เทพธรรมบาล 24 พระองค์

ยี่สิบสี่เทพธรรมบาลจีน หรือ คณะธรรมบาลเทพยี่สิบสี่องค์ (จีน: 二十四諸天; พินอิน: Èrshísì Zhūtiān), ในบางท้องที่อาจจัดกลุ่มเป็น ยี่สิบเทพธรรมบาลจีน หรือ คณะธรรมบาลเทพยี่สิบองค์ (จีน: 二十諸天; พินอิน: Èrshí Zhūtiān), คือคณะกลุ่มของธรรมบาลในคติพระพุทธศาสนานิกายมหายานแบบจีนซึ่งได้รับการยกย่องและสักการะ บูชาและปฏิบัติบูชา ในฐานะผู้พิทักษ์รักษาธรรม.[1][2][3] ในคณะกลุ่มนี้ประกอบด้วยเทพยดา, พญานาค, ผู้ทรงวัชระ และอื่นๆ, ส่วนใหญ่มาจากคติพราหมณ์ - ฮินดู และบางส่วนมาจากลัทธิเต๋า

เทพธรรมบาล 24 พระองค์
เทวรูปคณะเทพธรรมบาลยี่สิบสี่องค์ (二十四諸天 Èrshísì Zhūtiān) ณ วัดหลิงอิ่น (靈隱寺 Língyǐnsì); นครหางโจว, ประเทศจีน
ภาษาจีน二十四諸天
ยี่สิบเทพธรรมบาล
เทวรูปคณะเทพธรรมบาลยี่สิบสี่องค์ (二十諸天 Èrshí Zhūtiān)
ภาษาจีน二十諸天

ภาพรวม

ตามประวัติศาสตร์ของศาสนาพุทธในอินเดีย เดิมมีเทวดาอยู่สิบหกองค์ซึ่งถือเป็นธรรมบาล กลุ่มคณะเทวดาเหล่านี้ เช่น พระอิศวร พระอินทร์ และพระพรหมเดิมทีเป็นเทพเจ้าฮินดูยุคต้นและในพระเวทที่รวมเข้ากับพุทธศาสนาในอินเดีย อย่างไรก็ตาม เทวดาอื่นๆ ได้แก่ พระอาทิตย์ พระจันทร์ พระยม และท้าวสาครนาคถูกอัญเชิญเข้ามาในกลุ่มคณะเป็นยี่สิบองค์ ในเวลาต่อมาได้เพิ่มพญากินนร เมื่อพระพุทธศาสนามาถึงประเทศจีนและได้รับความนิยมจนกลายเป็นศาสนาหลัก ศาสนาพุทธก็สอดคล้องกับวัฒนธรรมพื้นเมืองเทพเจ้าลัทธิเต๋าสามองค์ ได้แก่ เจ้าพ่อดาวเหนือ, จ้าวพ่อเขาไท่ และเจ้าพ่อสายฟ้า ได้รับการอัญเชิญเข้าในกลุ่มคณะ ทำให้เกิดหมู่คณะธรรมบาลยี่สิบสี่องค์ในปัจจุบัน[1][2]

ความเลื่อมใสของหมู่คณะเทพเจ้าทั้งยี่สิบสี่องค์ได้สืบสานสืบต่อกันมาในประเพณีทางพระพุทธศาสนาจีนประเพณี ในวัดและอารามของจีน ส่วนใหญ่จะประดิษฐานรูปปั้นหมู่เทพเจ้าเหล่านี้ในส่วนของนอกพระอุโบสถในวิหารด้านนอก, หรือแท่นบูชาชั่วคราวสำหรับเทวดาทั้งยี่สิบสี่องค์ตั้งอยู่นอกธรณีประตูชี้ขึ้นสู่สวรรค์ พิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับคณะเทพเหล่านี้ ขนานว่า "ก๊งจูเทียน" (Gōngfó Zhāitiān - 供佛齋天) หรือเพียงแค่ "ไจ้เทียน" (Zhāitiān - 齋天), ที่ซึ่งคณะเทพเจ้าทั้งยี่สิบสี่องค์ได้รับการเคารพ (แต่ไม่บูชาเป็นสรณะหลัก) โดยดำเนินการตามประเพณีในวัดทางพุทธศาสนาของจีนในวันที่เก้าของเดือนที่หนึ่งของปฏิทินจีนซึ่งโดยปกติทั่วไปเป็นการระลึกถึงวันฉลองตามประเพณีของเง็กเซียนฮ่องเต้แห่งลัทธิเต๋า[1][2] พิธีนี้เริ่มต้นขึ้นในสมัยราชวงศ์สุยโดยพระอาจารย์จือยี(智顗 - Zhiyi) แห่งประเพณีนิกายเทียนไถตามพิธีกรรมที่กำหนดไว้ในพระสูตรสุวรรณประภาโสตตมราชาสูตรและได้สืบทอดสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน[4][5] ในบางวัดบางที่ หมู่เทพเจ้าลัทธิเต๋าสามองค์และพญากินนรจะไม่รวมอยู่ในรายชื่อ และเทวดาที่เหลือจะได้รับการเคารพในฐานะเทพคุ้มครองยี่สิบองค์ (จีน: 二十諸天; พินอิน: Èrshí Zhūtiān)

พิธีกงจูเทียน

เทพธรรมบาล 24 พระองค์[6] หรือ ยี่สิบสี่เทพธรรมบาล คือ เหล่าพระโพธิสัตว์และเทพยดากลุ่มหนึ่งตั้งจิตปรารถนาให้ปวงสรรพสัตว์ได้บำเพ็ญบารมีโดยสะดวก จึงพร้อมกันตั้งปณิธานเป็นผู้คุ้มครองอารักขาพระธรรมแห่งพระองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเหล่าพุทธบริษัทผู้ดำเนินตามพระรัตนตรัย ตามความเชื่อของศาสนาพุทธในประเทศจีน[7] พระโพธิสัตว์ผู้เป็นธรรมบาลคุ้มครองพระศาสนาเหล่านี้ มีปรากฏพระนามอยู่ใน สุวรรณประภาโสตตมราชาสูตร (กิมกวงเม้งจุ้ยเส่งอ้วงเก็ง) ฝ่ายมหายาน พระสูตรนี้ กล่าวถึงเหล่าพระโพธิสัตว์ ท้าวจตุโลกบาลและเหล่าทวยเทพทั้งหลายซึ่งปรากฏชื่อทั้งหมดมียี่สิบสี่พระองค์ พร้อมกันตั้งปณิธานต่อเบื้องหน้าพระพักตร์แห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอถึงรัตนตรัยเป็นที่พึ่งและประกาศตนเป็นธรรมบาลคุ้มครองพระสัทธรรมและเหล่าพุทธบริษัท ให้บำเพ็ญบุญบารมีโดยยิ่งขึ้น พระสูตรนี้จึงเป็นที่มาของพิธีบูชาเทพธรรมบาลโพธิสัตว์ (พิธีกงจูเทียน)[6] ในปัจจุบัน


ประติมากรรมคณะเทพธรรมบาลในคติจีนและญี่ปุ่น

รายพระนาม 24 เทพธรรมบาล

ลำดับพระรูปพระนามบทบาท
1 พระแม่ลักษมีเทพีแห่งสิริมงคลและโชคลาภ (พระลักษมีในศาสนาฮินดู)
2 พระแม่สุรัสวดีเทพีแห่งศิลปวิทยาการ (พระสุรัสวดีในศาสนาฮินดู)
3 ท้าวมหาพรหมเทพแห่งความเจริญและการสรรค์สร้าง (พระพรหมในศาสนาฮินดู)
4 ท้าวสักกะเทวราชเจ้าแห่งสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ (พระอินทร์ในศาสนาฮินดู)
5 - 6 - 7 - 8 จาตุมหาราชิกาทั้งสี่องค์ได้แก่ ท้าวธตรฐ(เจ้าแห่งคนธรรพ์)
ท้าววิรุฬหก(เจ้าแห่งกุมภัณฑ์)
ท้าววิรูปักษ์(เจ้าแห่งนาค)
ท้าวเวสสุวรรณหรือ ท้าวกุเวรในศาสนาฮินดู)(เจ้าแห่งยักษ์)
9 พระอาทิตย์เทพดวงอาทิตย์(พระอาทิตย์ในศาสนาฮินดู)
10 พระจันทร์เทพแห่งดวงจันทร์ (พระจันทร์ในศาสนาฮินดู)
11 พระวัชรปาณีโพธิสัตว์คุยหบดีเทพธรรมบาลผู้ปราบมารศาสนา
12 พระอิศวรเทพแห่งการทำลายล้างอธรรม (พระศิวะในศาสนาฮินดู)
13 ท้าวปัญจิกมหาเสนาเสนายักษ์บริวารของท้าวเวสสุวรรณ
14 พระขันธกุมารเทพการยุทธนาสงคราม(พระขันทกุมารในศาสนาฮินดู)
15 พระแม่ธรณีเทพธิดาพื้นปฐพี หรือ (พระแม่ธรณีในเถรวาท) (พระภูเทวีหรือพระแม่ปฤถวีในศาสนาฮินดู)
16 พระรามสูรจีนเทพแห่งความปีติรื่นรมย์
17 พระมรีจิเทวีพระมารดาแห่งดาราฤกษ์ (อุษาเทวีหรือพระแม่วาราหีในศาสนาฮินดู
18 พระนางหาริตีเทวียักษิณีผู้อภิบาลทารก
19 ท้าวสาครนาคราชเจ้าแห่งหมู่นาคราชและมหาสมุทร
20 ท้าวพญายมราชเจ้าแห่งนรก พระยมในศาสนาฮินดู
21 ท้าวกินนรราชาเจ้าแห่งไฟและหมู่กินนรกินนรี
22 เจ้าพ่อดาวเหนือ (เทพนักษัตร)เทพแห่งดวงดาวจักรราศี
23 เจ้าแม่ต้นโพธิ์เทวีผู้อารักขาต้นพระศรีมหาโพธิ์
24 ท้าวไตรตรึงษ์เทพเทพแห่งสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

วรรณกรรม

คณะเทพทั้งยี่สิบสี่องค์มีบทบาทและถูกกล่าวถึงในนวนิยายชื่อดังสมัยราชวงศ์หมิงในคริสต์ศตวรรษที่ 16(ปลายพุทธศตวรรษที่ 21 ) คือ ไซอิ๋ว (หนึ่งสี่สุดยอดวรรณกรรมจีน) ในฐานะเทพบริวารของพระโพธิสัตว์เจ้าแม่กวนอิม (หรือ พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์) อันสถิตย์สถาพร ณ วัชรอาสน์โพธิมัณฑะ (Bodhimaṇḍa - 道場) บนเกาะของเกาะโปตละโลกา บทบาทในวรรณกรรมคณะเทพเหล่านี้ทำหน้าที่เป็นสาวกที่ฟังพระโพธิสัตว์เจ้าแม่กวนอิมอธิบายคำสอนทางพุทธศาสนาตลอดจนผู้พิทักษ์เกาะของพระนาง[8]

ภาพประกอบ

อ้างอิง

🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย