เซี่ยงไฮ้

นครปกครองโดยตรงของประเทศจีน

เซี่ยงไฮ้ หรือ ช่างไห่ (จีน: 上海; พินอิน: Shànghǎi, เสียงอ่านภาษาจีนมาตรฐาน: [ʂâŋ.xài] ( ฟังเสียง), เสียงอ่านภาษาเซี่ยงไฮ้ [zɑ̃̀.hɛ́]) เป็นหนึ่งในสี่นครปกครองโดยตรงของสาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งอยู่บริเวณทางใต้ของปากแม่น้ำแยงซี และมีแม่น้ำหฺวางผู่ไหลผ่านกลางเมือง มีประชากรในปี ค.ศ. 2019 จำนวน 24.28 ล้านคน ทำให้เป็นเขตเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในประเทศจีน และเป็นนครที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับสองของโลก เซี่ยงไฮ้เป็นศูนย์กลางระดับโลกทางด้านการเงิน นวัตกรรม และการขนส่ง โดยท่าเรือเซี่ยงไฮ้เป็นท่าเรือที่มีจำนวนเรือคับคั่งที่สุดในโลก>

เซี่ยงไฮ้

上海市

ช่างไห่
เมืองเก่าเซี่ยงไฮ้
ศูนย์การแสดงนิทรรศการเซี่ยงไฮ้
อาคารเอสเอสบีซีที่เดอะบันด์
วัดจิ้งอัน
ที่มาของชื่อ: 上海浦 (Shànghăi Pǔ)
"ชื่อเดิมของแม่น้ำหฺวางผู่"
แผนที่
ที่ตั้งของเทศบาลนครเซี่ยงไฮ้ในประเทศจีน
ที่ตั้งของเทศบาลนครเซี่ยงไฮ้ในประเทศจีน
พิกัด (จัตุรัสประชาชน): 31°13′43″N 121°28′29″E / 31.22861°N 121.47472°E / 31.22861; 121.47472
ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
ตั้งถิ่นฐานป. 4000 ปีก่อนคริสตกาล[1]
ก่อตั้ง
 • เมืองชิงหลง

ค.ศ. 746[2]
 • อำเภอเซี่ยงไฮ้ค.ศ. 1292[3]
 • เทศบาลนคร7 กรกฎาคม ค.ศ. 1927
เขตการปกครอง
 • ระดับอำเภอ
 • ระดับตำบล

16 เขต
210 เมืองและแขวง
การปกครอง
 • ประเภทนครปกครองโดยตรง
 • เลขาธิการพรรคหลี่ เฉียง (李强)
 • นายกเทศมนตรีกง เจิ้ง (龚正)
พื้นที่[4][5][6]
 • เทศบาลนคร6,341 ตร.กม. (2,448 ตร.ไมล์)
 • พื้นน้ำ697 ตร.กม. (269 ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง (ค.ศ. 2018)[7]4,000 ตร.กม. (1,550 ตร.ไมล์)
ความสูง[8]4 เมตร (13 ฟุต)
ประชากร
 (ค.ศ. 2019)[9]
 • เทศบาลนคร24,281,400 คน
 • อันดับที่ 1 ของประเทศ
 • ความหนาแน่น3,800 คน/ตร.กม. (9,900 คน/ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล[10]34,000,000 คน
เขตเวลาUTC+08:00 (CST)
รหัสไปรษณีย์200000–202100
รหัสพื้นที่21
รหัส ISO 3166CN-SH
Nominal GDP[9]2019
 • ทั้งหมด3.82 ล้านล้านเหรินหมินปี้ (ที่ 11 ของประเทศ)
 • ต่อหัว157,279 เหรินหมินปี้ (ที่ 2 ของประเทศ)
 • ความเติบโตเพิ่มขึ้น 6.0%
HDI (ค.ศ. 2018)0.867[11] (ที่ 2 ของประเทศ) – สูงมาก
ป้ายทะเบียนรถ沪A, B, D, E, F, G, H, J, K, L, M, N
沪C (เฉพาะชานเมืองด้านนอก)
อักษรย่อSH / ฮู่ (; )
ดอกไม้ประจำนครอฺวี้หลานแมกโนเลีย (Magnolia denudata)
ภาษาภาษาเซี่ยงไฮ้
ภาษาจีนมาตรฐาน
เว็บไซต์www.shanghai.gov.cn

เซี่ยงไฮ้ในอดีตเป็นเพียงหมู่บ้านชาวประมง ต่อมาเริ่มมีความสำคัญมากขึ้นในศตวรรษที่ 19 เนื่องมาจากการค้าขายและทำเลที่ตั้งท่าเรือที่เหมาะสม ท่าเรือเซี่ยงไฮ้เป็นหนึ่งในห้าท่าเรือที่ต้องเปิดให้มีการค้าต่างประเทศหลังสงครามฝิ่นครั้งที่หนึ่ง และได้มีการก่อตั้งเขตการระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศเซี่ยงไฮ้ (Shanghai International Settlement) และเขตสัมปทานฝรั่งเศส (Shanghai French Concession) ขึ้นมาตามลำดับ เซี่ยงไฮ้เจริญเติบโตขึ้นจนกลายเป็นศูนย์กลางทางการค้าและการเงินของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในช่วงทศวรรษที่ 1930 หลังจากเกิดเหตุการณ์ยุทธการที่เซี่ยงไฮ้ในช่วงสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง และหลังจากที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้เข้าครอบครองจีนแผ่นดินใหญ่ในปี ค.ศ. 1949 ทำให้การค้าถูกจำกัดและอิทธิพลในระดับโลกลดลง

ในช่วงทศวรรษที่ 1990 การปฏิรูปเศรษฐกิจจีนที่นำโดยเติ้ง เสี่ยวผิง ส่งผลทำให้เกิดการพัฒนาเมืองครั้งใหญ่ โดยเฉพาะเขตผู่ตง ช่วยทำให้การเงินและการลงทุนจากต่างประเทศกลับมายังเซี่ยงไฮ้อีกครั้ง ตลาดหลักทรัพย์เซี่ยงไฮ้เป็นหนึ่งในตลาดหลักทรัพย์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกเรียงตามมูลค่าตามราคาตลาด และเขตการค้าเสรีเซี่ยงไฮ้เป็นเขตการค้าเสรีแห่งแรกของประเทศจีน

ที่ตั้งและอาณาเขต

นครเซี่ยงไฮ้มีพื้นที่ติดต่อดังนี้

ภูมิประเทศ

มีสัดส่วนเป็นร้อยละ 0.06 ของพื้นที่ทั่วประเทศ ทิศตะวันตกเฉียงใต้เป็นเนินเขาสองลูกสูงไม่เกิน 120 เมตร ทอดยาวชื่อ เขาเฉอ หรือ เฉอชาน (佘山) เขตเมืองเป็นที่ราบตะกอนน้ำพากว้างใหญ่ ความสูงเหนือระดับน้ำทะเลเฉลี่ยประมาณ 4 เมตร มีเกาะอย่างน้อย 10 เกาะ โดยเกาะฉงหมิงมีพื้นที่มากที่สุดคือ 1,370 ตารางกิโลเมตรในปี พ.ศ. 2563[12] และขยายขนาดทุกปี ซึ่งใหญ่เป็นอันดับ 3 ของจีน (รองจากเกาะไต้หวัน และเกาะไหหลำ)[12]


ภูมิอากาศ

อยู่ในเขตมรสุมร้อนเอเชียเหนือ แบ่งเป็น 4 ฤดูชัดเจนและมีปริมาณฝนและแสงแดดที่เพียงพอ ฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วงระยะเวลาค่อนข้างสั้น ฤดูหนาวและร้อนค่อนข้างยาวนาน

การคมนาคม

ทางบก

แผนผังของเครือข่ายรถไฟใต้ดินเซี่ยงไฮ้

มหานครเซี่ยงไฮ้มีเส้นทางเดินรถไฟฟ้าชนิดต่างๆเกือบ 100 เส้นทาง และมีโครงการขยายการก่อสร้างเส้นทางคมนาคมและทางด่วน เชื่อมต่อกับเมืองและเขตสำคัญๆ อาทิสายในประเทศ เซี่ยงไฮ้-ฮ่องกง-มาเก๊า สายเหนือ เซี่ยงไฮ้ - รัสเซีย - ยุโรป สายตะวันตก เซี่ยงไฮ้ - เอเชียกลาง

ทางอากาศ

สำหรับเส้นทางขนส่งทางอากาศ นครเซี่ยงไฮ้มีสนามบินแห่งชาติ 2 แห่ง คือ ท่าอากาศยานนานาชาติซ่างไห่หงเฉียว และท่าอากาศยานนานาชาติเซี่ยงไฮ้ผู่ตง

ทางทะเล

เซี่ยงไฮ้มีพื้นที่ของท่าเทียบเรือกว่า 13.6 ตร.กม. นับตั้งแต่ปีทศวรรษที่ 80 ท่าเรือขนส่งเซี่ยงไฮ้เป็นท่าเรือ ขนาดใหญ่ติดอันดับโลก ที่มีสินค้าเข้าออกสูงกว่า 100 ล้านตัน ปลายปี พ.ศ. 2546 มหานครเซี่ยงไฮ้ (Shanghai) ได้รับการขนานนามว่าเป็น "นครปารีสแห่งตะวันออก" ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มมหานครไฮโซอันดับ 5 ของโลก รองจาก กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. นิวยอร์ก ลอนดอน และ ปารีส รูปแบบการปกครองของมหานครเซี่ยงไฮ้จัดอยู่ในกลุ่มเมืองที่ขึ้นตรงต่อรัฐบาลกลาง ซึ่งไม่ขึ้นต่อมณฑลใด ๆ ทั้งสิ้น และปัจจุบันประเทศจีนมีเมืองที่มีรูปแบบการปกครองลักษณะนี้ทั้ง สิ้น 4 เมืองด้วยกัน ได้แก่ ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ เทียนจินและฉงชิ่ง มหานครเซี่ยงไฮ้ ปัจจุบันนับเป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเมืองหนึ่งของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับหนึ่งของประเทศจีน เป็นเมืองศูนย์กลางความเจริญในด้านต่างๆ ของภูมิภาค ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การค้า การเงิน การลงทุน รวมถึง ด้านแฟชั่น และการท่องเที่ยว โดยการผลักดันของรัฐบาลซึ่งให้นครเซี่ยงไฮ้ก้าวขึ้นเป็นผู้นำ และเป็นศูนย์กลางด้านเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย เซี่ยงไฮ้จึงนับเป็นความภูมิใจของชาวจีน โดยเฉพาะชาวเมืองซึ่งถือกันว่าเมืองของตนเป็นสัญลักษณ์ของจีนยุคใหม่ ในด้านความก้าวหน้า และทันสมัย เซี่ยงไฮ้เป็นเมืองที่มีการผสมผสานทางด้านวัฒนธรรม ทั้งของจีนและตะวันตกได้อย่างกลมกลืน โดยจะเห็นได้จากอาคารสถาปัตยกรรมในยุคอาณานิคมตามเขตเช่าเดิมของชาวตะวันตก ซึ่งในปัจจุบันกลายมาเป็น สัญลักษณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งของเมือง[ต้องการอ้างอิง]

ในเขตเมืองเก่าบริเวณยู่หยวน (豫园 - Yu Garden) ที่ถูกสร้างในสมัยราชวงศ์หมิง ซึ่งยังคงไว้ด้านรูปแบบอาคารสถาปัตยกรรมแบบจีน ปัจจุบันกลายเป็นสถานที่ขายของที่ระลึกและศิลปะต่างๆ นอกจากนั้นสถานที่ ซึ่งนักท่องเที่ยวที่มาเยีอนเซียงไฮ้จะพลาดไม่ได้คือ ถนนหนานจิง อันเป็นสัญลักษณ์สำคัญอันหนึ่งของเซี่ยงไฮ้ตั้งอยู่ใจกลางเมืองและ เป็นถนนคนเดินที่เต็มไปด้วยแหล่งร้านค้าสินค้าต่าง ๆ รวมทั้งนักท่องเที่ยวที่มาจับจ่ายซื้อสินค้ามากมาย หนึ่งในย่านนั้นมีอาคารจินเม่าทาวเวอร์ อาคารเซี่ยงไฮ้เวิร์ดไฟแนนเชียลเซ็นเตอร์ และ เซี่ยงไฮ้ทาวเวอร์ ซึ่งเป็นตึกที่สูงที่สุดในประเทศจีน นอกจากนั้นเซี่ยงไฮ้ยังเป็นเมืองทันสมัยอันดับที่ 25 ของโลกจาก 53 เมืองใหญ่ทั่วโลก เช่น ปักกิ่ง มอสโก นิวยอร์ก โตเกียว ลอนดอน และปารีส[ต้องการอ้างอิง]

ประชากร

ประชากรในเขตเซี่ยงไฮ้มีประมาณ 19,213,200 คน โดยอายุ 0-14 คิดเป็น 12.2% อายุระหว่าง 15-64 คิดเป็น 76.3% อายุ 65 ปีขึ้นไป คิดเป็น 11.5%

เศรษฐกิจ

ภาพต่าง ๆ ของเมืองเซี่ยงไฮ้

ทิวทัศน์เซี่ยงไฮ้ยามกลางคืน (ฝั่งผู่ตง)

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง