาศ
ขั้นสุดท้าย


9 เมษายน ค.ศ. 1991
25 ธันวาคม ค.ศ. 1991
• รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
24 สิงหาคม ค.ศ. 1995
พื้นที่
• รวม
69,700 ตารางกิโลเมตร (26,900 ตารางไมล์) (อันดับที่ 119)
ประชากร
• ค.ศ. 2021 ประมาณ
3,728,573 [a][4]
4,012,104 [b] (อันดับที่ 128)
• สำมะโนประชากร ค.ศ. 2014
3,713,804 [a][5]
57.6 ต่อตารางกิโลเมตร (149.2 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 137)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) ค.ศ. 2019 (ประมาณ)
• รวม
46.05 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[a][6] (อันดับที่ 112)
12,409 ดอลลาร์สหรัฐ[a][6] (อันดับที่ 101)
จีดีพี (ราคาตลาด) ค.ศ. 2019 (ประมาณ)
• รวม
17.83 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[6] (อันดับที่ 118)
4,285 ดอลลาร์สหรัฐ[a][7] (อันดับที่ 107)
จีนี (ค.ศ. 2019)positive decrease 35.9[8]
ปานกลาง
เอชดีไอ (ค.ศ. 2019)เพิ่มขึ้น 0.812[9]
สูงมาก · อันดับที่ 61
สกุลเงินลารี (₾) (GEL)
เขตเวลาUTC+4 (เวลาจอร์เจีย GET)
รูปแบบวันที่วว/ดด/ปปปป
ขับรถด้านขวา
รหัสโทรศัพท์+995
รหัส ISO 3166GE
โดเมนบนสุด.ge, .გე
เว็บไซต์
www.gov.ge
  1. ^ ข้อมูลไม่รวมพื้นที่ที่อ้างสิทธิ์
  2. ^ ข้อมูลรวมพื้นที่ที่อ้างสิทธิ์

จอร์เจีย (อังกฤษ: Georgia; จอร์เจีย: საქართველო, อักษรโรมัน: Sakartvelo, ออกเสียง: [sɑkʰɑrtʰvɛlɔ] ( ฟังเสียง)) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคคอเคซัส ซึ่งเป็นจุดตัดระหว่างยุโรปตะวันออกและเอเชียตะวันตก จอร์เจียมีพรมแดนทางทิศตะวันตกติดกับทะเลดำ ทางทิศเหนือและทิศตะวันออกติดกับรัสเซีย ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดกับตุรกี ทางทิศใต้ติดกับอาร์เมเนีย และทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ติดกับอาเซอร์ไบจาน จอร์เจียครอบคลุมพื้นที่กว่า 69,700 ตารางกิโลเมตร (26,900 ตารางไมล์) และมีประชากรราว 3.7 ล้านคน (ไม่นับรวมดินแดนจอร์เจียที่ถูกรัสเซียยึดครอง)[11] จอร์เจียเป็นประเทศประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน ซึ่งปกครองในรูปแบบสาธารณรัฐรัฐเดี่ยวในระบอบรัฐสภา[13][14] โดยมีทบิลีซีเป็นเมืองหลวง และยังเป็นที่ตั้งของประชากรจอร์เจียประมาณหนึ่งในสามของประชากรทั้งหมด

ภูมิศาสตร์

ที่ตั้ง

ทางตอนใต้ของเทือกเขาคอเคซัส

  • ทิศเหนือ จรดพรมแดนรัสเซีย
  • ทิศตะวันออก จรดพรมแดนอาเซอร์ไบจาน
  • ทิศใต้จรดพรมแดนอาร์มีเนีย และตุรกี
  • ทิศตะวันตก ติดชายฝั่งทะเลดำ
พื้นที่

69,700 ตารางกิโลเมตร หรือ 26,911 ตารางไมล์ ความหนาแน่นของประชากร 206 คนต่อตารางไมล์

การแบ่งเขตการปกครอง

จอร์เจียแบ่งเป็น 9 จังหวัด (mkhare) จังหวัดต่าง ๆ แบ่งย่อยลงไปเป็นเขต (raioni) 2 สาธารณรัฐปกครองตนเอง (avtonomiuri respublika) และ 1 นคร (k'alak'i) * ดังนี้

หมายเลขเขตการปกครองเมืองหลวง
1สาธารณรัฐปกครองตนเองอับฮาเซีย (Abkhazia)ซูฮูมี (Sukhumi)
2ซาเมเกรลอ-เซมอสวาเนตี (Samegrelo-Zemo Svaneti)ซุกดีดี (Zugdidi)
3กูเรีย (Guria)โอซูร์เกตี (Ozurgeti)
4สาธารณรัฐปกครองตนเองอัดจารา (Adjara)บาตูมี (Batumi)
5ราชา-เลชคูมีและคเวมอสวาเนตีอัมบรอลาอูรี (Ambrolauri)
(Racha-Lechkhumi and Kvemo Svaneti)
6อีเมเรตี (Imereti)คูไตซี (Kutaisi)
7ซัมซเค-จาวาเคตี (Samtskhe-Javakheti)อะคัลต์ซีเค (Akhaltsikhe)
8ชีดาคาร์ตลี (Shida Kartli)กอรี (Gori)
9มซเคตา-มเตียเนตี (Mtskheta-Mtianeti)มซเคตา (Mtskheta)
10คเวมอคาร์ตลี (Kvemo Kartli)รุสตาวี (Rustavi)
11คาเคตี (Kakheti)เตลาวี (Telavi)
12ทบิลิซี* (Tbilisi)
จอร์เจียตะวันตกเฉียงเหนือ

ประวัติศาสตร์

ประวัติศาสตร์ของจอร์เจียมียาวนานกว่า 2,500 ปี และภาษาจอร์เจียก็เป็นหนึ่งในภาษาเก่าแก่ที่สุดในโลกที่ยังมีการใช้อยู่ กรุงทบิลิซี (เมืองหลวง) ซึ่งมีอายุกว่า 1,500 ปี ตั้งอยู่ในหุบเขาที่งดงามซึ่งถูกแบ่งโดยแม่น้ำ Mtkvari พื้นที่ส่วนใหญ่ของจอร์เจียถูกยึดครองโดยเปอร์เซีย ตุรกี อาหรับและมองโกล ในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 7 ถึง 18 ซึ่งเป็นเวลา 11 ศตวรรษที่จอร์เจียถูกปกครองโดยเผ่าต่าง ๆ ทั้งนี้ ในระหว่างศตวรรษที่ 11 ถึง 12 จอร์เจียได้รับการคุ้มครองจากรัสเซีย ซึ่งในที่สุดรัสเซียก็ได้ผนวกจอร์เจียเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย และเนรเทศราชวงศ์จอร์เจียในปี ค.ศ. 1801 (พ.ศ. 2344) อย่างไรก็ตาม ยังมีประชาชนจอร์เจียจำนวนหนึ่งที่ต่อต้านการปกครองของรัสเซียเมื่อระบบกษัตริย์ (Tsarist) ของรัสเซียถูกโค่นลง สาธารณรัฐจอร์เจียก็ได้ก่อตั้งขึ้นในวันที่ 26 พฤษภาคม ค.ศ. 1918 (พ.ศ. 2461) และภายในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1921 (พ.ศ. 2464) กองทัพแดง (Red Army) ของสหภาพโซเวียตก็ได้เข้ายึดครองจอร์เจียอีกครั้งหนึ่ง ทำให้จอร์เจียเป็นสาธารณรัฐหนึ่งของสหภาพโซเวียต ในวันที่ 9 เมษายน ค.ศ. 1991 (พ.ศ. 2534) สภาสูงสุดของสาธารณรัฐจอร์เจียก็ได้ประกาศเอกราชจากสหภาพโซเวียต

จอร์เจียประสบปัญหาความขัดแย้งด้านเชื้อชาติตั้งแต่ประกาศเอกราช และเพิ่งเริ่มมีเสถียรภาพในปี ค.ศ. 1995 (พ.ศ. 2538) อย่างไรก็ตาม ปัญหาคนพลัดถิ่นภายใน (internally displaced persons--IDPs) กว่า 230,000 คน ก็ยังคงเป็นอุปสรรคต่อพัฒนาการการเมืองท้องถิ่น ปัญหาความขัดแย้งในดินแดนอับฮาเซียและเซาท์ออสซีเชียซึ่งต้องการแยกตัวออกจากจอร์เจียยังคงเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ยังคงต้องอาศัยกองกำลังสันติภาพของรัสเซีย และองค์การระหว่างประเทศในการรักษาสันติภาพ ซึ่งต้องมีการเจรจาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบัน การเจรจาระหว่างจอร์เจียกับเซาท์ออสซีเชียมีความคืบหน้าพอสมควร ในขณะที่การเจรจาระหว่างจอร์เจียกับอับฮาเซียยังคงหาผลสรุปไม่ได้

รัฐบาลจอร์เจียยึดมั่นในแนวทางการปฏิรูปเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับนโยบายของ IMF และ World Bank และให้ความสำคัญกับการบูรณะเส้นทางสายไหม ในฐานะที่เป็น Eurasian corridor โดยจะใช้ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของจอร์เจียเป็นสะพานเชื่อมการค้าระหว่างยุโรป และเอเชีย

การเมือง

จอร์เจียเป็นประเทศที่แยกตัวออกมาจากสหภาพโซเวียต (คอมมิวนิสต์) ช่วงหลังสงครามเย็น ซึ่งก่อนที่จะแยกออกมานั้นมีชื่อประเทศว่า "สาธารณรัฐสังคมนิยมจอร์เจีย" แต่ก็ยังไม่ได้การรับรองจากประเทศใด ๆ ทำให้เกิดการต่อสู้เพื่อแบ่งแยกดินแดนจากคนต่างเชื้อสายในประเทศเดียวกันเองอยู่เสมอ ส่วนเมืองที่รัสเซียให้การสนับสนุนก็ได้ออกมาในรูปแบบของชนกลุ่มน้อยที่ต่อต้านรัฐบาลจอร์เจียซึ่งทางรัสเซียถือหางอยู่ จอร์เจียถือเป็นรัฐกันชนอีกแห่งที่จะสามารถเชื่อมต่อไปยังยุโรปตะวันออกได้ และในอดีตทางยุโรปตะวันออกก็ถือได้ว่าเป็นเขตอิทธิพลของระบอบคอมมิวนิสต์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาวยุโรปและโดยเฉพาะกับยุโรปตะวันตกเป็นอย่างมาก และเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2551 ก็ได้ประกาศสงครามและสู้รบอย่างเป็นทางการกับทางรัสเซียแล้ว เพราะเนื่องจากถูกทหารรัสเซียบุกเข้าโจมตีทางเซาท์ออสซีเชียก่อนหน้านี้เป็นเวลา 2 วันแล้ว

นโยบายต่างประเทศ

แม้ว่าจอร์เจียจะเป็นประเทศเล็ก ๆ ในภูมิภาคคอเคซัส แต่ในบริบทของการช่วงชิงอิทธิพลทางการเมืองระหว่างประเทศมหาอำนาจ อาทิ รัสเซีย สหรัฐฯ รวมถึงสหภาพยุโรป จอร์เจียมีบทบาทสำคัญด้วยที่ตั้งที่ใกล้กับอิรัก อิหร่าน และตุรกี และยังตั้งอยู่บนเส้นทางขนส่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ Baku-Tbilisi-Ceyhan นอกจากนี้ ปัญหาการแบ่งแยกดินแดนภายในจอร์เจีย (ดินแดง Abkhazia, South Ossetia และ Adjara) ยังทำให้จอร์เจียสามารถเป็นเครื่องมือในการต่อรองระหว่างรัสเซียกับสหรัฐฯ และชาติตะวันตกอื่น ๆ ได้

ความสัมพันธ์

จอร์เจีย - ไทย

ไทยได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับจอร์เจียเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ค.ศ. 1992 ฝ่ายไทยจึงมอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมอสโก (รัสเซีย)รับผิดชอบดูแลความสัมพันธ์ทวิภาคีไทย-จอร์เจียในช่วงแรก ต่อมา รัฐบาลไทยได้ปรับเปลี่ยนโดยมอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอังการา (ตุรกี) ดูแลความสัมพันธ์ไทย-จอร์เจียมาจนปัจจุบัน ในขณะที่ฝ่ายจอร์เจียได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูตจอร์เจีย ณ กรุงนิวเดลี (อินเดีย) ดูแลความสัมพันธ์จอร์เจีย-ไทย และได้แต่งตั้งนาย Tatsuya Nishimura ดำรงตำแหน่งกงสุลกิตติมศักดิ์จอร์เจียประจำประเทศไทยเมื่อวันที่ 18 มีนาคม ค.ศ. 2003 ต่อมา ได้เปลี่ยนกงสุลกิตติมศักดิ์จอร์เจียประจำประเทศไทยเป็น นายวิกร ศรีวิกรม์ในวันที่ 8 ตุลาคม ค.ศ. 2019 ได้มีการเที่ยวบินระหว่างไทย และ จอร์เจีย โดยทำการบินจาก ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง บินตรงมายัง ทบิลีซี ในเที่ยวบิน XJ008 สายการบินไทยแอร์เอเชียเอกซ์

ในวันที่ 8 ตุลาคม ค.ศ. 2022 ได้มีการเที่ยวบินระหว่างไทย และ จอร์เจีย โดยทำการบินจาก ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ บินตรงมายัง ทบิลีซี ในเที่ยวบิน XJ908 สายการบินไทยแอร์เอเชียเอกซ์

จอร์เจีย - รัสเซีย

จอร์เจียมีความขัดแย้งกับรัสเซียสืบเนื่องมาจากปัญหาแบ่งแยกดินแดนในจอร์เจีย โดยจอร์เจียกล่าวหารัสเซียว่าเข้าไปแทรกแซงในปัญหาเหล่านี้ ทั้งในทางลับและโดยการส่งกองกำลังเข้าไป และยังกังวลว่ารัสเซียพยายามที่จะผนวกดินแดนจอร์เจียเข้าไปในดินแดนของตน ในขณะที่รัสเซียเห็นว่าดินแดนชายแดนของจอร์เจียบางแห่งเป็นฐานที่มั่นของกลุ่มก่อการร้ายเชชเนีย และเห็นว่ารัฐบาลจอร์เจียไม่ให้ความร่วมมือในการกวาดล้างกลุ่มกองโจรเชชเนียเหล่านี้ในดินแดนของตน

เมื่อวันที่ 6 ส.ค. 2007 เครื่องบินขับไล่ SU-25 จำนวน 2 ลำ ได้บินเข้าไปในน่านฟ้าจอร์เจีย พร้อมกับยิงขีปนาวุธ 1 ลูกไปที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งซึ่งตั้งอยู่ไม่ไกลจาก South Ossetia ทางการจอร์เจียเชื่อว่าเป็นการกระทำของรัสเซีย ส่วนทางฝ่ายรัสเซียปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว และระบุว่ามีความเป็นไปได้ที่เครื่องบินขับไล่เป็นของจอร์เจียที่ต้องการยั่วยุให้เกิดความตึงเครียดขึ้นในพื้นที่ South Ossetia เพื่อโน้มน้าวให้สหภาพยุโรปและ NATO เห็นว่า รัสเซียเป็นภัยคุกคามต่อภูมิภาคและเข้ามาให้ความช่วยเหลือจอร์เจียในกรณีที่มีความขัดแย้งกับรัสเซีย อย่างไรก็ดี ล่าสุด เมื่อวันที่ 13 ม.ค. 2551 ประธานาธิบดี Saakashvili ได้ให้สัมภาษณ์แก่รายการโทรทัศน์รัสเซีย ประกาศว่า “การมีความสัมพันธ์ฉันมิตรกับรัสเซียถือเป็นผลประโยชน์แก่จอร์เจีย” และเชื่อว่าการเข้าร่วม NATO ของจอร์เจียจะไม่ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์กับรัสเซีย นอกจากนี้ ยังให้ความเห็นของตนเกี่ยวกับการเมืองในบริบทโลกว่า จะสนับสนุนความสัมพันธ์กับทั้ง NATO และประเทศอื่น ๆ ทั้งตะวันออกและตะวันตก และเชื่อว่านโยบายต่างประเทศของจอร์เจียควรจะมีหลายมิติ

จอร์เจีย - สหรัฐอเมริกา

จอร์เจียมีความร่วมมือทางวิชาการ (technical cooperation) กับสหรัฐ ฯ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2000 โดยสหรัฐ ฯ ได้ให้ความช่วยเหลือด้านยุทโธปกรณ์แก่จอร์เจีย อาทิ เฮลิคอปเตอร์ และหลังจากเหตุการณ์วินาศกรรมในสหรัฐ ฯ เมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 ความร่วมมือระหว่างสองประเทศก็เพิ่มขึ้นมาโดยตลอด

กองทัพ

กองทัพบก

กองทัพอากาศ

กองทัพเรือ

กองกำลังกึ่งทหาร

เศรษฐกิจ

เศรษฐกิจจอร์เจียมีแนวโน้มในทางที่ดีขึ้นในระยะหลังมานี้ โดยเฉพาะหลังจากการขึ้นสู่อำนาจของประธานาธิบดี Saakashvili ในปี 2546 เนื่องจากรัฐบาลมีเป้าหมายที่แน่วแน่ในการปฏิรูปเศรษฐกิจ โดยมีนโยบายและเครื่องมือสำคัญ ได้แก่ การใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศ การปฏิรูปภาษี (ตั้งแต่เดือนมกราคม 2548) ที่ลดอัตราภาษีลงเพื่อให้ประชาชนลดการหลบเลี่ยงภาษี กระตุ้นให้ภาคเอกชนเข้ามาลงทุนเพิ่ม และยังพัฒนาบรรยากาศการลงทุนในหมู่นักลงทุนต่างชาตินอกจากนี้ รัฐบาลยังประสบความสำเร็จในการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ และในระยะหลังยังมีการลงทุนเพิ่มขึ้นในโครงการท่อขนส่งน้ำมัน Baku-Tbilisi-Ceyhan ซึ่งจะทำให้จอร์เจียเป็นเส้นทางผ่านสำคัญสำหรับการค้าและการลงทุนระหว่างภูมิภาคเอเชียและยุโรป

อย่างไรก็ดี ความยากจน ธุรกิจผิดกฎหมาย ตลาดมืด และการฉ้อราษฎร์บังหลวง ยังคงเป็นปัญหาสำคัญของจอร์เจีย ที่สืบทอดมาตั้งแต่สมัยประธานาธิบดี Shevardnadze ทั้งนี้ มีการประเมินว่า มีการดำเนินธุรกิจโดยมิได้ผ่านการลงทะเบียนของรัฐในจอร์เจียอยู่ถึงร้อยละ 30-50

ประชากร

ศาสนา

นับถือศาสนาคริสต์ นิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ 75% นับถือศาสนาอิสลาม 11% อื่น ๆ 14%

การศึกษา

ระบบการศึกษาของจอร์เจียอยู่ในช่วงทำให้ทันสมัยตั้งแต่ ค.ศ. 2004 แม้ว่าจะมีข้อโต้แย้งก็ตาม[15][16] โดยเป็นเรื่องบังคับสำหรับเด็กทุกคนที่มีอายุ 6–14 ปี[17] ระบบโรงเรียนแบ่งออกเป็น ชั้นปฐม (6 ปี; อายุระดับ 6–12 ปี), พื้นฐาน (3 ปี; อายุระดับ 12–15 ปี) และมัธยม (3 ปี; อายุระดับ 15–18 ปี) หรืออาชีวศึกษา (2 ปี) นักเรียนที่มีปริญญาโรงเรียนมัธยมสามารถเข้าเรียนการศึกษาขั้นสูงได้ เฉพาะนักเรียนที่ผ่านการสอบระดับชาติแบบครบวงจรเท่านั้นที่จะเรียนในสถาบันการศึกษาระดับสูงกว่าที่ได้รับการรับรองจากรัฐได้ โดยตรวจวัดจากคะแนนแบบข้อสอบ[18]

มหาวิทยาลัยรัฐทบิลีซี, Corpus I

กีฬา

กีฬาที่นิยมในจอร์เจีย เช่น ฟุตบอล บาสเกตบอล รักบี้ มวยปล้ำ ยูโด และ ยกน้ำหนักในอดีต จอร์เจียมีชื่อเสียงทางกีฬาทางกายภาพ

ดูเพิ่ม

  • กากรา
  • สงครามเซาท์ออสซีเชีย พ.ศ. 2551

อ้างอิง

ข้อมูล

  • Fisher, William Bayne; Avery, P.; Hambly, G. R. G; Melville, C. (1991). The Cambridge History of Iran. Vol. 7. Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 978-0521200950.
  • Asmus, Ronald. A Little War that Shook the World : Georgia, Russia, and the Future of the West. NYU (2010). ISBN 978-0-230-61773-5
  • Gvosdev, Nikolas K.: Imperial policies and perspectives towards Georgia: 1760–1819, Macmillan, Basingstoke 2000, ISBN 0-312-22990-9
  • Goltz, Thomas. Georgia Diary : A Chronicle of War and Political Chaos in the Post-Soviet Caucasus. Thomas Dunne Books (2003). ISBN 0-7656-1710-2
  • Jones, Stephen. Georgia: A Political History Since Independence (I.B. Tauris, distributed by Palgrave Macmillan; 2012) 376 pages;
  • Lang, David M.: The last years of the Georgian Monarchy: 1658–1832, Columbia University Press, New York 1957
  • Rayfield, Donald (2012). Edge of Empires: A History of Georgia. ISBN 978-1780230306.

แหล่งข้อมูลอื่น

รัฐบาล

ข้อมูลทั่วไป

สื่อข่าว

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง