เลขาธิการคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม

ผู้นำของเวียดนามโดยพฤตินัย

เลขาธิการใหญ่คณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม (เวียดนาม: Tổng Bí thư Ban Chấp hành Trung ương Đảng Cộng sản Việt Nam) (อังกฤษ: General Secretary of the Central Committee of the Communist Party of Vietnam) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2494 ถึง พ.ศ. 2519 เป็นสำนักงานสูงสุดในพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามและโดยทั่วไปมักเรียกว่า ผู้นำสูงสุดแห่งเวียดนาม หรือเป็นที่รู้จักกันในนาม เลขาธิการเอก (เวียดนาม: Bí thư Thứ nhất) ในช่วงปี พ.ศ. 2494 ถึง พ.ศ. 2512 ตำแหน่งเลขาธิการเป็นตำแหน่งที่สูงสุดเป็นลำดับที่สองรองจากตำแหน่งประธานพรรคแรงงานเวียดนาม ซึ่งมีท่านโฮจิมินห์ดำรงตำแหน่งประธานอยู่ เลขาธิการใหญ่ยังเป็นเลขาธิการของคณะกรรมาธิการทหารส่วนกลางซึ่งเป็นผู้นำองค์กรพรรคในกิจการทหาร[1] ในช่วงเวลาหนึ่งของประวัติศาสตร์ตำแหน่งเลขาธิการใหญ่มีความหมายเปรียบเสมือนกันกับผู้นำสูงสุดของเวียดนาม เลขาธิการคนปัจจุบันคือเหงียน ฟู้ จ่องและเขาได้รับการจัดอันดับให้ลำดับที่หนึ่งในโปลิตบูโร

เลขาธิการใหญ่คณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม
Tổng Bí thư Ban Chấp hành Trung ương Đảng Cộng sản Việt Nam
ธงประจำพรรค
ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบัน
เหงียน ฟู้ จ่อง

ตั้งแต่ 19 มกราคม พ.ศ. 2554
(13 ปี 98 วัน)
การเรียกขานสหาย
จวนสำนักงานกลางพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม 1A Hung Vuong เดียนเบียน เขตบาดิ่ญ ฮานอย
ผู้แต่งตั้งคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม
วาระ5 ปี
ผู้ประเดิมตำแหน่งเจิ่น ฟู้
สถาปนา27 ตุลาคม พ.ศ. 2483
เว็บไซต์Trang web Đảng Cộng sản Việt Nam

ประวัติ

เจิ่น ฟู้ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีน ได้รับเลือกเป็นเลขาธิการคนแรกของพรรค หนึ่งปีหลังจากได้รับเลือกเขาถูกทางการฝรั่งเศสตัดสินจำคุกเนื่องจากจัดกิจกรรมต่อต้านฝรั่งเศส เขาเสียชีวิตในคุกในปีเดียวกัน[2] ผู้รับช่วงเป็นเลขาธิการคนที่ 2 โดยพฤตินัยคือ เลอ ห่ง ฟอง เลขาธิการ OEC ซึ่งเป็นผู้นำพรรคโดยผ่านสำนักงานเลขาธิการคณะกรรมการบริหารพรรคแห่งโพ้นทะเล (OEC) เหตุที่ได้เป็นเลขาธิการพรรคเพราะคณะกรรมการกลางถูกปราบปรามทั้งหมด[3] ต่อมาในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2478 ในการประชุมพรรคครั้งแรกที่มาเก๊า ฮ่า หุ่ย เติบ ได้รับเลือกให้เป็นเลขาธิการคนที่ 3 จนถึงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2481 ในที่ประชุมคณะกรรมการพรรค ณ บาเดียม กรุงไซ่ง่อน ฮ่าหุ่ยเติบได้ลาออกจากตำแหน่ง เดือนพฤษภาคมเขาถูกเจ้าหน้าที่ฝรั่งเศสจับกุมและถูกประหารในวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2484 [4] ในวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2481 หลังการลาออกของเลขาธิการคนที่ 3 เหงียน วัน กื่อได้รับเลือกเป็นเลขาธิการคนที่ 4 ต่อมาในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2483 วันกื่อถูกเจ้าหน้าที่ฝรั่งเศสจับกุม และถูกประหารชีวิตโดยการยิงในวันที่ วันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2484 ท่ามกลางวิกฤติของพรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีนที่ถูกทางการฝรั่งเศสกวาดล้างผู้นำพรรคหลายคน ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2484 เจื่อง จิญได้รับเลือกเป็นเลขาธิการคนที่ 5[5] โดยบทความใน NhânDân เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2494 ได้กล่าวถึงบทบาทของเจื่องจิญในฐานะ "ผู้สร้างและผู้บัญชาการ" ของการปฏิวัติในขณะที่โฮจิมินห์ถูกเรียกว่า "จิตวิญญาณของการปฏิวัติเวียดนามและการต่อต้านของเวียดนาม"[6] ในปีพ.ศ. 2488 พรรคคอมมิวนิสต์อินโดจินได้สลายตัวทำให้เจื่องจิญพ้นจากตำแหน่งเลขาธิการใหญ่ตามสภาพพรรค และในปี พ.ศ. 2499 ได้ก่อตั้งพรรคใหม่อีกครั้งในนามพรรคแรงงานเวียดนาม จิญกลับมาเป็นเลขาธิการเอกคนที่ 1(5) แต่เนื่องจากบทบาทของเขาในการรณรงค์ปฏิรูปที่ดินอย่างรุนแรงจิญจึงต้องลาออก[7] โฮจิมินห์จึงเข้ารับตำแหน่งเลขาธิการเอกพรรคแรงงานเวียดนามต่อเป็นคนที่ 2(6) แต่ได้แต่งตั้งให้เล สวนเป็นรักษาการเลขาธิการเอกโดยทันที[8]เนื่องจากโฮเป็นประธานพรรคอีกตำแหน่ง ต่อมาในปี พ.ศ. 2503 เล สวนได้รับเลือกให้เป็นเลขาธิการเอกคนที่ 3(7) และเป็นผู้นำสูงสุดลำดับที่สองจนกระทั่งโฮจิมินห์เสียชีวิตในวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2512[9]

นับตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2512 เล สวนเป็นผู้นำของเวียดนามที่ไม่ได้ประสบปัญหาใดๆเหมือนอย่างผู้นำรุ่นก่อนๆจนกระทั่งเขาเสียชีวิตลงในวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2529[10] โดยเลสวนได้เสียชีวิตลงก่อนการประชุมพรรคแห่งชาติครั้งต่อไปเพียงสองเดือน ผู้รับช่วงคนถัดมาคือเจื่อง จิญอดีตเลขาธิการพรรคสองสมัยและเขาเป็นผู้นำที่ดำรงตำแหน่งมากที่สุดเป็นอันดับสองและหลังจากโฮจิมินห์เสียชีวิตไปแล้วจิญกลายเป็นนักการเมืองที่มีอำนาจมากในเวียดนาม โดยในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2529 จิญได้รับการลงมติให้พ้นจากตำแหน่งตามวาระในที่ประชุมพรรคแห่งชาติชุดที่ 6 เหลือเพียงตำแหน่งประธานาธิบดี และที่ประชุมใหญ่ได้ลงมติเลือกเลขาธิการใหญ่คนที่ 8 เป็นเหงียน วัน ลิญ[11] โดยสื่อตะวันตกมักเรียกเขาว่า "กอร์บาชอฟแห่งเวียดนาม" เนื่องจากนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจ(โด๋ยเม้ย)ของเขา[12] ในปี พ.ศ. 2534 เหงียน วัน ลิญได้ลาออกจากเลขาธิการพรรคเนื่องจากปัญหาทางสุขภาพของเขา และที่ประชุมใหญ่พรรคแห่งชาติชุด 7 ได้ลงมติรับรองให้โด๋ เหมื่อยเป็นเลขาธิการพรรคคนที่ 9[13]และในการประชุมพรรคชุดที่ 8 ในปี พ.ศ. 2539 เหมื่อยก็ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคอีกสมัยในาภาวะที่พรรคแบ่งเป็นสองฝ่าย แต่หลังจากดำรงตำแหน่งสมัยที่สองเพียงหนึ่งปีในการประชุมใหญ่ครั้งที่ 4 ของคณะกรรมการกลางชุดที่ 8 เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2540 ได้ให้โดเหมื่อยพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากปัญหาระหว่างฝ่ายอนุรักษ์นิยมซึ่งนำโดยโด๋เหมื่อยและฝ่ายปฏิรูปของเหงียนวันลิญ ที่ประชุมใหญ่พรรคชุดที่ 8 จึงได้ลงมติเลือก[14]พลโทอาวุโสเล ขา เฟียวเป็นเลขาธิการพรรคคนที่ 10 และเขาได้เป็นผู้ประนีประนอมการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายแต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากถูกมองว่าเป็นผู้สนับสนุนฝ่ายโด๋เมื่อย และในปี 2544 ก่อนการประชุมพรรคแห่งชาติครั้งที่ 9 เมื่อคณะกรรมการกลางคว่ำการตัดสินใจของโปลิตบูโร เสียงข้างมากในที่ประชุมคณะกรรมการกลางได้ลงมติให้เฟียวพ้นจากตำแหน่งเลขาธิการพรรค[15] และที่ประชุมพรรคได้ลงมติเลือกหน่อง ดุ๊ก หมันห์เป็นเลขาธิการพรรคต่อจากเลขาเฟียว และดุ๊กหมันห์ได้รับการพิจารณาให้เป็นผู้สร้างสรรค์สิ่งใหม่ เขายังเป็นเลขาธิการคนแรกที่สำเร็จการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย[16] ดุ๊กหมันห์ดำรงตำแหน่งอยู่สองสมัยจึงได้พ้นจากตำแหน่งในปี 2554 และที่ประชุมใหญ่คณะกรรมการกลางพรรคชุดที่ 11 ได้เลือกเหงียน ฟู้ จ่องให้รับตำแหน่งเป็นเลขาธิการใหญ่คนปัจจุบันซึ่งปัจจุบันฟู้จ่องได้รับเลือกเป็นสมัยที่ 3 และตอนนี้เขาได้รับการยกย่องว่าเป็นบุคคลที่มีอำนาจทางการเมืองมากที่สุดในเวียดนาม [17]

เลขาธิการใหญ่เป็นประธานในการทำงานของคณะกรรมการกลางพรรค, สมาชิกโปลิตบูโร และเป็นประธานการประชุมกับผู้นำคนสำคัญ(ระเบียบการทำงานของคณะกรรมการกลาง, 2554)

รายนามเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์

เลขาธิการใหญ่คณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์แห่งอินโดจีน
Tổng Bí thư Ban Chấp hành Trung ương Đảng Cộng sản Đông Dương
ลำดับภาพชื่อ
(อายุขัย)
เริ่มสิ้นสุดอันดับ
[note 1]
คณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์
1(1) เจิ่น ฟู้
(พ.ศ. 2447 – พ.ศ. 2474)
27 ตุลาคม พ.ศ. 24736 กันยายน พ.ศ. 24741คณะกรรมการกลางเฉพาะกาล
(พ.ศ. 2473–78)
2(2) เลอ ห่ง ฟอง
(พ.ศ. 2445 – พ.ศ. 2485)
27 ตุลาคม พ.ศ. 247426 กรกฎาคม พ.ศ. 24791คณะกรรมการกลางชุดที่ I (พ.ศ. 2478–88)
3(3) ฮ่า หุ่ย เติบ
(พ.ศ. 2449 – พ.ศ. 2484)
26 กรกฎาคม พ.ศ. 247930 มีนาคม พ.ศ. 24811
4(4) เหงียน วัน กื่อ(นักปฏิวัติ)
(พ.ศ. 2455 - พ.ศ. 2484)
30 มีนาคม พ.ศ. 24819 พฤศจิกายน พ.ศ. 24831
5(5) เจื่อง จิญ
(พ.ศ. 2450 – พ.ศ. 2531)
9 พฤศจิกายน พ.ศ. 248311 พฤศจิกายน พ.ศ. 24881
[note 2]
คณะกรรมการกลางชุดที่ I (พ.ศ. 2478–88)
เลขาธิการเอกคณะกรรมการกลางพรรคแรงงานเวียดนาม
Bí thư Thứ nhất Ban Chấp hành Trung ương Đảng Lao động Việt Nam
ลำดับภาพชื่อ
(อายุขัย)
เริ่มสิ้นสุดอันดับคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์
5(1) เจื่อง จิญ
(พ.ศ. 2450 – พ.ศ. 2531)
19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 24945 ตุลาคม พ.ศ. 24992คณะกรรมการกลางชุดที่ II (พ.ศ. 2494–2503)
6(2) โฮจิมินห์
(พ.ศ. 2433 – พ.ศ. 2512)
5 ตุลาคม พ.ศ. 249910 กันยายน พ.ศ. 25031คณะกรรมการกลางชุดที่ II (พ.ศ. 2494–2503)
คณะกรรมการกลางชุดที่ III (พ.ศ. 2503–19)
7(3) เล สวน
(พ.ศ. 2450 – พ.ศ. 2529)
10 กันยายน พ.ศ. 250320 ธันวาคม พ.ศ. 25192
[note 3]
1
(พ.ศ. 2512-2519)
เลขาธิการใหญ่คณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม
Tổng Bí thư Ban Chấp hành Trung ương Đảng Cộng sản Việt Nam
7 เล สวน
(พ.ศ. 2450 – พ.ศ. 2529)
20 ธันวาคม พ.ศ. 251910 กรกฎาคม พ.ศ. 25291คณะกรรมการกลางชุดที่ IV (พ.ศ. 2519–25)
คณะกรรมการกลางชุดที่ V (พ.ศ. 2525–29)
5 เจื่อง จิญ
(พ.ศ. 2450 – พ.ศ. 2531)
14 กรกฎาคม พ.ศ. 252918 ธันวาคม พ.ศ. 25291คณะกรรมการกลางชุดที่ V (พ.ศ. 2525–29)
8 เหงียน วัน ลิญ
(พ.ศ. 2458 – พ.ศ. 2541)
18 ธันวาคม พ.ศ. 252928 มิถุนายน พ.ศ. 25341คณะกรรมการกลางชุดที่ VI (พ.ศ. 2529–34)
9 โด๋ เหมื่อย
(พ.ศ. 2460 – พ.ศ. 2561)
28 มิถุนายน พ.ศ. 253426 ธันวาคม พ.ศ. 25401คณะกรรมการกลางชุดที่ VII (พ.ศ. 2534–39)
คณะกรรมการกลางชุดที่ VIII (พ.ศ. 2539–44)
10 พลโทอาวุโส เล ขา เฟียว
(พ.ศ. 2474 – พ.ศ. 2563)[note 4]
26 ธันวาคม พ.ศ. 254022 เมษายน พ.ศ. 25441
11 หน่อง ดุ๊ก หมันห์
(พ.ศ. 2483 – พ.ศ. 2563)
22 เมษายน พ.ศ. 254419 มกราคม พ.ศ. 25541คณะกรรมการกลางชุดที่ IX (พ.ศ. 2544–49)
คณะกรรมการกลางชุดที่ X (พ.ศ. 2549–54)
12 เหงียน ฟู้ จ่อง
(พ.ศ. 2487 – ยังมีชีวิตอยู่)
19 มกราคม พ.ศ. 2554ปัจจุบัน1คณะกรรมการกลางชุดที่ XI (2011–16)
คณะกรรมการกลางชุดที่ XII (2016–21)
คณะกรรมการกลางชุดที่ XIII (2021–26)
ประธานคณะกรรมการกลางพรรคแรงงานเวียดนาม
Chủ tịch Ban Chấp hành Trung ương Đảng Lao động Việt Nam
ลำดับภาพชื่อ
(อายุไข)
เริ่มต้นสิ้นสุดอันดับคณะกรรมการกลางคอมมิวนิสต์เวียดนาม
* โฮจิมินห์
(พ.ศ. 2433 – พ.ศ. 2512)
19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 24942 กันยายน พ.ศ. 25121คณะกรรมการกลางชุดที่ II (พ.ศ. 2494–2503)
คณะกรรมการกลางชุดที่ III (พ.ศ. 2503–19)

Notes

อ้างอิง

บรรณานุกรม

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง