ปฏิทินจีน

ปฏิทินจีน (จีน: 農曆) หมายถึง ปฏิทินสุริยคติหรือปฏิทินจันทรคติซึ่งชาวจีนหรือชาวต่างประเทศเชื้อสายจีนใช้ในทางราชการและการกำหนดวันสำคัญต่าง ๆ

ปฏิทินจีนปี ค.ศ.2017

ในการติดต่อราชการ-ธุรกิจ ชาวจีนใช้ปฏิทินสุริยคติสากลเช่นเดียวกับชาวตะวันตกและอีกหลายประเทศทั่วโลก แต่การกำหนดประเพณีสำคัญจะอาศัยปฏิทินจันทรคติเป็นหลักเสมอ ปฏิทินสุริยคติจีน กำหนดให้เริ่มตั้งแต่วันจันทร์ดับที่ใกล้กับวันเหมายัน หรือวันที่ซีกโลกเหนือมีกลางวันสั้นที่สุด ส่วนปฏิทินจันทรคติจีน กำหนดให้เริ่มขึ้นปีนักษัตรใหม่ในวันลี่ชุน แต่เริ่มปีใหม่ในวันตรุษจีน ซึ่งเป็นวันจันทร์ดับต้นฤดูใบไม้ผลิ มักอยู่ในเดือนกุมภาพันธ์หรือปลายเดือนมกราคมของทุกปี

ปฏิทินจีนยุคโบราณ

ปฏิทินโบราณแบบหนึ่งซึ่งจัดพิมพ์ในสมัยหวงตี้เตี้ยวลี่ (จีนตัวเต็ม: 黄帝調曆; จีนตัวย่อ:黄帝调历; พินอิน: Huángdì Diàolì') เป็นปฏิทินชนิดหลายปีซึ่งมี 8 ปีปกติมาส และ 4 ปีอธิกมาส จัดเรียงกันแล้วแต่จังหวะดิถีของดวงจันทร์ที่สังเกตหรือคำนวณได้ ตั้งต้นเดือนแรกที่วันตงจื้อ อนึ่ง ปฏิทินชนิดนี้ได้มีการจัดทำมานานตั้งแต่ก่อนพุทธศักราช 3834 ปี จะต่างกันก็ตรงที่เดือนแรกของปฏิทินแตกต่างกันออกไป ย้อนกลับไปยุคราชวงศ์ซาง ปฏิทินแบบดังกล่าวก็ได้ถูกพัฒนาแล้ว แต่เขียนไว้บนกระดูกเสี่ยงทาย ในปฏิทินนั้นมีการเพิ่มเดือนอธิกมาส 1 - 2 เดือน โดยอาศัยการสังเกตเป็นหลัก ทำให้ขาดความแม่นยำ ครั้นถึงราชวงศ์โจว (หลัง) การจัดเรียงเดือนก็พัฒนาให้เป็น 29 วัน สลับกับ 30 วัน โดยอาจมีเดือนอธิกมาสเพิ่มขึ้นมาก็ได้ ยุทธหัตถี กระนั้นข้อมูลก็ยังยึดตามการสังเกตเป็นหลัก จนในที่สุด เทคนิคทางคณิตศาสตร์และดาราศาสตร์สมัยยุคจ้านกว๋อ ก็ได้ทำให้ปฏิทินมีความแม่นยำสูงขึ้น ครานั้นเอง ได้มีการกำหนดให้หนึ่งปีสุริยคติมี 365¼ วัน คล้ายกับปฏิทินจูเลียน และกำหนดให้ 19 ปี มี 235 เดือน เรียกว่า วัฏจักรเมตอน (Metonic cycle)[1]

ครั้นราชวงศ์ฉิน ปฏิทินจีนก็ถูกปรับอีกครั้งหนึ่ง โดยให้วันแรกของเดือนแรกไปอยู่ที่วันจันทร์ดับของต้นฤดูหนาว แต่ถึงกระนั้นก็มีปฏิทินที่ใช้หลักเกณฑ์เดิมอันตกทอดมาแต่โบราณ ซึ่งยังมิได้เลิกใช้ ถึงกระนั้นปฏิทินเหล่านั้นก็สูญหายไปตามกาลเวลา[2] เมื่อการพิมพ์พัฒนาขึ้น ชาวจีนได้จัดพิมพ์ปฏิทินลงในสมุดกระดาษ โดยมีหลักฐานชิ้นแรก ๆ พบที่ตุนหวง (敦煌) [3][4]

การนับเวลาแบบจีนโบราณ

ชาวจีนโบราณใช้นาฬิกาแดดและนาฬิกาน้ำเป็นเครื่องมือบอกเวลา บนนาฬิกาแดดมีช่วงแบ่งเป็น 12 ช่วง แต่ละช่วงหมายถึงหนึ่งชั่วยาม (จีนตัวย่อ: 时; จีนตัวเต็ม: 時; คำอ่าน: สือ) ซึ่งกินเวลา 2 ชั่วโมง ส่วนนาฬิกาน้ำจะแบ่งเวลา 24 ชั่วโมงออกเป็นชั่วรอยขีด (刻;เค่อ) จำนวน 100 ช่วง แต่ละช่วงกินเวลา 14 นาที 36 วินาที นอกจากนี้แล้ว ในหนึ่งวันยังแบ่งได้เป็น 10 เกิง (更) เกิงหนึ่งกินเวลา 1 ชั่วโมง 12 นาที และหนึ่งคืน 5 เกิง แต่ละเกิงกินเวลา 2 ชั่วโมง 24 นาที โดยหน่วยย่อยของเกิงคือเตี่ยน (จีนตัวย่อ: 点; จีนตัวเต็ม:點) ซึ่งกินเวลา 24 นาที

แผนภูมิสวรรค์-พิภพ

ในปฏิทินจีน มักมีการกำหนดให้วัน เดือน ปี หรือแม้แต่ยุคประกอบไปด้วยอักษรจีนประจำ ซึ่งอักษรนั้นเป็นส่วนหนึ่งของแผนภูมิสวรรค์-พิภพ อักษรประจำสวรรค์มีทั้งหมด 10 ตัว ส่วนอักษรประจำพิภพ มีทั้งหมด 12 ตัว ดังแสดงในตาราง[5]

แผนภูมิสวรรค์

อักษรในแผนภูมิสวรรค์มี 10 ตัว โดย 2 ตัว จะมีธาตุหนึ่งประจำอยู่ ดังนี้

อักษรภาคสวรรค์
คำอ่านเจี่ย (jiǎ)อี่ (yǐ)ปิ่ง (bǐng)ติง (dīng)อู้ (wù)จี่ (jǐ)เกิง (gēng)ซิน (xīn)เหริน (rén)กุ่ย (guǐ)
กะอิกเปี้ยเต็งโบ่วกี้แกซิงยิ้มกุ่ย
ธาตุประจำไม้ (木)ไฟ (火)ดิน (土)ทอง (金)น้ำ (水)

แผนภูมิพิภพ

อักษรในแผนภูมิพิภพมี 12 ตัว แต่ละตัวแทนปีนักษัตร อนึ่ง ในช่องปีนักษัตรจีน อักษรจีนที่แสดงในวงเล็บ คือ อักษรจีนตัวย่อ ส่วนนอกวงเล็บเป็นอักษรจีนตัวเต็ม

อักษรภาคพิภพ
คำอ่านจื่อ (zǐ)โฉ่ว (chǒu)อิ๋น (yín)หม่าว (mǎo)เฉิน (chén)ซื่อ (sì)อู่ (wǔ)เว่ย (wèi)เซิน (shēn)โหย่ว (yǒu)ซวี (xū)ฮ่าย (hài)
จื้อทิ่วเอี้ยงเบ้าซิ้งจี๋โง่วบี่ซิมอิ้วสุกไห
ปีนักษัตรจีน龍 (龙)馬 (马)鷄 (鸡)
คำอ่านสู่ (shǔ)หนิว (niú)หู่ (hǔ)ทู่ (tù)หลง (lóng)เสอ (shé)หม่า (mǎ)หยาง (yáng)โห (hóu)จี (jī)โก่ว (gǒu)จู (zhū)
ปีนักษัตรไทยชวดฉลูขาลเถาะมะโรงมะเส็งมะเมียมะแมวอกระกาจอกุน

อักษรภาคสวรรค์และพิภพสามารถนำมาจับคู่กัน ซึ่งมีคู่ที่เป็นไปได้ทั้งหมด 60 คู่ด้วยกัน ได้แก่[6]

ลำดับที่อักษรคู่นามปีลำดับที่อักษรคู่นามปีลำดับที่อักษรคู่นามปี
1甲子หนูไม้ (木鼠)21甲申ลิงไม้ (木猴)41甲辰มังกรไม้ (木龍)
2乙丑วัวไม้ (木牛)22乙酉ไก่ไม้ (木鷄)42乙巳งูไม้ (木蛇)
3丙寅เสือไฟ (火虎)23丙戌สุนัขไฟ (火狗)43丙午ม้าไฟ (火馬)
4丁卯กระต่ายไฟ (火兔)24丁亥สุกรไฟ (火猪)44丁未แพะไฟ (火羊)
5戊辰มังกรดิน (土龍)25戊子หนูดิน (土鼠)45戊申ลิงดิน (土猴)
6己巳งูดิน (土蛇)26己丑วัวดิน (土牛)46己酉ไก่ดิน (土鷄)
7庚午ม้าทอง (金馬)27庚寅เสือทอง (金虎)47庚戌สุนัขทอง (金狗)
8辛未แพะทอง (金羊)28辛卯กระต่ายทอง (金兔)48辛亥สุกรทอง (金猪)
9壬申ลิงน้ำ (水猴)29壬辰มังกรน้ำ (水龍)49壬子หนูน้ำ (水鼠)
10癸酉ไก่น้ำ (水鷄)30癸巳งูน้ำ (水蛇)50癸丑วัวน้ำ (水牛)
11甲戌สุนัขไม้ (木狗)31甲午ม้าไม้ (木馬)51甲寅เสือไม้ (木虎)
12乙亥สุกรไม้ (木猪)32乙未แพะไม้ (木羊)52乙卯กระต่ายไม้ (木兔)
13丙子หนูไฟ (火鼠)33丙申ลิงไฟ (火猴)53丙辰มังกรไฟ (火龍)
14丁丑วัวไฟ (火牛)34丁酉ไก่ไฟ (火鷄)54丁巳งูไฟ (火蛇)
15戊寅เสือดิน (土虎)35戊戌สุนัขดิน (土狗)55戊午ม้าดิน (土馬)
16己卯กระต่ายดิน (土兔)36己亥สุกรดิน (土猪)56己未แพะดิน (土羊)
17庚辰มังกรทอง (金龍)37庚子หนูทอง (金鼠)57庚申ลิงทอง (金猴)
18辛巳งูทอง (金蛇)38辛丑วัวทอง (金牛)58辛酉ไก่ทอง (金鷄)
19壬午ม้าน้ำ (水馬)39壬寅เสือน้ำ (水虎)59壬戌สุนัขน้ำ (水狗)
20癸未แพะน้ำ (水羊)40癸卯กระต่ายน้ำ (水兔)60癸亥สุกรน้ำ (水猪)

สังเกตว่า เมื่อนำอักษรภาคสวรรค์และพิภพมาจับคู่กัน จะได้เป็นอักษรคู่ซึ่งแสดงถึงปีนักษัตรและธาตุได้ ในปี พ.ศ. 2543 มีอักษรประจำปีเป็น 庚辰 อันมีความหมายเป็น 金龍 หรือมังกรทอง ส่วนปี พ.ศ. 2553 หรือ 10 ปีให้หลัง จะได้ว่าอักษรประจำปีเป็น 庚寅 ซึ่งมีความหมายว่าเสือทอง (金虎)

นอกเหนือจากการใช้อักษรภาคสวรรค์และพิภพบ่งบอกปีแล้ว ยังสามารถนำอักษรเหล่านี้ไประบุยุคได้อีกด้วย

ปฏิทินสุริยคติจีน

บทนำ

ปฏิทินสุริยคติจีน ยึดถือตามวันบัวลอย วันตงจื้อ หรือวันเห'มายัน ของปีหนึ่งไปจนถึงอีกปีหนึ่ง ในหนึ่งปีถูกแบ่งออกเป็น 24 ฤดูกาล แต่ละฤดูกาลหมายถึงสภาพอากาศที่แตกต่างกันออกไป ในยุคชุนชิว (179 ปีก่อนพุทธศักราช - พ.ศ. 63) ปีสุริยคติถูกกำหนดไว้ที่ 365.25 วัน[1] ในเวลาต่อมา ปฏิทินในรัชสมัยสมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นบู๊เต้ได้ระบุว่าปีสุริยคติมีความยาว [1] ต่อมาได้มีการแก้ไขปรับปรุงโดยนักทำปฏิทินอีกหลายท่าน อาทิ หลี่ฉุนเฟิ่ง (李淳风) จางสุ้ย (張遂) และกัวโส่วจิ้ง (郭守敬) ซึ่งในชั้นหลังนี้กัวโส่วจิ้งได้ปรับปรุงปฏิทินให้มีความยาวปีสั้นลงเท่ากับของปฏิทินเกรกอเรียน นั่นคือ 365.2425[1][7] โดยอาศัยงานที่เสิ่นคั่ว (沈括) ได้ทำไว้ในสาขาตรีโกณมิติเชิงทรงกลม[8][9][10] ปีสุริยคติจีนสามารถแบ่งได้เป็นระยะ แต่ละระยะจะมีอักษรภาคดิน 12 ตัว กำกับอยู่ ดังนี้

ตำแหน่งของดวงอาทิตย์ และความสัมพันธ์ที่มีต่อฤดูกาล
เดือนสุริยคติอักษรประจำวันที่องศาอาทิตย์ราศีอักษรประจำฤดูกาลวันที่องศาอาทิตย์ราศี
寅 (อิ๋น)
ต้นฤดูใบไม้ผลิต
VC, Vernal Commences เริ่มฤดูใบไม้ผลิ3-5 กุมภาพันธ์315°กุมภ์申 (เซิน)
ต้นฤดูใบไม้ร่วง
AC, Autumn Commences เริ่มฤดูใบไม้ร่วง7-9 สิงหาคม135°สิงห์
VS, ฤดูฝน18-20 กุมภาพันธ์330°330-360°
มีน
EH, ปลายฤดูร้อน22-24 สิงหาคม150°150-180°
กันย์
卯 (หม่าว)
กลางฤดูใบไม้ผลิ
IA, Insects Waken แมลงโบยบิน5-7 มีนาคม345°酉 (โหย่ว)
กลางฤดูใบไม้ร่วง
WD, White Dew น้ำค้างขาว7-9 กันยายน165°
VE, Vernal Equinox วสันตวิษุวัต20-22 มีนาคม360°/0°0-30°
เมษ
AE, Autumnal Equinox ศารทวิษุวัต22-24 กันยายน180°180-210°
ตุล
辰 (เฉิน)
ปลายฤดูใบไม้ผลิ
BC, Bright and Clear ฟ้าโปร่งสบาย4-6 เมษายน15°戌 (ซวี)
ปลายฤดูใบไม้ร่วง
CD, Cold Dew น้ำค้างเย็น8-9 ตุลาคม195°
CR, Corn Rain ฝนตกฉ่ำ19-21 เมษายน30°30-60°
พฤษภ
FF, First Frost น่ำค้างแข็ง23-24 ตุลาคม210°210-240°
พฤศจิก
巳 (สื้อ)
ต้นฤดูร้อน
SC, Summer Commences เริ่มฤดูร้อน5-7 พฤษภาคม45°亥 (ไฮ่)
ต้นฤดูหนาว
WC,Winter Commences7-8 พฤศจิกายน
CF, Corn Forms ข้าวโพดออกรวง20-22 พฤษภาคม60°60-90°
เมถุน
LS, Light Snow หิมะตกเบา22-23 พฤศจิกายน240°240-270°
ธนู
อู่ (午)
กลางฤดูร้อน
CE, Corn on Ear ข้าวโพดสุกพร้อมเก็บ5-7 มิถุนายน75°จื่อ (子)
กลางฤดูหนาว
HS, Heavy Snow หิมะตกหนัก6-8 ธันวาคม255°
SS, Summer Solstice ครีษมายัน21-22 มิถุนายน90°90-120°
กรกฎ
WS, Winter Solstice เห'มายัน21-23 ธันวาคม270°270-300°
มกร
เว่ย (未)
Late Summer
MH, Moderate Heat ร้อนพอควร6-8 กรกฎาคม105°โฉ่ว (丑)
Late Winter
MC, Moderate Cold หนาวพอควร5-7 มกราคม285°
GH, Great Heat ร้อนจัด22-24 กรกฎาคม120°สิงห์GC, Great Cold หนาวจัด20-21 มกราคม300°กุมภ์

วันในสัปดาห์

วันในสัปดาห์แบบจีน ซึ่งใช้ได้ในปฏิทินทุกรูปแบบ เรียกตามลำดับดังนี้[11]

วันแบบไทยวันแบบจีน
แบบปกติแบบโหรแบบเก่าแบบที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
วันอาทิตย์รวิวาร หรือ อาทิจวาร日曜รื่อเย่า (rìyào)星期日ซิงชีรื่อ (xīngqīrì)
วันจันทร์จันทรวาร月曜เยฺว่เย่า (yuèyào)星期一ซิงชีอี (xīngqīyī)
วันอังคารภุมวาร火曜หั่วเย่า (huǒyào)星期二ซิงชีเอ้อร์ (xīngqīèr)
วันพุธวุธวาร水曜สุ่ยเย่า (shuǐyào)星期三ซิงชีซาน (xīngqīsān)
วันพฤหัสบดีครุวาร หรือ ชีววาร木曜มู่เย่า (mùyào)星期四ซิงชีสื้อ (xīngqīsì)
วันศุกร์ศุกรวาร金曜จินเย่า (jīnyào)星期五ซิงชีอู่ (xīngqīwǔ)
วันเสาร์โสรวาร土曜ถู่เย่า (tǔyào)星期六ซิงชีลิ่ว (xīngqīlìu)

ชื่อเดือนสุริยคติ

ชื่อเดือนซึ่งใชีในปฏิทินสุริยคติ มักจะใช้ตัวเลขต่อด้วยคำว่า เยวฺ่ (月) ซึ่งหมายถึงเดือน[12] ตัวอย่างเช่น 一月 หมายถึงเดือนมกราคม 二月 หมายถึงเดือนกุมภาพันธ์ เรื่อยไปจนถึง 十二月

เดือนจีน[ม 1]คำอ่านเดือนอย่างภารตะและไทย
一月อีเยวฺ่ ( yīyuè)มกราคม
二月เอ้อร์เยวฺ่ (èryuè)กุมภาพันธ์
三月ซานเยวฺ่ (sānyuè)มีนาคม
四月สื้อเยวฺ่ (sìyuè)เมษายน
五月อู่เยวฺ่ (wǔyuè)พฤษภาคม
六月ลิ่วเยวฺ่ (liùyuè)มิถุนายน
七月ชีเยวฺ่ (qīyuè)กรกฎาคม
八月ปาเยวฺ่ (bāyuè)สิงหาคม
九月จิ่วเยวฺ่ (jiǔyuè)กันยายน
十月สือเยวฺ่ (shíyuè)ตุลาคม
十一月สืออีเยวฺ่ (shíyīyuè)พฤศจิกายน
十二月สือเอ้อร์เยวฺ่ (shí'èryuè)ธันวาคม

อนึ่งหากใส่คำว่า ตี้ (第) ไว้ด้านหน้าตัวเลข จะทำให้ความหมายผิดไป เช่น 第二月 หมายถึงเดือนที่สอง (ของกิจกรรมหรือการกระทำอื่นใด) แทนที่จะเป็นเดือนกุมภาพันธ์

ภาวะ

ในหนึ่งปี จะมีภาวะอยู่ 24 ภาวะ (อังกฤษ:solar term; จีนตัวเต็ม:節氣; จีนตัวย่อ: 节气; พินอิน: jiéqì; คำอ่าน: เจี๋ยชี่) (มักเรียกว่า สารท แต่ไม่ถูกความหมายเสียทีเดียว)[ม 2] อันหมายถึงความเป็นไปของสิ่งแวดล้อมรอบตัวในรอบปี และมักมีการเลี้ยงฉลองและบูชาบรรพบุรุษกันในแต่ละภาวะ ภาวะในปฏิทินจีนมีดังนี้

องศาดวงอาทิตย์ภาวะคำอ่านความหมายประมาณวันที่
315°立春ลี่ชุน (lìchūn)เริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิ4 กุมภาพันธ์
330°雨水อวี๋สุ่ย (yúshuǐ)[ม 3]น้ำฝน19 กุมภาพันธ์
345°驚蟄 (惊蛰)จิงเจ๋อ (jīngzhé)แมลงโบยบิน6 มีนาคม
春分ชุนเฟิน (chūnfēn)วสันตวิษุวัต21 มีนาคม
15°清明ชิงหมิง (qīngmíng)เย็นใส5 เมษายน
30°穀雨 (谷雨)กู๋อวี่ (gúyǔ)[ม 3]ฝนเริ่มฤดูเพาะปลูก20 เมษายน
45°立夏ลี่เซี่ย (lìxià)เริ่มต้นฤดูร้อน6 พฤษภาคม
60°小滿 (小满)เสียวหม่าน (xiáomǎn)[ม 3](ข้าวโพด)ออกดอก21 พฤษภาคม
75°芒種 (芒种)หมางจ้ง (mángzhòng)(ข้าวโพด)ออกฝัก6 มิถุนายน
90°夏至เซี่ยจือ (xiàzhì)ครีษมายัน21 มิถุนายน
105°小暑เสียวสู่ (xiáoshǔ)[ม 3]ร้อนพอควร7 กรกฎาคม
120°大暑ต้าสู่ (dàshǔ)ร้อนมาก23 กรกฎาคม
135°立秋ลี่ชิว (lìqiū)เริ่มฤดูใบไม้ร่วง8 สิงหาคม
150°處暑 (处暑)ฉูสู่ (chúshǔ)[ม 3]สุดฤดูร้อน23 สิงหาคม
165°白露ป๋าลู่ (báilù)น้ำค้างหยด8 กันยายน
180°秋分ชิวเฟิน (qiūfēn)ศารทวิษุวัต23 กันยายน
195°寒露หานลู่ (hánlù)น้ำค้างเย็น8 ตุลาคม
210°霜降ซวงเจี้ยง (shuāngjiàng)น้ำค้างแข็ง23 ตุลาคม
225°立冬ลี่ตง (lìdōng)เริ่มฤดูหนาว7 พฤศจิกายน
240°小雪เสียวเสวี่ย (xiáoxuě) [ม 3]หิมะพอควร22 พฤศจิกายน
255°大雪ต้าเสวฺ่ย (dàxuě)หิมะหนัก7 ธันวาคม
270°冬至ตงจื้อ (dōngzhì)เหมายัน22 ธันวาคม
285°小寒เสี่ยวหาน (xiǎohán)หนาวน้อย6 มกราคม
300°大寒ต้าหาน (dàhán)หนาวจัด20 มกราคม

อนึ่ง องศาของดวงอาทิตย์ที่แสดงไว้ในตาราง จะสัมพันธ์กับโหราศาสตร์ระบบสายนะ (tropical astrology)[13] ซึ่งยึดโยงการเปลี่ยนราศีตามฤดูกาล ไม่เหมือนกับระบบนิรายนะ (sidereal astrology) ที่อาศัยจุดบนท้องฟ้ากำหนดราศี (ดู โหราศาสตร์สากล)

วันลี่ชุน เป็นภาวะหนึ่งในปฏิทินจีนซึ่งหมายถึงการเริ่มของฤดูใบไม้ผลิ และถือว่า ปีนักษัตรใหม่เริ่มต้นวันนี้ (ไม่ใช่วันตรุษจีน)

นามศักราช หรือเหนียนเฟิ่น (年份)

ในสมัยโบราณ ชาวจีนมักเรียกปีแต่ละปีเป็นตัวเลขประกอบด้วยนามศักราช เช่น ในรัชสมัยสมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นบู๊เต้ ก็กำหนดให้เรียกศักราชสมัยนั้นว่า อี๋กงหยวน (隐公元) เช่น อี๋กงหยวนศก ปีที่ 1 ปีที่ 2... เป็นต้น ในเวลาต่อมา เมื่อ พ.ศ. 431 พระองค์ทรงกำหนดให้เรียกศกย้อนหลังตั้งแต่ พ.ศ. 404 ว่า เจี้ยนหยวนศก ปีที่ 1 ปีที่ 2 โดยลำดับ ธรรมเนียมนี้มีการรักษามาจนถึงสมัยสาธารณรัฐจีน ซึ่งกำหนดให้เรียกปีที่หนึ่งของสาธารณรัฐว่า หมินกั๋ว หรือมิ่นก๊ก (民国) ศก ปีที่ 1 และมีการใช้ต่อมาจนถึงปัจจุบัน แม้จะได้มีการนำคริสต์ศักราช (公元;กงหยวน) มาใช้แทนก็ตาม[14]

ยุคปฏิทิน

ปฏิทินฮั่นมีระบบยุค ซึ่งกำหนดให้ 129,600 ปี แทนหนึ่งมหายุค (元;หยวน) แต่ละมหายุคจะแบ่งออกเป็น 12 จุลยุค ซึ่งกินเวลา 10,800 ปี เรียกว่า หุ้ย (会/會) เช่นเดียวกันกับหนึ่งปีที่แบ่งเป็น 12 เดือน แต่ละจุลยุค มีอักษรภาคดินประจำนับตั้งแต่ฮ่าย (亥) ไปจนถึงซวี (戌) จุลยุคสามจุลยุค รวมกันเป็นหนึ่งยุค (古;กู่) ซึ่งมีได้ดังนี้

  1. ไท่กู่ (太古) หรือบรรพยุค ประกอบด้วยจุลยุคฮ่าย (亥) จื่อ (亥) และโฉ่ว (丑) ยุคนี้เป็นยุคโลกเกิด (天地之分;เทียนตี้จือเฟิน)
  2. ซ่างกู่ (上古) หรืออดีตยุค ประกอบด้วยจุลยุคอิ๋น (寅) เหม่า (卯) และเฉิน (辰) ยุคนี้เป็นยุคโลกโต (天地之化;เทียนตี้จือฮั่ว)
  3. จงกู่ (中古) หรือปัจจุบันยุค ประกอบด้วยจุลยุคสื้อ (巳) อู่ (午) และเว่ย (未) ยุคนี้เป็นยุคโลกโทรม (天地之关;เทียนตี้จือกวน)
  4. เซี่ยกู่ (下古) หรืออนาคตยุค ประกอบด้วยจุลยุคเซิน (申) โหย่ว (酉) และซวฺ (戌) ยุคนี้เป็นยุคโลกสิ้น (天地之合;เทียนตี้จือเหอ)

นอกจากนี้ หนึ่งจุลยุค แบ่งออกได้เป็น 30 รอบใหญ่ แต่ละรอบใหญ่มี 12 รอบน้อย รอบน้อยหนึ่งกินเวลา 30 ปี

ปฏิทินจันทรคติจีน

เดือน

ปฏิทินจันทรคติจีนเป็นปฏิทินจันทรคติอย่างที่ใช้กำหนดวันสำคัญต่าง ๆ ตามประเพณีจีน ในหนึ่งปีปฏิทินมีสิบสองเดือน แต่ละเดือนอาจมี 29 หรือ 30 วันแล้วแต่จังหวะของดวงจันทร์ที่โคจรรอบโลก ซึ่งเดือนที่มี 29 วัน เรียกว่า เดือนขาด (小月; พินอิน: xiǎo yuè; คำอ่าน: เสี่ยวเยวฺ่) ส่วนเดือนที่มี 30 วัน เรียกว่า เดือนเต็ม (大月; พินอิน: dàyuè; คำอ่าน: ต้าเยฺว่)[ม 1] การกำหนดว่าเดือนใดเป็นเดือนเต็มหรือขาด มักจะอาศัยผลการคำนวณวันจันทร์ดับทางดาราศาสตร์ที่ทำไว้ดีแล้ว โดยนับวันจันทร์ดับของเดือนหนึ่งเป็นดิถีที่หนึ่ง จนถึงวันก่อนวันจันทร์ดับถัดไป ซึ่งจะได้ 29 หรือ 30 วัน ตัวอย่างเช่น ปี พ.ศ. 2559 ขณะยังเป็นปีมะแม เดือน 12 วันจันทร์ดับกำหนดที่วันที่ 10 มกราคม เวลา 9:30 และวันที่ 8 กุมภาพันธ์ เวลา 22:39 จากนั้น ให้นับ 1 ที่วันที่ 10 มกราคม จนสุดที่วันที่ 7 กุมภาพันธ์ ได้ทั้งหมด 29 วัน ได้ว่าเดือนดังกล่าวเป็นเดือนขาด

ส่วนการกำหนดเลขเดือน จะต้องให้วันวสันตวิษุวัต อุตรายัน ศารทวิษุวัต และทักษิณายัน อยู่ภายในเดือนจันทรคติที่ 2, 5, 8 และ 11 ตามลำดับเสมอไป หากจำเป็น จะต้องเติมเดือนอธิกมาสลงในปฏิทินข้างต้น โดยถือว่าเดือนที่ไม่มีภาวะเลขคู่ (เช่น อวี๋สุ่ย ชุนเฟิน กู๋อวี่,..., ต้าหาน) เป็นเดือนอธิกมาส ใช้ลำดับเลขเหมือนของเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้เพื่อมิให้วันตรุษจีนต้องผิดไปจากเดิมมากนัก[15][16]

จากข้อมูลขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้กำหนดวันที่ซึ่งดวงจันทร์มีดิถีต่าง ๆ กัน[17][18] เราสามารถคำนวณว่า เดือนใดขาด เดือนใดเต็ม ได้ตามวิธีการข้างบน ดังตารางต่อไปนี้[19]

เดือน/ปีวันและเวลาจันทร์ดับ (มาตรฐานประเทศจีน)วันก่อนวันจันทร์ดับถัดไปจำนวนวันประเภทเดือน
1118 ธันวาคม พ.ศ. 2560 14:3116 มกราคม พ.ศ. 256130เต็ม
1217 มกราคม พ.ศ. 2561 10:1815 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561[ม 4]30เต็ม
1 ปีจอ16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 05:0516 มีนาคม พ.ศ. 256129ขาด
217 มีนาคม พ.ศ. 2561 21:1315 เมษายน พ.ศ. 256130เต็ม
316 เมษายน พ.ศ. 2561 09:5914 พฤษภาคม พ.ศ. 256129ขาด
415 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 19:4813 มิถุนายน พ.ศ. 256130เต็ม
514 มิถุนายน พ.ศ. 2561 03:4312 กรกฎาคม พ.ศ. 256129ขาด
613 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 10:4910 สิงหาคม พ.ศ. 256129ขาด
711 สิงหาคม พ.ศ. 2561 17:599 กันยายน พ.ศ. 256130เต็ม
810 กันยายน พ.ศ. 2561 02:028 ตุลาคม พ.ศ. 256129ขาด
99 ตุลาคม พ.ศ. 2561 11:477 พฤศจิกายน พ.ศ. 256130เต็ม
108 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 00:026 ธันวาคม พ.ศ. 256129ขาด
117 ธันวาคม พ.ศ. 2561 15:225 มกราคม พ.ศ. 256230เต็ม
126 มกราคม พ.ศ. 2562 09:304 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 256230เต็ม
1 ปีกุน5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 05:046 มีนาคม พ.ศ. 256230เต็ม
27 มีนาคม พ.ศ. 2562 00:044 เมษายน พ.ศ. 256229ขาด
35 เมษายน พ.ศ. 2562 16:514 พฤษภาคม พ.ศ. 256230เต็ม
45 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 06:462 มิถุนายน พ.ศ. 256229ขาด
53 มิถุนายน พ.ศ. 2562 18:022 กรกฎาคม พ.ศ. 256230เต็ม
63 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 03:1731 กรกฎาคม พ.ศ. 256229ขาด
71 สิงหาคม พ.ศ. 2562 11:1229 สิงหาคม พ.ศ. 256229ขาด
830 สิงหาคม พ.ศ. 2562 18:3828 กันยายน พ.ศ. 256230เต็ม
929 กันยายน พ.ศ. 2562 02:2727 ตุลาคม พ.ศ. 256229ขาด
1028 ตุลาคม พ.ศ. 2562 11:3925 พฤศจิกายน พ.ศ. 256229ขาด
1126 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 23:0625 ธันวาคม พ.ศ. 256230เต็ม
1226 ธันวาคม พ.ศ. 2562 13:1424 มกราคม พ.ศ. 256330เต็ม
1 ปีชวด25 มกราคม พ.ศ. 2563 05:4222 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 256329ขาด
223 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 23:3323 มีนาคม พ.ศ. 256330เต็ม
324 มีนาคม พ.ศ. 2563 17:2922 เมษายน พ.ศ. 256330เต็ม
423 เมษายน พ.ศ. 2563 10:2622 พฤษภาคม พ.ศ. 256330เต็ม
4/423 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 01:3920 มิถุนายน พ.ศ. 256329ขาด
521 มิถุนายน พ.ศ. 2563 14:4220 กรกฎาคม พ.ศ. 256330เต็ม
621 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 01:3418 สิงหาคม พ.ศ. 256329ขาด
719 สิงหาคม พ.ศ. 2563 10:4216 กันยายน พ.ศ. 256329ขาด
817 กันยายน พ.ศ. 2563 19:0016 ตุลาคม พ.ศ. 256330เต็ม
917 ตุลาคม พ.ศ. 2563 03:3114 พฤศจิกายน พ.ศ. 256329ขาด
1015 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 13:0914 ธันวาคม พ.ศ. 256330เต็ม
1115 ธันวาคม พ.ศ. 2563 00:1812 มกราคม พ.ศ. 256429ขาด
1213 มกราคม พ.ศ. 2564 13:0011 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 256430เต็ม
1 ปีฉลู12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 03:0512 มีนาคม พ.ศ. 256429ขาด
213 มีนาคม พ.ศ. 2564 18:2211 เมษายน พ.ศ. 256430เต็ม
312 เมษายน พ.ศ. 2564 10:3311 พฤษภาคม พ.ศ. 256430เต็ม
412 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 03:009 มิถุนายน พ.ศ. 256429ขาด
510 มิถุนายน พ.ศ. 2564 18:529 กรกฎาคม พ.ศ. 256430เต็ม
610 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 09:177 สิงหาคม พ.ศ. 256429ขาด
78 สิงหาคม พ.ศ. 2564 21:526 กันยายน พ.ศ. 256430เต็ม
87 กันยายน พ.ศ. 2564 08:535 ตุลาคม พ.ศ. 256429ขาด
96 ตุลาคม พ.ศ. 2564 19:054 พฤศจิกายน พ.ศ. 256430เต็ม
105 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 05:153 ธันวาคม พ.ศ. 256429ขาด
114 ธันวาคม พ.ศ. 2564 15:442 มกราคม พ.ศ. 256530เต็ม
123 มกราคม พ.ศ. 2565 02:3531 มกราคม พ.ศ. 256529ขาด
1 ปีขาล1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 13:462 มีนาคม พ.ศ. 256530เต็ม
23 มีนาคม พ.ศ. 2565 01:3531 มีนาคม พ.ศ. 256529ขาด
31 เมษายน พ.ศ. 2565 14:2530 เมษายน พ.ศ. 256530เต็ม
41 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 04:2929 พฤษภาคม พ.ศ. 256529ขาด
530 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 19:3128 มิถุนายน พ.ศ. 256530เต็ม
629 มิถุนายน พ.ศ. 2565 10:5328 กรกฎาคม พ.ศ. 256530เต็ม
729 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 01:5526 สิงหาคม พ.ศ. 256529ขาด
827 สิงหาคม พ.ศ. 2565 16:1825 กันยายน พ.ศ. 256530เต็ม
926 กันยายน พ.ศ. 2565 05:5524 ตุลาคม พ.ศ. 256529ขาด
1025 ตุลาคม พ.ศ. 2565 18:4923 พฤศจิกายน พ.ศ. 256530เต็ม
1124 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 06:5822 ธันวาคม พ.ศ. 256529ขาด
1223 ธันวาคม พ.ศ. 2565 18:1721 มกราคม พ.ศ. 256630เต็ม
1 ปีเถาะ22 มกราคม พ.ศ. 2566 04:5319 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 256629ขาด
220 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 15:0721 มีนาคม พ.ศ. 256630เต็ม
2/222 มีนาคม พ.ศ. 2566 01:2419 เมษายน พ.ศ. 256629ขาด
320 เมษายน พ.ศ. 2566 12:1318 พฤษภาคม พ.ศ. 256629ขาด
419 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 23:5317 มิถุนายน พ.ศ. 256630เต็ม
518 มิถุนายน พ.ศ. 2566 12:3817 กรกฎาคม พ.ศ. 256630เต็ม
618 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 02:3315 สิงหาคม พ.ศ. 256629ขาด
716 สิงหาคม พ.ศ. 2566 17:3914 กันยายน พ.ศ. 256630เต็ม
815 กันยายน พ.ศ. 2566 09:4014 ตุลาคม พ.ศ. 256630เต็ม
915 ตุลาคม พ.ศ. 2566 01:5512 พฤศจิกายน พ.ศ. 256629ขาด
1013 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 17:2912 ธันวาคม พ.ศ. 256630เต็ม
1113 ธันวาคม พ.ศ. 2566 07:3410 มกราคม พ.ศ. 256729ขาด
1211 มกราคม พ.ศ. 2567 19:589 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 256730เต็ม
1 ปีมะโรง10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 06:599 มีนาคม พ.ศ. 256729ขาด
210 มีนาคม พ.ศ. 2567 17:018 เมษายน พ.ศ. 256730เต็ม
39 เมษายน พ.ศ. 2567 02:237 พฤษภาคม พ.ศ. 256729ขาด
48 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 11:235 มิถุนายน พ.ศ. 256729ขาด
56 มิถุนายน พ.ศ. 2567 20:375 กรกฎาคม พ.ศ. 256730เต็ม
66 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 06:583 สิงหาคม พ.ศ. 256729ขาด
74 สิงหาคม พ.ศ. 2567 19:152 กันยายน พ.ศ. 256730เต็ม
83 กันยายน พ.ศ. 2567 09:572 ตุลาคม พ.ศ. 256730เต็ม
93 ตุลาคม พ.ศ. 2567 02:4931 ตุลาคม พ.ศ. 256729ขาด
101 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 20:4730 พฤศจิกายน พ.ศ. 256730เต็ม
111 ธันวาคม พ.ศ. 2567 14:2330 ธันวาคม พ.ศ. 256730เต็ม
1231 ธันวาคม พ.ศ. 2567 06:2828 มกราคม พ.ศ. 256829ขาด
1 ปีมะเส็ง29 มกราคม พ.ศ. 2568 20:3627 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 256830เต็ม
228 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 08:4528 มีนาคม พ.ศ. 256829ขาด
329 มีนาคม พ.ศ. 2568 18:5827 เมษายน พ.ศ. 256830เต็ม
428 เมษายน พ.ศ. 2568 03:3226 พฤษภาคม พ.ศ. 256829ขาด
527 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 11:0324 มิถุนายน พ.ศ. 256829ขาด
625 มิถุนายน พ.ศ. 2568 18:3224 กรกฎาคม พ.ศ. 256830เต็ม
6/625 กรกฎาคม พ.ศ. 2568 03:1222 สิงหาคม พ.ศ. 256829ขาด
723 สิงหาคม พ.ศ. 2568 14:0721 กันยายน พ.ศ. 256830เต็ม
822 กันยายน พ.ศ. 2568 03:5520 ตุลาคม พ.ศ. 256829ขาด
921 ตุลาคม พ.ศ. 2568 20:2619 พฤศจิกายน พ.ศ. 256830เต็ม
1020 พฤศจิกายน พ.ศ. 2568 14:4819 ธันวาคม พ.ศ. 256830เต็ม
1120 ธันวาคม พ.ศ. 2568 09:4418 มกราคม พ.ศ. 256930เต็ม
1219 มกราคม พ.ศ. 2569 03:5216 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 256929ขาด
1 ปีมะเมีย17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2569 20:0218 มีนาคม พ.ศ. 256930เต็ม
219 มีนาคม พ.ศ. 2569 09:2516 เมษายน พ.ศ. 256929ขาด
317 เมษายน พ.ศ. 2569 19:5316 พฤษภาคม พ.ศ. 256930เต็ม
417 พฤษภาคม พ.ศ. 2569 04:0114 มิถุนายน พ.ศ. 256929ขาด
515 มิถุนายน พ.ศ. 2569 10:5413 กรกฎาคม พ.ศ. 256929ขาด
614 กรกฎาคม พ.ศ. 2569 17:4512 สิงหาคม พ.ศ. 256930เต็ม
713 สิงหาคม พ.ศ. 2569 01:3810 กันยายน พ.ศ. 256929ขาด
811 กันยายน พ.ศ. 2569 11:279 ตุลาคม พ.ศ. 256929ขาด
910 ตุลาคม พ.ศ. 2569 23:508 พฤศจิกายน พ.ศ. 256930เต็ม
109 พฤศจิกายน พ.ศ. 2569 15:038 ธันวาคม พ.ศ. 256930เต็ม
119 ธันวาคม พ.ศ. 2569 08:547 มกราคม พ.ศ. 257030เต็ม
128 มกราคม พ.ศ. 2570 04:255 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 257029ขาด
1 ปีมะแม6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2570 23:567 มีนาคม พ.ศ. 257030เต็ม
28 มีนาคม พ.ศ. 2570 17:306 เมษายน พ.ศ. 257030เต็ม
37 เมษายน พ.ศ. 2570 07:535 พฤษภาคม พ.ศ. 257029ขาด
46 พฤษภาคม พ.ศ. 2570 19:004 มิถุนายน พ.ศ. 257030เต็ม
55 มิถุนายน พ.ศ. 2570 03:403 กรกฎาคม พ.ศ. 257029ขาด
64 กรกฎาคม พ.ศ. 2570 11:021 สิงหาคม พ.ศ. 257029ขาด
72 สิงหาคม พ.ศ. 2570 18:0731 สิงหาคม พ.ศ. 257030เต็ม
81 กันยายน พ.ศ. 2570 01:4229 กันยายน พ.ศ. 257029ขาด
930 กันยายน พ.ศ. 2570 10:3628 ตุลาคม พ.ศ. 257029ขาด
1029 ตุลาคม พ.ศ. 2570 21:3627 พฤศจิกายน พ.ศ. 257030เต็ม
1128 พฤศจิกายน พ.ศ. 2570 11:2527 ธันวาคม พ.ศ. 257030เต็ม
1228 ธันวาคม พ.ศ. 2570 04:1425 มกราคม พ.ศ. 257129ขาด
1 ปีวอก26 มกราคม พ.ศ. 2571 23:1324 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 257130เต็ม

ระวัง เวลาที่แสดงในข้อมูลต้นฉบับเป็นเวลาสากลเชิงพิกัด ดังนั้นจะต้องแปลงเป็นเวลามาตรฐานประเทศจีนเสียก่อน โดยเอา 8 บวกชั่วโมง แล้วจึงคำนวณ

เมื่อทราบความยาวแต่ละเดือนแล้ว ก็เรียงดิถีตั้งแต่ 1 ถึง 29 หรือ 30 (คล้ายดิถีตลาดในปฏิทินไทย) ตั้งแต่วันจันทร์ดับไปถึงวันก่อนวันจันทร์ดับถัดไป ในปฏิทินจีน วันต้นเดือนมักจะระบุว่าเดือนใดขาดหรือเต็ม เช่น เดือน 2 ปีมะแม จากตารางเป็นเดือนขาด ก็เขียน 二小月 ที่วันต้นเดือนเป็นต้น ในเดือนดังกล่าว ก็ให้กำหนดวันที่ 1 เป็นวันที่ 9 มีนาคม นับไปจนถึงวันที่ 6 เมษายน เป็นวันที่ 29 วันต่อจากนั้นก็ขึ้นเดือน 3 ทำซ้ำเช่นนี้จนครบปฏิทินตามความต้องการ

จากตารางจะสังเกตได้ว่า ปี พ.ศ. 2560 มีเดือนหกสองครั้ง[15] จึงถือเป็นปีอธิกมาสตามแบบจีน นอกจากนี้ยังถือได้ว่า ปี พ.ศ. 2563, 2566 และ 2568 เป็นปีอธิกมาสอีกด้วย ทั้งนี้ ปีอธิกมาสตามแบบจีน อาจจะเป็นปีปกติมาสหรืออธิกมาสตามแบบไทยก็ได้ เนื่องจากวิธีการคำนวณไม่เหมือนกัน

ชื่อเดือน

ชื่อเดือนในปฏิทินจันทรคติจีน คล้ายกับที่ใช้ในปฏิทินสุริยคติ แต่ต่างกันที่เดือนแรกและเดือนสุดท้าย ซึ่งใช้ชื่อ 正月 (เจิงเยฺว่) และ 腊月 (ล่าเยฺว่) ตามลำดับ

ดิถี

ในแต่ละเดือน จะมีส่วนย่อยเป็นดิถี หรือวันจันทรคติ นับตั้งแต่หนึ่งไปจนถึงวันสิ้นเดือน วันที่ในปฏิทินจีน เรียงลำดับจากวันที่หนึ่ง ไปจนถึงวันที่สามสิบ ได้ดังนี้[ม 5]

วันที่หนึ่งสองสามสี่ห้าหกเจ็ดแปดเก้าสิบสิบเอ็ดสิบสองสิบสามสิบสี่สิบห้า
อักษรจีน初一初二初三初四初五初六初七初八初九初十十一十二十三十四十五
คำอ่านชูอี (Chūyī)ชูเอ้อร์ (Chūèr)ชูซาน (Chūsān)ชูสื้อ (Chūsì)ชูอู่ (Chūwǔ)ชูลิ่ว (Chūlìu)ชูชี (Chūqī)ชูปา (Chūbā)ชูจิ่ว (Chūjǐu)ชูสือ (Chūshí)สืออี (Shíyī)สือเอ้อร์ (Shíèr)สือซาน (Shísān)สือสื้อ (Shísì)สืออู่ (Shíwǔ)
วันที่สิบหกสิบเจ็ดสิบแปดสิบเก้ายี่สิบยี่สิบเอ็ดยี่สิบสองยี่สิบสามยี่สิบสี่ยี่สิบห้ายี่สิบหกยี่สิบเจ็ดยี่สิบแปดยี่สิบเก้าสามสิบ
อักษรจีน十六十七十八十九二十廿一廿二廿三廿四廿五廿六廿七廿八廿九三十
คำอ่านสือลิ่ว (Shílìu)สือชี (Shíqī)สือปา (Shíbā)สือจิ่ว (Shíjǐu)เอ้อร์สือ (Èrshí)เนี่ยนอี (Niànyī)เนี่ยนเอ้อร์ (Niànèr)เนี่ยนซาน (Niànsān)เนี่ยนสื้อ (Niànsì)เนี่ยนอู่ (Niànwǔ)เนี่ยนลิ่ว (Niànlìu)เนี่ยนชี (Niànqī)เนี่ยนปา (Niànbā)เนี่ยนจิ่ว (Niànjǐu)ซานสือ (Sānshí)

โดยกำหนดให้วันที่หนึ่ง ของเดือนเจิง หรือเดือนอ้ายจีน เป็นวันตรุษจีน อนึ่ง การนับดิถีแบบจีนจะยึดเป็นวัน ๆ ไป โดยมิได้คำนึงถึงวันทางจันทรคติแท้จริง ซึ่งการนับลักษณะนี้คล้ายกับดิถีตลาดในปฏิทินไทย

ดูเพิ่ม

หมายเหตุ

อ้างอิง

ดูเพิ่ม

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง