เลขมาตรฐานสำหรับหนังสือของหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน

เลขมาตรฐานสำหรับหนังสือของหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (อังกฤษ: Library of Congress Control Number หรือ LCCN) เป็นเลขประจำหนังสือแต่ละเล่ม ที่มาจากระบบการออกตัวเลขแก่หนังสือแต่ละเล่มที่เป็นเอกลักษณ์ ที่ใช้โดยระบบของการออกตัวเลขของหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (LCC) ตัวเลขไม่มีความหมายแต่อย่างใดต่อเนื้อหาของหนังสือ ซึ่งเป็นระบบที่ต่างจากระบบการจัดหมวดหมู่หนังสือของหอสมุดรัฐสภาอเมริกันซึ่งเป็นการออกตัวเลขตามเนื้อหาของหนังสือ ซึ่งอาจจะซ้ำกันกับหนังสือเล่มอื่นในหมวดหมู่เดียวกันได้

ประวัติ

ระบบเลขมาตรฐานสำหรับหนังสือ LCCN มีการใช้งานมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2441 ซึ่งในขณะนั้นตัวย่อ LCCN เดิมใช้แทนคำว่า "Library of Congress Card Number" หรืออาจจะหมายถึง "Library of Congress Catalog Card Number" โดยหอสมุดรัฐสภาอเมริกันได้จัดทำบัตรข้อมูลบรรณานุกรมสำหรับรายการห้องสมุดขึ้นและได้จัดทำสำเนาชุดบัตรรายการ จำหน่ายให้กับห้องสมุดอื่น ๆ เพื่อใช้ในการจัดทำรายการของห้องสมุดเหล่านั้น ซึ่งสิ่งนี้ถูกเรียกว่า การจัดทำรายการส่วนกลาง (centralized cataloging) ชุดของบัตรรายการแต่ละชุดจะได้รับหมายเลขลำดับเพื่อช่วยในการระบุที่มา

แม้ว่าข้อมูลบรรณานุกรมส่วนใหญ่จะถูกสร้างจัดเก็บและแบ่งปันทางอิเล็กทรอนิกส์กับห้องสมุดอื่น ๆ แล้ว แต่ก็ยังมีความต้องการที่จะระบุแต่ละระเบียนที่ไม่ซ้ำกันและ LCCN ยังคงใช้เพื่อเหตุดังกล่าวต่อไป

บรรณารักษ์ ทั่วโลกใช้ "ข้อมูลบ่งชี้" ที่ไม่ซ้ำกันนี้ในกระบวนการทำรายการ ของหนังสือส่วนใหญ่ที่ตีพิมพ์ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งช่วยให้พวกเขาค้นหาข้อมูลรายการ (cataloging record) ที่ถูกต้อง ซึ่งหอสมุดรัฐสภาอเมริกันและหน่วยงานภายนอกอื่น ๆ มีให้ใช้งานบนเว็บและผ่านสื่อต่าง ๆ

ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 หอสมุดรัฐสภาอเมริกันได้สร้างบริการ LCCN Permalink ซึ่งเป็นยูอาร์แอลที่ถาวรสำหรับให้บริการ เลขมาตรฐานสำหรับหนังสือ LCCN ทั้งหมด[1]

รูปแบบ

รูปแบบของเลขมาตรฐาน
สำหรับหนังสือของหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน

ในรูปแบบพื้นฐานที่สุดหมายเลขจะประกอบด้วยเลขปี (ค.ศ.) และเลขลำดับ โดยปีจะประกอบด้วยเลขสองหลักท้ายสำหรับปี 1898 ถึง 2000 และเลขสี่หลักเริ่มต้นในปี 2001 โดยสำหรับสามปีที่มีความกำกวม (1898, 1899 และ 1900) จะสามารถบ่งชี้ได้จากขนาดของหมายเลขลำดับ นอกจากนี้ยังมีลักษณะเฉพาะของหมายเลขลำดับที่ขึ้นต้นด้วย "7" เนื่องจากการทดลองเพิ่มเลขโดดตรวจสอบระหว่างปีค.ศ. 1969 ถึงปี 1972[2]

หมายเลขลำดับ (serial numbers) มีความยาวหกหลักและควรมีเลขศูนย์นำหน้า โดยการเติมตัวเลขศูนย์นำหน้าเป็นส่วนเสริมล่าสุดของรูปแบบ ดังนั้นงานบันทึกก่อน ๆ จำนวนมากจะแสดงรหัสน้อยหลักกว่า ยัติภังค์เป็นตัวเลือกที่มักจะใช้ในการแยกปีและหมายเลขลำดับ แต่เมื่อไม่นานมานี้ทางหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน ได้ออกข้อกำหนดให้สำนักพิมพ์ต่าง ๆ ไม่ต้องใส่เครื่องหมายยัติภังค์

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง