เดอะเกรตเกม

เดอะเกรตเกม (อังกฤษ: The Great Game) เป็นการเผชิญหน้าทางการเมืองและการทูตช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ระหว่างจักรวรรดิบริติชและจักรวรรดิรัสเซีย รัสเซียซึ่งในขณะนั้นยึดครองรัฐข่านคาซัคเกรงว่าบริติชจะใช้อิทธิพลทางทหารและการค้ารุกเข้ามาในเอเชียกลาง ขณะที่บริติชกังวลว่ารัสเซียจะเข้าแทรกแซงอินเดียอันเป็นอาณานิคมสำคัญของตนในเอเชียใต้[1] ทั้งสองฝ่ายจึงพยายามแผ่อำนาจเข้ามาในอัฟกานิสถาน ซึ่งเป็นพื้นที่สำคัญทางยุทธศาสตร์มาตั้งแต่สมัยโบราณ นำไปสู่ความตึงเครียดและคำขู่ว่าจะเกิดสงครามระหว่างสองจักรวรรดิ[2] ชื่อ เดอะเกรตเกม ที่นิยามถึงช่วงเวลานี้มีใช้มาก่อนศตวรรษที่ 19 เพื่อหมายถึงเกมที่ต้องชิงไหวชิงพริบ[3] ก่อนจะแพร่หลายทั่วไปโดยนวนิยายเรื่อง คิม ของรัดยาร์ด คิปลิง ซึ่งมีฉากหลังในช่วงเวลาดังกล่าว[4]

แผนที่เปอร์เซียและอัฟกานิสถานทางเหนือในปี ค.ศ. 1857 แสดงภาพรัฐข่านคีวา บูคารา และโกกันด์

ต้นศตวรรษที่ 19 อนุทวีปอินเดียซึ่งอุดมไปด้วยทรัพยากรเป็นที่สนใจของทั้งจักรวรรดิบริติชที่กำลังรุกคืบเข้ามาด้วยบริษัทอินเดียตะวันออก และจักรวรรดิรัสเซียที่กำลังขยายอำนาจลงมาทางเอเชียกลาง จุดเริ่มต้นของ เดอะเกรตเกม ยังคงเป็นที่ถกเถียง บางส่วนเชื่อว่าเริ่มขึ้นเมื่อรัสเซียชนะสงครามรัสเซีย-เปอร์เซียในปี ค.ศ. 1813[5] ปีเตอร์ ฮอปเคิร์ก นักเขียนและนักประวัติศาสตร์ชาวบริติชเสนอความเห็นว่าเริ่มในปี ค.ศ. 1836 เมื่อบริติชสนับสนุนชาวเซอร์คัสเซียให้ลุกฮือต่อรัสเซียในคอเคซัส[6] ในบริติชเชื่อว่า เดอะเกรตเกม เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 12 มกราคม ค.ศ. 1830 เมื่อลอร์ดเอลเลนโบโรห์ ประธานกรรมการการค้าในอินเดียมอบหมายให้ลอร์ดวิลเลียม เบนทิงค์ ข้าหลวงต่างพระองค์แห่งอินเดียจัดตั้งเส้นทางการค้าใหม่กับเอมิเรตบูคารา[7] บริติชวางแผนจะยึดเอมิเรตอัฟกานิสถานเป็นรัฐในอารักขา และใช้อาณาจักรราชวงศ์กอญัรและรัฐข่านบูคาราเป็นรัฐกันชนเพื่อขวางไม่ให้รัสเซียเข้าถึงมหาสมุทรอินเดีย ในขณะที่รัสเซียต้องการใช้อัฟกานิสถานเพื่อประโยชน์ทางการค้าฝ่ายตน[8][9] ในปี ค.ศ. 1839 บริติชซึ่งกลัวว่ารัสเซียอาจใช้อัฟกานิสถานในการเดินทัพมาบริติชอินเดียตัดสินใจบุกอัฟกานิสถานและคุมตัวเอมีร์ดอสต์ มุฮัมมัด ข่าน จนเกิดเป็นสงครามอังกฤษ–อัฟกานิสถานครั้งที่หนึ่ง ในช่วงแรกบริติชประสบชัยชนะอย่างง่ายดายก่อนจะถูกตีโต้จนลอร์ดเอลเลนโบโรห์ต้องยอมสงบศึกและส่งตัวดอสต์ มุฮัมมัด ข่านกลับไปปกครองอัฟกานิสถานตามเดิม ถึงแม้ว่าจะเอาชนะอัฟกานิสถานแบบเด็ดขาดไม่ได้ในสงครามครั้งต่อ ๆ มา แต่การพิชิตจักรวรรดิซิกข์และการทำสนธิสัญญากับเปอร์เซียในปี ค.ศ. 1857 รวมถึงการได้ทิเบตมาเป็นรัฐในอารักขาหลังบุกครองทิเบตในปี ค.ศ. 1903 ก็ทำให้บริติชสร้างรัฐกันชนเพื่อป้องกันไม่ให้รัสเซียเข้าถึงบริติชอินเดียได้สำเร็จ[10][11]

จุดสิ้นสุดของ เดอะเกรตเกม ยังคงเป็นที่ถกเถียงเช่นกัน บางส่วนเชื่อว่ายุติในปี ค.ศ. 1907 เมื่อมีความตกลงอังกฤษ-รัสเซีย[5] ขณะที่บางส่วนเชื่อว่าจบลงเมื่อวันที่ 10 กันยายน ค.ศ. 1895 เมื่อบริติชและรัสเซียร่วมลงนามในพิธีสารปามีร์เพื่อกำหนดเขตแดนระหว่างอัฟกานิสถานและรัสเซียด้วยเทือกเขาปามีร์และแม่น้ำอามูดาร์ยา[12][13] ปัจจุบันมีสื่อบางแห่งใช้ เดอะเกรตเกม ในการอธิบายความขัดแย้งด้านผลประโยชน์ของมหาอำนาจยุคใหม่ในดินแดนเอเชียกลาง[14]

อ้างอิง

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง